เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา
เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา (อาหรับ: الأميرة للا سلمى; เบอร์เบอร์: ⵍⴰⵍⵍⴰ ⵙⵍⵎⴰ) หรือพระนามเดิมว่า ซัลมา เบนนานี (อาหรับ: سلمى بنّاني; ประสูติ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2521) เป็นอดีตเจ้าหญิงพระชายา[1]พระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 พระมหากษัตริย์แห่งโมร็อกโกพระองค์ปัจจุบัน ถือเป็นเจ้าหญิงพระชายาพระองค์แรกของประวัติศาสตร์โมร็อกโกที่รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้านายชั้นรอยัลไฮนิส[2][3][4][5][6] แต่หลังเจ้าหญิงลัลลา ซัลมา ไม่ปรากฏพระองค์อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา[7][8] ทำให้การคาดเดากันว่าสมเด็จพระราชาธิบดีกับเจ้าหญิงพระชายาทรงหย่าร้างกัน[9][10]
เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา | |
---|---|
เจ้าหญิงพระชายา | |
เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา เมื่อ พ.ศ. 2555 | |
ประสูติ | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 แฟ็ส ประเทศโมร็อกโก |
พระภัสดา | สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 (พ.ศ. 2545–2561) |
พระบุตร | เจ้าชายมูลัย ฮะซัน มกุฎราชกุมารแห่งโมร็อกโก เจ้าหญิงลัลลา เคาะดีญะฮ์ |
ราชวงศ์ | อะลาวีย์ (เสกสมรส) |
พระบิดา | อับเดลฮามิด เบนนานี |
พระมารดา | ไนมา เบนเซาดา |
พระประวัติ
แก้พระประวัติตอนต้นและการศึกษา
แก้เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา มีพระนามเดิมว่า ซัลมา เบนนานี ประสูติเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ณ เมืองแฟ็ส ประเทศโมร็อกโก[11] ในครอบครัวชนชั้นกลางระดับสูง[12] เป็นธิดาของเอลฮัจญ์ อับเดลฮามิด เบนนานี กับไนมา เบนเซาดา[13] พระชนกเป็นครูระดับมัธยมศึกษาในเมืองแฟ็ส[14] [15] ส่วนพระชนนีเสียชีวิตไปเมื่อพระองค์มีพระชันษาได้สามปี เจ้าหญิงจึงอยู่การดูแลของยาย ขณะพระองค์ประทับอยู่ในกรุงราบัต ทรงอาศัยร่วมกับพระญาติชื่อ ไซรอ โดยทั้งสองจะออกไปไหนด้วยกันเสมอ[2][16]
เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา ทรงเข้ารับการศึกษาจากลีเซฮะซันที่ 2 (ฝรั่งเศส: Lycée Hassan II) และลีเซมูลัยยูซุฟ (ฝรั่งเศส: Lycée Moulay Youssef) ซึ่งทั้งสองต่างเป็นโรงเรียนเอกชน ก่อนเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยสารสนเทศและการวิเคราะห์ระบบแห่งชาติ (ฝรั่งเศส: l'École Nationale Supérieure d'Informatique et d'Analyse de Systèmes)[13][17] จนสำเร็จการศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) ในปี พ.ศ. 2543 โดยพระองค์มีคะแนนสูงสุดในปีนั้น[3]
อภิเษกสมรส
แก้พระองค์พบกับสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 ครั้งแรกในงานเลี้ยงเมื่อปี พ.ศ. 2542 ขณะที่พระองค์ทำงานบริการสารสนเทศด้านวิศวกรรมในโอเอ็นเอกรุป (ONA Group) ที่พระราชวงศ์โมร็อกโกถือหุ้นส่วนใหญ่ สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 ทรงหมั้นหมายกับซัลมาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2544[18] ต่อมาได้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2545 และพระราชพิธีฉลองราชาภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 12–13 กรกฎาคม พ.ศ. 2545[17][19] ณ พระราชวังในราบัต[20] ซัลมาได้รับการสถาปนาให้พระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา พระชายา ในปีเดียวกัน มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 2 พระองค์ คือ
- เจ้าชายมูลัย ฮะซัน มกุฎราชกุมารแห่งโมร็อกโก (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2546)[21][22]
- เจ้าหญิงลัลลา เคาะดีญะฮ์ (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550)[23]
สื่อบางแหล่งให้ข้อมูลว่า สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 กับเจ้าหญิงลัลลา ซัลมา ทรงหย่าร้างกันใน พ.ศ. 2561[24][25] โดยเจ้าหญิงลัลลา ซัลมา ปรากฏพระองค์เป็นครั้งสุดท้ายในการประกอบพระกรณียกิจที่ศูนย์เนื้องอกวิทยาในฐานะองค์ประธานมูลนิธิลัลลา ซัลมา เพื่อต่อต้านโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2562[26] และเจ้าหญิงลัลลา ซัลมา ปรากฏพระองค์อีกครั้งร่วมกับพระราชโอรส-ธิดาบริเวณเซ็นทรัลพาร์ก นิวยอร์ก ท่ามกลางการอารักขาของเหล่าบอดีการ์ดหลายนาย เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2562[27] จากการที่พระองค์ห่างหายไปจากสายตาของสาธารณชน สื่อบางแห่งตั้งฉายาให้เจ้าพระองค์ว่า "เจ้าหญิงผี" (Ghost Princess)[28]
พระกรณียกิจ
แก้แม้ว่าเจ้าหญิงลัลลา ซัลมา จะเป็นเจ้านายฝ่ายในพระองค์แรก ๆ ที่มีบทบาทต่อสาธารณชนมากกว่าฝ่ายในรุ่นก่อน ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6 ที่สนับสนุนบทบาทของสตรี และยกย่องพระชายายิ่งกว่ากษัตริย์รุ่นก่อน[29] แต่กระนั้นข้อมูลส่วนพระองค์กลับไม่เป็นที่ทราบมากนัก ทั้งนี้พระองค์ทรงออกมาประกอบพระกรณียกิจแบ่งเบาพระราชภาระของพระราชสวามีอยู่เนืองนิจ เช่น การสนับสนุนมูลนิธิต่อต้านมะเร็ง และงานเทศกาลดนตรีศักดิ์สิทธิ์เมืองแฟ็ส เป็นต้น[30]
ในปี พ.ศ. 2549 พระองค์เสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของไทย[3][31] และในปี พ.ศ. 2554 ได้เสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ในพระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมกับแคเธอริน มิดเดิลตัน ของสหราชอาณาจักร[32]
นอกจากนี้ทรงก่อตั้งมูลนิธิต่อต้านโรคมะเร็งภายในประเทศ[33]
พระเกียรติยศ
แก้พระอิสริยยศ
แก้- พ.ศ. 2521–2546 : นางสาวซัลมา เบนนานี
- พ.ศ. 2546–2561 : เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา พระชายา
- พ.ศ. 2561–ปัจจุบัน : เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- ต่างประเทศ
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชอาณาจักรโมร็อกโก : การเยือนที่สำคัญ เก็บถาวร 2011-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)
- ↑ 2.0 2.1 Profile เก็บถาวร 2009-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, nettyroyal.nl; accessed 20 September 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "ชื่นชมพระสิริโฉม 2 พระราชอาคันตุกะวัยเยาว์". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 14 มิถุนายน 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Saad719 (2018-05-10). "Princess Lalla Salma of Morocco". The Royal Watcher (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
- ↑ "First Lady of Morocco | Current Leader". Current Heads of State & Dictators | Photos and bios of the current Heads of State, Dictators and First Ladies. 2009-05-25. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
- ↑ McLaughlin, Chelsea (2019-02-25). "As Meghan and Harry tour Morocco, the mystery of its missing Princess looms in the background". Mamamia (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
- ↑ "'Vanished without a trace': Mystery of Morocco's 'ghost princess'". NZ Herald (ภาษาNew Zealand English). สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
- ↑ "Where is Morocco's Princess Lalla Salma now?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2022-03-17. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
- ↑ Brittani Barger (14 April 2018). "What's next for Princess Lalla Salma after rumoured divorce from the Moroccan King?".
- ↑ "'The Ghost Princess': Where has the First Lady of Morocco Disappeared?". Al Bawaba (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
- ↑ "Princess Lalla Salma of Morocco turns 36: facts about the royal". Hello! (ภาษาอังกฤษ). 2014-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-12-02.
- ↑ "RWB" (ภาษาฝรั่งเศส). Reporters sans frontières (Morocco)/VSD. 7 March 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-12-25. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
Tout le royaume bruisse de l’événement à venir. Courant mars, sa majesté Mohammed VI se mariera. L’heureuse élue, Salma Bennani, est une jeune femme de 25 ans, native de Fès et issue de la haute bourgeoisie.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 The Alawi Dynasty – Genealogy – website The Royal Ark
- ↑ "Maroc : Lalla Salma, la princesse aux pieds nus – Jeune Afrique". JeuneAfrique.com (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2022-06-10.
- ↑ "ราชวงศ์และสามัญชน: เทพนิยายที่กลายเป็นจริง". มติชนออนไลน์. 21 เมษายน 2554. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Who is Princess Lalla Salma of Morocco?". Royal Central (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-05-10. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
- ↑ 17.0 17.1 "Who is Princess Lalla Salma of Morocco?". Royal Central (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-12-02.
- ↑ "L'annonce du prochain mariage de Mohammed VI lève une hypothèque au Maroc". Le Monde.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2001-10-15. สืบค้นเมื่อ 2022-06-05.
- ↑ "King Mohamed VI of Morocco sits with his wife Princess Lalla Salma at..." Getty Images (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-06-05.
- ↑ "King Mohammed VI of Morocco and Princess Lalla Salma divorce". HELLO! (ภาษาอังกฤษ). 2018-03-22. สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
- ↑ "La Famille Royale et le peuple marocain célèbrent la naissance de S.A.R le Prince Héritier Moulay Al Hassan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-01-16.
- ↑ "สดใสน่ารักเกินห้ามใจ!! พระราชวงศ์จิ๋วยุคใหม่". ไทยรัฐออนไลน์. 3 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระชายากษัตริย์โมร็อกโกมีพระประสูติกาลพระราชธิดา". กระปุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Owen-Jones, Juliette (21 July 2019). "King Mohammed VI, Ex-Wife Lalla Salma Deny Rumors of Custody Conflict". Morocco World News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 August 2022.
- ↑ "คนของโลก : สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 กษัตริย์ผู้เปิดรับความเปลี่ยนแปลง". มติชนสุดสัปดาห์. 6 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Diallo, Abubakr (22 June 2022). "Les Marocains condamnés à définitivement oublier Lalla Salma ?" [Are Moroccans condemnned to forget Lalla Salma for good?]. Afrik (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 29 August 2022.
- ↑ "เจ้าหญิงหายไปไหน?!". ไทยรัฐออนไลน์. 7 พฤษภาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Sophie Mccabe (21 สิงหาคม 2565). "Royal mystery: Moroccan King's missing wife who became the 'ghost princess'". Express (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ศศิภัทรา ศิริวาโท (พฤษภาคม 2554). "ความรุนแรงต่อผู้หญิงในโมร็อกโก". นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ The Royal Order of Sartorial Splendor: Princess Lalla Salma Gets Ethereal. Orderofsplendor.blogspot.co.uk (4 June 2010); retrieved 9 April 2012.
- ↑ "คาซาบลังกา". กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา. 7 มิถุนายน 2554. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ The Royal Order of Sartorial Splendor: Royal Fashion Awards: Foreign Royals at the Duke & Duchess of Cambridge's Wedding. Orderofsplendor.blogspot.co.uk (29 April 2011); retrieved 9 April 2012.
- ↑ Lalla Salma Association Against Cancer เก็บถาวร 2012-05-29 ที่ archive.today – website UICC
- ↑ Boletín Oficial del Estado
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา
- เว็บไซต์ส่วนพระองค์