เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด

เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด (อังกฤษ: Princess Firyal) ประสูติ ณ ปี พ.ศ. 2488 ณ เยรูซาเลม เป็นธิดาของนาย ฟาริด มาห์มูด อัลชาอิด และ นางฟาริด ฟาร์ฮูม อัลซาอิด ซึ่งพระบิดาของพระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองซึ่งทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลและเป็นสมาชิกรัฐสภาในวุฒิสภาในจอร์แดน ส่วนพระมารดาของพระองค์เป็นประธานสมาคมเสี้ยววงเดือนแดงในฝั่งตะวันตก ด้านการศึกษา ทรงจบจากวิทยาลัยบริซิต ทรงเรียนเป็นเวลาสองปีที่วิทยาลัยอเมริกันสตรีใน เบรุต ก่อนที่จะเสกสมรส ทรงเริ่มศึกษาและได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 2542

เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด

ฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด
เจ้าหญิงแห่งฮัชไมต์จอร์แดน
ประสูติพ.ศ. 2488 (73 ชันษา)
พระสวามีเจ้าชายมูฮัมหมัด บิน เฏาะลาล
พระบุตรเจ้าชายเฏาะลาล บิน มูฮัมหมัด
เจ้าชายกาห์ซี บิน มูฮัมหมัด
ราชวงศ์ราชวงศ์อัชไมต์
พระบิดาฟาริด มาห์มูด อัลชาอิด
พระมารดาฟาริด ฟาร์ฮูม อัลซาอิด

นางสาวฟาร์ยา อัลซาอิด ได้เสกสมรสกับ เจ้าชายมูฮัมหมัด บิน เฏาะลาล พระราชโอรสใน สมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน รับพระราชทานพระอิสริยยศที่ เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัดแห่งจอร์แดน พระชายา พร้อมฐานันดร รอยัลไฮเนส มีพระโอรส 2 พระองค์คือ

  1. เจ้าชายเฏาะลาล บิน มูฮัมหมัด
  2. เจ้าชายกาห์ซี บิน มูฮัมหมัด
เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด พร้อมด้วยพระสวามีและพระโอรส

ภายหลังทรงหย่าจากพระสวามีในปี 2521 แต่ยังทรงพระยศเหมือนเดิม แต่ไม่มีฐานันดรรอยัลไฮนีสนำหน้าพระนาม ทรงงานในด้านต่างๆ ในฐานะพระราชวงศ์แห่งจอร์แดน ชาวจอร์แดนส่วนมากนั้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับพระองค์ในแง่บวก ทรงเป็นกันเองและมีพระจริยวัตรที่งดงาม ไม่ถือพระองค์ ทรงทักทายประชาชนทุกครั้งที่ทรงปฏิบัติพระกรณียากิจ ทรงมีคุณธรรมในการทรงงานทุกครั้ง

ในปี 2524 สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานฐานันดร รอยัลไฮนีส คืนแก่เจ้าหญิงฟาร์ยา อัล-มูฮัมหมัด ในฐานะทรงงานด้วยความอดทนและเป็นที่พอพระราชหฤหทัย

พระกรณียากิจ

แก้

พระองค์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตสันถวไมตรีของยูเนสโกในปีพ.ศ. 2535 สามปีต่อมาในปี 2538 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาพิเศษของอธิบดียูเนสโก ทรงงานด้านหลักในโครงการเพื่อการคุ้มครองมรดกโลกและการศึกษา ส่วนพระกรณียากิจในจอร์แดนั้น พระองค์ทรงงานด้านการสงเคราะห์ในค่ายผู้ลี้ภัย ทรงงานการแปลหนังสือจากภาษาจอร์แดนเป็นภาษาเบดูให้กับชนเผ่าเบดูอินเผ่าเร่ร่อน ทั้งยังทรงเป็นประธานสมาคมการวางแผนครอบครัวแห่งจอร์แดนด้วย

พระองค์ทรงเปิดมูลนิธิความหวังนานาชาติภายใตเความร่วมมืองขององค์การยูเนสโกเมื่อปี พ.ศ. 2537 เพื่อประโยชน์เด็กไร้ที่อยู่อาศัยในจอร์แดน

ตำแหน่งที่ทรงรับ

แก้
  1. คณะกรรมการสมาคมสหประชาชาติในเดือนมีนาคม 2546
  2. คณะกรรมาธิการของคณะกรรมการกู้ภัยนานาชาติที่นิวยอร์ก
  3. สภามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
  4. คณะกรรมาธิการของห้องสมุดสาธารณะนิวยอร์ก
  5. ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ Musée des Arts Décoratifs ณ ปารีส
  6. สภาระหว่างประเทศของเทตปัจจุบันในลอนดอน
  7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลจอร์แดนในเดือนพฤษภาคม 2550 ที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในจอร์แดน ในตำแหน่งเอกอัครราชทูต
  8. ประธานพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่สภาประธานสภา MOMA
  9. ประธานพิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์สมาชิกวงกลมตะวันออกกลาง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Senarai Penuh Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat Persekutuan Tahun 1965" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
  2. New York Media, LLC (1997-07-21). New York Magazine. Books.google.com. p. 29. สืบค้นเมื่อ 2017-05-25.