การปะทะที่บาเจาะ พ.ศ. 2556

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการที่บาเจาะ พ.ศ. 2556)

การปะทะที่บาเจาะเป็นการปะทะระหว่างกองทัพเรือไทยและกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอาร์เคเค โดยฝ่ายก่อความไม่สงบโจมตีฐานทหารในอำเภอบาเจาะ ผู้ก่อความไม่สงบอาร์เคเค 16 คน ซึ่งรวมถึงผู้บัญชาการฝ่ายดังกล่าว 1 คนเสียชีวิต โดยไม่มีทหารไทยที่ปกป้องฐานได้รับบาดเจ็บ[2]

การปะทะที่บาเจาะ พ.ศ. 2556
ส่วนหนึ่งของ ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
วันที่เวลาประมาณตี 1 ของวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
(ปะทะ 2 ระลอก กินเวลารวมเกือบ 1 ชม.)
สถานที่
ฐานปฏิบัติการทหารนาวิกโยธิน อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ผล ผู้ก่อการเสียชีวิต 16 คน
คู่สงคราม

หน่วยนาวิกโยธิน กองร้อยปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 ชุดสับเปลี่ยน:

หน่วยซีล
หน่วยรีคอน
อาร์เคเค
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาวาเอก สมเกียรติ ผลประยูร (ยศในขณะนั้น)
นาวาโท ธรรมนูญ วรรณา
เรือเอก เมธา คงเจริญ
มะรอโซ จันทรวดี 
กำลัง

ทหารนาวิกโยธิน 120 นาย

  • หน่วยซีล 17 นาย[1]
  • หน่วยรีคอน 11 นาย[1]

อาร์เคเคประมาณ 50 คนขึ้นไป

  • ชุดปฏิบัติการโจมตีฐานที่มั่น 30 คน
  • ชุดสนับสนุนการปฏิบัติการภารกิจ 20–30 คน
  • ชุดสกัดกั้นการติดตามของเจ้าหน้าที่ 10–20 คน
ความสูญเสีย
ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
  • เสียชีวิต 16 คน (เสียชีวิตในค่าย 14 คน, นอกค่าย 2 คน)[1]
  • ปืนยาว 13 กระบอก, ปืนพก 3 กระบอก, รถจักรยานยนต์ 2 คัน, รถกระบะ 1 คัน, เลื่อยยนต์ 1 ตัวถูกยึด
อ้างอิง: คมชัดลึก ไทยรัฐ Arab News The Boston Globe

ยุทธการ แก้

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ได้เกิดกรณีกองกำลังติดอาวุธอาร์เคเคบุกโจมตีฐานปฏิบัติการทหารนาวิกโยธิน ที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งทางฝ่ายทหารได้เตรียมพร้อมอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากได้รับเบาะแสถึงแผนการโจมตีฐานที่มั่นในช่วงไม่กี่วันก่อน นาวาเอก สมเกียรติ ผลประยูร จึงได้วางยุทธวิธีตั้งรับ โดยมีหน่วยซีลและหน่วยรีคอนเสริมกำลัง จากการปะทะดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ก่อการเสียชีวิต 16 คน นับเป็นการปะทะครั้งใหญ่ที่สุดที่มีผู้เสียชีวิตเป็นกลุ่มขบวนการ ซึ่งมีอาวุธครบมือ[3][4]

ผลที่ตามมา แก้

หลังจากเกิดเหตุการณ์ เขาในฐานะผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ ได้แสดงความรู้สึกเสียใจ และชี้แจงถึงความจำเป็นในการป้องกันชีวิตของทหารให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้มีความเข้าใจ รวมถึงญาติของผู้เสียชีวิตที่ให้การยอมรับในที่สุด[3][5][6]

นอกจากนี้ สมเกียรติมักกล่าวย้ำตามสื่อต่าง ๆ จำนวนมาก ว่า “การมีคนตายไม่ใช่ชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นการสูญเสียร่วมกัน”[3][5]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Death zone awaited unsuspecting raiders (อังกฤษ)
  2. "17 die in clash". Reuters. 13 February 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 19 September 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 เมื่อคนตาย เราควรฟังเสียงใคร? - ประชาไท Prachatai.com
  4. Thai marines kill 16 militants who attacked base - GulfNews.com (อังกฤษ)
  5. 5.0 5.1 "นาวาเอก สมเกียรติ ผลประยูร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-13. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
  6. Marines take aid to village home of slain militant - Bangkok Post: news (อังกฤษ)