ม้าเจ๊ก
ม้าเจ๊ก (อังกฤษ: Ma Su; จีนตัวย่อ: 马谡; จีนตัวเต็ม: 馬謖; พินอิน: Mǎ Sù; ค.ศ. 190 — ค.ศ. 228 [1]) เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาหรือกุนซือและแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊ก
ม้าเจ๊ก | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() ภาพวาดม้าเจ๊ก สมัยราชวงศ์ชิง | |||||||||||||||
ที่ปรึกษาแห่งจ๊กก๊ก | |||||||||||||||
เกิด | ค.ศ. 190 | ||||||||||||||
ถึงแก่กรรม | ค.ศ. 228 | ||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 馬謖 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 马谡 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อรอง | อิ้วฉาง |
ประวัติแก้ไข
ม้าเจ๊กเป็นกุนซือและแม่ทัพหนุ่มที่ติดตามขงเบ้งมานาน เป็นน้องชายของม้าเลี้ยง ช่วยขงเบ้งวางแผนการรบมีความชอบหลายครั้ง เป็นผู้ที่หลังศึกเซ็กเพ็ก เมื่อโจโฉแตกพ่ายทัพง่อก๊กของจิวยี่แล้ว ขงเบ้งได้ถามถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นภายภาคหน้ากับม้าเจ๊ก ม้าเจ๊กสามารถตอบได้อย่างตรงใจขงเบ้ง ขงเบ้งถึงกับกล่าวยกย่องว่า ท่านทำให้ข้าพเจ้าทึ่ง แต่เป็นผู้ที่ก่อนพระเจ้าเล่าปี่จะสิ้นพระชนม์ได้ถามขงเบ้งว่า ท่านว่า ม้าเจ๊กผู้นี้ท่านเห็นเป็นเช่นไร ขงเบ้งตอบว่า เป็นคนที่อัจฉริยะที่สุดในโลก แต่พระเจ้าเล่าปี่ไม่เห็นด้วยและเตือนขงเบ้งว่า ม้าเจ๊ก เป็นคนที่พูดจาใหญ่โตเกินจริง ให้ทำงานใหญ่ไม่ได้ ให้พึงระวัง
ม้าเจ๊กเป็นผู้ที่แนะนำขงเบ้งว่าเมื่อจับตัวเบ้งเฮ็กแล้วให้ปล่อยตัวทุกครั้ง จนสามารถเอาชนะใจเบ้งเฮ็กและชาวเผ่าม่าน และม้าเจ๊กผู้นี้ยังเป็นผู้คิดอุบายที่จะยุยงพระเจ้าโจยอยให้ระแวงสุมาอี้จนสุมาอี้ถูกปลดจากตำแหน่งไปพักใหญ่ ก่อนที่จะได้คืนตำแหน่งในเวลาต่อมา
เมื่อครั้งที่ขงเบ้งนำทัพบุกกิสาน ม้าเจ๊กต้องการสร้างความชอบจึงอาสาไปรักษาเมืองเกเต๋งซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ โดยเอาชีวิตของตนเองเป็นประกัน ซึ่งก่อนออกรบขงเบ้งกำชับให้ม้าเจ๊กตั้งค่ายคร่อมทางเข้าเมืองเกเต๋ง แต่ม้าเจ๊กไม่ฟังคำขงเบ้งถือตัวเองว่าชำนาญพิชัยสงคราม เลยถูกสุมาอี้ตัดทางลำเลียงน้ำ และจุดไฟเผาทำให้แตกพ่ายเสียเมืองเกเต็ง
ในนิยายนั้นมาเจ๊กถูกขงเบ้งสั่งประหาร เมื่อได้ประหารไปแล้ว ขงเบ้งร่ำไห้ บรรดาขุนนางและนายทหารปลอบขงเบ้งว่า ท่านอย่าได้เสียใจไปเลย คนทำผิดถูกประหารก็เห็นชอบแล้ว ขงเบ้งตอบว่า ข้าพเจ้ามิได้เสียใจที่ประหารม้าเจ๊ก แต่เสียใจตัวเองที่ครั้งพระเจ้าเล่าปี่ก่อนสวรรคตได้เตือนถึงเรื่องม้าเจ๊กแล้ว แต่ตนไม่ฟังเอง จึงเสียการใหญ่ จากนั้นจึงได้ขอพระราชทานเงินเลี้ยงดูครอบครัวม้าเจ็กไปตลอดชีพ และทูลขอพระเจ้าเล่าเสี้ยนลดตำแหน่งตัวเองลง 3 ขั้น เพื่อเป็นการลงโทษ แต่ก็ยังคงกุมอำนาจทางการสั่งการอยู่
อย่างไรก็ตาม ในจดหมายเหตุสามก๊กในส่วนประวัติของม้าเจ๊กและเพื่อนสนิทอย่างเชียงหลางนั้นได้ระบุว่าม้าเจ๊กได้หลบหนีหลังจากพ่ายที่เกเต๋ง จากนั้นจึงถูกจับได้ และม้าเจ๊กได้ป่วยตายในเรือนจำก่อนที่จะมีการประกาศโทษประหารขึ้น[2]
ครอบครัวแก้ไข
- ม้าเลี้ยง—พี่ชาย
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Brill. p. 649. ISBN 978-90-04-15605-0.
- ↑ (朗素與馬謖善,謖逃亡,朗知情不舉,亮恨之,免官還成都。). เฉินโซ่ว. จดหมายเหตุสามก๊ก, เล่มที่ 41, ประวัติของเชียงหลาง. ในจดหมายเหตุได้ระบุว่าม้าเจีกได้ทอดทิ้งกองทัพแต่ได้ถูกจับตัวเข้าคุกในเวลาต่อมา.
- Chen Shou (2002). Records of the Three Kingdoms, Volume 39, Biography of Ma Su. Yue Lu Shu She. ISBN 7-80665-198-5.
- Luo Guanzhong (1986). Romance of the Three Kingdoms. Yue Lu Shu She. ISBN 7-80520-013-0.
- Lo Kuan-chung; tr. C.H. Brewitt-Taylor (2002). Romance of the Three Kingdoms. Tuttle Publishing. ISBN 0-8048-3467-9.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ม้าเจ๊ก |