ซุนวู (จีนตัวย่อ: 孙武; จีนตัวเต็ม: 孫武; พินอิน: Sūn Wǔ; ซุนอู่) หรือ ซุนจื่อ (จีนตัวย่อ: 孙子; จีนตัวเต็ม: 孫子; พินอิน: Sūn Zǐ; เวด-ไจลส์: Sun Tzu, แปลว่า "ปราชญ์แซ่ซุน") เป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ (ซุนจื่อปิงฝ่า - 孙子兵法) ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร ที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน ปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำรา รู้เขารู้เรา รบร้อย ก็มิอาจเป็นอัตรายได้

ซุนวู
รูปปั้นซุนวู ที่เมืองยุริฮิมะ จังหวัดทตโตะริ ประเทศญี่ปุ่น
รูปปั้นซุนวู ที่เมืองยุริฮิมะ จังหวัดทตโตะริ ประเทศญี่ปุ่น
เกิดประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล
เสียชีวิตประมาณ 320 ปีก่อนคริสตกาล
อาชีพผู้บัญชาการทหาร
ช่วงเวลา722–481 ก่อนคริสตกาล หรือ 403–221 ก่อนคริสตกาล (ยังเป็นที่ถกเถียง)
หัวข้อยุทธศาสตร์การทหาร
ผลงานที่สำคัญตำราพิชัยสงครามของซุนวู

ประวัติ แก้

ข้อมูลที่มีหลงเหลืออยู่เกี่ยวกับชีวประวัติของซุนวูคือชีวประวัติที่เขียนขึ้นในช่วง 2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล โดยซือหม่าเชียน นักเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ได้บรรยายถึงซุนวูว่าเป็นแม่ทัพที่อาศัยอยู่ในรัฐอู๋ ในช่วงประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งอยุ่ในยุคเดียวกันกับ ขงจื๊อ นักปรัชญาจีนผู้ยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตามชีวประวัตินี้ขัดแย้งกับหลักฐานอื่นๆ ของยุคนั้น รวมทั้งลักษณะการเขียนและเนื้อหาของ "ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ" ก็บ่งชี้ว่าไม่น่าจะเป็นงานที่เขียนขึ้นในช่วง 400-320 ปีก่อนคริสตกาล

"ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ" ได้ทิ้งเบาะแสเป็นนัยๆ ถึงชีวิตของซุนวู เช่น รถม้าใช้ในการสงครามที่อธิบายโดยซุนวูนั้น มีการใช้เพียงแค่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในช่วงยุค 400 ปีก่อนคริสตกาล ดังนั้นจึงถือว่าบางส่วนของงานเขียนนี้ก็อยู่ในช่วงเวลานั้น โดยคาดว่าซุนวูมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ตำราพิชัยสงครามของซุนวูได้มีการกล่าวถึงหลายคราในนิยายเรื่อง สามก๊ก

ในเลียดก๊ก ซุนวูเป็นสหายกับอู๋จื่อซี อู๋จื่อซีได้ชักชวนซุนวูให้มารับราชการในแคว้นอู๋ โดยทำหน้าที่ฝึกทหารให้แก่อู๋อ๋องเหอหลี อ๋องแห่งแคว้นอู๋ ซุนวูได้เสนอแผนพิชัยสงคราม 13 บรรพ แต่อู๋อ๋องเหอหลียังไม่เชื่อ ซุนวูจึงขอฝึกนางสนมของอู๋อ๋องเหอหลี อู๋อ๋องเหอหลีก็อนุญาต ในการฝึกมีนางสนม 2 นางได้หัวเราะอย่างสนุกสนานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของซุนวู ซุนวูจึงสั่งประหารสนม 2 นางนี้ทันที เพื่อให้เห็นถึงความเอาจริง ท้ายที่สุด อู๋อ๋องเหอหลีจึงได้เชื่อมั่นในตัวซุนวูและตำราพิชัยสงครามอย่างเต็มที่ ในก่อนคริสต์ศักราช 507 ปี อู๋อ๋องเหอหลีแต่งตั้งให้ซุนวูเป็นแม่ทัพ อู๋จื่อซีและป๋อผีเป็นรองแม่ทัพ ยกพลหนึ่งแสนไปตีแคว้นฉู่ สามารถตีแคว้นฉู่ที่ใหญ่กว่าเข้มแข็งกว่าได้สำเร็จ แต่ต่อมาสถานการณ์พลิกผลัน เพราะฉู่เจาอ๋อง อ๋องแคว้นฉู่ได้หลบหนีไปเสียก่อน เย่วอ๋องยุ่นฉาง อ๋องแห่งแคว้นเยว่ ฉวยโอกาสที่แคว้นอู๋ว่างเปล่ายกทัพมาตีแคว้นอู๋ อู๋อ๋องเหอหลีจึงรีบยกทัพกลับทันที เย่วอ๋องยุ่นฉางจึงหนีไป ทำให้อู๋อ๋องเหอหลีผูกใจเจ็บคิดจะล้างแค้นเย่วอ๋องยุ่นฉางตลอดไป

ต่อมาในก่อนคริสต์ศักราช 497 ปี เย่วอ๋องยุ่นฉางถึงแก่กรรม โกวเจี้ยนผู้บุตรได้ขึ้นครองแคว้นแทน จึงคิดฉวยโอกาสไปตีตอนนี้ ซุนวูและอู๋จื่อซีคัดค้าน แต่อู๋อ๋องเหอหลีไม่ฟัง ยกทัพสามหมื่นไปตีแคว้นเยว่ ผลคือทั้งคู่ปะทะกันที่จุ้ยหลี่ ในที่สุดอู๋อ๋องเหอหลีกลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และตนเองก็ถูกอาวุธจนบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่กรรมระหว่างการเดินทางกลับแคว้นอู๋ อู๋อ๋องฟูซาจึงได้ขึ้นครองแคว้นสืบต่อจากอู๋อ๋องเหอหลีผู้บิดา อู๋อ๋องฟูซาแรกทีเดียวดำเนินการอย่างเข้มแข็งหมายจะล้างแค้นให้บิดาให้ได้ รบชนะแคว้นเย่วถึงขั้นจับเย่วอ๋องโกวเจี้ยนได้ แต่ต่อมาความประพฤติกลับเหลวไหล หลงแต่สุราและนารีจากแผนนางงามไซซี ของเย่วอ๋อง จนในที่สุดต้องฆ่าตัวตาย อู๋จื่อซือได้ฆ่าตัวตายเมื่อก่อนคริสต์ศักราช 485 ปี ส่วนซุนวูเมื่อได้รู้ถึงนิสัยที่แท้จริงของอู๋อ๋องฟูซา คิดว่าต่อไปภายภาคหน้าแคว้นอู๋ต้องล่มสลายแน่ จึงลาออกจากราชการในก่อนคริสต์ศักราช 495 ปี

รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง แก้

คนส่วนใหญ่อาจเคยได้ยินคำนี้แล้วก็จะรู้เลยว่านี่เป็นคำสอนของซุนวู แต่เป็นเพียงการรวมคำพูดทั้งสองประโยคที่ซุนวูพูดไว้เท่านั้น คือ"การชนะร้อยทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย จึ่งถือว่าเป็นวิธีอันวิเศษยิ่ง" กับ"หากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธนั้นแล" ฉะนั้นคำสอน"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"จึงไม่มีปรากฏในตำราพิชัยสงครามแต่อย่างใด

วัฒนธรรมร่วมสมัย แก้

ปี 1997 ซุนเยวี่ยนจวิน ผู้ซึ่งเคยรับบทเป็นเล่าปี่ ในเรื่อง สามก๊ก ในปี 1994 รับบทเป็นซุนวู ในภาพยนตร์ซีรีส์ชุด ซุนหวู่ ตำราพิชัยสงคราม

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  • หนังสือ เถาจูกง เทพเจ้าแห่งการค้าขายของจีน โดย พีรยุทธ สุเทพคีรี ISBN.974-8437-87-6