เจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนะมิยะ

เจ้าหญิงไอโกะ หรือ เจ้าหญิงโทชิ (ญี่ปุ่น: 敬宮愛子内親王殿下; โรมาจิ: Toshi-no-miya Aiko Naishinnō Denka; อังกฤษ: Her Imperial Highness Princess Aiko[1]) ทรงดำรงพระฐานันดรศักดิ์เป็น 内親王 (Naishinnō) หรือ เจ้าหญิงชั้นเอกแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น

เจ้าหญิงไอโกะ
เจ้าหญิงชั้นเอก (内親王)
เจ้าหญิงไอโกะ เมื่อ พ.ศ. 2564
ประสูติ1 ธันวาคม พ.ศ. 2544 (23 ปี)
โรงพยาบาลสำนักพระราชวัง
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระชนกสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ
พระชนนีสมเด็จพระจักรพรรดินีมาซะโกะ

ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบัน (สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ) กับสมเด็จพระจักรพรรดินีมาซะโกะ และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะกับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ

สัญลักษณ์ประจำพระองค์ (お印) คือ ดอกโกะโยสึสึจิ[2] (ゴヨウツツジ)

พระประวัติ

แก้

การประสูติ

แก้

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544 (ปีเฮเซที่ 13) เจ้าหญิงมาซะโกะ มกุฎราชกุมารีทรงประสูติพระราชธิดา เวลา 14:43 น. ณ โรงพยาบาลสำนักพระราชวัง กรุงโตเกียว โดยพระราชธิดามีพระวรกายยาว 49.6 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 3,103 กรัม[3] พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกและเพียงพระองค์เดียวในเจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมารกับเจ้าหญิงมาซะโกะ มกุฎราชกุมารี[2]

ในวันเดียวกัน มีการจัดพิธีมอบดาบคุ้มครอง (賜剣の儀) และมอบชุดฮากะมะ พระราชทานโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ โดยจัดวางไว้ที่ข้างเตียงของพระราชธิดา ซึ่งเป็นธรรมเนียมราชสำนักเมื่อมีสมาชิกใหม่ของราชวงศ์ประสูติ เพื่ออวยพรให้พระราชธิดามีสุขภาพแข็งแรง[4]

วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2544 มีการจัดพิธีสรงน้ำ (浴湯の儀) ให้กับพระราชธิดา ณ โรงพยาบาลสำนักพระราชวัง โดยผู้ประกอบพิธีได้อ่านข้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือนิฮงโชกิ บทที่ 22 ซึ่งมีการกล่าวถึงจักรพรรดินีซูอิโกะ (จักรพรรดินีพระองค์แรกของราชวงศ์ญี่ปุ่นที่ได้ขึ้นครองราชย์) จากนั้นทำการประกอบพิธีโทคุโช เมเกน (読書鳴弦) โดยจะมีการดีดสายธนูที่ไม่มีลูกศร เพื่อขอพรให้พระราชธิดามีความเจริญทางปัญญาและมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์[5]

ถัดมามีการจัดพิธีเฉลิมพระนาม (命名の儀) ณ พระราชวังโทงู ย่านโมโตะ-อากะซะกะ เขตมินะโตะ กรุงโตเกียว ซึ่งเป็นธรรมเนียมราชสำนักที่จัดหลังจากการประสูติประมาณ 7 วัน ในพิธีนี้จะมีการตั้งพระนามและกำหนดสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ตามธรรมเนียมแล้วพระราชธิดาในมกุฎราชกุมารจะได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระจักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้พระนามของพระราชธิดาถูกตั้งโดยพระชนกและพระชนนีแทน ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้ทรงทำการขอพระบรมราชานุญาตแล้ว [5][6][7]

พระราชธิดาทรงได้รับพระราชทานพระนามว่า "ไอโกะ" (ญี่ปุ่น: 愛子; โรมาจิ: Aiko) และเนื่องด้วยทรงเป็นพระราชธิดาในมกุฎราชกุมาร จึงทรงได้รับพระนามขาน (御称号) ตามธรรมเนียมราชสำนักว่า "โทชิ" (ญี่ปุ่น: 敬宮; โรมาจิ: Toshi-no-miya)[3]

เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิ จึงทรงดำรงพระฐานันดรศักดิ์เป็น 内親王 (Naishinnō) หรือ เจ้าหญิงชั้นเอกแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ตามกฎหมายราชวงศ์ญี่ปุ่น มาตราที่ 6[8]

ดังนั้นพระนามเต็มของพระองค์คือ 敬宮愛子内親王殿下[9][10] (Toshi-no-miya Aiko Naishinnō Denka)

พระนาม 愛子 (Aiko) ประกอบด้วยตัวอักษรคันจิสองตัวคือ 愛 (ความรัก) กับ 子 (เด็ก) รวมกันมีความหมายว่า "บุคคลอันเป็นที่รัก"[6][11] โดยมีที่มาจากคัมภีร์เม่งจื๊อ บท "ริโร โชกุ โนะ เกะ" (離婁章句下) ในประโยคที่ว่า "ผู้มีเมตตาย่อมรักคน ผู้มีมารยาทดีก็ย่อมเคารพคน ผู้ที่รักคนย่อมมีคนรักตอบ ผู้ที่เคารพคนก็ย่อมมีคนเคารพตอบ" (仁者愛人、有礼者敬人。愛人者、人恒愛之、敬人者、人恒敬之) [5]

พระนามขาน "โทชิ" (敬宮) หมายถึง "บุคคลผู้ควรแก่การเคารพ"[6][11]

 
สัญลักษณ์ประจำพระองค์ ดอกโกะโยสึสึจิ

ในช่วงแรกหลังจากการประสูติ สื่อญี่ปุ่น สำนักพระราชวัง รวมทั้งสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะจะมีการออกพระนามของพระองค์ว่า 敬宮さま (Toshi-no-miya Sama)[12][13][14][15][16] หรือ เจ้าหญิงโทชิ แทนพระนามจริง อีกทั้งสื่อต่างประเทศก็มีการออกพระนามของพระองค์ว่า Princess Toshi ด้วยเช่นกัน[6][17][18][19]

อย่างไรก็ตามในภายหลัง สื่อญี่ปุ่นและสำนักพระราชวังจะออกพระนามของพระองค์ด้วยพระนามจริงมากกว่า เป็น 愛子さま (Aiko Sama) [2][20] หรือ เจ้าหญิงไอโกะ ส่วนพระนามขานมักจะใช้ระบุควบคู่กับพระนามจริง เช่น 敬宮愛子さま (Toshi-no-miya Aiko Sama)[21][22]

สัญลักษณ์ประจำพระองค์ (お印) ถูกกำหนดเป็นดอกโกะโยสึสึจิ (ゴヨウツツジ)[5]

พระชนกและพระชนนี ทรงเรียกพระองค์อย่างลำลองว่า "愛ちゃん" (ไอจัง)[23]

การขาดแคลนราชวงศ์ชายและข้อถกเถียงเรื่องการสืบสันตติวงศ์

แก้
 
เจ้าหญิงไอโกะ พระชนมายุ 3 เดือน

ในช่วงก่อนที่เจ้าหญิงไอโกะจะประสูตินั้น ญี่ปุ่นมีราชวงศ์ชายเหลืออยู่เพียง 3 พระองค์และลำดับการสืบสันตติวงศ์ ณ ขณะนั้น ตามกฎหมายราชวงศ์ญี่ปุ่น มาตราที่ 2[8] เป็นดังนี้

  1. เจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมาร พระชนก
  2. เจ้าชายอากิชิโนะ มีพระธิดา 2 พระองค์
  3. เจ้าชายฮิตะจิ (พระราชอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ) ไม่มีพระโอรส-พระธิดา

ในปี พ.ศ. 2536 หลังจากที่เจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมารอภิเษกสมรสกับนางสาวมาซะโกะ โอวะดะ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าหญิงมาซะโกะ มกุฎราชกุมารี พระองค์ทรงรับแรงกดดันเป็นอย่างมากในการให้กำเนิดพระราชโอรสสำหรับการสืบสันตติวงศ์ จนใน พ.ศ. 2542 หลังจากที่อภิเษกสมรสได้ 6 ปี มีการรายงานข่าวออกมาว่าเจ้าหญิงมาซะโกะ มกุฎราชกุมารีทรงพระครรภ์ แต่ในเวลาถัดมาไม่นานพระองค์ก็ทรงแท้งพระราชบุตร[24]

วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 ได้มีประกาศออกมาว่าเจ้าหญิงมาซะโกะ มกุฎราชกุมารี ทรงพระครรภ์อีกครั้ง และได้ประสูติเจ้าหญิงไอโกะในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544 [24]

 
ราชวงศ์อิมพีเรียล เมื่อ พ.ศ. 2556

ซึ่งหากนับตั้งแต่เจ้าชายอากิชิโนะซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ. 2508 ราชวงศ์ญี่ปุ่นมีการประสูติของราชวงศ์หญิงติดต่อกันถึง 8 พระองค์ โดยเจ้าหญิงไอโกะทรงเป็นพระองค์ที่ 9 ทำให้สังคมในช่วงเวลานั้นเกิดความกังวลถึงปัญหาเรื่องการสืบสันตติวงศ์ในอนาคต[25] เนื่องจากกฎหมายราชวงศ์ญี่ปุ่น มาตราที่ 1 อนุญาตให้เพียงแค่ราชวงศ์ชายเท่านั้นที่สามารถขึ้นครองราชย์ได้[8]

ด้วยสาเหตุนี้จึงมีการถกเถียงกันในหมู่ประชาชนเกี่ยวกับตัวกฎหมายราชวงศ์ญี่ปุ่นว่า ควรจะแก้ไขให้ราชวงศ์หญิงสามารถขึ้นครองราชย์ได้ด้วยหรือไม่ เนื่องจากราชวงศ์ญี่ปุ่นในอดีตเคยมีบันทึกถึงการครองราชย์ของจักรรพรรดินีถึง 8 พระองค์ แต่ก็มีข้อโต้แย้งเช่นกันว่าเป็นแค่การครองราชย์เพียงชั่วคราวเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองเท่านั้น (เช่น รัชทายาทชายตัวจริงยังไม่บรรลุนิติภาวะ) อีกทั้งจักรพรรดินีไม่เคยอภิเษกระหว่างครองราชย์ จึงไม่ได้ให้กำเนิดรัชทายาทเพื่อสืบบัลลังก์ต่อ [25][26]

จากข้อถกเถียงต่างๆ รวมทั้งสภาที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำแก่นายกรัฐมนตรีจุนอิจิโร โคอิซูมิ จึงทำให้ทางนายกรัฐมนตรีก็มีความตั้งใจในการแก้ไขกฎหมายนี้เช่นกัน และเริ่มมีการเตรียมร่างแก้ไขกฎหมายเพื่อนำเข้าสู่สภานิติบัญญัติ[27][26]

แต่พอเจ้าหญิงอากิชิโนะตั้งพระครรภ์ และให้กำเนิดเจ้าชายฮิซะฮิโตะ ในปี พ.ศ. 2549 ทำให้นายกรัฐมนตรีระงับการส่งเรื่องขอแก้ไขกฎหมายฉบับนี้เข้าไปในสภานิติบัญญัติ ซึ่งนายชินโซ อาเบะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ผู้ซึ่งเป็นตัวเก็งนายกรัฐมนตรีในสมัยหน้า) ได้ออกมาให้เหตุผลว่า “เรายังต้องการความเข้าใจร่วมกันในระดับชาติ ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องมีการพูดคุยกันอย่างสงบ รอบคอบ และมีสติ เราคงยังไม่สามารถหารือเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายนี้ได้อีกสักพัก เราคงต้องรอจนกว่าจะมีเวลาที่เหมาะสม” [27][26]

ดังนั้นเจ้าชายฮิซะฮิโตะจึงทรงเป็นรัชทายาทลำดับที่ 3 ของราชวงศ์ญี่ปุ่น หลังประสูติทันที โดยเจ้าชายฮิซะฮิโตะทรงเป็นราชวงศ์ชายพระองค์ล่าสุดของราชวงศ์ญี่ปุ่นในรอบเกือบ 41 ปี

ถึงแม้จะมีการประสูติของเจ้าชายฮิซะฮิโตะแล้วก็ตาม แต่ข้อถกเถียงเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์โดยราชวงศ์หญิงก็ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไข แต่เป็นแค่การเลื่อนการแก้ไขออกไปชั่วคราว[28]

 
เจ้าหญิงไอโกะ เมื่อ พ.ศ. 2559

การศึกษา

แก้
  • เดือนเมษายน พ.ศ. 2548 ทรงเข้าศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก (こどもの城) เขตชิบุยะ กรุงโตเกียว สัปดาห์ละ 2 วัน ซึ่งพระองค์ทรงมีกิจกรรมทางดนตรีและกิจกรรมอื่นๆร่วมกับพระสหาย เพื่อให้พระองค์ได้คุ้นเคยกับเด็กวัยเดียวกัน[29]
  • วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2549 ทรงเข้าพิธีเข้ารับการศึกษาระดับชั้นอนุบาล โรงเรียนอนุบาลกาคุชูอิน[30]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เมื่อพระชนมายุเข้า 5 ชัณษา ทรงเข้าพิธีสวมฮากะมะ (着袴の儀) ตามธรรมเนียมราชวงศ์ ณ พระราชวังโทงู ซึ่งสำหรับราชวงศ์หญิงจะทรงสวมชุดโคโซเดะ (小袖) สีม่วงอมแดงเข้ม พร้อมกับฮากะมะสีเดียวกันที่ทรงได้รับในวันประสูติ คลุมพระองค์ด้วยอุชิกิ (袿) และถือพัดอาโคะเมะโอกิ (衵扇) [31]

การกลั่นแกล้งในชั้นเรียน

แก้

วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่พระองค์กำลังใกล้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พระองค์ทรงมีอาการปวดท้องและทรงรู้สึกวิตกกังวลอย่างมากระหว่างการเสด็จไปโรงเรียน จึงทรงไม่ได้เข้าเรียนในวันนั้น แล้วในวันถัดมาพระองค์เสด็จไปโรงเรียนเป็นแค่ช่วงสั้นๆ และหลังจากนั้นพระองค์ก็ไม่ได้เสด็จไปโรงเรียนติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน[40]

ทางสำนักพระราชวังออกมาแถลงว่า ในช่วงก่อนหน้านี้เจ้าหญิงทรงพระประชวรไข้ เลยไม่ได้เสด็จไปโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งวันที่ 1 มีนาคม พระองค์ทรงประชวรที่ท้องพร้อมกับอาการวิตกกังวล จึงได้ทำการสืบสวนกับทางโรงเรียนพบว่า มีนักเรียนหลายคนรวมทั้งเจ้าหญิงไอโกะ ถูกนักเรียนชายจากห้องเรียนอื่นในชั้นเรียนเดียวกันกลั่นแกล้งโดยใช้ความรุนแรง (乱暴) โดยทางโรงเรียนได้ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าไม่มีนักเรียนคนใดที่ตกเป็นเหยื่อโดยเฉพาะเจาะจง และเชื่อว่าไม่ใช่การกลั่นแกล้ง หวังว่ามาตรการที่ได้ดำเนินการไปจะได้ผล[40][41]

จากการแถลงของสำนักพระราชวังที่ปรากฏคำว่าความรุนแรง (乱暴) ในการแถลง จึงทำให้ทางโรงเรียนต้องออกมาชี้แจงว่า ในช่วงภาคเรียนที่ 1 มีนักเรียนชายที่อยู่ชั้นเดียวกันทำการขว้างปาสิ่งของ มีการวิ่งและส่งเสียงดังที่โถงทางเดิน ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดการปัญหาเรียบร้อยแล้ว และเชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องต่อการไม่มาโรงเรียนของเจ้าหญิง[42][43]

อย่างไรก็ตามในสัปดาห์ถัดมา เจ้าหญิงไอโกะก็เสด็จไปโรงเรียนตามปกติ[44] โดยเจ้าหญิงมาซะโกะ มกุฎราชกุมารี พระชนนีได้เสด็จไปส่งพระองค์ที่โรงเรียนด้วย เป็นเวลาติดต่อกันถึง 1 ปี 7 เดือน จนกระทั่งเจ้าหญิงไอโกะสามารถเดินทางไปโรงเรียนได้ด้วยพระองค์เอง[32]

พิธีบรรลุนิติภาวะ

แก้

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เจ้าหญิงไอโกะทรงมีพระชนมายุครบ 20 ชัณษา ซึ่งถือว่าทรงบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายแพ่งของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามการจัดงานพิธีบรรลุนิติภาวะของพระองค์ จะจัดขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคมแทน เนื่องจากพระองค์ทรงติดภารกิจทางการศึกษา[45]

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 มีการจัดพิธีบรรลุนิติภาวะขึ้น โดยเจ้าหญิงไอโกะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้นประถมาภรณ์ (มงกุฎดอกพอโลเนีย) จากสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ หลังจากนั้นทรงสวมเทียร์ร่าออกมาทักทายสื่อมวลชน[46] อย่างไรก็ตามการจัดงานแถลงข่าวการบรรลุนิติภาวะกับสื่อมวลชนของพระองค์ ถูกพิจารณาให้เลื่อนไปจัดในช่วงปิดภาคเรียนแทน ซึ่งตรงกับเดือนมีนาคมของปีถัดไป

โดยปกติแล้วเทียร์ร่าจะมีการจัดทำขึ้นมาใหม่ทุกครั้งเมื่อราชวงศ์หญิงบรรลุนิติภาวะ และจะต้องคืนเมื่อพระองค์เสกสมรสหรือลาออกจากฐานันดรศักดิ์ แต่ในกรณีของเจ้าหญิงไอโกะ ไม่ได้มีการจัดทำเทียร์ร่าขึ้นมาใหม่ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในช่วงการระบาดของโควิด 19 พระองค์จึงทรงสวมเทียร์ร่าของพระปิตุจฉา (อดีตเจ้าหญิงซายะโกะ) ในงานพิธีแทน [6] อีกทั้งในภายหลังก็ไม่ได้มีการพิจารณาจัดทำเทียร์ร่าขึ้นมาใหม่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น[47]

วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565 มีการจัดงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเนื่องในการบรรลุนิติภาวะของพระองค์[48][49] หลังจากผ่านพิธีบรรลุนิติภาวะแล้ว เจ้าหญิงไอโกะจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางราชสำนักอย่างเต็มพระองค์

การเติบโตในบทบาทของสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่น

แก้

งานเทศกาลและพิธีการ

แก้

เจ้าหญิงไอโกะทรงตามเสด็จพระชนกและพระชนนี เพื่อเข้าร่วมงานเทศกาลและพิธีการต่างๆ เช่น ชมการแข่งขันซูโม่ ณ สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงะกุ กรุงโตเกียว (2549)[50], ชมการแข่งขันฟุตบอลหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ สนามกรีฑา สวนโอลิมปิกโคมะซะวะ กรุงโตเกียว (2557)[51], ชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันครบรอบ 70 ปีการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์แห่งชาติโชวะ กรุงโตเกียว (2558)[52], ชมนิทรรศการพิเศษครบรอบ 150 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตญี่ปุ่น-อิตาลี ณ พิพิธภัณฑ์เอโดะ โตเกียว[53]

การเยือนต่างประเทศ

แก้

วันที่ 17 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ทรงตามเสด็จพระชนกและพระชนนี เยือนประเทศเนเธอร์แลนด์อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นการเสด็จไปต่างประเทศครั้งแรกของพระองค์[54]

การเยือนต่างจังหวัด

แก้

วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทรงตามเสด็จพระชนกและพระชนนี เยือนจังหวัดนากะโนะอย่างเป็นทางการ เพื่อรำลึกถึงวันแห่งภูเขาที่อุทยานแห่งชาติคามิโคจิ ซึ่งเป็นการเสด็จเยือนต่างจังหวัดอย่างเป็นทางการครั้งแรกของพระองค์[55]

การสักการะศาลเจ้าอิเสะและสุสานพระจักรพรรดิ

แก้
  • วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ทรงตามเสด็จพระชนก พระชนนี ไปเคารพสุสานจักรพรรดิโชวะ และจักรพรรดินีโคจุน ผู้ซึ่งเป็นพระปัยกา (ปู่ทวด) และพระปัยยิกา (ย่าทวด) ซึ่งเป็นการเสด็จไปเคารพครั้งแรกของพระองค์[56]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ทรงตามเสด็จพระชนก พระชนนี ไปเคารพศาลเจ้าอิเสะ จังหวัดมิเอะ ซึ่งเป็นการเสด็จไปเคารพครั้งแรกของพระองค์[57]
  • วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2567 ทรงเสด็จไปเคารพศาลเจ้าอิเสะ จังหวัดมิเอะ เพื่อรายงานการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของพระองค์[58]
  • วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 ทรงเสด็จไปเคารพสุสานจักรพรรดิจิมมู (จักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น) จังหวัดนาระ เพื่อรายงานการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของพระองค์[59]
  • วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 ทรงเสด็จไปเคารพสุสานจักรพรรดิโชวะ และจักรพรรดินีโคจุน เพื่อรายงานการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และการเข้าทำงานในสภากาชาดญี่ปุ่นของพระองค์[60]

พระกรณียกิจ

แก้

ตำแหน่งในองค์กร

แก้

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เจ้าหญิงไอโกะทรงเริ่มงานเป็นพนักงานสัญญาจ้างเต็มเวลาที่สภากาชาดญี่ปุ่น [6][61][62] สังกัดแผนกเยาวชนและอาสาสมัคร, สำนักงานส่งเสริมกิจกรรมอาสาสมัคร, กองส่งเสริมความร่วมมือ, สำนักกิจการสภากาชาดญี่ปุ่น แม้พระองค์จะเป็นพนักงานสัญญาจ้างเต็มเวลา แต่ก็ไม่ได้ทรงเข้าทำงานทุกวัน โดยจะมีการประสานงานกับทางสภากาชาดญี่ปุ่น เพื่อให้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจอื่นๆได้ด้วย[63]

งานราชสำนัก

แก้
  • ทรงตามเสด็จสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีออกมหาสมาคม เนื่องในวันขึ้นปีใหม่[64] และวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระจักรพรรดิ[65]
  • ทรงเข้าร่วมพิธี "อุตะไค ฮาจิเมะ โนะ คิ" (歌会始の儀) ซึ่งเป็นธรรมเนียมประจำปีในพระราชสำนัก โดยจะมีการร่วมกันขับร้องบทกวีในท่วงทำนองโบราณตามแบบแผนดั้งเดิมของญี่ปุ่น[66]
  • ทรงเข้าร่วมงานเลี้ยงพระกระยาอาหารค่ำ ณ พระราชวังอิมพีเรียล เพื่อเลี้ยงต้อนรับแขกระดับประเทศ[67]
  • ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ต้อนรับเอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่นจากประเทศต่าง ๆ ที่สนามล่านกเป็ดน้ำชินฮะมะ สำนักพระราชวัง เมืองอิชิคะวะ จังหวัดชิบะ[68]
  • ทรงเข้าร่วมงานเลี้ยงน้ำชาฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจัดโดยสมเด็จพระจักรพรรดิ เพื่อเลี้ยงต้อนรับแขกผู้มีเกียรติจากหลากหลายวงก ารในประเทศญี่ปุ่น ที่พระราชวังอากะซะกะ กรุงโตเกียว[69]

งานพิธีการ

แก้
  • วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เจ้าหญิงไอโกะเสด็จทอดพระเนตรการแสดงมโหรีกางากุ ซึ่งเป็นวงออร์เคสตราอย่างราชสำนักญี่ปุ่น จัดขึ้นโดยสำนักพระราชวังญี่ปุ่น โดยเจ้าหญิงคาโกะดำเนินเสด็จด้วย[70]

การเยือนต่างจังหวัด

แก้
  • วันที่ 26 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 เสด็จเยือนจังหวัดมิเอะ เพื่อไปเคารพศาลเจ้าอิเสะ และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ไซกู ซึ่งเป็นการเสด็จเยือนต่างจังหวัดอย่างเป็นทางการครั้งแรกของพระองค์[71]

พระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าหญิงไอโกะ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
สัญลักษณ์ดอกโกะโยสึสึจิ (ゴヨウツツジ)
คำยกย่องเด็งกะ (殿下)
ลำดับโปเจียม7

ประวัติพระอิสริยยศ

แก้
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน: เจ้าหญิงไอโกะ หรือ เจ้าหญิงโทชิ (ญี่ปุ่น: 敬宮愛子内親王殿下; โรมาจิ: Toshi-no-miya Aiko Naishinnō Denka; อังกฤษ: Her Imperial Highness Princess Aiko)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เกร็ด

แก้

การประสูติ

แก้
  • ภายใน 2 วันของการประสูติ มีประชาชนกว่า 120,000 คนร่วมลงนามถวายพระพร[3][15] และมีสารถวายพระพรจากนายกรัฐมนตรีจุนอิจิโระ โคอิซุมิ[72]
  • วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ประชาชนกว่า 3,500 ร่วมรับเสด็จเจ้าหญิงไอโกะตลอดเส้นทาง ตั้งแต่หน้าโรงพยาบาลสำนักพระราชวัง จนถึงพระตำหนักที่ประทับ[73]

การกีฬา

แก้
  • ทรงโปรดการออกกำลังกายมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์[36]
  • ขณะพระชนมายุ 4 ชัณษา ทรงโปรดการแข่งขันมวยปล้ำ จนถึงขั้นทรงจำชื่อและนามสกุลของผู้เข้าแข่งขันได้[74] และทรงเป็นแฟนตัวยงของกีฬาซูโม่[75]
  • ขณะพระชนมายุ 8 ชัณษา ทรงมีความสนใจในกีฬาเบสบอลเป็นอย่างมาก หลังจากที่ได้ทอดพระเนตรการแข่งขันเวิลด์เบสบอลคลาสสิก (WBC) ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งช่วงนั้นญี่ปุ่นได้แชมป์ 2 ปีติดต่อกัน อีกทั้งทรงได้ทอดพระเนตรการแข่งขันเบสบอลอาชีพที่สนามจิงกูเป็นครั้งแรก ซึ่งนักเบสบอลที่พระองค์โปรดคือเซอิจิ อุชิคะวะ[75][76]
  • ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พระองค์ทรงอยู่ชมรมบาสเก็ตบอล และได้มีการแข่งขันกับโรงเรียนอื่นๆ[77] อีกทั้งทรงเล่นบาสเก็ตบอลหลังเลิกเรียนและในวันหยุดเป็นประจำ[78]
  • ทรงสามารถเล่นสกีในเส้นทางที่มีความท้าทายระดับสูง, ทรงสามารถว่ายน้ำได้เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ณ ค่ายโรงเรียนริมทะเล[79], ทรงวิ่งจ็อกกิ้งกับพระชนก, เล่นเทนนิสกับพระชนกและพระชนนี, เล่นแบดมินตันและวอลเลย์บอลกับเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง[36]
 
สมเด็จพระจักรพรรดิ สมเด็จพระจักรพรรดินี และเจ้าหญิงไอโกะ พร้อมสุนัขทรงเลี้ยง พ.ศ. 2562

สัตว์ทรงเลี้ยง

แก้
  • สุนัขพันธ์ผสม 2 ตัวชื่อ "ปิ๊บปี้" (ピッピ) กับ "มาริ" (まり) เป็นสุนัขที่พลัดหลงเข้ามาในพระราชวัง ซึ่งพระชนกและพระชนนีทรงรับมาเลี้ยงในปี พ.ศ. 2538 ก่อนที่เจ้าหญิงไอโกะจะประสูติ[80][81] โดยทั้งสองตัวถือว่าเป็นสุนัขทรงเลี้ยง 2 ตัวแรกของเจ้าหญิงไอโกะ อีกทั้งในวันพิธีเข้ารับการศึกษาระดับชั้นอนุบาล โรงเรียนอนุบาลกาคุชูอิน พระองค์ทรงสะพายกระเป๋าที่มีการปักลายเป็นสุนัขทรงเลี้ยงทั้ง 2 ตัวนี้[30]
  • สุนัขพันธ์ผสมชิบะชื่อ "ยูริ" (由莉) ทรงรับมาเลี้ยงในปี พ.ศ. 2552 โดยเจ้าหญิงไอโกะทรงตั้งชื่อให้ด้วยพระองค์เอง[81]
  • แม่แมวชื่อ "นิงเก็น" (ニンゲン) กับลูกแมวชื่อ "มี" (みー) ทรงรับมาเลี้ยงในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นแมวที่หลงเข้ามาในเขตพระราชวัง โดยเจ้าหญิงไอโกะทรงตั้งชื่อให้ด้วยพระองค์เอง[82]
  • แมวชื่อ "เซเว่น" (セブン) ทรงรับมาเลี้ยงในปี พ.ศ. 2559 จากศูนย์พักพิงสัตว์ เขตโยชิดะ กรุงโตเกียว โดยชื่อเซเว่นมีที่มาจากการถูกพบบนตึกชั้น 7[82]

การศึกษา

แก้
  • ทรงอยู่ชมรมออร์เคสตราของโรงเรียนประถมศึกษากาคุชูอิน และโรงเรียนมัธยมหญิงกาคุชูอิน โดยพระองค์ทรงเล่นเชลโล่[6] อีกทั้งได้มีการแสดงในงานเทศกาลของโรงเรียน[83]
  • ทรงพระปรีชาด้านการเรียน โดยมีรายงานออกมาในช่วงที่พระองค์กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาว่า พระองค์ทรงได้เกรดเอเกือบทุกครั้ง โดยพระองค์ทรงโปรดวิชาภาษาญี่ปุ่นเป็นพิเศษ ซึ่งในการสอบตัวอักษรคันจิพระองค์ทรงได้คะแนนเกือบ 100 คะแนนในหลายครั้ง แต่ทรงไม่โปรดวิชาคณิตศาสตร์[84]
  • เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ทำให้การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยของพระองค์เป็นแบบเรียนออนไลน์โดยส่วนใหญ่ ซึ่งพระองค์ได้เข้าเรียนแบบปกติในชั้นปีที่ 4[39]

อื่นๆ

แก้
  • สาเหตุที่พระองค์เลือกเข้าทำงานที่สภากาชาดญี่ปุ่น เนื่องจากพระองค์เห็นภาพข่าวของผู้ที่ทำงานเป็นอาสาสมัคร ณ พื้นที่ประสบภัยพิบัติ และได้ฟังประสบการณ์ของพระสหายของพระองค์ตอนที่ไปเป็นอาสาสมัคร ในช่วงมหาวิทยาลัย พระองค์ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมในมหาวิทยาลัย ความสนใจในกิจกรรมนี้ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น อีกทั้งทรงได้รับโอกาสให้เข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษจากสภากาชาดญี่ปุ่นพร้อมกับสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินี และเยี่ยมชมนิทรรศการพิเศษที่สำนักงานใหญ่สภากาชาดญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปีเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ทำให้พระองค์รู้สึกสนใจในกิจกรรมของสภากาชาดญี่ปุ่น ที่พระองค์จะสามารถมีส่วนร่วมโดยตรงกับสังคมได้[85]
  • มีดอกกุหลาบ 3 สายพันธ์ที่มีการตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์ ได้แก่ "ไฮเนส ไอ" (ハイネス愛), "ปริ้นท์เซส ไอโกะ" (プリンセス・アイコ), และ "รอยัล ปริ้นท์เซส" (ロイヤル・プリンセス) โดยทั้ง 3 สายพันธ์นี้มีการผสมพันธุ์ขึ้นมาใหม่ใน ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่เจ้าหญิงไอโกะประสูติไม่นาน[86]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อ้างอิงพระนามจากเว็บไซต์สำนักพระราชวัง เวอร์ชันภาษาอังกฤษ https://www.kunaicho.go.jp/e-about/history/history02.html
  2. 2.0 2.1 2.2 "天皇皇后両陛下". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  3. 3.0 3.1 3.2 NHK. "皇太子ご夫妻に愛子さまご誕生 |ニュース|NHKアーカイブス". 皇太子ご夫妻に愛子さまご誕生 |ニュース|NHKアーカイブス (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  4. "asahi.com : 社会 : 雅子さまご出産". www.asahi.com. สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "NIKKEI NET:特集 愛子さま、初めてのお正月". www.nikkei.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-03. สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 "Who Is Princess Aiko of Japan?". Town & Country (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-06-28. สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  7. "Japan's princess named 'one who loves others'". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2001-12-08. สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  8. 8.0 8.1 8.2 "e-Gov 法令検索". laws.e-gov.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-06-16.
  9. มีการระบุพระนามเต็มในสารถวายพระพรจากสภานครเซ็นได จังหวัดมิยะงิ https://www.gikai.city.sendai.jp/docs/H13-G-1.pdf
  10. "このままでは手遅れになる「愛子天皇」。「男系男子」にこだわると皇統は行き詰まる!(山田順) - エキスパート". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-17.
  11. 11.0 11.1 Colin Joyce (2001-12-08). "Japan's princess named 'one who loves others'". The Daily Telegraph, 8 December 2001. Retrieved from http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/asia/japan/1364705/Japans-princess-named-one-who-loves-others.html.
  12. "敬宮さま ご誕生記念写真集「新世紀の皇室」/ページ:1". www.shikoku-np.co.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  13. หนังสือ "新世紀の皇室: おめでとう皇太子さま雅子さま敬宮さま誕生記念写真" (ISBN 978-4764104938)
  14. หนังสือ "新世紀の皇室 敬宮さま誕生記念写真集" (ISBN 9784784099085)
  15. 15.0 15.1 "皇太子殿下お誕生日に際し(平成14年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  16. "天皇陛下お誕生日に際し(平成14年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  17. "Tragic story of the world's loneliest princess - who faces a harrowing choice". newsonjapan.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  18. Limited, Alamy. "Japan's Princess Aiko (Princess Toshi), the only daughter of Crown Prince Naruhito and Princess Masako, enters the Imperial Palace in order to meet Emperor and Empress to inform her 17th birthday. ( The Yomiuri Shimbun via AP Images Stock Photo - Alamy". www.alamy.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  19. Carey, Declan (2022-05-21). "Princess Toshi is the world's loneliest princess and faces a harrowing choice". Daily Mirror (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  20. "ご覧(「モネ 睡蓮のとき」)(国立西洋美術館)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  21. "愛子内親王殿下一歳のお誕生日に際し皇太子同妃両殿下の文書回答(平成14年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  22. "愛子さま 宮中茶会へはミントグリーンの装いで!佳子さまご不在も絶賛集めた堂々たる"ご接遇ぶり"(女性自身)". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  23. "愛子内親王殿下御誕生につき(平成14年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-06-17.
  24. 24.0 24.1 "不妊治療に流産も…漫画家も絶句した、雅子妃出産までの「いばらの道」". FRaU | 講談社 (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-12-02. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  25. 25.0 25.1 "Life in the cloudy Imperial fishbowl | The Japan Times Online". web.archive.org. 2007-10-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-17. สืบค้นเมื่อ 2025-05-20.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  26. 26.0 26.1 26.2 "The Future of Japan's Dwindling Imperial Family". nippon.com (ภาษาอังกฤษ). 2014-07-25. สืบค้นเมื่อ 2025-05-20.
  27. 27.0 27.1 "asahi.com: 紀子さま、男児ご出産 皇室41年ぶり、皇位継承3位 母子とも健やか - この記事を手がかりに". www.asahi.com. สืบค้นเมื่อ 2025-05-20.
  28. "女性皇族をめぐる「今」と「これから」、皇室維持に関する制度改革の議論が一向に前へ進まないのはなぜか(JBpress)". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  29. "愛子さま4歳 : 皇室 : 特集 : YOMIURI ONLINE(読売新聞)". www.yomiuri.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-06. สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  30. 30.0 30.1 30.2 井上絵美里 (2024-02-28). "【愛子さまご卒業へ】学習院18年間の思い出 運動会での組体操に雅子さまが涙《初等科》、広島で抱かれた平和への願い《中等科》も (1/4)". 女性セブンプラス (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  31. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  32. 32.0 32.1 32.2 井上絵美里 (2024-02-28). "【愛子さまご卒業へ】学習院18年間の思い出 運動会での組体操に雅子さまが涙《初等科》、広島で抱かれた平和への願い《中等科》も (2/4)". 女性セブンプラス (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 井上絵美里 (2024-02-28). "【愛子さまご卒業へ】学習院18年間の思い出 運動会での組体操に雅子さまが涙《初等科》、広島で抱かれた平和への願い《中等科》も (3/4)". 女性セブンプラス (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  34. "Princess Aiko heads to Britain to attend course at Eton College". The Asahi Shimbun. Tokyo. July 23, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-31. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
  35. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  36. 36.0 36.1 36.2 "愛子さま成年の記者会見全文". 日本経済新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 2022-03-17. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  37. 井上絵美里 (2024-02-28). "【愛子さまご卒業へ】学習院18年間の思い出 運動会での組体操に雅子さまが涙《初等科》、広島で抱かれた平和への願い《中等科》も (4/4)". 女性セブンプラス (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  38. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  39. 39.0 39.1 日本放送協会 (2024-03-20). "愛子さま 大学の卒業式に出席【卒業にあたり文書 全文掲載】 | NHK". NHKニュース. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  40. 40.0 40.1 日本テレビ. "愛子さま、登校できず 一部の児童が乱暴で|日テレNEWS NNN". 日テレNEWS NNN (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  41. "【魚拓】愛子さまご欠席 野村一成東宮大夫の会見一問一答 (1/5ページ) - MSN産経ニュース". ウェブ魚拓 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  42. "愛子さま学校お休みに 同級生の「乱暴なふるまい」で - MSN産経ニュース". sankei.jp.msn.com (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-04. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  43. 株式会社スポーツニッポン新聞社マルチメディア事業本部. "学習院が会見「乱暴な行為」とは…(社会) ― スポニチ Sponichi Annex ニュース". www.sponichi.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-08. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  44. 日本テレビ. "両陛下「十分に配慮を」愛子さま通学問題|日テレNEWS NNN". 日テレNEWS NNN (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  45. "来月20歳の愛子さまに勲章授与へ コロナ思い、ティアラ新調せず:朝日新聞". 朝日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-11-16. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  46. 46.0 46.1 "愛子さま、背筋を伸ばして「宝冠大綬章」受ける…天皇陛下は優しいまなざし". 読売新聞オンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  47. "愛子さまのティアラ、来年度も新調せず 宮内庁概算要求:朝日新聞". 朝日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 2024-08-30. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  48. "Princess Aiko vows to fulfill duties as adult in 1st news conference - The Mainichi". The Mainichi (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-15. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  49. คลิปงานแถลงข่าว https://www.youtube.com/watch?v=ZQ_ziqWhAuk
  50. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  51. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  52. 日本テレビ. "愛子さま、「戦後70年」の特別展へ|日テレNEWS NNN". 日テレNEWS NNN (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  53. "Japan-Italy diplomatic relations 150th anniversary special exhibition". สืบค้นเมื่อ 13 May 2016.
  54. "大紀元時報-日本". www.epochtimes.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-12. สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  55. 日本テレビ. "皇太子ご一家、長野で「山の日」記念式典へ|日テレNEWS NNN". 日テレNEWS NNN (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  56. 日本テレビ. "愛子さま 昭和天皇の御陵などを初参拝|日テレNEWS NNN". 日テレNEWS NNN (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  57. "皇太子ご一家、伊勢神宮参拝 愛子さまは初めて". 日本経済新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-07-29. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  58. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  59. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  60. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  61. "Japan's Princess Aiko gets job with Red Cross". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-01-23. สืบค้นเมื่อ 2024-01-23.
  62. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  63. "愛子さま 日本赤十字社のボランティア活動推進室に配属へ". テレ朝news (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  64. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  65. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  66. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  67. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  68. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  69. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  70. "Japan's Princesses Aiko, Kako attend gagaku concert". The Japan News. 6 November 2022. สืบค้นเมื่อ 6 November 2022.
  71. "愛子さま、けさ斎宮博を視察 「優雅」見物の子供ら興奮 三重・明和 | 夕刊三重電子版 YoMotto". 夕刊三重電子版(YoMotto/YoMotto+) (ภาษาญี่ปุ่น). 2024-03-27. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  72. "内閣総理大臣謹話「内親王殿下の御誕生を迎えて」". warp.ndl.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-20. สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  73. "Japan's new princess meets the public" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2001-12-08. สืบค้นเมื่อ 2025-06-17.
  74. "皇太子殿下お誕生日に際し(平成18年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  75. 75.0 75.1 "【皇室ウイークリー】(89)愛子さま、WBC組に熱視線 はじめての野球ご観戦、あの選手に拍手も… (1/4ページ) - MSN産経ニュース". sankei.jp.msn.com (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-20. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  76. "皇太子殿下お誕生日に際し(平成22年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  77. "皇太子殿下お誕生日に際し(平成25年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  78. "Princess Aiko turns 18 after watching rituals of her parents:The Asahi Shimbun". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  79. 産経新聞 (2015-12-01). "愛子さま、14歳のお誕生日". 産経新聞:産経ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  80. 産経新聞 (2023-06-08). "天皇、皇后両陛下と愛犬たちのヒストリー 写真で振り返るピッピとまりと由莉". 産経新聞:産経ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  81. 81.0 81.1 "皇室スケッチ:保護犬の「由莉」は天皇ご一家の家族 皇室と犬の長い関わり". 毎日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  82. 82.0 82.1 "愛子さま 名付けた愛猫「みー」が天国へ…ご一家でも特に悲しまれて". 女性自身 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  83. "愛子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-14.
  84. "偏差値72、天皇家で一番の頭脳 愛子さま東大入学の可能性は @gendai_biz". 現代ビジネス (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-11-11. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  85. 日本放送協会. "【全文掲載】愛子さま 日赤への就職を選ばれた理由など回答 | NHK". NHKニュース (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-02. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.
  86. "愛子様に捧げられたバラたち     : 神戸市立須磨離宮公園ブログ". suma-rikyu.seesaa.net. สืบค้นเมื่อ 2025-06-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า เจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนะมิยะ ถัดไป
เจ้าหญิงอากิชิโนะ มกุฎราชกุมารี   ลำดับโปเจียมแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น
(ลำดับที่ 7)

  เจ้าหญิงคาโกะ