การปฏิสนธินอกร่างกาย

การปฏิสนธินอกร่างกาย หรือ เด็กหลอดแก้ว (อังกฤษ: in vitro fertilisation/fertilization - IVF) คือเทคนิคของการปฏิสนธิสังเคราะห์ โดยการนำเซลล์ไข่ซึ่งถูกปฏิสนธิภายนอกร่างกายของผู้หญิง วิธีการนี้คือวิธีหลักๆ ในการแก้ไขปัญหาการที่ผู้หญิงนั้นไม่สามารถมีบุตรได้ (Infertility) โดยสรุปแล้ว กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการควบคุมกระบวนการการผลิตไข่ของสตรี ด้วยการนำไข่ออกมาจากผู้หญิง และปล่อยให้สเปิร์ม นั้นทำปฏิสนธิกับไข่ของเพศหญิงภายในภาชนะบรรจุของเหลว หลังจากนั้น จึงถ่ายไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว หรือเอ็มบริโอ ไปยังมดลูกของผู้ป่วย เพื่อทำให้การตั้งครรภ์นั้นสมบูรณ์

ภาพแสดง การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF)
การปฏิสนธินอกร่างกาย
หัตถการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ICD-10-PCS8E0ZXY1
MeSHD005307

"In Vitro" เป็นภาษาละตินแปลว่า "ภายนอกสิ่งมีชีวิต" (ในที่นี้มักถูกแปลว่าอยู่ภายในแก้ว หรือภายในหลอดทดลอง) ซึ่งตรงข้ามกับ in vivo แปลว่า "ภายในสิ่งมีชีวิต" แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งแก้วและหลอดทดลองต่างไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการทำเด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว แก้

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การรักษาภาวะมีบุตรยากที่ให้ผลสำเร็จดี คือ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ร่วมกับการใส่ตัวอ่อนกลับในระยะ blastocyst (5 วันหลังการปฏิสนธิ) การเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะฝังตัว (Blastocyst) เป็นกระบวนการที่นำไข่และอสุจิมาทำการปฏิสนธิภายนอกร่างกายและเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกายนาน 5 วัน ให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตจนถึงระยะพร้อมจะฝังตัว ที่เรียกว่า Blastocyst ก่อนจะใส่คืนเข้าไปในโพรงมดลูก

เด็กหลอดแก้วคืออะไร แก้

เป็นการรักษาภาวะการมีบุตรยากด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์โดยนำไข่ที่ดีและตัวอสุจิที่แข็งแรงมาช่วยทำการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ในห้องปฏิบัติการ (IVF) เพื่อให้เกิดตัวอ่อน (EMBRYO) ของทารก จากนั้นย้ายตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูกเพื่อการฝังตัว

เราจะเลือกวิธีนี้เมื่อไร แก้

การเลือกการรักษาโดยการทำเด็กหลอดแก้ว จะพิจารณาจากปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในคู่สมรสได้แก่

  1. ระบบท่อนำไข่ เช่น มีการอุดตัน หรือเคยรับการผ่าตัด
  2. เชื้ออสุจิผิดปกติ เช่น จำนวนน้อย รูปร่างผิดปกติ การเคลื่อนไหวน้อย
  3. ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  4. ระบบฮอร์โมนรังไข่ เช่น ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
  5. ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  6. การทำผสมเทียมไม่สำเร็จ
  7. ความจำเป็นในการรักษาโดยใช้ไข่หรือตัวอ่อนบริจาค
  8. การรักษาโรคทางพันธุกรรมโดยการทำ EMBRYO BIOPSY
  9. ภาวะที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยาก

ขั้นตอนการรักษา แก้

  1. การเตรียมพร้อมก่อนการรักษาโดยการสรุปประวัติการรักษา การตรวจร่างกาย ระบบฮอร์โมนรังไข่ การตรวจอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ การตรวจความแข็งแรงของเชื้ออสุจิ
  2. การวางแผนการรักษาร่วมกันระหว่างแพทย์และผู้ป่วย
  3. การกระตุ้นรังไข่โดยใช้ยาฮอร์โมน
  4. การตรวจติดตามการเจริญเติบโตของไข่ด้วยอัลตราซาวนด์
  5. การเก็บไข่เพื่อทำการปฏิสนธินอกร่างกายพร้อมการเก็บเชื้ออสุจิ
  6. การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ
  7. การย้ายตัวอ่อนเพื่อฝังตัวในโพรงมดลูก
  8. การตรวจระดับฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์

ปัญหาในการรักษาที่อาจเกิดขึ้น แก้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะรักษา เช่น ภาวะรังไข่ตอบสนองฮอร์โมนมากผิดปกติ การตั้งครรภ์แฝด การติดเชื้อ ภาวะแท้ง ความสำเร็จในการรักษาในแต่ละราย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สาเหตุของการมีบุตรยาก การตอบสนองของรังไข่ การปฏิสนธิ ความแข็งแรงของตัวอ่อน