เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน
เจ้าชายฮุซัยน์ บิน อับดุลลอฮ์ (อาหรับ: الحسين بن عبد الله, Ḥusayn ibn ʿAbdullāh; พระราชสมภพ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2537) ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ พระรัชทายาทแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 และราชินีรานยา เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะแล้วในปีพ.ศ. 2555 เจ้าชายฮุซัยน์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หลายต่อหลายครั้ง
เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน | |||||
---|---|---|---|---|---|
มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน | |||||
เจ้าชายฮุซัยน์ในปี พ.ศ. 2564 | |||||
มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน | |||||
ดำรงพระอิสริยยศ | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน (15 ปี 156 วัน) | ||||
ก่อนหน้า | เจ้าชายฮัมซะฮ์ บิน อัลฮุซัยน์ | ||||
พระราชสมภพ | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2537 กรุงอัมมาน, ประเทศจอร์แดน | ||||
คู่อภิเษก | ราชวา อัล ซาอีฟ (เสกสมรส ค.ศ. 2023) | ||||
พระราชบุตร | เจ้าหญิงอีมาน บินต์ ฮุซัยน์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ฮัชไมต์ | ||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน | ||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน | ||||
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม | ||||
ลายพระอภิไธย |
พระราชวงศ์จอร์แดน |
---|
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดน
|
เจ้าชายฮุซัยน์ ปัจจุบันทรงดำรงพระยศทางการทหารระดับร้อยโทในกองทัพจอร์แดน และในปีพ.ศ. 2559 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์สากล นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เจ้าชายฮุซัยน์ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่หลายครั้ง และเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระราชบิดาในการเยือนทั้งในและต่างประเทศ พระองค์ได้ทรงจัดตั้งมูลนิธิในพระราชูปถัมภ์ (Crown Prince Foundation) ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของมหาวิทยาลัยเทคนิคและโครงการด้านวิทยาศาสตร์และมนุษย์ธรรม
ในปี พ.ศ. 2558 เมื่อทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา เจ้าชายฮุซัยน์ทรงเป็นผู้ที่อายุน้อยที่สุดในการเป็นประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิร์ตซ์ ในปี พ.ศ. 2560 พระองค์มีพระราชดำรัส ณ การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายน
นักสังเกตการณ์คาดการณ์ว่าพระองค์จะเริ่มมีบทบาทมากขึ้นทั้งในจอร์แดนและต่างประเทศ
พระชนม์ชีพช่วงต้น
แก้พระราชสมภพ
แก้เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ณ กรุงอัมมาน เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2และสมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดนและเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ อดีตพระวรราชชายาชาวอังกฤษ ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์ฮัชไมต์[1]และเป็นลูกหลานรุ่นที่ 42 ของผู้เผยพระวจนะอิสลาม มุฮัมมัด[2] โดยสืบเชื้อสายจากลูกสาวของท่านศาสดานบีฟาฏิมะฮ์และสามีของนาง อะลี[3]
พระนาม "ฮุซัยน์" นั้น นำมาจากพระนามของสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช[2]
เจ้าชายฮุซัยน์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาสามพระองค์[4] คือ เจ้าหญิงอีมาน, เจ้าหญิงซัลมา และเจ้าชายฮาเชม[2]พระอนุชาพระองค์เล็ก
การศึกษา
แก้• ทรงสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติชูอูฟาทและโรงเรียนนานาชาติอัมมาน
• ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจากโรงเรียนคิงส์ อะคาเดมี่ ปีพ.ศ. 2555
• ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาว์น กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ สาขาวิชาประวัติศาสตร์สากล ปีพ.ศ. 2559
• ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนต์เฮิร์ตซ์ สหราชอาณาจักร ปีพ.ศ. 2560[5]
พระรัชทายาท
แก้พระรัชทายาทในรัชกาลของสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์
แก้เจ้าชายอับดุลลอฮ์มิได้คาดว่าจะได้ขึ้นครองบัลลังก์ แม้จะทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เนื่องจากพระราชบิดาได้ทรงสถาปนาเจ้าชายฮัสซัน พระปิตุลาของพระองค์เป็นพระรัชทายาทแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2508
ไม่นานก่อนที่สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์จะเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ทรงสถาปนาเจ้าชายอับดุลลอฮ์ขึ้นเป็นพระรัชทายาทแทนเจ้าชายฮัสซัน
พระรัชทายาทในรัชกาลของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2
แก้เนื่องด้วยพระประสงค์ของพระราชบิดา สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ได้ทรงสถาปนาเจ้าชายฮัมซา พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ ประสูติแต่สมเด็จพระราชินีนูร์ พระอนุชาต่างพระชนนีขึ้นเป็นพระรัชทายาทในรัชกาลของพระองค์[6]
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ได้ทรงถอดถอนเจ้าชายฮัมซาออกจากตำแหน่งมกุฎราชกุมาร แม้ว่าตำแหน่งมกุฎราชกุมารจะถูกเว้นว่างไว้ก็ตาม[7] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนได้ให้สิทธิของบุตรหัวปีในการสืบราชบัลลังก์ หมายความว่าพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีจะทรงเป็นลำดับที่หนึ่งโดยอัตโนมัติในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์จอร์แดน[8] เจ้าชายฮุซัยน์จึงทรงเป็นพระรัชทายาททันทีที่พระปิตุลาของพระองค์สูญเสียตำแหน่งมกุฎราชกุมาร นักวิเคราะห์คาดหวังอย่างมากว่าสมเด็จพระราชาธิบดีจะทรงพระราชทานพระราชอิสริยยศอย่างเป็นทางการให้กับเจ้าชายฮุซัยน์[9][10]
วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกาสถาปนาเจ้าชายฮุซัยน์ พระชันษา 15 ปีขึ้นเป็นพระรัชทายาท ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน[7][11]
พระราชกรณียกิจ
แก้บทบาทขององค์มกุฎราชกุมารนั้นแตกต่างจากสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 อย่างชัดเจน เนื่องจากทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและมิทรงใช้พระราชอิสริยยศของพระองค์ในตำแหน่งทางการเมืองใดๆ[12] เจ้าชายฮุซัยน์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจครั้งแรกอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 เมื่อพระองค์ทรงเป็นผู้แทนพระราชบิดาในการเฉลิมฉลองวันครบรอบการปฏิวัติอาหรับและวันกองทัพจอร์แดน[13]
เจ้าชายฮุซัยน์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระราชบิดาทั้งแบบเป็นทางการและการทหาร และได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 เสด็จออกนอกประเทศ[12]
เจ้าชายฮุซัยน์ได้ทรงจัดตั้งมูลนิธิในพระราชูปถัมภ์(Crown Prince Foundation) ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของมหาวิทยาลัยเทคนิคและโครงการด้านวิทยาศาสตร์และมนุษย์ธรรม[14] มูลนิธิดังกล่าวได้ริเริ่มโครงการ Haqiq ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นอาสาสมัครในโครงการฝึกงานของนาซา โครงการ MASAR เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีอวกาศและโครงการ Hearing Without Borders ซึ่งมอบเงินทุนประสาทหูเทียมสำหรับชาวจอร์แดนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน[15] ผู้ฝึกงานจากโครงการนาซ่าได้สร้างคิวบ์ (ดาวเทียมขนาดเล็ก) ชื่อ JY1 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของจอร์แดนที่มีกำหนดจะเปิดตัวในปีพ.ศ. 2561 โครงการ cubesat นั้นตั้งชื่อตามสายสัญญาณวิทยุสมัครเล่นของสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์[16]
ในปีพ.ศ. 2556 ทรงเข้าร่วมการฝึกซ้อมกับสมาชิกกองกำลังพิเศษจอร์แดน กองกำลังต่อต้านการก่อการร้าย 71st[17]
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เจ้าชายฮุซัยน์ เสด็จพระราชดำเนินไปที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ในอัมมาน ที่ซึ่งชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับบาดเจ็บจากการหลบหนีฉนวนกาซาได้รับการรักษา[18]
วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558 เมื่อทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา เจ้าชายฮุซัยน์ทรงเป็นผู้ที่อายุน้อยที่สุดในการเป็นประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[19] ในระหว่างการประชุมพระองค์ทอดพระเนตรการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการป้องกันไม่ให้คนหนุ่มสาวเข้าร่วมกลุ่มหัวรุนแรง[20] นายบัน คี-มูน เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวถึงเจ้าชายฮุซัยน์ว่า "ทรงมีพระชนมายุไม่ถึง 21 พรรษา แต่พระองค์คือผู้นำในศตวรรษที่ 21"[19]
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เจ้าชายฮุซัยน์มีพระราชดำรัสต้อนรับในช่วงการประชุมเศรษฐกิจโลกซึ่งจัดขึ้นที่ชายฝั่งจอร์แดนของทะเลเดดซี[12] เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิร์ตซ์ พระองค์มีพระราชดำรัส ณ การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายน ปีเดียวกัน[12]
ชีวิตส่วนพระองค์
แก้บัญชีอินสตาแกรมส่วนพระองค์ของเจ้าชายฮุซัยน์มีผู้ติดตามมากกว่า 2 ล้านคนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ทรงโพสต์พระรูปเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจทั้งแบบเป็นทางการและการทหารของพระองค์ ซึ่งรวมถึงการทรงพระอักษร ทรงกีฬาฟุตบอล ทรงรถจักรยานยนต์และทรงเครื่องดนตรีกีตาร์[21]
เจ้าชายฮุซัยน์ทรงงานร่วมกับองค์กรจิ๊กซอว์ในเครือของบริษัทกูเกิล ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน[22]
พระเกียรติยศ
แก้พระอิสริยยศ
แก้- ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายฮุซัยน์ บิน อับดุลลอฮ์แห่งจอร์แดน (28 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547)
- ฮิสรอยัลไฮเนส มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน
แก้- จอร์แดน: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งจอร์แดน ชั้นอัศวิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- บาห์เรน: เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งยุคฟื้นฟู สมเด็จพระราชาธิบดีฮาหมัด ชั้นที่หนึ่ง (5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)[23]
พระยศทางทหาร
แก้• พ.ศ. 2555: ร้อยตรี[25]
• พ.ศ. 2561: ร้อยโท[26]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Crown Prince turns 19". The Jordan Times. Amman. 27 มิถุนายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "His Royal Highness Crown Prince Al Hussein bin Abdullah II". The Embassy of the Hashemite Kingdom of Jordan, Washington D.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-01. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
- ↑ "The Hashemites". Official Website of the Jordanian Monarchy. 29 May 2012. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
- ↑ Royal Ark
- ↑ https://petra.gov.jo/Include/InnerPage.jsp?ID=16866&lang=en&name=en_news
- ↑ Jordan crown prince loses title, BBC News, 29 November 2004. Retrieved 3 June 2008.
- ↑ 7.0 7.1 "Jordan's king names son, 15, as crown prince". Reuters. 3 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-30. สืบค้นเมื่อ 2017-05-04.
- ↑ "The Constitution of the Hashemite Kingdom of Jordan". Official website. 21 April 2012. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
- ↑ Jordan crown prince loses title, BBC News, 29 November 2004. Retrieved 3 June 2008.
- ↑ "Jordan: U.S. Relations and Bilateral Issues" (PDF). The Library of Congress. 14 July 2006.
- ↑ "Jordan's King Abdullah names teenage son as heir". Haaretz. Associated Press. 2 July 2009.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "Jordan's young crown prince makes global debut in UN speech". Associated Press. abcnews. 22 กันยายน 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2017.
- ↑ "Crown Prince joins Army Day celebration". Ammon News. 11 June 2010. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
- ↑ "Al Hussein Technical University seeks to prepare graduates with 'quality technical skills'". The Jordan Times. 27 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbio
- ↑ "NASA-trained young Jordanian develops, with team, nanosatellite 'CubeSat'". The Jordan Times. 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
- ↑ "Crown Prince trains with the 71st Special Battalion". Royanews (ภาษาอาหรับ). 1 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-23. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
- ↑ "Regent visits injured Palestinians at Al Hussein Medical Center". Jordan News Agency (Petra). 14 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2014. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
- ↑ 19.0 19.1 "Jordanian prince, 20, becomes youngest to chair UN Security Council meeting". Associated Press. Fox News. 23 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
- ↑ "Security Council unanimously adopts Jordan-proposed resolution on youth". The Jordan Times. 9 December 2015. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
- ↑ https://emirateswoman.com/10-things-prince-hussein/
- ↑ "Google's Jigsaw Was Supposed to Save the Internet. Behind the Scenes, It Became a Toxic Mess". Motherboard. 2 July 2019. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.
- ↑ https://jordantimes.com/news/local/crown-prince-receives-order-renaissance-bahraini-king
- ↑ https://www.kongehuset.no/tildelinger.html?tid=28028&sek=27995&q=&type=27117&aarstall=2020/
- ↑ https://www.jordantimes.com/news/local/crown-prince-caps-another-stage-his-academic-life-military-career
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
- Official website of his royal highness Crown Prince Al Hussein bin Abdullah II
- Official website of the Queen of Jordan
ก่อนหน้า | เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไม่มี | ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์จอร์แดน |
เจ้าชายฮาเชม |