จิ้นเหวินกง
จิ้นเหวินกง (จีนตัวย่อ: 晋文公; จีนตัวเต็ม: 晉文公; พินอิน: Jin Wén Gōng; เวด-ไจลส์: Chin Wen Kung, 697–628 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นเจ้าผู้ปกครองรัฐชั้นกงแห่งรัฐจิ้นในยุควสันตสารท ครองตำแหน่งระหว่าง 636 – 628 ปีก่อน ค.ศ. จิ้นกงผู้นี้มีชื่อเสียงจากการต้องร่อนเร่พเนจรเพื่อลี้ภัยทางการเมืองเป็นเวลานานนับสิบปีกว่าจะได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปกครองรัฐจิ้น และต่อมาได้เป็น 1 ในห้าอธิราชแห่งราชวงศ์โจวตะวันออก เพราะเป็นผู้ปรีชาสามารถสูงยิ่ง สามารถขยายดินแดนของรัฐจิ้นออกไปได้อย่างกว้างขวาง และทำให้รัฐจิ้นที่เป็นรัฐเล็ก ๆ อ่อนแอสามารถขึ้นมาเทียบชั้นรัฐใหญ่อย่างรัฐฉู่และรัฐฉีได้สำเร็จ
จิ้นเหวินกง 晉文公 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จิ้นกง | |||||
จิ้นเหวินกงฟื้นฟูฐานะของตน ภาพวาดโดย หลี่ถัง, ค.ศ. 1140 | |||||
เจ้าผู้ปกครองรัฐจิ้น | |||||
ครองราชย์ | 636–628 ก่อน ค.ศ. | ||||
ก่อนหน้า | จิ้นฮว่ายกง | ||||
ถัดไป | จิ้นเซียงกง | ||||
ประสูติ | 697 ก่อน ค.ศ. | ||||
สวรรคต | 628 ก่อน ค.ศ. (อายุ 68–69 ปี) | ||||
คู่อภิเษก | นางจีกุ้ย (季隗) นางฉีเจียง (齊姜) นางฮวายอิง (懷嬴) | ||||
พระราชบุตร | ป๋อเถียว (伯鯈) ชูลิ่ว (叔劉) จิ้นเซียงกง กงจื่อยง (公子雍) กงจื่อเล่อ (公子樂) จิ้นเฉิงกง | ||||
| |||||
พระราชบิดา | จิ้นเสี้ยนกง | ||||
พระราชมารดา | นางหูจี |
จิ้นเหวินกง | |||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 晉文公 | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 晋文公 | ||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | จิ้นกงผู้มีอารยะ | ||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
ฉงเอ่อร์ | |||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 重耳 | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ชื่อ
แก้"จิ้นเหวินกง" (ฮกเกี้ยน: จิ้นบุนก๋ง) เป็นชื่อหลังการแก่อสัญกรรมที่ตั้งขึ้นในฐานะส่วนหนึ่งของการบูชาบรรพบุรุษ มีความหมายตามตัวอักษรว่า "จิ้นกงผู้มีอารยะ" ชื่อตัวของจิ้นเหวินกงคือ ฉงเอ่อร์ (ฮกเกี้ยน: ต๋งนี) มีความหมายว่า "ผู้มีหูสองข้าง" นามสกุลบรรพชน (แซ่) ของเขาคือ "จี" เนื่องจากต้นตระกูลของเขานั้นเป็นผู้สืบเชื้อสายจากเจ้านายในราชวงศ์โจว
ประวัติ
แก้ปฐมวัย
แก้กงจื่อฉงเอ่อร์เป็นบุตรของจิ้นเสี้ยนกง เกิดเมื่อ 697 ปีก่อน ค.ศ. เอกสารจว่อจ้วน ได้บันทึกไว้ว่า "ซี่โครงของเขานั้นติดเป็นพืดเป็นแผ่นเดียวกัน" เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งทางกายและภาวะผู้นำ พี่น้องร่วมบิดาของเขาคือ กงจื่อเชินเชิง กงจื่ออี๋อู๋ และกงจื่อซีฉี แม้กงจื่อเชินเชิงผู้เป็นพี่ชายคนโตของเขาจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นไท่จื่อ (บุตรผู้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่ง) ก็ตาม แต่ในบั้นปลายนั้น จิ้นเซียนกงหลงใหลในตัวของนางหลีจีผู้เป็นอนุภรรยา ซึ่งต้องการให้กงจื่อซีฉีบุตรของตนได้เป็นไท่จื่อแทน ดังนั้นนางหลีจีจึงวางแผนทำลายชื่อเสียงของไท่จื่อเฉินเฉิง ยุแหย่จิ้นเสี้ยนกงมิให้เกิดความไว้ใจในตัวไท่จื่อ ซึ่งเรื่องนี้ได้บีบคั้นให้ไท่จื่อเชินเชิงต้องกระทำอัตนิวิบาตกรรมในที่สุดเมื่อ 656 ปีก่อน ค.ศ.
ร่อนเร่พเนจร
แก้เหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่สงครามกลางเมืองในรัฐจิ้นอันเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เหตุความไม่สงบหลีจี" ซึ่งจิ้นเสี้ยนกงได้รบกับบรรดาบุตรของตนเองหลายครั้ง จนพวกเขาเหล่านั้นต้องหนีไปจากรัฐจิ้น กงจื่อฉงเอ่อร์ได้หนีไปทางทิศเหนือพร้อมด้วยบรรดาผู้จงรักภักดีที่ยังติดตามไปรับใช้ด้วยหลายคน ซึ่งรวมถึงจ้าว ชุ่ย, หู เหยี่ยน, เว่ย โจว (魏犨), เจีย ถวอ (賈佗), เซียน เจิ้น (先軫), และเจี้ย จื่อทุย ลุถึง 651 ปีก่อน ค.ศ. การถึงแก่อสัญกรรมของจิ้นเสี้ยนกงได้นำไปสู่วิกฤตการณ์การสืบทอดอำนาจในรัฐจิ้น กงจื่อฉงเอ่อร์ได้รับคำเชิญให้กลับไปยังรัฐจิ้นและขึ้นเป็นจิ้นกง แต่เขาปฏิเสธคำเชิญดังกล่าว บัลลังก์ตำแหน่งจิ้นกงจึงได้แก่พี่น้องร่วมบิดา คือ กงจื่ออี๋อู่ ซึ่งต่อมามีชื่อเรียกว่า จิ้นฮุ่ยกง
ใน 644 ปีก่อน ค.ศ. กงจื่อฉงเอ่อร์ได้หนีไปยังรัฐฉี เนื่องจากจิ้นฮุ่ยกงได้ส่งคนมาลอบสังหารเขาแต่ล้มเหลว และพำนักอยู่ที่นั้นจนกระทั่งเกิดวิกฤตการณ์การสืบทอดอำนาจในรัฐฉีขึ้นเมื่อ 639 ปีก่อน ค.ศ. เขาจึงต้องพเนจรไปยังรัฐต่างๆ ตั้งแต่รัฐเฉา รัฐซ่ง รัฐเจิ้ง รัฐฉู่ กระทั่งไปสิ้นสุดการเดินทางอยู่ที่รัฐฉิน ตลอดระยะเวลา 19 ปี ที่ต้องลี้ภัยทางการเมืองอยู่เช่นนี้ กงจื่อฉงเออร์ได้ตัวผู้ติดตามที่มากความสามารถและมีสง่าราศีมารับใช้มากมาย ครั้งหนึ่งสตรีจากฝ่ายในของต่างแคว้นได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเขาไว้ว่า "เมื่อข้ามองดูผู้ติดตามกงจื่อแห่งจิ้นแล้ว ทุกคนแลดูคู่ควรแก่ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีทั้งนั้น"
ถึง 636 ปีก่อน ค.ศ. หลังจากจิ้นฮุ่ยกงถึงแก่อสัญกรรม ฉินมู่กงได้ส่งกองทัพคุ้มกันกงจื่อฉงเอ่อร์ให้เดินทางกลับไปยังรัฐจิ้น ผลักดันให้กงจื่อฉงเอ่อร์ได้ครองตำแหน่งจิ้นกงแบบเต็มตัว
ขึ้นเป็นจิ้นกง
แก้เมื่อได้ปกครองรัฐจิ้นแล้ว จิ้นเหวินกงได้ดำเนินปฏิรูปการทหารและองค์กรฝ่ายพลเรือนของรัฐเป็นการใหญ่ โดยอาศัยประสบการณ์ที่ได้เห็นมาจากรัฐต่างๆ ที่ตนได้เดินทางไปลี้ภัย ส่วนหนึ่งก็เพื่ออุดช่องว่างในระบบบริหารที่เกิดขึ้นจากการกวาดล้างในช่วงเปลี่ยนขั้วทางการเมืองภายในรัฐจิ้นหลายๆ ครั้งในระยะก่อนหน้า การดำเนินการดังกล่าวได้รวมถึงการจัดรูปแบบกองทัพออกเป็นสามหน่วย ประกอบด้วยกองทัพบน กองทัพกลาง และกองทัพล่าง แต่ละหน่วยจัดสายการบังคับบัญชาโดยมีตัวแม่ทัพและรองแม่ทัพเป็นผู้บัญชาการไว้ชัดเจน การปรับปรุงรัฐจิ้นดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยเหล่าบุคคลชั้นนำที่สวามิภักดิ์กับจิ้นเหวินกงในช่วงที่ต้องลี้ภัยไปยังรัฐต่างๆ ซึ่งคนเหล่านี้ต่างได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งราชการทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนระดับสูง
อาศัยกองทัพดังกล่าวพร้อมด้วยเกียรติภูมิอันสูงส่งของตัวจิ้นเหวินกงเอง ทำให้เขาสามารถผนวกรัฐข้างเคียงจำนวนมากมายให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐจิ้น และยังได้รัฐอื่นๆ มาเป็นรัฐบริวารอีกจำนวนไม่น้อย รัฐเหล่านี้รวมถึงรัฐเฉา ซึ่งจิ้นเหวินกงได้ส่งกองทัพไปปราบปรามเพื่อเป็นการตอบแทนที่รัฐดังกล่าวดูถูกเหยียดหยามและและไม่ให้เกียรติตนเองในช่วงที่ต้องพเนจรลี้ภัยการเมือง ในขณะเดียวกัน เขาก็ได้วางจุดยืนทางการเมืองของตนเองสนับสนุนราชสำนักโจวตะวันออกและพระเจ้าโจวเซียงหวาง โดยในช่วง 635 ปีก่อน ค.ศ. พระเจ้าโจวเซียงหวางได้ถูกพระราชอนุชาของพระองค์เองชิงราชสมบัติและขับไล่ไปจากราชสำนัก จิ้นเหวินกงได้เป็นแกนนำกองทัพพันธมิตรรัฐสามนตราชต่างๆ ปราบกบฏและอัญเชิญพระเจ้าโจวเซียงหวางกลับสู่ราชบัลลังก์โจวอีกครั้ง
ในขณะเดียวกัน จิ้นเหวินกงก็ได้ยับยั้งการขยายอำนาจของรัฐฉู่ขึ้นสู่ทิศเหนือ โดยความขัดแย้งของรัฐจิ้นและรัฐฉู่นั้นมักปรากฎขึ้นในกลุ่มรัฐเล็กๆ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตแดนของทั้งสองรัฐ และมักจะแปรพักตร์เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามสถานการณ์เพื่อเอาตัวรอด ในช่วง 633 ปีก่อน ค.ศ. รัฐฉู่ได้รุกรานรัฐซ่งซึ่งเป็นพันธมิตรของรัฐจิ้น จิ้นเหวินกงได้นำกองทัพพันธมิตรของตนออกรบ ซึ่งมีกองทัพของรัฐฉิน รัฐฉี และรัฐซ่งรวมอยู่ด้วย และได้ชัยชนะเหนือทัพฉู่อย่างเด็ดขาดในสมรภูมิเฉิงผูเมื่อ 632 ปีก่อน ค.ศ. ผลการรบครั้งได้ตรึงมิให้รัฐฉู่กรีฑาทัพขึ้นทิศเหนือนานหลายสิบปี ทั้งยังช่วยกำหนดสถานะของจิ้นเหวินกงไว้อย่างมั่นคง โดยในปีถัดมา เขาได้เชิญบรรดาผู้นำรัฐสามนตราชต่างๆ มาร่วมประชุมระหว่างแคว้นที่ตำบลเจี้ยนถู่ และมีการมอบตำแหน่งเจ้าอธิราชแก่จิ้นเหวินกงอย่างเป็นทางการ
จิ้นเหวินกงถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 628 ปีก่อน ค.ศ. จิ้นเซียงกงผู้เป็นบุตรได้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งจิ้นกงแทนที่ มรดกจากความเป็นรัฐอธิราชที่จิ้นเหวินกงสร้างไว้ยังผลให้รัฐจิ้นเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ถึงเกือบหนึ่งศตวรรษ
อ้างอิง
แก้เชิงอรรถ
แก้บรรณานุกรม
แก้- Bardeen, Tara (2016), "Qing Ming Festival", Holidays, Denver: Rice Paper Kite.
- Chapman, Ian (2014), "Festival and Ritual Calendar: Selections from Record of the Year and Seasons of Jing-Chu", Early Medieval China: A Sourcebook, New York: Columbia University Press, pp. 468–493, ISBN 978-0-231-15987-6.
- Confucius (1872), Legge, James (บ.ก.), The Ch'un Ts'ew, with the Tso Chuen, Pt. I, The Chinese Classics, Vol. V, Hong Kong: Lane, Crawford, & Co.
- Han Fei (1959), Liao Wên-kuei (บ.ก.), The Complete Works of Han Fei Tzŭ with Collected Commentaries, Oriental Series, Nos. XXV & XXVI, London: Arthur Probsthain.
- Holzman, Donald (June 1986), "The Cold Food Festival in Early Medieval China", Harvard Journal of Asiatic Studies, vol. 46, Cambridge: Harvard University Press, pp. 51–79, doi:10.2307/2719075, JSTOR 2719075.
- Huan Tan (1975), Pokora, T. (บ.ก.), Hsin-lun and Other Writings, Michigan Papers in Chinese Studies, No. 20, Ann Arbor: University of Michigan Press.
- Huang, Julie Shiu-lan; และคณะ (2016), Along the River during the Qingming Festival, Cosmos Classics, ISBN 9789869212564.
- Lan Peijin; และคณะ (1996), "Carrying His Mother into the Mountain[s]", Long Corridor Paintings at [the] Summer Palace, Beijing: Foreign Languages Press, p. 115.
- Lü Buwei & al. (2000), Knoblock, John; และคณะ (บ.ก.), The Annals, Stanford: Stanford University Press, ISBN 978-0-8047-3354-0.
- Ning Yan (30 Dec 2007), "Mount Mianshan", CRI English, Beijing: China Radio International, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-17, สืบค้นเมื่อ 2023-09-08.
- Qu Yuan & al. (1959), Hawkes, David (บ.ก.), Ch'u Tz'u: The Songs of the South, Oxford: Clarendon Press, ISBN 9780141971261, reprinted by Penguin Classics, 1985.
- Qu Yuan & al. (2017), Sukhu, Gopal (บ.ก.), The Songs of Chu, New York: Columbia University Press, ISBN 9780231166065.
- Sima Qian & al. (2006), Nienhauser, William H. Jr.; และคณะ (บ.ก.), The Grand Scribe's Records, Vol. V: The Hereditary Houses of Pre-Han China, Pt. 1, Bloomington: Indiana University Press, ISBN 9780253340252.
- Zhuang Zhou (1891), "The Writings of Kwang Tse, Pt. 2", ใน Legge, James; และคณะ (บ.ก.), The Texts of Taoism, Pt. II, The Sacred Books of China, Vol. VI, The Sacred Books of the East, Vol. XL, Oxford: Oxford University Press.