สมเกียรติ ผลประยูร

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร (เกิด 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) เป็นอดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้[2][3] อดีตผู้บังคับการพื้นที่เขตใต้ กองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก–คูเวต รวมถึงเป็นผู้นำกำลังเข้าควบคุมสถานการณ์การบุกโจมตีฐานปฏิบัติการ ที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส[1]

สมเกียรติ ผลประยูร
เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหาร
จังหวัดชายแดนภาคใต้
ดำรงตำแหน่ง
9 เมษายน พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าศุภณัฐ สิรันทวิเนติ
ถัดไปวรรณพงษ์ คชรักษ์
ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ผู้บังคับการพื้นที่เขตใต้กองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก-คูเวต
ดำรงตำแหน่ง
8 สิงหาคม พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (62 ปี)
ไทย ประเทศไทย
ศิษย์เก่าโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
โรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายเรือ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพเรือไทย
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
ยศ พลเรือตรี
หน่วย รีคอน[1]
ผ่านศึกสงครามอ่าวเปอร์เซีย
 • ยูนิคอม (UNIKOM)
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้
 • ยุทธการที่บาเจาะ

ประวัติ

แก้
"การแก้ปัญหาภาคใต้ ถ้าจะเก็บกู้ระเบิดบนท้องถนน ปัญหาจะไม่มีวันหมด แต่ต้องเก็บกู้ระเบิดจากหัวใจคนก่อน"
—พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร[4]

สมเกียรติ ผลประยูร เป็นนักเรียนจ่าทหารเรือรุ่น 2523,[5] นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 24 (รวมเหล่ารุ่นที่ 1 รุ่นเดียวกับพลเรือตรี อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ และนาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) แล้วศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือ ครั้นสำเร็จการศึกษา ก็ได้เข้ารับราชการในหน่วยหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน[1]

สมเกียรติ เป็นผู้มีผลการเรียนยอดเยี่ยม โดยเขาเป็นผู้ได้รับคะแนนสูงสุดของรุ่นในหลักสูตรชั้นนายนาวา นาวิกโยธิน และสอบได้อันดับที่ 1 ของรุ่นในหลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ[1]

ในปี พ.ศ. 2541 เขาได้รับเลือกให้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการ นาวิกโยธิน ของสหรัฐ และหลักสูตรการบริหารทรัพยากรป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ เมื่อสำเร็จการศึกษา เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับกองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน แห่งกองทัพเรือไทย[1]

จากนั้น เขาได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ผู้บังคับการพื้นที่เขตใต้ กองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก–คูเวต (UNIKOM) ในปี พ.ศ. 2545 นับเป็นชาวไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาภายใต้โครงสร้างกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ[1]

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินกองทัพเรือ ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[6][7][8][9] และต่อมา เขาได้เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร[10]

รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

แก้

ในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการโอนให้สมเกียรติ ผลประยูร เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในตำแหน่งรองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้[11][12] โดยเป็นการรับตำแหน่งต่อจากไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ที่ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี[13][14][15][16]

และทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ยังได้ทำการประชุมหารือกับสมเกียรติ ผลประยูร เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ประจำปีงบประมาณ 2561[17]

กิจกรรมเพื่อสังคม

แก้

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สมเกียรติ ผลประยูร ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม การประชาสัมพันธ์โครงการเมืองต้นแบบ ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา[18]

ส่วนในปี พ.ศ. 2561 เขาเป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทของการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ทั้งการส่งเสริมคุณภาพระบบการศึกษา, การสนับสนุนองค์กรทางศาสนาทุกศาสนา,[19][20] การกำกับดูแลการดำเนินงานในสถานการณ์โรคหัดที่ระบาดในภาคใต้,[21] การพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยว[22] และการดูแลผู้สูงอายุ[23][20]

รางวัลที่ได้รับ

แก้
  • พ.ศ. 2532 – โล่รางวัลยอดเยี่ยม ลำดับที่ 1 หลักสูตรการรบพิเศษแขนงการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกและจู่โจมนาวิกโยธิน (รีคอน)[1]
  • พ.ศ. 2552 – โล่รางวัลเอกสารประจำภาคดีเด่น หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ[1]
  • พ.ศ. 2552 – โล่รางวัลสังคมดีเด่น หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ[1]
  • พ.ศ. 2560 – รางวัลโล่เพชรเกล็ดแก้ว จากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "นาวาเอก สมเกียรติ ผลประยูร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-13. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  2. มติครม.แต่งตั้ง'พล.ร.ต.สมเกียรติ​ ผลประยูร'เป็นเลขาฯศอ.บต.คนใหม่ - ไทยโพสต์
  3. ครม.เห็นชอบ ตั้ง พล.ร.ต. สมเกียรติ ผลประยูร นั่งเก้าอี้เลขาฯ ศอ.บต. - ไทยรัฐ
  4. ดันโมเดลเศรษฐกิจดับไฟใต้ - โพสต์ทูเดย์ รายงานพิเศษ
  5. 5.0 5.1 รางวัลอันทรงเกียรติ!! โรงเรียนชุมพลทหารเรือ มอบโล่ เพชรเกล็ดแก้ว เชิดชูศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 2560
  6. กอ.รมน. ย้ำ 'ผบ.ฉก.นย.' ใหม่สานงานคนเก่าดูไฟใต้ได้
  7. นาวิกฯ ยกไฟใต้เป็นวาระชาติ เชื่อข้อเสนอ BRN ไม่กระทบปฏิบัติการ
  8. นราธิวาสเข้ม ขอครูปฏิบัติตามมาตรการ รปภ.เคร่งครัด
  9. จับ 2 โจรใต้แนวร่วม RKK วางบึมทหาร รปภ.ครูนราฯ ดับ 1 เจ็บ 2
  10. เปิดศูนย์ซักถามผู้ถูกคดีความมั่นคงไม่มีทรมาน
  11. "ครม. เห็นชอบ และแต่งตั้งพลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เป็นรองเลขาธิการ ศอ.บต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-26. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี - ราชกิจจานุเบกษา
  13. ศอ.บต.ปรับตัว (1)
  14. แต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการ
  15. ครม.โอนย้ายรองเลขาฯศอ.บต.ไปเป็นผวจ.ปัตตานี - ไทยโพสต์
  16. โอน “ไกรศร” เป็นผู้ว่าฯปัตตานีส่ง “พล.ร.ต.สมเกียรติ” นั่งรองเลขาฯ ศอ.บต. - ฐานเศรษฐกิจ[ลิงก์เสีย]
  17. NIA ลงพื้นที่ชายแดนใต้ ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับ พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร[ลิงก์เสีย]
  18. ศอ.บต.ลุย"เมืองต้นแบบฯ" - รัฐอัดงบเพิ่ม 1.7 พันล้าน ชงตั้ง "บีโอไอ" ชายแดนใต้
  19. "บ้านเมือง - ศอ.บต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จชต. พร้อมยืนเคียงข้างปชช.ไทยพุทธ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  20. 20.0 20.1 ศอ.บต.ประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางกิจกรรมเงินอุดหนุนแก่องค์กรศาสนาอิสลาม[ลิงก์เสีย]
  21. ข่าว Like สาระ - โรคหัดระบาดภาคใต้หนัก เผยมีผู้เสียชีวิตรวมแล้ว 18 ราย
  22. ศอ.บต. โชว์ผลงาน “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” “บิ๊กตู่” ย้ำต้องยุติความรุนแรงภายในรัฐบาลนี้
  23. ศอ.บต.วางแผนพัฒนาปอเนาะ เป็นแหล่งดูแลผู้สูงอายุ - BenarNews
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๗๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๙๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๗, ๓ มีนาคม ๒๕๓๘
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๕๑, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗
  28. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๓๒, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้