สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ

สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ (ญี่ปุ่น: 皇后雅子โรมาจิ: 'โคโง มาซาโกะ') เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ เป็นจักรพรรดินีญี่ปุ่นพระองค์ปัจจุบันต่อจาก จักรพรรดินีมิจิโกะ

สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ
ขณะดำรงพระอิสสริยยศมกุฎราชกุมารี ใน พ.ศ. 2561
จักรพรรดินีญี่ปุ่น
ดำรงพระยศ1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
สถาปนา22 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พระราชสมภพ9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (61 พรรษา)
โรงพยาบาลโทราโนะมง โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พระราชสวามีสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ (พ.ศ. 2536–ปัจจุบัน)
พระราชบุตรเจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนะมิยะ
ราชวงศ์ญี่ปุ่น (อภิเษกสมรส)
พระราชบิดาฮิซาชิ โอวาดะ
พระราชมารดายูมิโกะ เองาชิระ
ศาสนาชินโต
ลายพระอภิไธย

พระราชประวัติ

แก้

มาซาโกะ โอวาดะ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 เป็นธิดาคนโตของฮิซาชิ โอวาดะ อดีตประธานศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กับ ยูมิโกะ (สกุลเดิม เองาชิระ) มีพระขนิษฐาฝาแฝดคือ เซ็ตสึโกะ และเรโกะ[1]

เจ้าหญิงมาซาโกะได้เสด็จพระราชดำเนินย้ายไปประทับที่มอสโกขณะพระชนมายุ 2 พรรษา และสำเร็จการศึกษาชั้นอนุบาลที่มอสโก และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาศึกษาต่อในโรงเรียนหญิงล้วนในญี่ปุ่นชื่อว่า "เดะเย็ยโชะฟุ ฟุทะบะ" ในโตเกียว หลังจากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินย้ายไปประทับที่สหรัฐเนื่องจากบิดาของเจ้าหญิงมาซาโกะได้รับการคัดเลือกเป็น อาจาร์ยพิเศษในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็นรองทูตญี่ปุ่นประจำสหรัฐอเมริกา โดยมาซาโกะสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเบลมอนต์ไฮสคูล ในเบลมอนต์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ใกล้กับบอสตัน

ต่อมา มาซาโกะได้ศึกษาต่อในสายเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ยังไม่จบ แต่ก็รับปริญญาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากวิทยาลัย Balliol ในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ฮาร์วาร์ดของเธอคือเจฟฟรี่ แชคส์ ต่อมาเจ้าหญิงมาซาโกะได้ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโตเกียวซึ่งบิดาของเธอทำงานอยู่ที่นั่น เพื่อเตรียมสอบที่กระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น[2]

นอกจากภาษาญี่ปุ่นแล้ว มาซาโกะสามารถรับสั่งภาษาอื่นได้ เช่น ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ทั้งยังตรัสภาษาเยอรมัน รัสเซีย และสเปน ในระดับมาตรฐานได้[3][4]

ชีวิตในพระราชสำนัก

แก้
 
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ ใน พ.ศ. 2562

พระจริยวัตร

แก้

ก่อนการอภิเษกสมรส ประชาชนและผู้คนส่วนใหญ่ต่างหวังว่า มาซาโกะ ผู้ซึ่งมีภาพลักษณ์ของคนสมัยใหม่ จะสามารถเปลี่ยนภาพลักษณ์ของราชสำนักที่คร่ำครึได้ แต่สถานการณ์ภายหลังการอภิเษกสมรสกลับไม่เป็นดังที่ผู้คนหวัง เจ้าหญิงมาซาโกะแทบจะไม่เคยปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะ นอกเสียจากพิธีการสำคัญ ๆ เท่านั้น ผู้คนตั้งข้อสังเกตว่าหากทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแล้วจะทรงแย่งรัศมี ไปจากเจ้าชายนารูฮิโตะ พระสวามี ดังเช่นกรณีเจ้าหญิงไดอานา

ด้วยเหตุที่แทบจะไม่ได้เสด็จออกต่อสาธาณะชน จึงมีคนเรียกขานพระองค์เสียใหม่เป็น “เจ้าหญิงผู้เงียบเชียบ” ทรงกลายเป็นคนไม่มีปากมีเสียง และแทบจะไม่เคยตรัสกับเหล่าพสกนิกรที่มาเข้าเฝ้าฯ นอกจากทรงแย้มพระสรวลให้เท่านั้น

ความคาดหวังต่อการให้ประสูติพระรัชทายาท

แก้

แม้ว่าจะทรงเข้าราชสำนักมาแล้วหลายปี แต่ก็ยังไม่ทรงมีวี่แววว่าจะทรงพระครรภ์ ทางสำนักพระราชวังและเหล่าประชาชนต่างหวังให้พระองค์ทรงพระครรภ์โดยเร็ว เนื่องด้วยพระชนมายุก็มากขึ้นทุกขณะ แม้ว่ามกุฎราชกุมารจะทรงช่วยตรัสเพื่อลดความสนใจของผู้คนลง แต่สื่อก็ยังคงรายงานเรื่องการทรงพระครรภ์ของเจ้าหญิง ทรงถูกจับจ้องทุกพระอิริยาบถอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้เองกลายเป็นความกดดันให้แก่พระองค์เป็นอย่างมาก จนทรงแท้งในการทรงพระครรภ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2542 การแท้งครั้งนี้ได้นำความเสียพระทัยอย่างสาหัสมาสู่เจ้าหญิงมาซาโกะและสร้างความผิดหวังแก่เหล่าผู้คนอย่างมาก จนสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะต้องทรงมีพระราชดำรัสผ่านสื่อว่า "ไม่มีใครหรอกที่จะเข้าใจความรู้สึกของมาซาโกะว่าจะต้องใช้ความพยายามสักเพียงไหนกับการตั้งครรภ์ครั้งแรก ข้าพเจ้าได้แต่หวังว่าเธอคงรู้ว่าเธออยากระบายสิ่งที่อัดอั้นตันใจให้ใครสักคนฟัง ข้าพเจ้าก็พร้อมที่จะเป็นคนคนนั้น ข้าพเจ้าจะอยู่เคียงข้างเธอเสมอ"

ในที่สุด พ.ศ. 2544 มาซาโกะทรงมีพระประสูติกาล เจ้าหญิงไอโกะ ซึ่งสามารถบรรเทาความกังวลของสาธารณชนลงได้ส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามกฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ บัญญัติห้ามสตรีขึ้นครองราชย์ เรื่องนี้นำไปสู่การถกเถียงกันขนานใหญ่ว่าสมควรจะต้องมีการแก้กฎมณเฑียรบาลเสียใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหญิงไอโกะได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา แต่สำนักพระราชวังและรัฐสภาของก็ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ในเรื่องนี้

ความคาดหวังให้ทรงมีพระโอรสกลายเป็นความกดดันใหม่แก่ทั้งมกุฎราชกุมารและเจ้าหญิงมาซาโกะ เจ้าหญิงทรงเครียดจัดและมีภาวะซึมเศร้าจนส่งผลไปถึงพระพลานามัย ที่ทำให้ต้องทรงประทับ รักษาพระองค์อยู่แต่ในวังตั้งแต่ พ.ศ. 2545 โดยไม่ได้เสด็จออกสู่สาธารณชนอีกเลย นอกจากเฉพาะในงานพิธีการสำคัญ อาทิ วันเฉลิมพระชนพรรษาของสมเด็จพระจักรพรรดิ เป็นต้น

พระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
จักรพรรดินีมาซาโกะ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลเฮกะ (陛下)
การแทนตนโบะกุ (บุรุษ) / วะตะชิ (สตรี)
ลำดับโปเจียม2

เจ้าหญิงมาซาโกะดำรงพระราชอิสริยยศตั้งแต่ทรงเสกสมรส เป็น มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น และพระราชสวามีเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์จะกลายเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ

  • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2536 : มาซาโกะ โอวาดะ
  • 9 มิถุนายน พ.ศ. 2536 – 30 เมษายน พ.ศ. 2562 : เจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 皇太子徳仁親王妃雅子โรมาจิ: 'โคไตชินะรุฮิโตะ ชินโนฮิ มาซาโกะ', แปลตามตรง คือ เจ้าหญิงมาซาโกะ พระชายาในมกุฎราชกุมารนารูฮิโตะ)
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน : สมเด็จพระจักรพรรดินี

พงศาวลี

แก้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
คะเนะโยชิ โอวาดะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ทะเคะโอะ โอวาดะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ทะเคะโนะ โคงะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฮิซาชิ โอวาดะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
มะตะชิโระ ทะมุระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ชิซุกะ ทะมุระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ
(มาซาโกะ โอวาดะ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยะซุตะโร เองาชิระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยุทะกะ เองาชิระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
โยะเนะโกะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูมิโกะ เองาชิระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ทานิน ยะมะยะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ซึซึโกะ ยะมะยะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ซะดะโกะ นิวะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

แก้
  1. "The Princess Bride". People Magazine. June 21, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2009-11-21.
  2. "Weight of Imperial world on Princess Masako" The Japan Times. May 19, 2009. Retrieved November 4, 2009.
  3. Hills, Ben (2006). Princess Masako: Prisoner of the Chrysanthemum Throne. VNU Business Media, Inc. p. 336. ISBN 1585425680.
  4. Ruoff, Kenneth (2003). The People's Emperor: Democracy and the Japanese Monarchy, 1945-1995. VNU Business Media, Inc. p. 331. ISBN 0674008405.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ   จักรพรรดินีญี่ปุ่น
(1 พฤษภาคม 2562 – ปัจจุบัน)
  ​ยังดำรงพระอิสริยยศ