เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ
เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในพระยุพราชฟูมิฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 皇嗣文仁親王妃紀子; โรมาจิ: Kōshi Fumihito Shinnōhi Kiko;[1][2] ประสูติ 11 กันยายน พ.ศ. 2509) พระนามเดิม คิโกะ คาวาชิมะ (ญี่ปุ่น: 川嶋紀子; โรมาจิ: Kawashima Kiko) เป็นพระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ และเป็นพระสุณิสาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ
เจ้าหญิงคิโกะ | |
---|---|
เจ้าหญิงพระชายา | |
เจ้าหญิงคิโกะเมื่อ พ.ศ. 2558 | |
ประสูติ | 11 กันยายน พ.ศ. 2509 ชิซูโอกะ จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น |
พระภัสดา | เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ (พ.ศ. 2533–ปัจจุบัน) |
พระบุตร | มาโกะ โคมูโระ เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ |
ราชวงศ์ | ญี่ปุ่น (เสกสมรส) |
พระบิดา | ทัตสึฮิโกะ คาวาชิมะ |
พระมารดา | คาซูโยะ ซูงิโมโตะ |
พระประวัติ
แก้พระชนม์ชีพตอนต้น
แก้เจ้าหญิงคิโกะประสูติที่จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นธิดาของทัตสึฮิโกะ คาวาชิมะ กับคาซูโยะ (สกุลเดิม ซูงิโมโตะ) ครอบครัวของพระองค์ย้ายไปอาศัยที่ฟิลาเดลเฟีย สหรัฐในปี พ.ศ. 2510 หลังพระชนกเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย[3] จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เมื่อปี พ.ศ. 2514 และเป็นอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยดังกล่าวหลังจากนั้น[4]
เจ้าหญิงคิโกะทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาจากเวียนนา ประเทศออสเตรีย ด้วยเสด็จย้ายตามพระชนก ที่ขณะนั้นพระชนกเป็นหัวหน้านักวิจัยของสถาบันวิเคราะห์ระบบประยุกต์นานาชาติ (Institute for Applied Systems Analysis) ในลาเซินบวร์ค ประเทศออสเตรีย ที่เขาได้ศึกษาวิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่ และร่วมกิจกรรมขององค์การนอกภาครัฐ[4] ด้วยเหตุนี้เจ้าหญิงคิโกะจึงสามารถตรัสภาษาอังกฤษและเยอรมันได้ดี[4][5] ครั้นในปี พ.ศ. 2515 ครอบครัวได้ย้ายกลับมายังประเทศญี่ปุ่น พระชนกเข้าเป็นอาจารย์วิชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยกากูชูอิงในโตเกียว[3][5] ครอบครัวของพระองค์จึงพำนักอยู่ในห้องชุดขนาดเล็กภายในมหาวิทยาลัย[5]
เจ้าหญิงคิโกะทรงเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาจิตวิทยา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยกากูชูอิงจนสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2532 ทรงศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาจิตวิทยาสังคม จากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกากูชูอิงเมื่อปี พ.ศ. 2538 และปริญญาเอกสาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยโอจาโนมิซุเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556[6]
พระองค์ทรงเข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ (The Ship for Southeast Asian and Japanese Youth Program) เมื่อปี พ.ศ. 2530 และยังทรงสนับสนุนโครงการนี้
เสกสมรส
แก้เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะทรงขอเจ้าหญิงคิโกะเสกสมรสเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ขณะที่ทั้งสองพระองค์ยังศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยกากูชูอิง สามปีต่อมาสำนักพระราชวังจึงได้ประกาศแถลงการณ์เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2532 ว่าทั้งสองจะทรงหมั้นกัน[5][7] โดยพระราชพิธีหมั้นถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2533 แต่ยังไม่มีกำหนดการณ์สำหรับพระราชพิธีเสกสมรส เนื่องจากอยู่ในช่วงไว้อาลัยการสวรรคตของจักรพรรดิโชวะซึ่งเสด็จสวรรคตในเดือนมกราคม พ.ศ. 2532[4]
พระราชพิธีเสกสมรสถูกจัดขึ้นแบบส่วนพระองค์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ณ ศาลเจ้าภายในพระราชวังหลวงโตเกียว[8] ซึ่งในพระราชพิธีเสกสมรสนั้นเจ้าชายฟูมิฮิโตะได้รับพระราชทานอิสริยยศเป็น "อากิชิโนะโนะมิยะ" ส่วนพระองค์ก็ได้รับพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงพระชายา
ทั้งนี้พระราชพิธีหมั้นและเสกสมรสนี้ถือเป็นความเสื่อมเสียยิ่งในสายตาของเจ้าพนักงานสำนักพระราชวัง เพราะเจ้าชายฟูมิฮิโตะเสกสมรสขณะที่ยังทรงศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยกากูชูอิง และเสกสมรสก่อนมกุฎราชกุมารนารูฮิโตะพระเชษฐา เจ้าพนักงานในสำนักพระราชวังจึงพยายามต่อต้านพระราชพิธีเสกสมรส[5] นอกจากนี้เจ้าหญิงคิโกะคือเป็นสุภาพสตรีชนชั้นกลางพระองค์แรกที่เสกสมรสเข้าไปในพระราชวงศ์ สื่อมวลชนให้สมญาแด่พระองค์ว่า "เจ้าหญิงห้องชุด" (the apartment princess)[5] ต่างจากสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ ที่แม้ว่าจะมีพระชาติกำเนิดเป็นสตรีสามัญก็จริง แต่พื้นฐานครอบครัวขององค์จักรพรรดินีมีฐานะร่ำรวย
เจ้าชายฟูมิฮิโตะและเจ้าหญิงคิโกะประทับร่วมกันในเขตพระราชฐานอากาซากะ เขตมินาโตะ โตเกียว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ทั้งสองมีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ คือ
- เจ้าหญิงมาโกะแห่งอากิชิโนะ (ญี่ปุ่น: 眞子内親王; โรมาจิ: Mako Naishinnō; ประสูติ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับเค โคมูโระ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564
- เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ (ญี่ปุ่น: 佳子内親王; โรมาจิ: Kako Naishinnō; ประสูติ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2537)
- เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ (ญี่ปุ่น: 悠仁親王; โรมาจิ: Hisahito Shinnō; ประสูติ 6 กันยายน พ.ศ. 2549)
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ | |
---|---|
ตราประจำพระอิสริยยศ | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ชินโนฮิ (親王妃) |
การแทนตน | โบกุ (บุรุษ) / วาตาชิ (สตรี) |
การขานรับ | เด็งกะ (殿下) |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- ญี่ปุ่น : เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ
- สเปน : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อีซาเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นกางเขนยิ่งใหญ่อันสูงศักดิ์ (Dame Grand Cross of the Order of Isabella the Catholic)[9]
- สวีเดน : เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวเหนือ ชั้นผู้บังคับบัญชาอันยิ่งใหญ่ (Commander Grand Cross of the Order of the Polar Star)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Their Imperial Highnesses Crown Prince and Crown Princess Akishino and their family - names เก็บถาวร 2019-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - official website of the Imperial Household Agency
- ↑ "English Titles and Basic words relating to the Imperial Succession" (PDF). Imperial Household Agency. 10 April 2019. สืบค้นเมื่อ 29 April 2019.
- ↑ 3.0 3.1 "Japanese Royal Bride's Years At Penn: A 'Vivacious' Child". philly.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 May 2015.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Tokyo Journal; She's Shy and Not So Shy, Japan's Princess Bride". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 14 May 2015.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "Japanese Prince Plans To Marry A Commoner" เก็บถาวร 2013-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Chicago Tribune. 13 September 1989.
- ↑ "Activities of Their Imperial Highnesses Prince and Princess Akishino and their family". kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 14 May 2015.
- ↑ "Princess Akishino's pregnancy". Japan Times. March 29, 2006.
- ↑ "Scenes from An Uncommon Marriage: Japan's Prince Aya Weds a Cinderella Psych Major, Kiko Kawashima". People. June 1990.
- ↑ Photo of Kiko wearing the order
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เจ้าชายฟูมิฮิโตะและพระชายา — เว็บไซต์สำนักพระราชวังญี่ปุ่น (อังกฤษ)
- BBC | Japan welcomes imperial baby boy