เบ้งเฮ็ก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เมิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีนตัวย่อ: 孟获; จีนตัวเต็ม: 孟獲; พินอิน: Mèng Huò) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน
เบ้งเฮ็ก | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() ภาพวาดเบ้งเฮ็ก สมัยราชวงศ์ชิง | |||||||||||||
ผู้ครองแคว้นแห่งหนานจง | |||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 孟獲 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 孟获 | ||||||||||||
|
เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจากสุมาอี้ สมุหนายกของวุยก๊ก ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ เขตเป่าซาน มณฑลยูนนาน) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ
สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย
คึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำชนชาติ ไต-ไท หากในประวัติศาสตร์ทางการ เบ้งเฮ็กที่จริงแล้วเป็นพลเมืองของจักรวรรดิฮั่น แต่คนมักคิดว่าเบ้งเฮ้กเป็นผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อนทางใต้เนื่องจากภาพที่บรรยายในนิยายสามก๊ก
ครอบครัวแก้ไข
รายนามบุคคลที่ถูกสังหารโดยเบ้งเฮ็กแก้ไข
- ห้วยหลำ ขุนพลของตนเอง
- สุนา ขุนพลของตนเอง
ศึกปราบเบ้งเฮ็กแก้ไข
ศีกปราบเบ้งเฮ็ก | |||||
---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามในสามก๊ก | |||||
| |||||
คู่สงคราม | |||||
ชนเผ่าหนานหมาน สนับสนุน วุยก๊ก | จ๊กก๊ก | ||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||
เบ้งเฮ็ก เบ้งฮิว จกหยง (ภรรยาของเบ็งเฮ็ก) ลุดตัดกุดแห่งเมืองออโกก๊ก โต้สู้ บกลกไต้อ๋อง สุนา งากฟัน โกเตง กิมห้วน ห้วยหลำ เงียมเตียง ตั้วไหล (น้องภรรยาของเบ้งเฮ็ก) สนับสนุน สุมาอี้ |
อุยเอี๋ยน จูล่ง ม้าตง อองเป๋ง ม้าต้าย กวนสก เอียวหองแห่งเขางินติสัน (เป็นผู้ที่จับโต้สู้และเบ้งเฮ็กไปให้ขงเบ้ง) เตียวหงี | ||||
กำลัง | |||||
ทหารเกราะหวายชุบน้ำมันของเมืองออโกก๊ก | |||||
ความสูญเสีย | |||||
ทหารเกราะหวายชุบน้ำมันของเมืองออโกก๊กบาดเจ็บและตายจำนวนมาก |
อ้างอิงแก้ไข
บทความเกี่ยวกับวรรณกรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์ |