มิกาเอลา เคาน์เตสแห่งปารีส

มิกาเอลา เคาน์เตสแห่งปารีส (อังกฤษ: Her Royal Highness Micaela, Countess of Paris) ประสูติเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1938 ณ จังหวัดอาลีเย ประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรีของ หลุยส์ มักซิมาเลียโน และ อันโทเนีย บารอนเนสที่ 4 แห่งซานคาลอส ตระกูลทางฝ่ายพระบิดาของพระองค์เป็นสามัญชนประกอบธุรกิจการค้ามาตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1598 และย้ายเข้ามาตั้งรกรากที่จังหวัดอาลีเย เมื่อปี ค.ศ. 1815 ส่วนพระมารดาของพระองค์นั้น สืบเชื้อสายมาจากขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของประเทศฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 18

มิกาเอลา
เคาน์เตสแห่งปารีส
ชายาของพระประมุขราชวงศ์ออร์เลอ็อง
ดำรงพระยศ19 มิถุนายน ค.ศ. 1999 - 21 มกราคม ค.ศ. 2019
ก่อนหน้าเจ้าหญิงอีซาแบลแห่งออร์เลอ็อง-บรากังซา
ถัดไปฟิโลมินา เดอ ทอนนอส สเตนฮาร์ด
ประสูติ30 เมษายน พ.ศ. 1938
กิงแฮม จังหวัดอาลีเย ประเทศฝรั่งเศส
สิ้นพระชนม์13 มีนาคม พ.ศ. 2022 (83 ปี)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
พระสวามี
พระนามเต็ม
มิกาเอลา อานา มาริอา
พระบุตรอาแล็กซี เบิฟ
ราชวงศ์ออร์เลอ็อง (เสกสมรส)
พระบิดาหลุยส์ มักซิมาเลียโน
พระมารดาอันโทเนีย บารอนเนสที่ 4 แห่งซานคาลอส
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระองค์ทรงเริ่มอาชีพผ่านทางวิทยุในฝรั่งเศส ต่อมาทรงทำงานให้กับเอเจนซี-กลุ่มโฆษณาขนาดใหญ่ทั้งในมาดริด และในปารีส ในปี ค.ศ. 1978 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1981 ต่อมาเมื่อทรงงานเก่ง พระองค์ทรงเป็นผู้รับผิดชอบในการสื่อสารของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและกรรมการอาวุโสในคณะรัฐมนตรีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ในสมัยรัฐบาล เรย์มอนด์ แบร์ ต่อมาทรงงานเป็นพนักงานของสมาคมวิจัยโรคมะเร็งเป็นเวลาหนึ่งปีในปี ค.ศ. 1982

เสกสมรส แก้

พระองค์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับ จีนส์ โรเบิร์ต เบิฟ งานแต่งงานเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1961 ทั้งคู่มีบุตรเพียงคนเดียวคือ อาแล็กซี เบิฟ ก่อนจะหย่าร้างกันใน ค.ศ. 1984 ซึ่งบุตรสาวในอยู่ในความดูแลของพระสวามีคนแรก แต่ช่วงหลัง บุตรสาวได้มาอยู่กับพระองค์เป็นครั้งราว ต่อมา พระองค์ทรงเสกสมรสกับ เจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีส พระอิสริยยศขณะนั้นคือ เจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งเคลมอนต์ พระโอรสใน เจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีส (2451-2542) และ เจ้าหญิงอิซาเบลแห่งออร์เลอ็อง-บราแกนซา ซึ่งการเสกสมรสครั้งนี้ พระบิดาของพระสวามีไม่ทรงเห็นขอบด้วยเท่าไรนัก เนื่องจากมิกาเอลา เป็นแม่ม่ายลูกติด เคยแต่งงานมาก่อน กลัวว่าจะมิเป็นที่เคารพนับถือของพระราชวงศ์ออร์เลอ็อง และประชาชน ส่งผลให้คะแนนความนิยมลดลง แต่ถึงอย่างไรพระมารดาของเจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งเคมอนต์ มิได้มีพระกระแสอะไร โดยยินยอมให้เสกสมรสกัน ว่ากันว่า เจ้าหญิงอิซาเบลนั้น ทรงถูกพระชะตาพระสุณิษาพระองค์นี้มาก ทำให้พระองค์โปรดปรานเป็นที่สุด งานเสกสมรสจัดขึ้น โดยมทรงนามลำลองว่า มิกาเอลา เดอ ออร์เลอ็อง ต่อมาเมื่อพระสวามี สืบพระอิสริยยศแทนพระบิดา พระองค์จึงมีพระอิสริยยศที่ เจ้าหญิงแห่งฝรั่งเศส เคาน์เตสแห่งปารีส เจ้าหญิงแห่งออร์เลอ็อง พระชายา พร้อมฐานันดร รอยัลไฮเนส แต่การเสกสมรสครั้งนี้ มิได้มีพระบุตรร่วมกัน

จนเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2019 เจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีส พระสวามีสิ้นพระชนม์ลงด้วยพระชันษา 85 ปี ทำให้พระโอรสคือ ฌ็อง เคานต์แห่งปารีส พระโอรสสืบพระอิสริยยศ มิกานา เคาน์เตสแห่งปารีส จึงมีพระนามและพระอิสริยยศใหม่นับแต่วันนั้นคือ เฮอร์รอยัลไฮนีส มิกาเอลา เจ้าหญิงแห่งฝรั่งเศส เจ้าหญิงแห่งออร์เลอ็อง ดัชเชสม่ายแห่งฝรั่งเศส เคาน์เตสม่ายแห่งปารีส ว่ากันว่า พระองค์ทรงมีพระดำรัสหลังจากพระสวามีสิ้นพระชนม์ว่า

ตราบนี้ต่อไปใครจะทำหน้าที่สามี เสียแล้วอ็องรี เรานี้แทบขาดใจ

— มิกาเอลา เคาน์เตสม่ายแห่งปารีส

ถึงแม้พระสวามีของพระองค์จะจากไป แต่พระราชวงศ์ทุกพระองค์ก็ยังทรงเคารพ นับถือมิกาเอลาเสมอ เนื่องด้วยทรงเป็นพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และอาวุโส หลังจากนี้สำนักพระราชวังแห่งออร์เลอ็อง แถลงการณ์ว่า มิกาเอลามีพระประสงค์จะกลับไปประทับ ณ จังหวัดอาลีเย สถานที่ประสูติของพระองค์ แต่ถูกข้าราชบริพานคัดค้านและทูลว่า ทรงมีพระชันษามาก หากจะเสด็จไปไหนพระองค์เดียวเกรงไม่สะดวก ทูลของท่านประทับต่อไป มิกาเอลา ก็ทรงยินยอม

เป็นที่รู้จักในฐานะเคาน์เตสแห่งปารีสและความนิยมของพระองค์กับประชาชน แก้

พระกรณียากิจของพระองค์นั้น เน้นการดูแลความทุกข์-สุข ของประชาชน โดยทรงรับองค์กรเกี่ยวกับยาเสพติดและอาชีพของแม่บ้านในประเทศ โดยมีแม่บ้านในองค์กรกว่า 5 ล้านคน พระองค์ทรงใช้เงินส่วนพระองค์จำนวน 5 ล้านฟรังก์ เพื่อก่อตั้งองค์กรนี้ใจกลางกรุงปารีส เมืองหลวงของประเทศ โดยใน ค.ศ. 1981 พระองค์ได้รับมรดกจากพระมารดาของพระองค์ที่พระองค์ทรงมิรับมาตลอด แต่พระเชษฐาได้ทูลขอพระองค์ให้รับไว้ เพื่อความสบายใจของพระเชษฐา พระองค์ได้รับเงินจำนวน 20 ล้านฟรังก์ และที่ดินจำนวน 5 ไร่ พระองค์เลยนำเงินไปสร้างองค์กรต่างๆในพระอุปถัมภ์ ทำให้ประชาชนฝรั่งเศส ให้ความเคารพและนับถือพระองค์ มิกาเอลา เคาน์เตสแห่งฝรั่งเศส ทรงเคยเสด็จไปเยี่ยมประชาชนฝรั่งเศสแถวตะเข็บชายแดน ทำให้ความมนิยมของพระองค์เพิ่มขึ้นอย่างเร็ว ทำให้ภาพลักษณ์ของพระองค์และพระราชวงศ์ออร์เลอ็อง มีความนิยมขึ้นมาทันที ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 2016 พระองค์ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ทีคนใส่ร้ายว่าพระองค์ทรงใช้เงินของราชวงศ์ไปกว่า 100 ล้านฟรังก์ไปกับการซื้อเครื่องประดับ พลอย เพชร และของมีค่ามาประดับพระองค์และพระตำหนัก ซึ่งข่าวนี้ก็มิได้ทำให้พระองค์ถูกลดลความนิยมลงเลย เพราะประชาชนให้ความเชื่อใจและเชื่อมั่นพระองค์มาตลอด พระองค์ได้ออกมาแถลงการณ์ว่า

แด่ประชาชนที่รัก ข้าพเจ้าขอสาบานต่อหน้าพระเจ้าว่ามิเคยนำเงินของราชวงศ์มาใช้ในทางที่มิควร ข้าพเจ้าใช้เงินส่วนตัวทำประโยชน์ให้กับประเทศ เงินในราชวงศ์นั้นต้องผ่านนางกำนัล เราจะเอาไปทำอะไรเงินตั้ง 100 ล้านฟรังก์ นั้นภาษีของพวกท่านครึ่งปีเลยนะ ข้าพเจ้ามิทำแน่นอน และต้องขอขอบคุณพวกท่านที่เชื่อใจข้าพเจ้า

— มิกาเอลา เคาน์เตสแห่งปารีส

นางกำลังของพระองค์ได้ออกมาให้ความคิดเห็นว่า

เคาน์เตสแห่งปารีส พระองค์ไม่เคยโกรธพวกที่ใส่ร้าย พวกท่านโปรดอย่าเชื่อข่าวเหล่านี้ เคาน์เตสแห่งปารีสท่านทรงงานเพื่อพวกท่านทุกอย่าง

— นางฟรานซิส เลออนอร์ มาเกสซู
นางกำนัลของเคาน์เตสแห่งปารีส

ความนิยมของพระองค์มิลดลง พระองค์จึงประกอบพระกรณียากิจมาตลอด พระองค์ได้เสด็จประพาสประเทศต่างๆในฐานะพระราชวงศ์ และทรงฉลองพระองค์ในสไตล์เจ้าหญิง ฉลองพระองค์ทุกชุดนั้น เป็นเงินปันผลจากกิจการทางฝ่ายพระบิดาที่พระเชษฐาทูลถวายให้ทุกเดือน เดือนละ 50,000-80,000 ฟรังก์ ในขณะที่เงินรายปีของพระองค์ที่พระราชวังถวายนั้น พระองค์ทรงนำไปปรับปรุง และพัฒนาประเทศมาตลอด โดยเงินที่พระเชษฐาถวายนั้นมาจาก เงินที่เก็บจากค่าเช่าที่ดิน ไร่นา และเงินในกิจการร้านค้าในจังหวีดอาลีเย

ด้วยทรงมีพระบิดาทางการค้า พระองค์จึงมีความชำนาญด้านการค้าของประเทศ พระองค์เคยเป็นทูตการค้าระหว่างปี ค.ศ. 2003 - ค.ศ. 2012 โดยพระองค์ทรงเก่งหลายภาษา เช่น อังดฤษ สเปน โปรตุเกส ดัตซ์ และภาษาในกลุ่มประเทศนอร์ดิก โดยพระองค์เสด็จไปประพาสที่ไหนหรือเสด็จในฐานะพระราชวงศ์ที่ใด พระองค์จะนำของที่สมาคมแม่บ้านทำไปขาย โดยติดต่อทางนางกำนัล และจัดส่งขาย ทำให้มีรายได้เข้าสมาคมเป็นจำนวนมาก

การเสด็จเยือนต่างประเทศ แก้

เคาน์เตสแห่งปารีสนั้น ทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านการต่างประเทศและด้านการทูต พระองค์เสด็จเยือนต่างประเทศทั้งสิ้น 6 ครั้ง ดังนี้

  1. 15 - 25 มกราคม ค.ศ. 2013 เสด็จเยือนอิตาลี พระองค์ทรงเป็นสภานายิกา ของยุโรป ทรงประทานความชวยเหลือในด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งมีประชาชนฝรั่งเศสกว่า 5,000 คน อาศัยในอีตาลี ในการนี้ เสด็จไปทรงเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เจ้าชายวิตตอรีโอ เอมานูเอเล เจ้าชายแห่งเนเปิลส์ และ เจ้าหญิงมารีนา เจ้าหญิงแห่งเนเปิลส์ ที่พระตำหนักในชาญเมืองตูริน
  2. 26 - 30 เมษายน ค.ศ. 2014 เสด็จเยือนโมร็อกโก ในการนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 แห่งโมร็อกโก พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เคาน์เตสแห่งาปารีส เฝ้ามูลละอองธุลีพระบาท ณ พระราชวังมูฮัมหมัด จากนั้นทรงพาเคานต์เตสแห่งปารีสชมสวนดอกไม่ในพระราชวัง และพระราชทานแจกันดอกไม้แก่เคาน์เตสแห่งปารีส จากนั้น เคาน์เตสแห่งปารีส เสด็จไปทรงเฝ้าทูลละอองพระบาท เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา และ เจ้าชายมูลัย ฮะซัน มกุฎราชกุมารแห่งโมร็อกโก ที่พระตำหนักในเขตกาซาบล็องกา เมืองราบัต
  3. 2 - 6 มีนาคม ค.ศ. 2016 เสด็จเยือนเดนมาร์ก โดยมีเจ้าหญิงเบเนดิกเทอแห่งเดนมาร์ก เฝ้ารับเสด็จ ซึ่ง สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระราชทานรถยนต์ส่วนพระองค์ให้เคาน์เตสแห่งปารีสประทับ ซึ่งเมื่อถึงพระราชวังอามาเลียนบอร์กแล้ว ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 และ เจ้าฟ้าชายเฟรเดริค มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก ซึ่งพระองค์ได้เสด็จไปเคารพสุสานและพระฉายาลักษณ์ เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี ซึ่งเคาน์เตสแห่งปารีสและเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี เคยเป็นพระสหายร่วมชั้นโรงเรียนเดียวกันมาก่อน จากนั้น เสด็จทอดพระเนตรเมืองในเดนมาร์ก ซึ่งรัฐบาลเดนมาร์กจัดถวาย
  4. 2 - 9 เมษายน ค.ศ. 2018 พระองค์เสด็จเยือน ประเทศอังกฤษ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรพระราชวังวินด์เซอร์ ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานของขวัญ ในการนี้ เสด็จไปเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลพระราชวังเค็นซิงตัน โดยเจ้าชายฟิลิป พระราชทานผ้าพันคอ และเจ้าชายชาลส์และคามิลลา พระราชทานสร้อยมุข ซึ่งเมื่อเข้าเฝ้าทั้ง 3 แล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรโครงการแม่บ้านทหารในเคนต์ โดยมี แคทเธอริน ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ นำเสด็จ ซึ่งเคาน์เตสแห่งปารีส ได้ประทานดอกไม้แสดงความยินดีไปยัง เจ้าชายแฮร์รี ในโอกาสที่ เมแกน ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ พระชายาทรงครรภ์พระบุตร ซึ่งในวันที่ 9 ก่อนจะเสด็จกลับ สมเด็จพระราชินีนาถและเจ้าชายฟิลิป พระราชสวามี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก ซาราห์ ดัชเชสแห่งยอร์ก เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซกซ์ และ โซฟี เคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์ เฝ้าส่งเสด็จ
  5. 23 - 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 เสด็จเยือน ญี่ปุ่น ซึ่ง สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น และ เจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น เฝ้ารับเสด็จเคาน์เคสแห่งปารีส ในโอกาสเสด็จเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ในโอกาสนี้เคาน์เตสแห่งปารีสประทานพระวโรกาสให้ ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่น เข้าเฝ้า ซึ่งทรงมีพระดำรัสชื่นชมสวนดอกไม้ในพระราชวังอิมพิเรียล โดย ซายาโกะ คูโรดะ อดีตเจ้าหญิงแห่งญี่ปุ่น ร่วมเข้าเฝ้าพระองค์ที่พระราขวังด้วย ต่อมา เจ้าชายฟูมิฮิโตะ เจ้าอากิชิโนะ และ เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ ได้นำเสด็จเยือนชมเมืองต่างๆในประเทศ อาทิ โตเกียว โอกินาวะ (เมือง) ไซตามะ อิชิกะวะ โอซากะ ซึ่งรวมระยะเวลา 8 วัน ก่อนจะเสด็จกลับ
  6. 11 - 18 สิงหาคม ค.ศ. 2018 เสด็จเยือนจอร์แดน ในการนี้ สมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับเคาน์เตสแห่งปารีส ณ ท่าอากาศยานเอ็บบัดดี เมืองอัมมาน จากนั้น สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน นำเสด็จเคาน์เตสแห่งปารีสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน ณ พระราชวังหลวง ในโอกาสนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีทรงมีพระราชดำรัสถึงพระอาการประชวรของ เจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีส พระสวามี โดยถามถึงด้วยความห่วงใย จากนั้นเมื่อเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระราชาธิบดีแล้ว เคาน์เตสแห่งปารีส เสด็จเยือนมหาวิทยาลัยอัมมาน โดยประชุมเรื่องโครงการแม่บ้านทหาร ที่พระองค์ทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ โดยในการนี้ มีพระบรมวงศ่นุวงศ์แห่งจอร์แดนร่วมประชุมด้วย อาทิ สมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน เจ้าชายฮุสเซน บินอัลอับดุลลาห์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน เจ้าหญิงอิลา บินต์ ฮุสเซน เจ้าชายไฟซาห์ บิน ฮุสเซน เจ้าหญิงอเลีย ทาบับ เจ้าชายกาห์ซี บิน มูฮัมหมัด เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าชายฮุสเซน บินอัลอับดุลลาห์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน และ เจ้าหญิงกีดา อัล-เฏาะลาล เฝ้าส่งเสด็จ

หลังจากนั้นเสด็จเยือนต่างประเทศ จำนวน 6 ครั้งของพระองค์นั้น ก็มิมีการเสด็จเยือนต่างประเทศใดอีก เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์เองและภาระหน้าที่ที่ต้องทำงานเพื่อประเทศชาติ ดังพระดำรัส

โลกแห่งปัจจุบัน การไปต่างชาติเยี่ยมเยือนเขานั้นสำคัญ เป็นการกระชับมิตรไมตรีต่อกัน แต่คงเห็นแล้วว่าทุกวันนี้ทั่วโลกต่างมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน เราจึงมีความเห็นไม่ไปไหนอีก และหันมองกลับมาพัฒนาประเทศ ทำงานเพื่อพี่น้องชาวฝรั่งเศส

— มิกาเอลา
เคาน์เตสแห่งปารีส

บรรณาณุกรม แก้

  • Opfell, Olga S. (2001). "H.R.H. Henri, Count of Paris: Royal House of France House of Bourbon-Orleans". Royalty Who Wait: The 21 Heads of Formerly Regnant Houses of Europe. Jefferson.
  • Mallalieu, Huon (9 December 2015). "Art Market: Vive la Revolution!". Country Life.

อ้างอิง แก้