ไท่ฉื่อกงชู (จีน: 太史公書; พินอิน: Tàishǐgōng Shū; "เอกสารของไท่ฉื่อกง") ปัจจุบันเรียกกันว่า ฉื่อจี้ (จีนตัวย่อ: 史记; จีนตัวเต็ม: 史記; พินอิน: Shǐjì; "บันทึกของฉื่อ") เป็นเอกสารที่ซือหม่า ถัน (司馬談) ขุนนางฝ่ายอาลักษณ์ตำแหน่งไท่ฉื่อลิ่ง (太史令) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (西漢) เริ่มเขียน และบุตรชาย คือ ซือหม่า เชียน (司馬遷) ขุนนางฝ่ายอาลักษณ์ตำแหน่งไท่ฉื่อกงแห่งราชวงศ์เดียวกัน เขียนต่อจนจบในราว 94 ปีก่อนคริสตกาล เนื้อหาว่าด้วยความเป็นมาของโลกดังที่ชาวจีนรับรู้ในยุคสมัยนั้น กินเวลา 2,500 ปีตั้งแต่รัชกาลจักรพรรดิหฺวัง (黃帝) ไปจนถึงรัชกาลจักรพรรดิฮั่นอู่ (漢武帝) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของผู้เขียนเอง[1]

ฉื่อจี้  
ฉบับพิมพ์ช่วงแรก
ผู้ประพันธ์ซือหม่า เชียน
ชื่อเรื่องต้นฉบับ太史公書 (Tàishǐgōng shū)
史記 (Shǐjì)
ประเทศจีนสมัยฮั่นตะวันตก
ภาษาจีนคลาสสิก
หัวเรื่องประวัติศาสตร์จีนโบราณ

เอกสารนี้ถือกันว่า เป็นตำราพื้นฐานในอารยธรรมจีน[2] และทำให้ซือหม่า เชียน ได้รับยกย่องถัดจากขงจื่อ (孔子) และฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ว่า เป็นหนึ่งในผู้รังสรรค์จักรวรรดิจีน โดยมิใช่เพียงเพราะเขียนชีวประวัติของบุคคลต่าง ๆ ให้เป็นที่ยุติ แต่ยังเพราะได้ทำให้ทั้งขงจื่อและฉินฉื่อหฺวังตี้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง[3] เอกสารนี้เป็นต้นแบบของเอกสาร เอ้อร์ฉือซื่อฉื่อ (二十四史) ในสมัยหลัง เอกสารนี้ต่างจากงานเขียนประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตกตรงที่เอกสารนี้มิได้ดำเนินเรื่องแบบต่อเนื่อง แต่แบ่งเรื่องออกเป็นส่วนย่อยมากมายที่เหลื่อมซ้อนกัน แต่ละส่วนว่าด้วยผู้นำและปัจเจกบุคคลคนสำคัญตลอดจนหัวเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ[4]

อ้างอิง

แก้
  1. Nienhauser (2011), pp. 463-464.
  2. Hardy (1999), p. xiii.
  3. Hardy (1999), pp. xiii, 3.
  4. Durrant (1986), p. 689.

บรรณานุกรม

แก้
  • Durrant, Stephen (1986). "Shih-chi 史記". ใน William H. Nienhauser Jr. (บ.ก.). The Indiana Companion to Traditional Chinese Literature, Vol. 1. Bloomington: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-32983-7. OCLC 11841260.
  • Hardy, Grant (1999). Worlds of Bronze and Bamboo: Sima Qian's Conquest of History. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-11304-5.
  • Nienhauser, William (2011). "Sima Qian and the Shiji". ใน Feldherr, Andrew; Hardy, Grant (บ.ก.). The Oxford History of Historical Writing: Volume 1: Beginnings to AD 600. Oxford University Press. pp. 463–484. ISBN 978-0-19-103678-1.