ราชรัฏฐาภิบาลรวบรวมชาติกัมพูชา

ราชรัฏฐาภิบาลรวบรวมชาติกัมพูชา (เขมร: រាជរដ្ឋាភិបាលរួបរួមជាតិកម្ពុជា ราชรฎฺฐาภิบาลรัวบรัวมชาติกมฺพุชา; อังกฤษ: Royal Government of National Union of Kampuchea; ฝรั่งเศส: Gouvernement Royal d'Union Nationale du Kampuchéa: GRUNK) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นของกัมพูชา ตั้งขึ้นที่ปักกิ่ง คงอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2513 – 2519 และมีอำนาจปกครองกัมพูชาในช่วงสั้น ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2518 – 2519 มีพื้นฐานมาจากแนวร่วมสหภาพแห่งชาติเขมร (FUNK) ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างพระนโรดม สีหนุ อดีตประมุขของรัฐที่ต้องลี้ภัยหลังการรัฐประหาร และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (ที่ต่อมารู้จักกันในชื่อเขมรแดง) ก่อตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนของประเทศจีน แม้ว่าเขมรแดงนี้จะเคยต่อต้านระบอบสังคมของสีหนุมาก่อน

ราชรัฏฐาภิบาลรวบรวมชาติกัมพูชา

រាជរដ្ឋាភិបាលរួបរួមជាតិកម្ពុជា
Gouvernement royal d'union nationale du Kampuchéa
พ.ศ. 2518–2519
ธงชาติ
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของ
ตราแผ่นดิน
สถานะรัฐบาลพลัดถิ่น
เมืองหลวงฐานในปักกิ่งและวิคตอเรีย
พนมเปญโดยนิตินัย
ภาษาทั่วไปภาษาเขมร, ภาษาฝรั่งเศส
ประมุขแห่งรัฐ 
• 2513–2519
พระนโรดม สีหนุ
นายกรัฐมนตรี 
• 2513–2519
แปน นุต
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
สงครามกลางเมืองกัมพูชา
สงครามเวียดนาม
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรกัมพูชา
กัมพูชาประชาธิปไตย

การก่อตั้ง แก้

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 พระนโรดม สีหนุถูกรัฐประหารโดยกลุ่มฝ่ายขวาในรัฐบาลของพระองค์เองคือลน นลและพระสีสุวัตถิ์ สิริมตะและอิน ตัม พระนโรดม สีหนุในขณะที่อยู่ต่างประเทศได้ออกรายการวิทยุเรียกร้องให้มีการลุกฮือต่อต้านรัฐประหารที่กรุงปักกิ่งเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2513 ในนามรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ

ความเห็นของพระนโรดม สีหนุในการก่อตั้งแนวร่วมมีความแตกต่างไปจากที่ประกาศโดยโฆษก เขากล่าวว่าเขาได้ตัดสินใจโดยกะทันหันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลสหภาพแห่งชาติ ในขณะที่แผนของมอสโกและปักกิ่ง เขาได้รับข้อความหลังจากออกอากาศไปแล้ว 3 วัน ซึ่งได้รับผ่านทางผู้นำของเขมรแดง 3 คนที่เคยร่วมมือกับระบอบสังคมของพระองค์

จริง ๆ แล้ว ในขณะที่พระนโรดม สีหนุไปถึงปักกิ่งยังไม่แน่นอนว่าการเคลื่อนไหวจะเป็นไปในทิศทางใด และหลังจากการประชุมลับในวันที่ 21 มีนาคมกับนายกรัฐมนตรีของเวียดนามเหนือ ฝ่าม วันดงและโจว เอินไหล ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนพระนโรดม สีหนุ การประชุมครั้งนี้เป็นการตกลงใจที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ในกัมพูชาที่เขาเคยต่อต้านมาในอดีต จึงดูเหมือนว่าเป้นความต้องการของลน นลและอาจมีการสนับสนุนของสหรัฐในการตัดสินใจก่อรัฐประหาร สีหนุเคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาต้องเลือกเพราะลน นลบังคับให้เขาเลือก[1]

การประกาศจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 และได้รับการรับรองทันทีจากจีนแผ่นดินใหญ่ การจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นโดยพระนโรดม สีหนุเป็นผู้นำของเขมรแดง ทำให้เขมรแดงเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มที่จงรักภักดีต่อพระนโรดม สีหนุและกลุ่มอนุรักษนิยมในการต่อต้านสาธารณรัฐเขมรของลน นล กองกำลังคอมมิวนิสต์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในเขตชนบทของกัมพูชา ซึ่งเกิดจากความนิยมสีหนุและความโกรธแค้นจากการทิ้งระเบิดอย่างหนักของสหรัฐอเมริกา การได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ทำให้พระนโรดม สีหนุยังคงมีอำนาจอยู่ และปลอดภัยภายใต้การสนับสนุนของจีนและเวียดนามเหนือ

องค์ประกอบ แก้

รัฐบาลพลัดถิ่นนี้มีพระนโรดม สีหนุเป็นประมุข นายกรัฐมนตรีคือเพ็ญ โนต ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของสีหนุตั้งแต่การเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศสและระหว่างปกครองด้วยระบอบสังคม เขียว สัมพันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการกองทัพ ซึ่งยังคงอยู่ในพื้นที่ปลดปล่อย และเป็นจุดที่ทำให้รัฐบาลสหภาพฯออกมากล่าวว่าพวกเขาไม่ได้เป็นรัฐบาลพลัดถิ่น ฮู ยวนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ ฮู นิม เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศ ทั้งหมดนี้เป็นที่นิยมในเขตชนบทของกัมพูชา เนื่องจากเป็นนักพูดเกี่ยวกับสิทธิของชนบท

การควบคุมกองทัพที่แท้จริงอยู่ภายใต้การสั่งงานของพล พต ซึ่งเป็นผู้นำระดับสูงของเขมรแดง (ร่วมกับนวน เจีย ซอน เซนและเอียง ซารี) กองทัพของแนวร่วมในชื่อกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนกัมพูชาในช่วงแรกมีขนาดเล็ก และการต่อสู้ในสงครามกลางเมืองกัมพูชาช่วงแรกได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามเหนือ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างพระนโรดม สีหนุกับเขมรแดงไม่ค่อยราบรื่นนัก โดยเฉพาะพระองค์กับเอียง ซารี มีความขัดแย้งส่วนตัวอยู่ด้วย

การครอบงำของเขมรแดง แก้

ความสำเร็จทางการทหารของเขมรแดงเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2516 สีหนุเดินทางเข้าเยี่ยมเยียนพื้นที่ปลดปล่อย และถ่ายรูปร่วมกับเขียว สัมพัน ฮู ยวน และฮู นิม เมื่อมีการนำภาพนั้นมาเผยแพร่ สหรัฐได้ออกมาให้ความเห็นว่าบุคคลในภาพเป็นเพียงปีศาจสามตนเพราะถูกตำรวจลับของสีหนุสังหารไปแล้ว ต่อมาเมื่อมีการเผยแพร่ภาพยนตร์ของการพบปะครั้งนี้ จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าบุคคลทั้งสามยังไม่ตาย

ระหว่าง พ.ศ. 2516 เจ้าหน้าที่ที่ภักดีกับพระนโรดม สีหนุและมีความเชื่อมโยงกับเวียดนามเหนือเริ่มถูกย้ายออกไปจากรัฐบาล และเริ่มมีการให้ภาพของพระนโรดม สีหนุว่าเป็นเจ้าขุนมูลนาย พื้นที่ปลดปล่อยเริ่มขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะทางตะวันตก ซึ่งผู้กุมอำนาจเป็นกลุ่มของนักชาตินิยมที่ต่อต้านเวียดนาม คำว่าราชอาณาจักรถูกตัดออกจากชื่อรัฐบาล รัฐบาลสหรัฐปฏิเสธไม่ยอมรับพระนโรดม สีหนุและยังคงสนับสนุนรัฐบาลของลน นล โดยการทิ้งระเบิดในกัมพูชาต่อไป การที่สหรัฐไม่ยอมรับสีหนุ ทำให้จีนหันไปสนับสนุนเขมรแดงโดยตรงมากขึ้น

หลังพนมเปญแตก แก้

เมื่อเขมรแดงยึดพนมเปญได้เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 กลุ่มคอมมิวนิสต์ได้เข้ามาควบคุมรัฐบาลพลัดถิ่นและการสื่อสารกับกัมพูชาถูกตัด พระนโรดม สีหนุไม่ได้รับรายงานโดยตรงว่าพนมเปญแตก เมื่อพระองค์เสด็จกลับพนมเปญ พระองค์รู้สึกช็อกกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเมือง การเสียชีวิตของโจว เอินไหลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 ทำให้สถานะของพระองค์อ่อนแอลง เมื่อพระองค์ทราบข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชน​ของเขมรแดงจากวิทยุต่างชาติ พระองค์จึงลาออกจากตำแหน่งประมุขรัฐเมื่อ เดือนเมษายน พ.ศ. 2519 เขมรแดงได้ส่งเอียง ซารีมาเกลี้ยกล่อมให้พระองค์อยู่ต่อไป แต่สีหนุปฏิเสธ ทำให้พระองค์ถูกกักบริเวณ เขียว สัมพันขึ้นเป็นประมุขรัฐแทน เพ็ญ โนตถูกปลดออก พล พตขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน

ผู้ที่นิยมพระนโรดม สีหนุในรัฐบาลพลัดถิ่นถูกประหารชีวิต เช่นพระนโรดม ภูริสสระ ซึ่งถูกฆ่าในค่ายสัมมนาเมื่อพ.ศ. 2519 เจีย สัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของรัฐบาลพลัดถิ่นถูกฆ่าในคุกตวล ซแลง มีแต่เพ็ญ โนตที่รอดมาได้ สมาชิกของเขมรแดงที่เข้าร่วมในรัฐบาลพลัดถิ่น ฮู ยวนสูญหายไปในปี พ.ศ. 2518 และเชื่อว่าเสียชีวิตแล้วใน พ.ศ. 2519 ฮู นิมและเจา เสงถูกประหารชีวิตที่คุกตวล ซแลงใน พ.ศ. 2520 มีเพียงเขียว สัมพันที่ยังคงเป็นผู้นำรัฐ

หลังการล่มสลายของกัมพูชาประชาธิปไตย แก้

หลังจากการรุกรานของเวียดนาม พ.ศ. 2521 เขมรได้เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในต้นปี พ.ศ. 2522 ทำให้มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา เขมรแดงได้ติดต่อพระนโรดม สีหนุให้มาเป็นตัวแทนกัมพูชาประชาธิปไตยในสหประชาชาติ แต่พระองค์ปฏิเสธ เขมรแดงพยายามจัดตั้งองค์กรใหม่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของตนขึ้นมาอีก ต่อมาใน พ.ศ. 2525 พรรคฟุนซินเปกของพระนโรดม สีหนุได้เข้าร่วมกับเขมรแดงในการจัดตั้งแนวร่วมเขมรสามฝ่ายเพื่อรักษาที่นั่งในสหประชาชาติ

อ้างอิง แก้

  1. Shawcross, W. Sideshow: Kissinger, Nixon, and the Destruction of Cambodia, Simon & Schuster, 1979, p.125