อุยเอี๋ยน (เสียชีวิต ป. ตุลาคม ค.ศ. 234[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เว่ย์ เหยียน (จีน: 魏延; พินอิน: Wèi Yán; เกี่ยวกับเสียงนี้ การออกเสียง ) ชื่อรอง เหวินฉาง (จีน: 文長; พินอิน: Wéncháng) เป็นขุนพลและนักการเมืองชาวจีนของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เดิมเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของขุนศึกเล่าปี่ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อุยเอี๋ยนได้รับการเลื่อนยศแล้วขึ้นเป็นขุนพลเมื่อเล่าปี่เข้ายึดครองมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ในปี ค.ศ. 214[2] ผลงานการรบในยุทธการทำให้อุยเอี๋ยนกลายเป็นบุคคลสำคัญในกองทัพของเล่าปี่ในเวลาไม่นาน ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองของเมืองฮันต๋งและเป็นผู้บัญชาการพื้นที่ในปี ค.ศ. 219[2] ในระหว่างปี ค.ศ. 228 ถึง ค.ศ. 234 อุยเอี๋ยนเข้าร่วมในการยกทัพบุกขึ้นเหนือที่นำโดยจูกัดเหลียงผู้สำเร็จราชการแห่งจ๊กก๊กเพื่อต้านวุยก๊กอันเป็นรัฐอริ หลังจูกัดเหลียงเสียชีวิตเมื่อราวเดือนกันยายน ค.ศ. 234 อุยเอี๋ยนก็ถูกสังหารโดยม้าต้ายขุนพลจ๊กก๊กอีกคนหนึ่งในข้อหากบฏ

อุยเอี๋ยน (เว่ย์ เหยียน)
魏延
ภาพวาดอุยเอี๋ยนยุคราชวงศ์ชิง
มหาขุนพลโจมตีตะวันออก
(征西大將軍 เจิงซีต้าเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 231 (231) – ค.ศ. 234 (234)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ที่ปรึกษาการทหารทัพหน้า
(前軍師 เฉียนจฺวินชือ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 231 (231) – ค.ศ. 234 (234)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ข้าหลวงมณฑลเลียงจิ๋ว
(涼州刺史 เหลียงโจฺวชื่อฉื่อ)
(แต่ในนาม)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 227 (227) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ขุนพลพิทักษ์ภาคเหนือ
(鎮北將軍 เจิ้นเป่ย์เจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 221 (221) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าปี่ / เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ขุนพลพิทักษ์แดนไกล
(鎮遠將軍 เจิ้นยฺเหวี่ยนเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 219 (219) – ค.ศ. 221 (221)
กษัตริย์เล่าปี่
เจ้าเมืองฮันต๋ง
(漢中太守 ฮั่นจงไท่โฉฺ่ว)
(รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 219 (219) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าปี่ / เล่าเสี้ยน
ขุนพลรักษาค่ายใหญ่
(牙門將軍 หยานเหมินเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 214 (214) – ค.ศ. ? (?)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครหนานหยาง มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิตค.ศ. 234
มณฑลเสฉวน
บุตรบุตรชายอย่างน้อย 1 คน
อาชีพขุนพล, นัการเมือง
ชื่อรองเหวินฉาง (文長)
บรรดาศักดิ์หนานเจิ้งโหฺว
(南鄭侯)

ประวัติช่วงต้น แก้

อุยเอี๋ยนเป็นชาวเมืองงีหยง (義陽郡 อี้หยางจฺวิ้น) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของนครหนานหยางทางใต้ของมณฑลเหอหนานและบางส่วนมณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน[2] อุยเอี๋ยนเริ่มรับราชการในฐานะทหารเดินเท้าภายใต้ขุนศึกเล่าปี่ อาจเป็นในช่วงปี ค.ศ. 209 ถึง ค.ศ. 211 เมื่อเล่าปี่อยู่ทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลหูเป่ย์และมณฑลหูหนานในปัจจุบัน)[2] ราวปี ค.ศ. 212 อุยเอี๋ยนติดตามเล่าปี่ไปยังมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) และรับใช้เล่าปี่ในฐานะนายทหารคนสนิทในสงครามกับเล่าเจี้ยงเจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว (益州牧 อี้โจวมู่)[2] ฮองตงและอุยเอี๋ยนมีผลงานในการรบหลายครั้งระหว่างการยึดอำเภอก๋งฮาน[3] อุยเอี๋ยนจึงได้รับการเลื่อนยศเป็นขุนพลเต็มตัว[2]

เจ้าเมืองฮันต๋ง แก้

การบุกขึ้นเหนือ แก้

ยุทธการที่ทุ่งราบอู่จ้าง แก้

เสียชีวิต แก้

วิเคราะห์ลักษณะ แก้

วิเคราะห์แผนจูงอก๊ก แก้

สิ่งสืบเนื่อง แก้

ในนิยายสามก๊ก แก้

ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 อุยเอี๋ยนปรากฏบทบาทครั้งแรกที่เมืองเกงจิ๋ว เมื่อเล่าปี่ได้อพยพราษฎรจากซินเอี๋ยและอ้วนเสียข้ามน้ำมาจากการตามล่าของโจโฉขอให้ชาวบ้านอยู่ในเมืองด้วย พวกทหารและเสนาธิการจะแยกไปทันที แต่ชัวมอที่บังคับเล่าจ๋องอยู่ไม่ยอมเปิดประตูให้ อุยเอี๋ยนซึ่งเป็นทหารเกงจิ๋วกลับนำทหารส่วนหนึ่งมาเปิดประตูให้เล่าปี่ยกเข้าเมือง แต่บุนเพ่งแม่ทัพคนหนึ่งของเกงจิ๋วได้ออกมาขัดขวาง พร้อมด่าว่า เจ้าจะเป็นกบฏหรือ อุยเอี๋ยนกับบุนเพ่งจึงได้สู้กัน เล่าปี่อนาถใจที่เห็นทั้งคู่มาสู้กันเอง จึงยกทัพแยกไป

อุยเอี๋ยนมาสวามิภักดิ์เล่าปี่อีกครั้ง เมื่อครั้งที่ ฮองตง รบกับ กวนอู ตัวฮองตงแกล้งยิงเกาทัณฑ์พลาดเพื่อทดแทนบุญคุณกวนอู แต่กลับทำให้เจ้าเมืองคิดว่า ฮองตง เอาใจออกห่างจึงสังให้ประหารฮองตง ทำให้อุยเอี๋ยนไม่พอใจ นำพาทหารจับเจ้าเมืองฆ่า แล้วสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่ ซึ่งการมาสวามิภักดิ์ครั้งนี้ ทำให้ขงเบ้งไม่พอใจสั่งประหารอุยเอี๋ยน เพราะขงเบ้งคิดว่า "เป็นบ่าวกินข้าวนาย แต่ฆ่านาย เลี้ยงไว้จะเป็นภัย" แต่เล่าปี่ได้ห้ามไว้เพราะต้องการจะได้คนมีฝีมือมาใช้งาน แม้อุยเอี๋ยนจะมีฝีมือในการรบแต่ก็ไม่เคยเป็นที่วางใจเลยของขงเบ้ง ทั้งคู่มักโต้เถียงกันประจำในทางวางกลยุทธ์ และขงเบ้งมักให้หน้าที่อุยเอี๋ยนเป็นรองขุนพลคนอื่น ๆ เสมอ ๆ โดยเฉพาะตอนที่ยกทัพลงใต้ปราบเบ้งเฮ็ก ยังความไม่พอใจแก่อุยเอี๋ยนมาก แต่ยังไม่กล้าทำอะไรเพราะเกรงในสติปัญญาและบารมีของขงเบ้ง

เมื่อถึงคราวขงเบ้งทำพิธีต่อชะตาอายุตนเอง ในคืนวันที่ 7 พิธีจวนจะสำเร็จแล้ว หากตะเกียงไฟไม่ดับไปเสียก่อน สุมาอี้ได้ใช้ให้กองสอดแนมแสร้งทำว่าจะโจมตี ก็เป็นอุยเอี๋ยนที่วิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามารายงานในกระโจม เป็นเหตุให้ลมพัดตะเกียงดับทันที เกียงอุยโมโหอุยเอี๋ยนมาก ชักกระบี่จะสังหารทันที แต่ขงเบ้งห้ามไว้ โดยบอกว่า เป็นชะตาข้าพเจ้าเอง ไม่เกี่ยวกับอุยเอี๋ยนหรอก ก่อนขงเบ้งจะตาย ได้สั่งเสียไว้หลายอย่าง และกล่าวกับหลายบุคคลว่า เมื่อเราตายไปแล้ว อุยเอี๋ยนจะเป็นกบฏ และได้วางแผนให้ที่จะกำจัดอุยเอี๋ยน โดยขณะที่ทัพจ๊กยกกลับเสฉวนนั้น เกียงอุยบอกว่า ขงเบ้งให้อุยเอี๋ยนเป็นกองหลัง ยังความไม่พอใจแก่อุยเอี๋ยนมาก จึงประกาศไม่เข้าร่วมกับทัพจ๊กอีกต่อไป โดยมีม้าต้ายแสร้งทำเป็นแนวร่วมด้วย อุยเอี๋ยนนำกำลังทหารทั้งหมดมาล้อม หมายจะตีเมืองฮันต๋ง เมื่อถึงเมืองก็พบ เกียงอุย และเต่งหงีเฝ้าเมืองอยู่ ทั้งสองได้อ่านจดหมายที่ขงเบ้งทิ้งไว้ก่อนตายและได้บอกกับอุยเอี๋ยนว่า "หากเจ้าเงยหน้าขึ้นฟ้าแล้วตะโกนว่า ผู้ใครกล้าฆ่าข้า 3 รอบ แล้วเจ้าไม่ตายก็ถือว่าเจ้าเป็นคนที่แน่จริง เราจะเปิดประตูยกเมืองให้แก่เจ้าทันที" เมื่อได้ทีอุยเอี๋ยนแหงนหน้าตะโกนขึ้นฟ้าด้วยความคะนอง 3 ครั้งว่า "ผู้ใดจะฆ่าข้า" ทันใดนั้น ม้าต้ายก็ที่ขี่ม้าขนาบข้างอุยเอี๋ยนตามแผนของขงเบ้งและตะโกนจากด้านข้างของอุยเอี๋ยนว่า "ข้าผู้มีฝีมือนี้ล่ะ ฆ่าเจ้า" อุยเอี๋ยนได้ยินแล้วก็ตกใจทำอะไรไม่ถูก ถูกม้าต้ายฟันคอขาดทันที

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ชีวประวัติจูกัดเหลียงในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าอุยเอี๋ยนเสียชีวิตในเดือน 8 ของศักราชเจี้ยนซิง (ค.ศ. 223-237) ปีที่ 12 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเล่าเสี้ยน เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 11 กันยายนถึง 10 ตุลาคม ค.ศ. 234 ในปฏิทินจูเลียน[1] เนื่องจากอุยเอี๋ยนเสียชีวิตหลังจากจูกัดเหลียงไม่นาน วันที่อุยเอี๋ยนเสียชีวิตจึงควรจะอยู่ราวเดือนตุลาคม ค.ศ. 234

อ้างอิง แก้

  1. ([建興]十二年 ... 其年八月,亮疾病,卒于軍...。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 35
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 de Crespigny (2007), p. 857.
  3. 黄其军. 三国史话 (ภาษาจีน). DeepLogic. p. 63. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022. 刘备派遣黄忠、魏延等分统军队平定广汉郡,立下战功。214 年,魏延随刘备攻克益州重镇雒城,并与诸葛亮、张飞等人一起包围并占领了成都。镇守汉中扬威名。219 年,刘备在沔阳自称汉中王,定都于成都,主力回撤后必须留大将镇守汉中。