สาธารณรัฐดัตช์
สาธารณรัฐแห่งมณฑลที่ลุ่มต่ำทั้งเจ็ด หรือ สาธารณรัฐดัตช์ (อังกฤษ: The United Provinces of the Netherlands ดัตช์: Republiek der Zeven Verenigde Nederlanden หรือ De Nederlandse Republiek และ De Verenigde Provincien) เป็นการรวมหนึ่งในมณฑลทั้ง 7 ของเนเธอร์แลนด์ของสเปน ประกาศอิสรภาพเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ[3] โดยเริ่มก่อตั้งเมื่อค.ศ. 1588 (การปฏิวัติดัตช์) และสิ้นสุดลงเมื่อค.ศ. 1795 (ในการปฏิวัติบาตาเวีย) โดยถือเป็นรัฐอิสระครั้งแรกของชาวดัตช์
สาธารณรัฐแห่งมณฑลที่ลุ่มต่ำทั้งเจ็ด Republiek der Zeven Verenigde Nederlanden / Zeven Provinciën Republic of the Seven United Netherlands / Seven Provinces | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1581–1795 | |||||||||||
สาธารณรัฐดัตช์ ในปีค.ศ. 1789 | |||||||||||
เมืองหลวง | กรุงเฮก (โดยพฤตินัย) | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ดัตช์ | ||||||||||
ศาสนา | คริสตจักรปฏิรูปแห่งดัตช์ (ประจำชาติ), โรมันคาทอลิก, ยูดาย, ลูเทอแรน | ||||||||||
การปกครอง | สหพันธ์สาธารณรัฐ | ||||||||||
สตัดเฮาเดอร์ | |||||||||||
• 1581–1584 | วิลเลิมที่ 1 | ||||||||||
• 1751–1795 | วิลเลิมที่ 5 | ||||||||||
แกรนด์ เพนชันนารี | |||||||||||
• 1581–1585 | Paulus Buys | ||||||||||
• 1653–1672 | Johan de Witt | ||||||||||
• 1787–1795 | Laurens van de Spiegel | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคใหม่ตอนต้น | ||||||||||
23 มกราคม 1579 | |||||||||||
16 มิถุนายน 1581 | |||||||||||
• จดหมายเปิดผนึกของแฟรงก์ | 12 เมษายน 1588 | ||||||||||
30 มกราคม 1648 | |||||||||||
19 มิถุนายน 1795 | |||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• 1795 | 1,880,500[2] | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม |
ประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ
| ||||
---|---|---|---|---|
ราชอาณาจักรแฟรงก์ (คริสต์ศตวรรษที่ 5-10) |
ฟริเซีย (600-734) | |||
จักรวรรดิการอแล็งเฌียง หลังปี 800 | ||||
แฟรงก์ตะวันตก (ฝรั่งเศส) | อาณาจักรแฟรงก์กลาง (โลทาริงเกีย) (843–870) | |||
แฟลนเดอส์และโลทาริงเกียในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก (870–880) | ||||
แฟลนเดอส์ (862–1384) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ ศตวรรษ ที่ 10–14) |
ราชอาณาจักรโลทาริงเกีย (ต่อมาเป็นดัชชี) ในแฟรงก์ตะวันออก (เยอรมนี) (880-1190) | |||
บิชอปแห่ง ลีแยฌ (980-1794) ดัชชีบูลียง (988-1795) แอบบีย์ สตาวีลอต -มาลเมดีย์ (1138-1795) |
ดัชชีบราบันต์ (1183-1430) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ศตวรรษ ที่ 10–15) |
เคาน์ตี/ ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (963–1443) |
เคาน์ตีฮอลแลนด์ (880-1432) และรัฐอื่นๆ (คริสต์ศตวรรษ ที่ 10–15) | |
เนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี (1384–1477) | ||||
เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค (กลุ่มสิบเจ็ดมณฑล) (1482–1556) | ||||
เนเธอร์แลนด์ของสเปน (เนเธอร์แลนด์ตอนใต้) (1556–1714) |
สาธารณรัฐดัตช์ (1581–1795) | |||
เนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย (เนเธอร์แลนด์ตอนใต้) (1714–1795) | ||||
การปฏิวัติลีแยฌ (1789–1792) |
สหรัฐเบลเยียม (1790) |
|||
ตกเป็นส่วนหนึ่งของ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (1795–1804) และ จักรวรรดิฝรั่งเศส (1804–1815) |
สาธารณรัฐ บาตาเวีย (1795–1806) | |||
ราชอาณาจักร ฮอลแลนด์ (1806–1810) | ||||
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (1815-1830) | ||||
ราชอาณาจักรเบลเยียม (ตั้งแต่ 1830) |
แกรนด์ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (รัฐร่วมประมุข) |
ราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ (ตั้งแต่ 1830) | ||
แกรนด์ดัชชี ลักเซมเบิร์ก (ตั้งแต่ 1890) |
โดยเริ่มจากการก่อกบฏโปรแตสแตนท์ในกลุ่มขุนนาง ต่อการปกครองของสเปน โดยประกอบด้วยมณฑลทั้งเจ็ดที่รวมตัวเป็นพันธมิตรกันในปีค.ศ. 1579 (สหภาพยูเทรกต์) และประกาศอิสรภาพเมื่อปีค.ศ. 1581 (พระราชบัญญัติแห่งการตัดขาด หรือ "Act of Abjuration") ประกอบด้วยโกรนิงเงิน ฟรีเซีย เกลเดอร์ส โอเวอริสเซิล ฮอลแลนด์ เซลันด์ และยูเทรกต์
ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงประเทศเล็กๆ ด้วยประชากรเพียง 1.5 ล้านคน แต่สาธารณรัฐดัตช์ได้ควบคุมการค้าขายทางเรือของโลกผ่านบริษัทเดินเรือต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดัตช์อีสต์อินเดียคอมปะนี และดัตช์เวสต์อินเดียคอมปะนี โดยต่อมาได้กลายเป็นจักรวรรดิดัตช์ ที่มีรายได้มหาศาลจากการค้าโลก ทำให้สาธารณรัฐดัตช์สามารถพัฒนาการทหารได้เท่าเทียมกับมหาประเทศต่างๆ ได้ โดยประกอบด้วยกองเรือกว่า 2,000 ลำ ซึ่งใหญ่กว่าอังกฤษและฝรั่งเศสรวมกัน
ความขัดแย้งทางการทหารหลักๆ ในยุคนี้ได้แก่ สงครามแปดสิบปีกับสเปน ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐและต่อเนื่องยาวนานจนถึงปีค.ศ. 1648 สงครามเนเธอร์แลนด์-โปรตุเกส (ค.ศ. 1602-1663) สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ (ครั้งแรก ค.ศ. 1652–1654, ครั้งที่สอง ค.ศ. 1665–1667, ครั้งที่สาม ค.ศ. 1672–1674 และครั้งที่สี่ ค.ศ. 1780–1784) สงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 1672–1678) และสงครามมหาพันธมิตร (ค.ศ. 1688–1697) ต่อฝรั่งเศส
นโบายการปกครองของสาธารณรัฐต่อการนับถือศาสนานั้นให้อิสระในการนับถือศาสนาต่างๆ อีกทั้งยังสนับสนุนเสรีภาพทางความคิดให้กับประชากร ในยุคสมัยนี้ทำให้ศิลปะวิทยาการเฟื่องฟูอย่างมาก จิตรกรสำคัญในยุคนี้ ได้แก่ แร็มบรันต์ โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ และอีกมากมาย อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์สำคัญของโลก ได้แก่ ฮิวโก โกรเตียส คริสตียาน เฮยเคินส์ และอันโตนี ฟัน เลเวินฮุก เพราะความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและวิทยาการของเนเธอร์แลนด์ในศตวรรธที่ 17 นี้ทำให้นักประวัติศาสตร์ต่างเรียกยุคสมัยนี้ว่ายุคทองของเนเธอร์แลนด์
การปกครองใช้ระบบสมาพันธรัฐของรัฐหรือมลฑลทั้งเจ็ด โดยแต่รัฐมีเสรีภาพในการปกครองตนเองจากรัฐบาลกลาง (States General) ต่อมาในสนธิสัญญาสันติภาพเว็สท์ฟาเลิน ในปีค.ศ. 1648 สาธารณรัฐดัตช์ได้ครอบครองเขตแดนเพิ่มขึ้นกว่า 20% ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายนอกรัฐสมาชิกทั้งเจ็ด ซึ่งปกครองโดยขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง
ในแต่มณฑลมีเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการที่เรียกว่า "สตัดเฮาเดอร์" (Stadtholder) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปิดกว้างให้กับทุกคน แต่มณฑลส่วนใหญ่มักจะเลือกสมาชิกจากราชวงศ์ออเรนจ์ เพื่อเป็นผู้ปกครอง ต่อมาตำแหน่งนี้จึงค่อยๆ เริ่มกลายเป็นตำแหน่งสืบตระกูลในที่สุด โดยมีเจ้าชายแห่งออเรนจ์ กลายเป็นผู้ครองตำแหน่งเจ้าเมืองของทุกๆ มณฑลพร้อมๆ กันในเวลาเดียว ทำให้กลายเป็นประมุขแห่งรัฐไปโดยปริยาย ซึ่งต่อมาได้ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสองขั้ว ขั้วที่สนับสนุนราชวงศ์ออเรนจ์ สนับสนุนความคิดในสตัดเฮาเดอร์ที่มีอำนาจมากเป็นศูนย์กลาง ในขณะที่อีกขั้วคือรีพับลิกัน ที่สนับสนุนรัฐบาลกลางเป็นศูนย์กลาง ซึ่งในที่สุดก็บรรลุความสำเร็จจนได้เกิดยุคสมัยที่ปราศจากสตัดเฮาเดอร์ทั้งสิ้นสองช่วงคือ ค.ศ. 1650–1672 และ ค.ศ. 1702–1747 โดยในครั้งหลังนั้นทำให้เกิดความสั่นคลอนทางการเมืองระดับชาติจนทำให้สิ้นสุดความเป็นประเทศมหาอำนาจ
การเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจเริ่มขึ้นและนำไปสู่ความแตกแยกทางการเมืองอย่างรุนแรง ในนามของ "เหล่าผู้รักชาติ" (Patriottentijd) ระหว่างปีค.ศ. 1780-1787 ซึ่งสงครามการเมืองระหว่างสองขั้วนี้ได้หยุดชะงักชั่วคราวด้วยการรุกรานของปรัสเซียที่สนับสนุนฝั่งสตัดเฮาเดอร์ ต่อมาในการปฏิวัติฝรั่งเศส และสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่งทำให้แนวคิดแบ่งแยกนี้ปะทุขึ้นอีกครั้ง และเมื่อฝั่งฝรั่งเศสได้รับชัยชนะ ระบบสตัดเฮาเดอร์ได้ถูกกำจัด และขับไล่ออกไปจากเนเธอร์แลนด์ในการปฏิวัติบาตาเวีย ปีค.ศ. 1795 ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของสาธารณรัฐดัตช์ และสืบทอดเป็นสาธารณรัฐบาตาเวีย
ประวัติ
แก้ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 16 ดินแดนในกลุ่มประเทศต่ำ ซึ่งในปัจจุบันคือ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก ในอดีตนั้นประกอบด้วยดัชชี เคาน์ตี และราชรัฐมุขมณฑลต่างๆ ซึ่งดินแดนเกือบทั้งหมดนั้นถือเป็นดินแดนในปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ยกเว้นเพียงแต่เคาน์ตีฟลานเดอร์สซึ่งขึ้นตรงต่อราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ต่อมาได้สืบทอดเปลี่ยนมือผู้ปกครองมาเป็นราชวงศ์บูร์กอญ และต่อด้วยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ในปีค.ศ. 1549 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ได้ออกพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์ซึ่งเป็นการเพิ่มอำนาจการปกครองต่อมณฑลทั้งเจ็ด ซึ่งภายหลังทรงสละราชบัลลังก์ลงทำให้พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน พระราชโอรสได้ดินแดนแถบนี้ไปปกครองต่อจากพระราชบิดา ต่อมาในปีค.ศ. 1568 ในเนเธอร์แลนด์ได้เกิดการกบฏขึ้นนำโดยวิลเลิมที่ 1 แห่งออเรนจ์ อันมีสาเหตุมาจากอัตราภาษีที่สูง และการลงโทษอันทารุนต่อชาวโปรเตสแตนท์โดยรัฐบาล และความพยายามของพระเจ้ากรุงสเปนในเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองการปกครองของมณฑลต่างๆ จึงเป็นเหตุให้สงครามแปดสิบปีอุบัติขึ้นในที่สุด ซึ่งในระหว่างสงคราม การกบฏส่วนมากไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้สเปนยังคงฐานอำนาจมณฑลเกือบทั้งหมดไว้ได้ ซึ่งในช่วงนี้ได้เกิดการปล้นสดมภ์โดยกองทัพสเปน การฆ่าสังหารผู้คนในเมืองต่างๆ ในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1572 จนถึง 1579
ในปีค.ศ. 1579 มณฑลส่วนใหญ่ทางตอนเหนือได้ลงนามก่อตั้งสหภาพยูเทรกต์ เพื่อเป็นการสนับสนุนทางการทหารซึ่งกันและกันต่อการรุกรานของกองทัพฟลานเดอร์ส แต่ในที่สุดได้ตราพระราชบัญญัติแห่งการตัดขาด ในปีค.ศ. 1581 โดยเป็นประกาศให้มณฑลทั้งเจ็ดเป็นอิสระจากการปกครองของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน ในจุดนี้เป็นการเริ่มต้นของยุคล่าอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ซึ่งสามารถยึดเอาดินแดนอาณานิคมของโปรตุเกสและสเปนมาเป็นของตนได้ โดยเฉพาะดินแดนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ต่อมาวิลเลิมที่ 1 แห่งออเรนจ์ได้ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1584 ทั้งพระเจ้าอ็องรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษทั้งสองพระองค์ได้ปฏิเสธที่จะรับเป็นเจ้าผู้ครองแทน โดยราชสำนักอังกฤษได้ยอมตกลงให้มณฑลทั้งเจ็ดเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ (สนธิสัญญานอนซัช ค.ศ. 1585) และส่งเอิร์ลแห่งเลสเตอร์มาเป็นผู้สำเร็จราชการ ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ และในปีค.ศ. 1588 มณฑลทั้งเจ็ดก็ได้กลายมาเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ โดยการลงนามในสหภาพยูเทรกต์ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งสาธารณรัฐดัตช์ แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับโดยราชสำนักสเปนจนกระทั่งสนธิสัญญาสันติภาพเว็สท์ฟาเลินในปีค.ศ. 1648
ในช่วงสงครามอังกฤษ-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1778) มีการแบ่งดินแดนภายในประเทศเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มผู้รักชาติซึ่งสนับสนุนฝรั่งเศสและอเมริกา และกลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ออเรนจ์ที่สนับสนุนฝั่งอังกฤษ ในช่วงปีค.ศ. 1783-1787 ได้มีการปฏิวัติสาธารณรัฐขึ้นหลายครั้ง โดยกองกำลังรีพับลิกันผู้สนับสนุนระบอบสาธารณรัฐซึ่งได้ยึดครองเมืองสำคัญต่างๆ ได้ โดยฝั่งผู้สนับสนุนราชวงศ์นั้นได้ความช่วยเหลือทางการทหารจากกองทัพปรัสเซียและในที่สุดได้ยึดการปกครองคืนมากลับมาได้ในปีค.ศ. 1787 ซึ่งทำให้กองกำลังฝั่งสาธารณรัฐต้องหนีไปฝรั่งเศส และได้กลับมายึดคืนพร้อมชัยชนะจากความช่วยเหลือของกองทัพของสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยได้ขับไล่ผู้ครองหรือสตัดเฮาเดอร์ในสมัยนั้น คือ เจ้าชายวิลเลิมที่ 5 แห่งออเรนจ์ และล้มล้างการปกครองของสาธารณรัฐดัตช์ และก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐบาตาเวียขึ้น (ค.ศ. 1795-1806) ต่อมาภายหลังสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้กลายมาเป็นจักรวรรดิฝรั่งเศสภายใต้แสนยานุภาพของจักรพรรดินโปเลียน จึงทำให้สาธารณรัฐบาตาเวียได้เปลี่ยนการปกครองอีกครั้งกลายเป็นราชอาณาจักรฮอลแลนด์ (ค.ศ. 1806-1810)
ต่อมาเนเธอร์แลนด์ได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1813 ในสนธิสัญญาแองโกล-ดัตช์ ค.ศ. 1814 ได้ใช้ชื่อประเทศว่า"United Provinces of the Netherlands" และ "United Netherlands" ต่อมาในปีค.ศ. 1815 ได้ควบรวมดินแดนกับเนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย และราชรัฐมุขมณฑลลีแยฌ (หรือเรียกกันว่า "เหล่ามณฑลทางใต้" และกลายมาเป็นสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เป็นรัฐกันชนทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ต่อมาในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1815 บุตรชายของเจ้าชายวิลเลิมที่ 5 แห่งออเรนจ์ ได้แต่งตั้งตัวเองเป็นพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ โดยยังเป็นประมุขร่วมให้กับลักเซมเบิร์กด้วยในระหว่างปีค.ศ. 1815 จนถึงค.ศ. 1890 ต่อมาเบลเยียมได้แยกตนเองเป็นอิสระในปีค.ศ. 1830 จึงทำให้เนเธอร์แลนด์กลายมาเป็นราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์จวบจนปัจจุบัน
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ คำเต็มคือ Concordia res parvae crescunt, discordia maximae dilabuntur. Hubert de Vries, Wapens van de Nederlanden. De historische ontwikkeling van de heraldische symbolen van Nederland, België, hun provincies en Luxemburg. Uitgeverij Jan Mets, Amsterdam, 1995, p. 31-32.
- ↑ Demographics of the Netherlands เก็บถาวร 2011-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jan Lahmeyer. Retrieved on 10 February 2014.
- ↑ เคยเป็นในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
หนังสืออ่านเพิ่ม
แก้- Adams, Julia. The Familial State: Ruling Families and Merchant Capitalism in Early Modern Europe. Ithica: Cornell University Press, 2005
- Boxer, C. R. The Dutch Seaborne Empire 1600–1800. London: Penguin Books, 1990
- Israel, J. I. The Dutch Republic: Its Rise, Greatness, and Fall 1477–1806 Oxford: Clarendon Press, 1995
- Kuznicki, Jason (2008). "Dutch Republic". ใน Hamowy, Ronald (บ.ก.). The Encyclopedia of Libertarianism. Thousand Oaks, CA: SAGE; Cato Institute. pp. 130–1. ISBN 978-1-4129-6580-4. LCCN 2008009151. OCLC 750831024.
- Reynolds, Clark G. Navies in History. Annapolis: Naval Institute Press, 1998
- Schama, Simon The Embarrassment of Riches: An Interpretation of Dutch Culture in the Golden Age. New York: Random House, 1988
- van der Burg, Martijn. "Transforming the Dutch Republic into the Kingdom of Holland: the Netherlands between Republicanism and Monarchy (1795–1815)," European Review of History (2010) 17#2, pp. 151–170 online
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Dutch Golden Age 1588–1702 – Documentary ที่ยูทูบ
- (อังกฤษ) (ละติน)The Dutch Republic, Enlarged and Edited: Produced with the Care and Work of Matthaeus Seutter from around 1730