ฮิซาชิ โอวาดะ
ฮิซาชิ โอวาดะ (ญี่ปุ่น: 小和田 恆; เกิด 18 กันยายน ค.ศ. 1932) เป็นนักนิติศาสตร์ชาวญี่ปุ่น และอดีตตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นพระสสุระ (พ่อตา) ของสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ปัจจุบัน
ฮิซาชิ โอวาดะ 小和田 恆 | |
---|---|
ตุลาการโอวาดะใน ค.ศ. 2005 | |
ประธานศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 | |
ก่อนหน้า | โรสลิน ฮิกกินส์ |
ถัดไป | ปีเตอร์ ทอมกา |
ตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 – 7 มิถุนายน ค.ศ. 2018 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ชิบาตะ จังหวัดนีงาตะ ญี่ปุ่น | 18 กันยายน ค.ศ. 1932
เชื้อชาติ | ญี่ปุ่น |
คู่สมรส | ยูมิโกะ เองาชิระ (ค.ศ. 1962–ปัจจุบัน) |
บุตร | จักรพรรดินีมาซาโกะ เซ็ตสึโกะ โอวาดะ เรโกะ โอวาดะ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ วิทยาลัยทรีนิตี |
ประวัติ
แก้โอวาดะเกิดที่เมืองชิบาตะ จังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น สำเร็จเป็นนิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโตเกียวเมื่อ ค.ศ. 1955 แล้วเข้าศึกษานิติศาสตร์ต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในสหราชอาณาจักรจนสำเร็จใน ค.ศ. 1959 นอกจากนี้ เขายังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง เช่น วิทยาลัยเควะ, มหาวิทยาลัยปัณรสฮินดู, และมหาวิทยาลัยวาเซดะ
ใน ค.ศ. 1993 มาซาโกะ โอวาดะ บุตรสาวซึ่งเป็นนักการทูตเหมือนเขาได้เสกสมรสกับมกุฏราชกุมารนารูฮิโตะ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ พระรัชทายาทแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ณ ขณะนั้น กระทั่งขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ปัจจุบัน
การงาน
แก้นักการทูตและตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
แก้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว โอวาดะกลับบ้านเกิดเมืองนอนเข้าทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในกระทรวงนี้ โดยตั้งแต่ ค.ศ. 1976–1978 เขาเป็นเลขานุการส่วนตัวของทาเกโอะ ฟูกูดะ (Takeo Fukuda) นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่น ต่อมาใน ค.ศ. 1988–1989 ได้เป็นเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ก่อนจะกลับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเดิม และได้เลื่อนขึ้นเป็นรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดังกล่าวใน ค.ศ. 1991–1993 ต่อมาใน ค.ศ. 1994–1998 เขาเป็นเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำสหประชาชาติ โดยได้เป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติถึงสองสมัย[1] ครั้นแล้ว จึงกลับไปดำรงตำแหน่งที่ประเทศแม่อีก โดยได้เป็นประธานสถาบันกิจการระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ใน ค.ศ. 1999–2000 เขายังเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของประธานธนาคารโลกด้วย
ต่อมาใน ค.ศ. 2003 หมู่ประจำชาติ (national group) ในศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ซึ่งประกอบด้วยประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ อีกสามสิบสองประเทศ รวมประเทศไทย ได้เสนอชื่อเขาเป็นตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สมัชชาใหญ่กับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเห็นพ้องกันเลือกตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งดังกล่าว และบรรดาตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเลือกเขาเป็นประธานศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้งแต่ ค.ศ. 2009–2015 นับเป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้เป็นประธานศาลนี้[2][3]
ก่อนที่จะหมดวาระลงใน ค.ศ. 2012 นั้น ใน ค.ศ. 2011 มีการเลือกตั้งตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และเขาก็ได้รับเลือกให้เป็นตุลาการต่อไปอีกวาระหนึ่ง โดยในการเลือกตั้งรอบแรก สมาชิกสมัชชาใหญ่จำนวน 119 คน ลงคะแนนให้เขา 170 คน ขณะที่สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงจำนวน 15 คน ลงคะแนนให้เขา 14 คน ซึ่งมากกว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งคนอื่นใดทั้งสิ้น[4][5]
อาจารย์คณะนิติศาสตร์
แก้นอกจากงานด้านการต่างประเทศแล้ว โอวาดะยังเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย, อาจารย์สถาบันกฎหมายระหว่างประเทศแห่งกรุงเฮก, อาจารย์กฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยวาเซดะ และอาจารย์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทั้งยังเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิสหประชาชาติด้วย
อ้างอิงและดูเพิ่ม
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-17. สืบค้นเมื่อ 2005-11-17.
- ↑ "The Selection of Judge Hisashi Owada as a Candidate for the Election of judges of the International Court of Justice (ICJ) in 2011" (Press release). Ministry of Foreign Affairs of Japan. 2010-09-01. สืบค้นเมื่อ 2011-10-30.
- ↑ "UN Doc. A/66/183–S/2011/453: List of candidates nominated by national groups / Note by the Secretary-General". 2011-07-26.
- ↑ "GA/11171: General Assembly, Concurrently with Security Council, Elects Four Judges to International Court of Justice" (Press release). United Nations Department of Public Information • News and Media Division • New York. 2011-11-10.
- ↑ "SC/10444: Security Council, General Assembly Elect Four New Judges to World Court / Fifth Vacancy Remains to Be Filled, Pending Concurrent Action by Both Bodies" (Press release). United Nations Department of Public Information • News and Media Division • New York. 2011-11-10.
- International Court of Justice Biography of H.E. President Hisashi Owada เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Japanese Imperial Household Agency
- H.E. Judge Hisashi Owada (Japan) Elected the ICJ President and H.E. Judge Peter Tomka (Slovakia) Elected Vice-President in 2009-2012 เก็บถาวร 2008-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and Statement of Japan Foreign Minister Nakasone on the Election of ICJ President Hisashi Owada of 6 February 2009 and Tokyo MFA and ASIL เก็บถาวร 2009-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and Japanese Judge Elected World Court's New President and New President of ICJ Elected เก็บถาวร 2011-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and Judge Owada of Japan Elected New President of the ICJ and World News and page 1: H.E. Judge Hisashi Owada Named ICJ President เก็บถาวร 2009-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and Japanese Judge Elected President of World Court for First Time เก็บถาวร 2013-01-11 ที่ archive.today and Japanner Owada Is Voorzitter Internationaal Gerechtshof - ICJ, Belgian Nieuwsblad of 6 February 2009 and NRC Handelsblad
- Brandeis Institute for International Judges 2007 pages 21 and 34 and 5th Brandeis on 23-28 July 2007, Including H.E. Former ICJ President Stephen M. Schwebel and H.E. Judges Hisashi Owada and Peter Tomka
- 2005 Keynote Speech of H.E. Judge Hisashi Owada เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and Distinguished Fellows Lecture of 9 November 2005 เก็บถาวร 2009-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and NYU Distinguished Global Fellows เก็บถาวร 2009-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 10th IDI Commission on Authorization to Resort to Force Given by the United Nations เก็บถาวร 2009-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and 12th IDI Commission on Judicial Control of UNSC Decisions of the Institute of International Law and IDI Members เก็บถาวร 2013-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- H.E. ICJ President Hisashi Owada's Lecture on The Encounter of Japan with the Community of Civilized Nations at newly launched in October 2008 UN Audiovisual Library of International Law and UN-Law
- H.E. ICJ President Hisashi Owada with UNSG Ban Ki-Moon of 23 March 2009 and UN Photographs
- Philip Jessup's 50th Anniversary Honorary Committee เก็บถาวร 2018-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and 50th Jessup Video เก็บถาวร 2016-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and 50th Jessup Programme เก็บถาวร 2012-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and [1] เก็บถาวร 2009-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Washington, D.C., 25-28 March 2009
- Statement of H.E. ICJ President Hisashi Owada to the 64th UNGA of 29 October 2009 เก็บถาวร 2011-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and GA/10878 of 29 October 2009, pp.1-3 & 13-22 and President Owada's Statement to the 6th Committee, GA/L/3377 of 30 October 2009
- Solemn Tribute of H.E. ICJ President Hisashi Owada to the memory of Professor Shabtai Rosenne, in Nicaragua v. Colombia Territorial and Maritime Dispute (Costa Rica's Intervention) Oral Hearings เก็บถาวร 2012-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, CR 2010/12, at p. 10 of 11 October 2010 เก็บถาวร 2012-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and UN 6th Committee Pays Respect to the Israeli Jurist Shabtai Rosenne of 6 October 2010 and Shabtai Rosenne Obituary: Eminent International Lawyer, Teacher and Israeli Diplomat by Malcolm Shaw of 12 October 2010 and In Memoriam Shabtai Rosenne (24 November 1917-21 September 2010) เก็บถาวร 2012-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Prof. B. Kwiatkowska[ลิงก์เสีย], in 26 IJMCL 1-3 (2011 No.1) & NILOS Papers เก็บถาวร 2013-01-12 ที่ archive.today
- Who's Who in Public International Law 2007
[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]] | |
---|---|
ชื่อ | Owada, Hisashi} |
ชื่ออื่น | |
รายละเอียดโดยย่อ | |
วันเกิด | 1932 |
สถานที่เกิด | |
วันตาย | |
สถานที่ตาย |