วิเชียร ชวลิต
วิเชียร ชวลิต เป็นผู้อำนวยการและรองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ[1] อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย[2] อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[3] และเป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ครม. 61)
วิเชียร ชวลิต | |
---|---|
วิเชียร ใน พ.ศ. 2554 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 18 เมษายน พ.ศ. 2565 (3 ปี 25 วัน) | |
ปลัดกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554 (0 ปี 290 วัน) | |
รัฐมนตรีว่าการ | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ยงยุทธ วิชัยดิษฐ |
ก่อนหน้า | มานิต วัฒนเสน |
ถัดไป | พระนาย สุวรรณรัฐ |
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 (3 ปี 149 วัน) | |
รัฐมนตรีว่าการ | สันติ พร้อมพัฒน์ ปวีณา หงสกุล อดุลย์ แสงสิงแก้ว |
ก่อนหน้า | พนิตา กำภู ณ อยุธยา |
ถัดไป | ไมตรี อินทุสุต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2497 อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2561-2565, 2566-ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | สร้างอนาคตไทย (2565-2566) |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
ประวัติและการศึกษา
แก้วิเชียร ชวลิต เกิดวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายเจริญ กับนางมณี ชวลิต[4] จบการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การศึกษา
แก้- ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาตรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง - ปริญญาโท รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2534 หลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 31
- พ.ศ. 2538 หลักสูตรนักปกครองระดับสูง รุ่นที่ 33
- พ.ศ. 2545 หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส.) รุ่นที่ 7
- พ.ศ. 2548 หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)
- พ.ศ. 2556 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
การทำงาน
แก้วิเชียร ชวลิต ทำงานรับราชการตำแหน่งสำคัญ ๆ ในกระทรวงมหาดไทย อาทิ ในปี พ.ศ. 2536 เป็นนายอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ในปี พ.ศ. 2537 เป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาองค์การ กองราชการส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ปี พ.ศ. 2539 เป็นนายอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ปี พ.ศ. 2542 เป็นนายอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และปี พ.ศ. 2544 เป็นผู้อำนวยการส่วนระบบการปกครองท้องที่ สำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง
ต่อมาปี พ.ศ. 2545 เป็นผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง และในปี พ.ศ. 2547 เป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ แล้วย้ายไปเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ในปี พ.ศ. 2550 กระทั่งในปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ในช่วงรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากนั้นย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2552 และเป็นอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน ในเดือนพฤษภาคมของปีถัดมา กระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน และเป็นกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค และกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ต่อมาในช่วงรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ (ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ)[5] และในปี พ.ศ. 2555 ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[6]
บทบาทการเมือง
แก้ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557
แก้ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิก สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์[7][8]
ก่อตั้ง พรรคพลังประชารัฐ
แก้ใน พ.ศ. 2561 นายวิเชียร ชวลิต ได้ร่วมก่อตั้ง พรรคพลังประชารัฐ จากนั้นในวันเสาร์ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 พรรคพลังประชารัฐ ได้จัดประชุมสามัญใหญ่ของพรรคเป็นครั้งแรกเพื่อเลือก หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม อิมแพคเมืองทองธานี ปรากฏว่า ดร.อุตตม สาวนายน เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ และนาย ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เป็นรองหัวหน้าพรรค นาย สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก รองศาสตราจารย์ พรชัย ตระกูลวรานนท์ เป็นเหรัญญิกพรรค นายกองเอก วิเชียร ชวลิต เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค[9] และ ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็นโฆษกพรรค
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[10] ต่อมาวิเชียร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเป็นรองประธานกรรมการคนที่สี่ในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร[11] รองประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 เป็นรองประธานกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
เขาลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากตนเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐมา ต่อมาพรรคมีการเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถทำตามอุดมการณ์ที่มุ่งหวังได้ จึงต้องมองหาพรรคการเมืองที่มีจุดยืนและอุดมการณ์ที่ตรงกัน[12] และได้เข้าร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย ในอีก 2 วันต่อมา[13]
รางวัลและเกียรติยศ
แก้- วิเชียร ชวลิต ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก วิเชียร ชวลิต เมื่อ พ.ศ. 2548[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[17]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[18]
- พ.ศ. 2554 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[19]
- พ.ศ. 2548 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[20]
- พ.ศ. 2548 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายวิเชียร ชวลิต)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา นายวิเชียร ชวลิต)
- ↑ ประวัติ นายวิเชียร ชวลิต
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายวิเชียร ชวลิต)
- ↑ นายวิเชียร ชวลิต กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ครม.ไฟเขียวตั้ง “วิเชียร ชวลิต” เป็นขรก.การเมือง-นั่งที่ปรึกษารมช.พาณิชย์
- ↑ คำสั่งกระทรวงพาณิชย์ ที่ ๑๑/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายวิเชียร ชวลิต)
- ↑ “พลังประชารัฐ” ดีเดย์รับสมัครสมาชิกพรรควันแรก 13 พ.ย.นี้
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี
- ↑ "วิเชียร ชวลิต" ลาออก "ส.ส."พปชร."อุบร่วมงาน"สร้างอนาคตไทย"
- ↑ พรรคสร้างอนาคตไทย: อุตตม-สนธิรัตน์ลั่น “ไม่ซ้ายสุดขั้ว ไม่ขวาสุดโต่ง ไม่เสนอชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ในบัญชี”
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนแก่นายกองเอก วิเชียร ชวลิต เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122, ตอนที่ 13 ข, 2 กันยายน พ.ศ. 2548, หน้า 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑๑, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓๑๘, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘