อาภากร อยู่คงแก้ว
พลเรือเอก อาภากร อยู่คงแก้ว หรือ บิ๊กน้อย[11] ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ อดีตผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 อดีตรองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3[12] อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ[13][14] (ผบ.นสร.)[15][16] เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำหน่วยปฏิบัติการพิเศษออกปราบโจรสลัดโซมาเลีย, ให้การช่วยเหลือในมหาอุทกภัย พ.ศ. 2554 ตลอดจนปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง[11]
อาภากร อยู่คงแก้ว | |
---|---|
ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
ถัดไป | พลเรือตรี สุชาติ ธรรมพิทักษ์เวช |
รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 | |
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ[2][3] | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 | |
ก่อนหน้า | พลเรือตรี ภิญโญ โตเลี้ยง |
ถัดไป | พลเรือตรี ศุภชัย ธนสารสาคร[4] |
ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563 | |
ก่อนหน้า | พลเรือตรี สุวิน แจ้งยอดสุข |
ถัดไป | พลเรือตรี ปรีดิวัฒน์ ดิลกนรนารถ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2507 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ศศิวิมล อยู่คงแก้ว[5] |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเบญจมราชูทิศ โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายเรือ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพเรือไทย[6][7][8][9] |
ยศ | พลเรือเอก |
หน่วย | ซีล |
ผ่านศึก | การกระทำอันเป็นโจรสลัดในโซมาเลีย[10] |
ประวัติ
แก้"เราทำงานเต็มที่... ไม่พบ เราไม่เลิก" |
—พลเรือตรี อาภากร อยู่คงแก้ว (ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง)[17] |
พลเรือโท อาภากร อยู่คงแก้ว เกิดที่อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช สำเร็จการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนบ้านชะอวด มัธยมต้นจากโรงเรียนชะอวดวิทยาคาร มัธยมปลายจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ รุ่นที่ 83 เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 24 นักเรียนนายเรือ รุ่นที่ 81 (พ.ศ. 2526)[11] สำเร็จหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม รุ่นที่ 17 (พ.ศ. 2533)[ต้องการอ้างอิง] แล้วเป็นครูฝึกหน่วยซีล รวมถึงเป็นผู้บัญชาการหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ (ผบ.นสร.) ยุคแรก ๆ อีกทั้งเคยเป็นผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ประจำนครย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา[11]
ในปี พ.ศ. 2553 พลเรือโทอาภากรได้เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษร่วมกับ พล.ร.ต.ไชยยศ สุนทรนาค ในการบังคับหมู่เรือปราบปรามโจรสลัดโซมาเลีย หลังจากการปล้นสะดมในน่านน้ำอ่าวเอเดน บริเวณตะวันออกกลาง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของมนุษยชาติและเรือสินค้าไทยที่แล่นผ่าน โดยจัดส่งกำลังพล 351 นาย ร่วมกับกองทัพเรือนานาชาติอีก 29 ประเทศ[10][11]
ส่วนในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พลเรือโทอาภากรพร้อมด้วยกำลังพลหน่วยซีล 27 นาย ได้ลงสู่พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในจุดที่ความช่วยเหลือทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง[11]
พ.ศ. 2559 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเรือโทอาภากรเป็นราชองครักษ์เวรสืบต่อไปอีกวาระ ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559[18]
ในภายหลัง ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเรือโทอาภากรเป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560[11][19]
และในปี พ.ศ. 2561 พลเรือโทอาภากร อยู่คงแก้ว เป็นผู้นำหน่วยซีล เข้าเสริมทัพในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง[20][21][22] ที่จังหวัดเชียงราย[23][24][25][26] ซึ่งปฏิบัติการนี้มีอดีตหน่วยซีลเสียชีวิต 1 นายคือ จ่าเอก สมาน กุนัน หรือ จ่าแซม โดยที่พลเรือตรี อาภากร ได้แสดงความเสียใจ แต่ยังคงยืนยันดำเนินภารกิจต่อไป เพื่อไม่ให้การเสียชีวิตของสมาชิกทีมต้องสูญเปล่า[27][28][29][30]
จากนั้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลเรือโทอาภากร ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือพร้อมกับรับพระราชทานยศพลเรือเอก โดยมีพลเรือตรีสุชาติ ธรรมพิทักษ์เวช รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 แทน[31][32]
ชีวิตส่วนตัว
แก้อาภากร อยู่คงแก้ว เป็นบุตรคนที่ 6 ของนายนัด กับนางบุญสม อยู่คงแก้ว มีพี่น้อง 8 คน[ต้องการอ้างอิง] สมรสกับศศิวิมล (สกุลเดิม แก้วปาน[33]) อดีตทีมงานสารคดี "ส่องโลก" และ "หลายชีวิต" ของสันติธร หุตาคม[34] ปัจจุบันเป็นผู้บริหารบริษัท ซี แอร์ แลนด์ โปรดักชั่น จำกัด ซึ่งผลิตสารคดี "สำรวจธรรมชาติ On the World" ออกอากาศทาง ททบ.5 และเคยเป็นผู้ดูแลเพจ "Thai NavySEAL"[5][34] มีบุตรด้วยกัน 1 คน[35]
รางวัลที่ได้รับ
แก้- รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2562[36]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[37]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[38]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[39]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[40]
- พ.ศ. 2541 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[41]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสานักนายกรัฐมนตรี - กระทรวงกลาโหม.
- ↑ กองทัพเรือประดับปีก "หน่วยซีล" รุ่น 45 เข้ารับการฝึก 99 นาย ทดสอบผ่านแค่ 25 นาย
- ↑ ใกล้แล้ว ! หน่วยซีลถึงโถงสามแล้ว มุ่งหน้าสู่พัทยาบีชคาด 13 หมูป่าอยู่ที่นั่น
- ↑ “ผบ.หน่วยซีล”คนใหม่…ก็ไม่ธรรมดา – LapLuangPrangChannel.com[ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 เปิดประวัติ "ศศิวิมล อยู่คงแก้ว" แข็งแกร่งสมเป็นภริยา "ผบ.หน่วยซีล"
- ↑ ซากวาฬบรูด้ายักษ์หนัก 2 ตัน ลอยติดเกาะแสมสาร - ไทยรัฐ
- ↑ หน่วยซีลน้อมรำลึกสมเด็จพระเจ้าตากสิน เนื่องในวันคล้ายวันปราบดาภิเษก
- ↑ 1 คนไทยแทนล้านความรู้สึก!! "ทัพเรือ" แพร่จดหมายแนบกลอน ชาวบ้านชื่นชม "หน่วยซีล" ผบ.สุดยอดฮีโร่นำกำลังพลยืนหยัดค้นหา 13 หมูป่าสำเร็จ!? - Tnews
- ↑ Fotbalový tým může v jeskyni přežít déle než měsíc, odhaduje - Lidovky (เช็ก)
- ↑ 10.0 10.1 กองเรือไทยปราบ "สลัดโซมาเลีย" 98 วันประวัติศาสตร์ ณ อ่าวเอเดน - คมชัดลึก
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 รู้จัก “พล.ร.ท.อาภากร อยู่คงแก้ว” ผบ.หน่วยซีล ในวันที่ภารกิจค้นหา 13 ชีวิตถ้ำหลวงสำเร็จ
- ↑ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี วัดเทสก์ธรรมนาวา
- ↑ เปิดภารกิจกู้ชีวิต 13 นักฟุตบอลเยาวชน ใช้ '18 ซีล' ชั้นครู - กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ ครบรอบ 63 ปี “หน่วยซีล” มนุษย์กบนักรบ 3 มิติ - innnews[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ทีมหมูป่าทุกคนจะกลับสู่อ้อมกอดพ่อแม่อย่างปลอดภัย" คำยืนยันจากผบ.หน่วยซีล
- ↑ สรุปผลการปฏิบัติหน่วยซีลกองทัพเรือ - Workpoint News[ลิงก์เสีย]
- ↑ บันทึก! ช่วย 13 ชีวิต ติดถ้ำขุนน้ำนางนอน - ไทยรัฐ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี - ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ผบ.ซีลตั้งศูนย์บัญชาการในถ้ำ วางแนวเชือกผูกขวดอากาศ ดำน้ำไปหาดพัทยา หา 13 ทีมหมูป่า
- ↑ หน่วยซีลแบ่งการทำงานเป็น 3 ชุดช่วย 13 ชีวิต - TNN 24
- ↑ Försvunna pojkarnas hopp - Expressen (สวีเดน)
- ↑ 'ผบ.หน่วยซีล' ย้ำไม่พบ 13 ชีวิตไม่เลิกภารกิจแน่!! - The Bangkok Insight
- ↑ หน่วยซีลเสริมกำลัง ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง
- ↑ 'หน่วยซีล' ส่งทีมเข้าถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนค้นหาเด็กนักฟุตบอล - ไทยโพสต์
- ↑ ผบ.หน่วยซีล นำ 22 ซีล สมทบเดินทางถึงเชียงรายแล้ว - MThai News[ลิงก์เสีย]
- ↑ ถ้ำหลวง: จ.อ. สมาน กุนัน อดีตหน่วยซีล เสียชีวิตในภารกิจช่วยเหลือที่ถ้ำหลวง
- ↑ จะไม่ให้สูญเปล่า! 'ผบ.หน่วยซีล' ลั่นไม่เสียขวัญเดินหน้ากู้ภัยทีมหมู่ป่าต่อ
- ↑ One Rescuer Dead, Teams Stuck on How to Bring Out Thailand's Trapped Boys - The New York Times (อังกฤษ)
- ↑ Thai diver dies amid cave rescue of trapped soccer team - NBC News (อังกฤษ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล
- ↑ สารคดีส่องโลกธรรมชาติ. 92, รำลึก-- สืบ นาคะเสถียร. 3 (วีดิทัศน์) / โจ๋ย บางจาก, ศศิวิมล แก้วปาน บท.[ลิงก์เสีย] ข้อมูลจากเว็บไซต์หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ↑ 34.0 34.1 ถ้ำหลวง: รู้จักกับศศิวิมล อยู่คงแก้ว แอดมินเพจ Thai NavySEAL
- ↑ ล้วงลึก ภรรยาผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ลมหายใจ ผบ.หน่วยซีล ฮีโร่นำหมูป่ากลับบ้าน
- ↑ "ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๑๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๓๒, ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๕๑, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๒๑๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒