มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-21
มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-21 (อังกฤษ: Mikoyan-Gurevich MiG-21 Fishbed, รัสเซีย: Микоян и Гуревич МиГ-21) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าฟิชเบด) เป็นเครื่องบินขับไล่พลังไอพ่นเร็วเหนือเสียงที่ออกแบบและสร้างขึ้นโดยมิโคยัน-กูเรวิชค์ของสหภาพโซเวียต มันมีชื่อเล่นว่า"บาลาไลก้า" (balalaika) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของรัสเซีย หรือ ołówek (แปลว่าดินสอ) โดยนักบินโปแลนด์[2] รุ่นแรกๆ ถูกจัดว่าเป็นเครื่องบินเครื่องยนต์ไอพ่นรุ่นที่สอง ในขณะที่รุ่นต่อมาถูกจัดว่าเป็นรุ่นที่สาม มีประมาณ 60 ประเทศ ในกว่า 4 ทวีปที่ใช้ Mig-21 และมันยังคงประจำการอยู่ในหลายประเทศมากว่าครึ่งศตวรรษตั้งแต่ที่มันบินครั้งแรก Mig-21 ได้ทำสถิติไว้มากมายในประวัติศาสตร์การบินยุคใหม่ รวมทั้งมันยังเป็นเครื่องบินไอพ่นที่ผลิตออกมามากที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน เป็นเครื่องบินรบที่มีมากที่สุดตั้งแต่สงครามเวียดนาม และเป็นการผลิตที่ยาวนานที่สุดของเครื่องบินรบ ( 1959 - 1985 ) [1]
มิค-21 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินขับไล่ |
ชาติกำเนิด | สหภาพโซเวียต |
บริษัทผู้ผลิต | สำนักงานออกแบบมิโคยัน-กูเรวิชค์ |
ผู้ออกแบบ | |
สถานะ | อยู่ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพอากาศโซเวียต กองทัพอากาศอินเดีย กองทัพอากาศโรมาเนีย กองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม |
จำนวนที่ผลิต | 11,496 ลำ[1] (10,645 ลำผลิตในสหภาพโซเวียต อีก 194 ลำผลิตในเชโกสโลวะเกียและ 675 ลำผลิตในอินเดีย) |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 2502 (มิก-21เอฟ) ถึงพ.ศ. 2528 (มิก-21บิส) |
เริ่มใช้งาน | พ.ศ. 2502 (มิก-21เอฟ) |
เที่ยวบินแรก | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 |
ปลดประจำการ | พ.ศ. 2533 (รัสเซีย) |
สายการผลิต | เฉิงตู เจ-7 |
การพัฒนา
แก้มิก-21 เป็นเครื่องบินขับไล่พลังไอพ่นของโซเวียตที่พัฒนาต่อๆ กันมา มันเริ่มจากมิก-15 มิก-17 และมิก-19 มีการออกแบบเพื่อความเร็ว 2 มัคมากมายเกิดขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากการมีช่องรับลมที่ส่วนปลายจมูกของเครื่องบินและปีกที่ลู่ไปข้างหลัง อย่าง ซุคฮอย ซู-7 หรือที่มีหางทรงสามเหลี่ยม ซึ่งมิก-21 เป็นแบบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
การพัฒนาที่กลายมาเป็นมิก-21 เริ่มขึ้นในต้นทศตวรรษที่ 2493 เมื่อสำนักงานออกแบบมิโคยันทำการทดสอบกับต้นแบบของยี-1 สำเร็จในปีพ.ศ. 2497 โครงการนี้เป็นการทำงานอีกครั้งที่รวดเร็วมากเมื่อมันเป็นการตัดสินว่าเครื่องยนต์จะเป็นแบบใด
ประเทศผู้ใช้งาน
แก้ปัจจุบัน
แก้- แองโกลา
- อาเซอร์ไบจาน
- บัลแกเรีย
- โครเอเชีย
- คิวบา
- อียิปต์
- กินี
- อินเดีย
- ลิเบีย
- มาลี
- โมซัมบิก
- นามิเบีย
- เกาหลีเหนือ
- โรมาเนีย
- เซอร์เบีย
- ซูดาน
- ซีเรีย
- ยูกันดา
- เวียดนาม
- เยเมน
- แซมเบีย
อดีต
แก้- อัฟกานิสถาน
- แอลจีเรีย
- บังกลาเทศ
- เบลารุส
- บูร์กินาฟาโซ
- กัมพูชา
- ชาด
- จีน
- สาธารณรัฐคองโก
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
- เชโกสโลวาเกีย
- เช็กเกีย
- เยอรมนีตะวันออก
- เอริเทรีย
- เอธิโอเปีย
- ฟินแลนด์
- เยอรมนี
- จอร์เจีย
- กินี-บิสเซา
- ฮังการี
- อินโดนีเซีย
- อิหร่าน
- อิรัก
- คีร์กีซสถาน
- ลาว
- มองโกเลีย
- มาดากัสการ์
- ไนจีเรีย
- โปแลนด์
- รัสเซีย
- สโลวาเกีย
- โซมาเลีย
- สหภาพโซเวียต
- แทนซาเนีย
- เติร์กเมนิสถาน
- ยูเครน
- ยูโกสลาเวีย
- ซาอีร์
รายละเอียด มิโกยัน มิก-21
แก้- ผู้สร้าง:(โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต) ปัจจุบันคือสำนักงานมิโคยัน-กูเรวิชค์
- ประเภท:เจ๊ตขับไล่เอนกประสงค์ ที่นั่งเดียว
- เครื่องยนต์:เทอร์โบเจ๊ต ตูมันสกาย อาร์-25 ให้แรงขับ 7,500 กิโลกรัม เมื่อสันดาบท้าย 1 เครื่อง
- กางปีก:7.15 เมตร
- ยาว:15.76 เมตร
- สูง:4.5 เมตร
- พื้นที่ปีก:23 ตารางเมตร
- น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติ:9,070 กิโลกรัม
- อัตราเร็วขั้นสูง:2.1 มัค(2,175กม./ชม.) ที่ระยะสูง 11,000 เมตร และ 1.06 มัค ที่ระดับน้ำทะเล
- รัศมีทำการรบ: 560 กิโลเมตร เมื่อปฏิบัติการภารกิจสกัดกั้น
- อาวุธ:ปืนใหญ่อากาศลำกล้องคู่ แบบ จีเอสเอช-23 ขนาด 23 มม. 1 กระบอก พร้อมกระสุน 200 นัด
- ภารกิจสกัดกั้น
- อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ เค-13 อะทอลล์(Atoll) นำวิถีด้วยรังสีอินฟาเร็ด 2 นัด ที่ใต้ปีกด้านใน
- อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ แอ็ดวานซ์ อะทอลล์(Advanced Atoll) นำวิถีด้วยเรดาร์ 2 นัด ที่ใต้ปีกด้านนอก
- ภารกิจโจมตี
- อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้นดินแบบ เอส-24 จำนวน 4 นัด
- กระเประจรวด ยูวี-16-57 บรรจุจรวดขนาด 57 มม. 16 นัด กระเประจรวด ยูวี-16-57 จำนวน 4 กระเประ
- ลูกระเบิดขนาด 500 กิโลกรัม และ 250 กิโลกรัม อย่างละ 2 ลูก