จู้หรง (จีน: 祝融) หรือ ฉงหลี่ (จีน: 重黎) เป็นบุคคลสำคัญในประมวลเรื่องปรัมปราจีนและศาสนาพื้นบ้านจีน ซึ่งตำรา หฺวายหนานจื่อ (淮南子) และตำราปรัญชาของมั่วจื่อ (墨子) กับศิษยานุศิษย์ระบุว่า เป็นเทพเจ้าแห่งไฟและทิศใต้[ต้องการอ้างอิง]

จู้หรงขี่มังกรคู่ ภาพจาก ชานไห่จิง ฉบับ ค.ศ. 1597

ตำรา ชานไห่จิง (山海經) ระบุลำดับตระกูลของจู้หรงไว้อีกแบบว่า สืบเชื้อสายจากทั้งจักรพรรดิหยาน (炎帝) และจักรพรรดิหฺวัง (黃帝)[1] แหล่งข้อมูลบางแหล่งแสดงความเกี่ยวข้องของจู้หรงกับปรัมปราจีนสมัยต้นและสมัยดึกดำบรรพ์ เช่น ในเรื่องของนฺหวี่วา (女媧), ก้งกง (共工), และอุทกภัยกุ่น-ยฺหวี่ (鯀禹治水)[2] เนื่องจากเดิมเชื่อว่าประมวลเรื่องปรัมปราจีนมีเค้ามูลมาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์อย่างน้อยก็บางส่วน ในการศึกษาวัฒนธรรมจีนแง่ประวัติศาสตร์จะพบว่าเรื่องราวของบุคคลหลายคนหรือเหตุการณ์หลายเหตุที่เล่าขานสืบต่อกันมายาวนาน มีประเพณีซ้อนกันอยู่ คือ ประเพณีที่นำเสนอแง่มุมประวัติศาสตร์มากกว่า กับประเพณีที่นำเสนอเรื่องปรัมปรามากกว่า[3] กรณีของจู้หรงก็เข้าข่ายนี้ เพราะในเอกสาร ฉื่อจี้ (史記) ของซือหม่า เชียน (司馬遷) จะพบว่า จู้หรงได้รับการพรรณนาดั่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมไฟ[4]

ว่ากันว่า จู้หรงเป็นบุตรของเกาหยาง (高陽) บ้างเรียก จฺวันซฺวี (顓頊) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า[5] ขณะที่ฉบับประวัติศาสตร์นั้นนำเสนอว่า จฺวันซฺวีเป็นจักรพรรดิจีน อนึ่ง ยังเชื่อว่า จฺวันซฺวีนี้มีบุตรอีกคน คือ กุ่น (鯀) ผู้เป็นบิดาของต้า-ยฺหวี่ (大禹) ราชตระกูลในราชวงศ์ฉิน (秦) ก็อ้างว่าตนสืบเชื้อสายกษัตริย์ผ่านจฺวันซฺวี (แต่มิได้ผ่านจู้หรง) นอกจากนี้ ยังมีการอ้างว่า จู้หรงเป็นบรรพบุรุษของราชตระกูลแปดสายในรัฐฉู่ (楚)

พงศาวลีวิทยา แก้

พงศาวลีวิทยาของอักษร แก้

อักษรจีนตัวเต็มลักษณะหนึ่งที่ใช้ในชื่อของจู้หรงคืออักษร ประกอบด้วยการรวมอักษร 鬲 และ 虫 เข้าด้วยกัน อักษร หมายถึงหม้อต้มหรือภาชนะสามขาที่ใช้ในพิธีกรรม ซึ่งรายงานทางโบราณคดีระบุว่าเป็นภาชนะที่มีลักษณะเฉพาะของยุคทองแดง (ปลายยุคหินใหม่/ต้นยุคสำริด) พบในแหล่งโบราณคดีทางเหนือของประเทศจีน[6] ส่วนอักษร มักใช้เพื่อแสดงความหมายเกี่ยวกับหนอน งู หรือแมลง นักจีนวิทยาเดวิก ฮอกส์ (David Hawkes) สันนิษฐานความเชื่อมโนงระหว่างตัวอักษรในชื่อของจู้หรงว่ามีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการทำเครื่องปั้นดินเผาของจีนยุคโบราณ

บรรพบุรุษในตำนาน แก้

ชานไห่จิงระบุว่าจู้หรงเป็นบุตรชายของบิดาที่ชื่อแปลได้ว่า "เล่นกับหม้อ" ซึ่งเป็นบุตรชายของผู้ที่แปลชื่อได้ว่า "ชำนาญหม้อ" ในส่วน "บทนำ" ของรวทบทกวีฉู่ฉือ (楚辭) ฮอกส์ใช้ข้อสังเกตเหล่านี้เพื่อสนับสนุนการสันนิษฐานของตนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับวัฒนธรรมการทำเครื่องปั้นดินเผาและภูมิหลังทางวัฒนธรรมของรวทบทกวีฉู่ฉือ[6]

การพรรณนา แก้

จารึกในศาลตระกูลอู่ (武氏祠) บรรยายถึงจู้หรงว่า:

「祝誦〔融〕氏:無所造為,未有嗜欲,刑罰未施。」
"[...]: ไม่ทำอะไร ไม่ยึดติดสิ่งใด ไม่ปรารถนาสิ่งใด ไม่ปฏิบัติการลงโทษ"[7]

แต่ในตำนานหนึ่ง จู้หรงชื่นชอบการใช้พลังทางกายและต่อสู้กับก้งกงเป็นเวลาหลายวันเพื่อแข่งกันว่าใครจะแข็งแกร่งที่สุด[8] ในไห่เน่ย์จิง (海內經) ระบุว่าก้งกงสืบเชื้อสายจากจู้หรง[9] ทำให้เกิดความสงสัยว่าบันทึกในไห่เน่ย์จิงถูกบิดเบือนในยุคราชวงศ์ฮั่นเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Yang, An & Anderson Turner 2008, p. 248.
  2. Yang, An & Anderson Turner 2008, p. 124.
  3. Yang, An & Anderson Turner 2008, pp. 12–13.
  4. Hawkes 2011, p. 81.
  5. Hawkes 2011, pp. 21 and 79.
  6. 6.0 6.1 Hawkes 2011, p. 23.
  7. Barbieri, Anthony (2019). Virtual Tour of Wuzhai Shan Site, 2nd Century CE (v. 2.0). University of California, Santa Barbara. The entry for Zhurong is located at "Wu Liang" > right wall > second row of reliefs > second relief from the right
  8. Bellingham, David; Whittaker, Clio; Grant, John (1992). Myths and Legends. Secaucus, New Jersey: Wellfleet Press. p. 132. ISBN 1-55521-812-1. OCLC 27192394.
  9. 山海經 > 海內經 > 炎帝之妻,赤水之子聽訞生炎居,炎居生節竝,節竝生戲器,戲器生祝融,祝融降處於江水,生共工。共工生術器,術器首方顚,是復土穰,以處江水。共工生后土,后土生噎鳴,噎鳴生歳十有二

บรรณานุกรม แก้