ภาพเหมือนตนเอง (อังกฤษ: Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี ค.ศ. 1433 ซึ่งเป็นภาพเหมือนตนเองภาพแรกที่มีหลักฐานให้เห็น[1] อีกภาพหนึ่งที่ฟัน ไอก์เขียนเป็นภาพของภรรยา นอกจากนั้นฟัน ไอก์ก็ยังเป็นสมาชิกของกลุ่มที่เริ่มจะรับงานเขียนภาพเหมือนโดยทั่วไป ที่เริ่มจะเป็นงานจ้างที่นิยมกันในบรรดาชาวดัตช์ผู้มีอันจะกิน แต่ก็มิได้มาเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปจนกระทั่งมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเมื่อผู้คนมีฐานะมั่งคั่งมากขึ้น และความสนใจในการใช้ตัวแบบเป็นหัวข้อของการเขียนมีเพิ่มมากขึ้น[2]

ภาพเหมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล

ประวัติของการเขียนภาพเหมือนตนเอง

แก้

ภาพเหมือนยุคโบราณ

แก้

ภาพเหมือนของศิลปินขณะที่ทำงานที่เก่าที่สุดพบในงานจิตรกรรมและประติมากรรมของอียิปต์โบราณ[3] และบนแจกันของกรีกโบราณ ภาพเหมือนตนเองในยุคแรกสร้างโดยประติมากรของฟาโรห์อเคนาเตนชื่อบัคในปี 1365 ก่อนคริสต์ศักราช พลูทาร์คกล่าวว่าประติมากรกรีกฟิเดียส (Phidias) สร้างงานศิลปะที่รวมทั้งที่เหมือนตนเองของตัวแบบหลายตัวในงานชื่อ "ยุทธการของชาวอเมซอน" (Amazonomachy) บนวิหารพาร์เธนอน และมีการอ้างอิงถึงจิตรกรรมภาพเหมือนตนเอง แต่ไม่มีชิ้นใดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็น

ภาพเหมือนตนเองในยุคแรก

แก้

ภาพเหมือนตนเองที่อาจจะเป็นภาพเหมือนของศิลปิน มักจะเขียนเป็นส่วนหนึ่งของงานชิ้นใหญ่ หรือภาพเหมือนหมู่ เชื่อกันว่าจิตรกรหลายคนวาดภาพเหมือนของคนบางคนหรือของตนเองผสานลงไปในภาพเขียนทางศาสนาหรือภาพเขียนประเภทอื่นที่มิได้จงใจจะให้เป็นภาพเหมือนของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ[4] การวาดลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นใบหน้าในบรรดาหมู่คน และมักจะอยู่ตรงมุมภาพ ภาพเขียนอีกประเภทหนึ่งที่นิยมสอดแทรกบุคคลร่วมสมัยและจิตรกรเองเข้าไปในภาพคือภาพประวัติศาสตร์ ที่ทำให้ภาพกลายเป็นทั้งภาพเหมือนและภาพประวัติศาสตร์ ทั้งเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และแร็มบรันต์เขียนภาพประเภทนี้[5] ที่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ออกมาในรูปของภาพเขียนโดยยัน เดอ ไบร หรืองานภาพถ่ายของซินดี เชอร์แมน นอกจากการเขียนด้วยสีแล้วก็ยังมีการใช้การวาดเส้น และการพิมพ์ในการเขียนภาพเหมือนตนเองด้วย

ศิลปินบางคนวางรูปของตนเองท่ามกลางกลุ่มคนในภาพเช่นงานเขียนของยัน ฟัน ไอก์ในภาพ "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" ที่มีอิทธิพลต่อภาพ "นางสนองพระโอษฐ์" โดย เดียโก เบลัซเกซ[6] ต่อมาการเขียนภาพเหมือนของกลุ่มหรือครอบครัว หรือกลุ่มสมาคม ก็ค่อยมาเป็นสิ่งที่ทำกันโดยทั่วไปมากขึ้น

ภาพเหมือนตนเองที่จิตรกรแทรกภาพเหมือนตนเองเข้าไปในภาพใหญ่

ภาพเหมือนตนเองโดยจิตรกรสตรี

แก้

จิตรกรสตรีมีชื่อเสียงในการเขียนภาพเหมือนตนเอง; จิตรกรสตรีคนสำคัญเกือบทุกคนทิ้งภาพเหมือนตนเองเป็นตัวอย่างให้เห็น ตั้งแต่คาเทอรินา ฟาน เฮเมสเซ็นไปจนถึงเอลีซาแบ็ต-หลุยส์ วีเฌ-เลอเบริง และฟรีดา คาห์โล วิฌี-เลอเบริงเขียนภาพเหมือนตนเองด้วยกันทั้งหมดถึง 37 ภาพ บางภาพเป็นงานก็อปปีงานที่เขียนก่อนหน้านั้นที่ทำขึ้นเพื่อขาย ในยุคนั้นจิตรกรสตรีมักจะไม่มีโอกาสได้ฝึกเขียนจากแบบที่เปลือย ซึ่งทำให้เป็นการยากต่อการที่จะเขียนภาพสรีระของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเขียนภาพเหมือน มาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สตรีมักจะแสดงภาพของตนเองขณะที่กำลังจะเขียนภาพ หรืออย่างน้อยก็ถือแปรงและจานสี และผู้ชมมักจะมีความสงสัยว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่เป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการเขียนจริงหรือไม่หรือแต่งตัวให้ดีขึ้นสำหรับภาพ

ภาพเหมือนตนเองโดยจิตรกรเอเชีย

แก้

ภาพเหมือนและภาพเหมือนตนเองในศิลปะเอเชียมีประวัติที่ยืนยาวกว่าของยุโรป การเขียนภาพของนักปราชญ์-ผู้คงแก่เรียนของเอเชียมักจะเป็นภาพขนาดเล็ก ที่เป็นภาพของศิลปินท่ามกลางภูมิทัศน์ และมีกวีนิพนธ์เขียนเป็นอักษรวิจิตรบรรยายความรู้สึกเกี่ยวกับฉากในภาพ ลักษณะการเขียนอีกแบบหนึ่งเกี่ยวกับนิกายเซ็น ซึ่งจะเป็นภาพเหมือนตนเองเชิงเป็นการ์ตูนมีอารมณ์ขัน ขณะที่ลักษณะการเขียนอื่นจะเป็นภาพเหมือนอย่างเป็นทางการทั่วไป

ภาพเหมือนตนเองโดยจิตรกรยุโรป

แก้

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมักจะมีภาพเหมือนตนเองโดยเฉพาะในงานเขียนของนักบุญดันสตัน และแม็ทธิว แพริส ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพจิตรกรขณะที่กำลังเขียนภาพหรือไม่ก็เสนองานที่เขียนเสร็จแก่ผู้อุทิศหรือต่อผู้ศักดิ์สิทธิ์[11]

เชื่อกันว่าอันเดรอา ออร์ชานยาเขียนภาพเหมือนตนเองแทรกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนในปี ค.ศ. 1359 ซึ่งเป็นการบันทึกอย่างน้อยก็ตามที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์จอร์โจ วาซารีกล่าวว่าเป็นสิ่งที่จิตรกรมักจะนิยมทำกัน ในอิตาลีจอตโต ดี บอนโดเน (ค.ศ. 1267-ค.ศ. 1337) วาดภาพตนเองในภาพชุด "eminent men" ในปราสาทที่เนเปิลส์, มาซาชิโอ (ค.ศ. 1401-ค.ศ. 1428) วาดภาพตนเองเป็นหนึ่งในอัครสาวกในจิตรกรรมฝาผนังภายในชาเปลบรันคาชชิ และ เบนนอซโซ กอซโซลิวาดภาพตนเองกับภาพเหมือนของผู้อื่นในภาพ "ขบวนแมไจ" (Procession of the Magi) (ค.ศ. 1459) ในวังเมดิชิ โดยเขียนชื่อไว้บนหมวก สองสามปีต่อมาซันโดร บอตตีเชลลีก็เลียนแบบเขียนตนเองเป็นผู้ชื่นชมคนหนึ่งในภาพ "การชื่นชมของแมไจ" ผู้หันมามองตรงมายังผู้ชมภาพ (ค.ศ. 1475)

ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ก็มีรูปเหมือนแกะท่อนบนของและโดยปีเตอร์ พาร์เลอร์ ในมหาวิหารปรากรวมภาพเหมือนตนเองและเป็นหนึ่งในบรรดารูปท่อนบนรูปแรก ๆ ที่ไม่ใช่รูปท่อนบนของพระราชวงศ์ ลอเร็นโซ กิเบอร์ติรวมรูปปั้นศีรษะของตนเองบนบานประตู หอล้างบาปซันโจวันนีในฟลอเรนซ์

ภาพเหมือนตนเองแรกสุดที่เขียนในอังกฤษ นอกไปจากเอกสารตัวเขียนวิจิตร และก็เป็นภาพเหมือนขนาดเล็กที่เขียนโดยจิตรกรเยอรมันเยอร์ลาค ฟลิคเคอในปี ค.ศ. 1554

อัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1471–ค.ศ. 1528

แก้

อัลเบรชท์ ดือเรอร์เป็นศิลปินผู้มีความความพะวงเกี่ยวกับภาพพจน์และชื่อเสียงของตนเองอยู่เสมอ รายได้ส่วนใหญ่มาจากการสร้างภาพพิมพ์ของจิตรกรชั้นปรมาจารย์ที่ขายไปทั่วยุโรป ดือเรอร์อาจจะวาดภาพตัวเองบ่อยกว่าจิตรกรอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน เท่าที่ทราบอย่างน้อยก็ประมาณสิบสองภาพที่รวมทั้งจิตรกรรมสีน้ำมัน และวาดเป็นบุคคลหนึ่งในงานชิ้นใหญ่ที่เป็นแท่นบูชา ภาพเขียนภาพแรกเป็นภาพวาดลายเส้นที่เขียนเมื่ออายุได้เพียงสิบสามปี เมื่ออายุได้ยี่สิบสองปีดือเรอร์ก็เขียน "ภาพเหมือนตนเองกับดอกคาร์เนชัน" (ค.ศ. 1493, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์) ที่อาจจะเขียนเพื่อส่งไปให้คู่หมั้นใหม่ ภาพเหมือนตนเองมาดริด (ค.ศ. 1498, พิพิธภัณฑ์ปราโด) เป็นภาพดือเรอร์ในเครื่องแต่งกายหรูหราแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นความมีชื่อเสียงไปทั่วยุโรป ในภาพเหมือนตนเองภาพสุดท้ายที่ขายหรือมอบให้เมืองเนิร์นแบร์กที่ตั้งแสดงให้สาธารณชนชมเป็นภาพที่วาดเชิงเป็นพระเยซู (พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดิม, มิวนิก) ต่อมาดือเรอร์ก็ใช้ใบหน้าเดียวกันนี้ในการสร้างภาพพิมพ์ของพระพักตร์ของพระเยซูที่ปรากฏบน "ผ้าซับพระพักตร์เวอโรนิคา" (Veil of Veronica) [12] แต่ภาพเหมือนตนเองที่ส่งไปให้ราฟาเอลหายสาบสูญไป ภาพพิมพ์แกะไม้ในโรงอาบน้ำและภาพวาดลายเส้นเป็นภาพเหมือนตนเองที่แทบจะเป็นภาพเปลือย[13]

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคบาโรก

แก้

จิตรกรชั้นปรมาจารย์ของอิตาลีของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เขียนภาพเหมือนตนเองไว้อย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่แล้วก็จะเขียนภาพของตนรวมไว้ในภาพเขียนใหญ่ ภาพเหมือนตนเองที่เขียนก็เป็นภาพเขียนที่ตรงไปตรงมาไม่มีการจัดท่าตั้งท่าเช่นที่ทำกันในสมัยต่อมา การเขียนแบบที่นอกแนวออกไปเช่นที่ดือเรอร์ทำก็แทบจะไม่มีผู้ใดทำตาม นอกไปจาก "ภาพเหมือนตนเองในบทเดวิด" ของจอร์โจเน (ถ้าเป็นภาพเหมือนตนเองจริง) ภาพเหมือนที่มีอยู่ก็ได้แก่ภาพเหมือนของเปียโตร เปรูจิโนที่เขียนราว ค.ศ. 1500 และภาพของพาร์มิจานิโนที่เป็นภาพเขียนเป็นเหมือนกระจากนูน และภาพเหมือนตนเองที่เป็นภาพวาดลายเส้นโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี (ค.ศ. 1512) [14] และภาพเหมือนตนเองที่เป็นส่วนหนึ่งของภาพเขียนใหญ่ของมีเกลันเจโล ผู้เขียนใบหน้าของตนเองบนหนังที่ถูกถลกออกมาจากร่างของนักบุญบาร์โทโลมิวในภาพ "การตัดสินครั้งสุดท้าย" ภายในชาเปลซิสติน (ค.ศ. 1536-ค.ศ. 1541) และ ราฟาเอล ที่ปรากฏในภาพ "โรงเรียนแห่งเอเธนส์" (ค.ศ. 1510) หรือภาพที่เกาะไหล่เพื่อน (ค.ศ. 1518) นอกจากนั้นภาพอื่นที่เด่นก็ได้แก่ภาพเหมือนของทิเชียนที่เขียนเป็นชายสูงอายุที่เขียนเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1560, เพาโล เวโรเนเซปรากฏเป็นนักเล่นไวโอลินใส่เสื้อสีขาวในภาพ "การแต่งงานที่คานา" โดยมีทิเชียนเล่น bass viol (ค.ศ. 1562) จิตรกรทางตอนเหนือของยุโรปจะนิยมเขียนภาพเหมือนมากกว่าจิตรกรในอิตาลี ที่มักจะวางท่าเดียวกับภาพชาวเมืองผู้มีอันจะกินอื่น ๆ ที่เป็นลูกค้าผู้มาว่าจ้างให้วาด

ภาพ "อุปมานิทัศน์ของความรอบคอบ" (ราว ค.ศ. 1565-1570) โดยทิเชียนเชื่อว่าเป็นภาพของทิเชียน, โอราซิโอลูกชาย และหลานมาร์โค เวเชลลิโอ[15] นอกจากภาพนี้แล้วทิเชียนก็เขียนภาพเหมือนตนเองอีกในปี ค.ศ. 1567 ที่เป็นภาพแรก คาราวัจโจเขียนภาพเหมือนตนเองเมื่อเริ่มเป็นจิตรกรใหม่ ๆ ในภาพ "บาคคัส" ต่อมาก็เขียนเป็นตัวประกอบในภาพเขียนที่ใหญ่กว่า และในที่สุดก็เขียนตนเองเป็นหัวของโกไลแอธที่เดวิดถือในภาพ "เดวิดกับหัวโกไลแอธ" (ค.ศ. 1605-ค.ศ. 1610, หอศิลป์บอร์เกเซ, โรม)

แร็มบรันต์ และคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในยุโรปเหนือ

แก้

ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จิตรกรเฟลมิชและดัตช์เขียนภาพของตนเองมากกว่าจิตรกรในประเทศอื่นในยุโรป ในช่วงเวลานี้จิตรกรผู้มีชื่อเสียงก็จะมีฐานะทางสังคมดีพอที่จะต้องการที่จะมีภาพเขียนของตนเองเอาไว้เช่นเดียวกับผู้อยู่ฐานะเท่าเทียมกันในสังคม นอกจากเขียนภาพตนเองแล้วจิตรกรก็ยังอาจจะเขียนภาพของภรรยาและบุตรธิดา หรือญาติพี่น้องเช่นเดียวกับพฤติกรรมของชนชั้นกลางโดยทั่วไปในขณะนั้น อันโตนี ฟัน ไดก์ และ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ต่างก็เขียนภาพของตนเองเป็นจำนวนหลายภาพ โดยเฉพาะรือเบินส์ผู้นอกจากจะเขียนภาพของตนเองแล้วก็ยังเขียนภาพของครอบครัวด้วย

แร็มบรันต์เป็นจิตรกรผู้เขียนภาพเหมือนตนเองมากที่สุดคนหนึ่ง และบางครั้งก็จะเขียนภาพของภรรยา, ลูกชาย และภรรยาน้อย เดิมเชื่อกันว่าแร็มบรันต์เขียนภาพเหมือนตนเองราวเก้าสิบภาพ แต่ต่อมาก็เป็นที่ทราบกันว่าภาพบางภาพเป็นภาพก็อปปีโดยลูกศิษย์ที่แร็มบรันต์ให้ทำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกหัด เมื่อแยกภาพเหล่านี้ออกไปแล้วนักวิชาการสมัยใหม่เชื่อกันว่าแร็มบรันต์เขียนภาพเหมือนตนเองราวสี่สิบภาพ และภาพวาดเส้นอีกสองสามภาพ รวมทั้งภาพพิมพ์อีกสามสิบเอ็ดภาพ ภาพเขียนหลายภาพเป็นภาพที่แร็มบรันต์แต่งตัวแบบกึ่งโบราณอย่างหรูหรา ภาพเขียนเหล่านี้แสดงความก้าวหน้าในชีวิตที่เริ่มตั้งแต่ภาพของจิตรกรหนุ่มไปจนถึงศิลปินผู้ประสบความสำเร็จกับการเขียนภาพเหมือนในคริสต์ทศวรรษ 1630 และต่อไปยังชายสูงอายุผู้ดูจะมีเรื่องครุ่นคิด แต่ก็เป็นผู้มีความสามารถที่ไม่มีผู้ใดเทียมได้[16]

หลังสมัยแร็มบรันต์

แก้
 
ภาพเหมือนตนเองของฟินเซนต์ ฟัน โคคพันหัวด้วยผ้าพันแผลหลังจากที่สันนิษฐานกันว่าตัดหูตนเอง

ในสเปนก็มีภาพเหมือนตนเองของบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูรีโย และ เดียโก เบลัซเกซ ส่วนฟรันซิสโก ซูร์บารานเขียนตนเองเป็นนักบุญลูค ที่เท้าของพระเยซูบนกางเขน (ราว ค.ศ. 1635) ในคริสต์ทศวรรษ 1800 ฟรันซิสโก โกยาเขียนภาพตนเองหลายภาพ ภาพเหมือนตนเองหลังจากสมัยนีกอลา ปูแซ็งมักจะแสดงฐานะทางสังคมของศิลปิน แต่ก็มีบางคนที่เขียนภาพในเครื่องแต่งกายที่ใช้เมื่อเขียนภาพเช่นภาพเหมือนตนเองของฌอง-บัพทิสต์-ซิเมออง ชาร์แดง จิตรกรที่เขียนภาพเหมือนตนเองในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มักจะเขียนทั้งภาพในเครื่องแต่งกายอย่างเป็นทางการและเครื่องแต่งกายอย่างลำลอง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าจิตรกรเกือบทุกคนที่สำคัญจะทิ้งภาพเหมือนตนเองเอาไว้อย่างน้อยก็ภาพหนึ่ง แม้ว่าจะหลังจากสมัยที่ความนิยมในการวาดภาพเหมือนตนเองจะลดถอยลงไปเมื่อมีวิวัฒนาการทางการถ่ายภาพเข้ามา กุสตาฟว์ กูร์แบอาจจะเป็นศิลปินผู้เขียนภาพเหมือนตนเองที่มีความคิดอันสร้างสรรค์ที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และภาพ "ห้องเขียนภาพของศิลปิน" และ "สวัสดี มงซิเออร์คูร์เบต์" ก็อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเองที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่ที่เคยเขียนกันมา ทั้งสองภาพมีตัวแบบหลายคนแต่บุคคลที่เป็นศูนย์กลางของภาพคือตัวศิลปินเอง

จิตรกรสมัยใหม่ผู้เขียนภาพเหมือนตนเองเป็นจำนวนมาก

แก้
 
"ภาพเหมือนตนเอง อุทิศให้โกแกง" โดย ฟินเซนต์ ฟัน โคค ค.ศ. 1888

จิตรกรคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งและคนที่เขียนภาพเหมือนตนเองมากที่สุดคนหนึ่งคือฟินเซนต์ ฟัน โคคผู้เขียนภาพเหมือนตนเองด้วยกันทั้งหมด 37 ภาพระหว่าง ค.ศ. 1886 จนถึง ค.ศ. 1889 สิ่งที่น่าสังเกตของภาพเหมือนของฟัน โคคคือจะไม่มีภาพใดเลยที่จิตรกรจะมองตรงมายังผู้ชมภาพ แม้ว่าจะเป็นภาพที่จ้องตรงไปข้างหน้าแต่ก็ดูเหมือนว่าฟัน โคคจะมีจุดสนใจอื่น ภาพเขียนเหล่านี้ใช้สีที่เข้มข้น บางรูปก็เป็นภาพที่มีผ้าพันแผลรอบหู ซึ่งมาจากความเชื่อที่ว่าฟัน โคคตัดหูตนเอง

ภาพเหมือนตนเองของอีกอน ชีเลอวางมาตรฐานใหม่ให้แก่การเขียนภาพเหมือนตนเองทางด้านความเปิดเผย หรืออาจจะเรียกว่าออกไปทางลัทธิการแสดงอนาจาร (Exhibitionism) ที่เป็นภาพเปลือยหลายภาพในท่าต่าง ๆ และบางภาพก็เป็นภาพชีเลอกำลังสำเร็จความใคร่ หรือเมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวในภาพ "อีรอส" ที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1911 สแตนลีย์ สเป็นเซอร์ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เขียนในแนวนี้ เอ็ดเวิร์ด มันช์ก็เป็นศิลปินอีกผู้หนึ่งที่เขียนภาพเขียนของตนเองเป็นจำนวนมาก ที่รวมทั้งจิตรกรรม 70 ภาพ, ภาพพิมพ์ 20 ภาพ และภาพวาดลายเส้นหรือสีน้ำอีกกว่า 100 ภาพ ภาพหลายภาพที่เขียนเป็นภาพที่แสดงถึงการที่ถูกกลั่นแกล้งโดยเฉพาะจากสตรี[17] ฟรีดา คาห์โลผู้ในชีวิตประสบอุบัติเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้ต้องนอนเป็นคนไข้อยู่หลายปี เขียนภาพตนเองเป็นหลัก และมักจะเป็นภาพที่เกี่ยวกับความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ คาห์โลเขียนภาพเหมือนตนเองราว 55 ภาพที่รวมทั้งภาพตั้งแต่บั้นเอวขึ้นไปและบางภาพก็เป็นภาพการฝันร้ายที่เป็นสัญลักษณ์ของความทุกข์ทรมานทางกาย

ตลอดอาชีพการเป็นจิตรกรปาโบล ปีกัสโซมักจะใช้ภาพเหมือนตนเองในการบรรยายตนเองหลายแบบ จากช่วงที่เป็นจิตรกรหนุ่มผู้ยังไม่เป็นที่รู้จักใน "Yo Picasso" ไปจนถึงช่วง "Minotaur in the Labyrinth", ตามด้วย "old Cavalier" และ "lecherous old artist and model" ภาพเหมือนตนเองของปีกัสโซมักจะเผยความเข้าใจอันลึกซึ้งทางจิตวิทยาของตัวปีกัสโซเอง ทั้งทางส่วนตัวและทางการเป็นศิลปิน ศิลปินอีกผู้หนึ่งที่เขียนภาพเหมือนตนเองที่เผยลักษณะของตนเองตลอดชีวิตการเป็นจิตรกรคือปีแยร์ บอนาร์ นอกจากนั้นบงนาร์ดก็ยังเขียนภาพเหมือนของภรรยาอีกหลายสิบภาพตลอดชีวิตการเขียนด้วย ศิลปินโดยเฉพาะฟินเซนต์ ฟัน โคค, ปอล โกแก็ง และ อีกอน ชีเลอ ต่างก็เขียนภาพเหมือนตนเองที่เผยตนเองทางจิตวิทยาโดยตลอดอาชีพการเป็นจิตรกร

ประเภทของภาพเหมือนตนเอง

แก้

จิตรกรกำลังเขียนภาพ

แก้

ภาพเหมือนจากยุคกลางเป็นจำนวนมากเป็นภาพเขียนของจิตรกรที่กำลังเขียนภาพ เช่นในภาพเหมือนตนเองของยัน ฟัน ไอก์ที่ใส่ "Chaperon" ที่มีลักษณะคล้ายหมวก ที่ฟัน ไอก์ตลบชายที่ห้อยลงมาขึ้นไปพันรอบศีรษะที่ทำให้ดูคล้ายผ้าโพกของซิกส์ ที่คงจะเป็นการทำเพื่อที่จะให้สะดวกระหว่างการเขียนภาพ[18] ระหว่างสมัยใหม่ตอนต้นจิตรกรทั้งหญิงและชายที่เขียนภาพเหมือนตนเองก็จะต้องเลือกระหว่างการเขียนภาพในเครื่องแต่งกายที่ดีที่สุดหรือในห้องที่ดีที่สุด หรือจะเขียนตามสภาพความเป็นจริง

กลุ่มภาพเหมือนตนเอง

แก้
 
"ภาพเหมือนตนเองในกระจก" โดยParmigianinoที่เขียนเป็นภาพสะท้อนบนกระจกนูนที่เป็นกระจกที่ใช้กันในสมัยนั้น

นักวิพากษ์ศิลป์ กาลินา วาซิลเยนา-เชลียพินาแยกลักษณะการเขียนภาพตนเองเป็นสองกลุ่ม ภาพเหมือน "แสดงอาชีพ" (professional) ซึ่งเป็นภาพเขียนของจิตรกรระหว่างการเขียนภาพ และ ภาพเหมือน "ส่วนตัว" (personal) ที่เผยถึงสภาวะทางจริยธรรมและทางด้านจิตใจของผู้เขียน นอกจากนั้นก็ยังแบ่งต่อไปอีกเป็น (1) "ภาพแทรง" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองเข้าไปในรูป เช่นอยู่ในหมู่คนในรูป; (2) "ภาพแสดงศักดิ์หรือสัญลักษณ์" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์หรือศาสนา; (3) "ภาพเหมือนกลุ่ม" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวจริง; (4) "ภาพแท้จริง หรือ ภาพธรรมชาติ" คือภาพที่จิตรกรวาดภาพเหมือนตนเองคนเดียว แต่การจัดกลุ่มที่ว่านี้ก็อาจจะเป็นการจัดที่ค่อนข้างขาดความยืดหยุ่น และภาพเหมือนบางภาพก็อาจจะผสมระหว่างลักษณะการเขียนมากกว่าสองอย่าง[19]

การใช้กระจกและการวางท่า

แก้
 
โยฮันส์ กัมพ์, ค.ศ. 1646 แสดงการเขียนภาพเหมือนตนเองภาพเหมือนตนเอง[20]

ภาพเหมือนตนเองตามทฤษฎีแล้วเป็นภาพที่เขียนจากเงาที่สะท้อนจากกระจก เมื่อกระจกแพร่หลายขึ้นในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 15 กระจกที่ใช้กันแบบแรกเป็นกระจกนูนที่บางครั้งจิตรกรก็ยังรักษาภาพที่บิดเบือนจากความเป็นจริงของตนเองตามลักษณะกระจกไว้เช่นภาพ "ภาพเหมือนตนเองในกระจก" โดยพาร์มิจานิโนที่เขียนใน ค.ศ. 1524 นอกจากนั้นแล้วกระจกก็ยังสามารถทำให้สร้างองค์ประกอบของภาพได้หลายแบบเช่นภาพ "ภาพเหมือนตนเองสามแบบ" โดยโยฮันส์ กัมพ์ที่เขียนในปี ค.ศ. 1646 หรือเมื่อไม่นานมานี้ในภาพที่เขียนโดยซัลบาดอร์ ดาลีที่เป็นภาพด้านหลังขณะที่กำลังเขียนภาพภรรยา

การใช้เงาที่สะท้อนจากกระจกมักจะเป็นผลทำให้จิตรกรที่ถนัดมือขวาปรากฏในภาพเป็นผู้ถนัดมือซ้าย หรือในทางกลับกันจิตรกรถนัดซ้ายก็จะกลายเป็นผู้ถนัดขวา ฉะนั้นภาพเหมือนที่เป็นก็จะเป็นภาพสะท้อนของจิตรกรที่โลกทั้งโลกเห็นนอกจากว่าจะใช้กระจกสองอัน ภาพเหมือนของแร็มบรันต์ส่วนใหญ่ที่เขียนก่อน ค.ศ. 1660 จะเป็นภาพที่มีมือเพียงมือเดียว - มือที่ใช้เขียนภาพไม่ปรากฏในภาพ[21] ดูเหมือนว่าแร็มบรันต์จะซื้อกระจกบานใหญ่ขึ้นราวปี ค.ศ. 1652 หลังจากนั้นภาพเหมือนตนเองก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ในปี ค.ศ. 1658 กระจกบานใหญ่ที่มีกรอบไม้แตกขณะที่ทำการขนย้ายไปยังบ้านของแร็มบรันต์ แต่กระนั้นแร็มบรันต์ก็ยังสามารถเขียนภาพภาพเหมือนตนเองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่เขียนมาได้

 
"Las Meninas" (ค.ศ. 1656) แสดงเดียโก เบลัซเกซกำลังเขียนภาพบนขาหยั่งทางด้านซ้ายของภาพ

ขนาดของกระจกยังคงจำกัดอยู่จนกระทั่งมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปี ค.ศ. 1688 ในฝรั่งเศสโดยแบร์นาร์ด แปร์โรต์ นอกจากนั้นก็ยังแตกง่าย และราคาก็สูงขึ้นตามขนาด กระจกบานใหญ่ที่แตกก็จะถูกตัดเป็นบานเล็ก ๆ ขาย กระจกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ในขณะนั้นมีขนาดราว 80 เซนติเมตร ราวขนาดเดียวกับกระจกในพระราชวังในภาพ "Las Meninas" (กระจกโค้งนูนในภาพ "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" ถือกันโดยนักประวัติศาสตร์ว่าเป็นขนาดที่ใหญ่เกินความเหมาะสม ซึ่งเป็นกลเม็ดอันฉลาดอันหนึ่งในการบิดเบือนขนาดอัตราส่วนของภาพ) [22] เพราะความจำกัดของขนาดของกระจกทำให้ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรมักจะเป็นภาพครึ่งตัว

ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรขณะที่กำลังเขียนภาพเป็นประเภทของภาพเหมือนตนเองที่พบบ่อยที่สุดในการเขียนภาพเหมือนตนเองในยุคกลาง และนิยมกันต่อมาโดยเฉพาะตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ภาพเหมือนตนเองอีกประเภทหนึ่งที่นิยมกันในยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคือการเขียนตนเองเป็นนักบุญลูค (ผู้เป็นนักบุญผู้พิทักษ์ของศิลปิน) กำลังเขียนภาพเวอร์จินแมรี ภาพเหล่านี้มักจะเขียนเพื่อมอบให้สมาคมเซนต์ลูคท้องถิ่นสำหรับนำไปตั้งในชาเปลของสมาคม ภาพเหมือนตนเองที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ภาพ "จิตรกรในห้องเขียนภาพ" โดยกุสตาฟว์ กูร์แบ (ค.ศ. 1855) ซึ่งเป็นภาพ "อุปมานิทัศน์" ขนาดใหญ่ของสิ่งต่าง ๆ และตัวแบบต่าง ๆ รอบจิตรกร

การเขียนภาพเหมือนตนเองและความตาย

แก้

การใช้ภาพเหมือนตนเองในการสื่อ

แก้

ภาพเหมือนตนเองของจิตรกรรมศิลปินร่วมสมัยและศิลปินสมัยใหม่มักจะแสดงลักษณะเด่นตรงที่เป็นการสื่อเรื่องราวที่ไม่เฉพาะแต่เรื่องราวของชีวิตของตัวศิลปินเอง บางครั้งเรื่องราวในภาพก็จะลม้ายแฟนตาซีหรือ การเล่นบท และ เป็นเรื่องที่สร้างขึ้น นอกจากเดียโก เบลัซเกซ (ในภาพเขียน "Las Meninas"), แร็มบรันต์, ยัน เดอ ไบร, กุสตาฟว์ กูร์แบ, ฟินเซนต์ ฟัน โคค และ ปอล โกแก็งแล้ว ภาพเหมือนตนเองของศิลปินคนอื่น ๆ ที่เผยถึงความซับซ้อนก็รวมทั้งปีแยร์ บอนาร์, มาร์ก ชากาล, ลูเซียน ฟรอยด์, อาร์ชีล กอร์คี, แอลิซ นีล, ปาโบล ปีกัสโซ, ลูคัส ซามาราส, เจนนี ซาวิลล์, ซินดี เชอร์แมน, แอนดี วอร์ฮอล และ กิลเบิร์ตและจอร์จ

การใช้ภาพเหมือนตนเองในการเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเอง

แก้

ภาพเหมือนตนเองเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเองของศิลปิน โดยเฉพาะสำหรับจิตรกรภาพเหมือน ดือเรอร์ไม่มีความสนใจในการเขียนภาพเหมือนขายเท่าใดนักแต่ก็ใช้ภาพเหมือนตนเองอันไม่เหมือนผู้ใดในการโฆษณาตนเองในฐานะจิตรกร งานเขียนทางการค้าส่วนใหญ่ในช่วงที่ประสบความสำเร็จของแร็มบรันต์เป็นการเขียนภาพเหมือนเช่นเดียวกันอันโตนี ฟัน ไดก์ และ โจชัว เรย์โนลด์ส ซึ่งภาพที่เขียนก็เป็นเจตนาที่ใช้ในการเผยแพร่ชื่อเสียง เมื่อสถาบันจัดการแสดงภาพเขียนกันขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ศิลปินหลายคนต่างก็พยายามสร้างภาพเหมือนตนเองที่สร้างความประทับตาให้แก่ผู้ชม เช่นในการแสดงนิทรรศการภาพเหมือน "Rebels and Martyrs" ของหอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอนเมื่อไม่นานมานี้[26] ตัวอย่างของการโฆษณาตนเองของคริสต์ศตวรรษที่ 21 คืองานเขียนภาพเหมือนตนเองทุกวันโดยอาร์โนด์ พรินสเตท์, ผู้สร้างความโด่งดังเมื่อประกาศว่าจะเขียนภาพเหมือนของตนเองวันละภาพ[27] แต่ก็มีจิตรกรอีกมากที่เขียนภาพเหมือนของตนเองโดยไม่มีจุดประสงค์ในการเผยแพร่ตนเองแต่อย่างใด

ภาพเหมือนตนเองที่บอกอาการทางสุขภาพ

แก้
 
ภาพเหมือนตนเองของอีกอน ชีเลอ ค.ศ. 1911 เป็นภาพการสำเร็จความใคร่

นักเขียนบางคนที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับประสาท หรือ ทางร่างกายก็ทิ้งภาพเหมือนตนเองที่ทำให้นายแพทย์ต่อมาพยายามทำการวิจัยความบกพร่องทางจิต และการวินิจฉัยบางอย่างก็ได้รับการตีพิมพ์ในตำราทางด้านประสาทวิทยา[2] การเขียนภาพเหมือนตนเองของศิลปินผู้ป่วยด้วยโรคจิตประสาทเป็นการเปิดโอกาสให้นายแพทย์ได้ศึกษาการมองตนเองของผู้มีปัญหาทางด้านจิตวิทยา และ ประสาทวิทยา

นักเพศวิทยาชาวรัสเซียอิกอร์ คอนตั้งข้อสังเกตในบทความเกี่ยวกับการสำเร็จความใคร่ว่ากิจการดังกล่าวอาจจะปรากฏในงานศิลปะ โดยเฉพาะในงานจิตรกรรม เช่นในภาพเขียนของศิลปินชาวออสเตรียอีกอน ชีเลอ ซึ่งคอนตั้งข้อสังเกตว่าไม่ใช้เป็นภาพเขียนที่แสดงความพึงพอใจของผู้กระทำ แต่เป็นภาพที่แสดงถึงความอ้างว้างโดดเดี่ยว งานเขียนของชีเลอได้รับการวิจัยโดยนักค้นคว้าอื่นทางด้านพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ โดยเฉพาะทางด้านที่เกี่ยวกับโรคใคร่เด็ก (pedophilia)

งานสะสมภาพเหมือน

แก้

งานสะสมภาพเหมือนที่สำคัญที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดและเก่าที่สุดก็ได้แก่งานสะสมของหอศิลป์อุฟฟิซิในฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลีที่เรียกว่า "ระเบียงวาซารี" (Vasari Corridor) ที่เดิมเป็นงานสะสมที่เริ่มขึ้นโดยคาร์ดินัลเลโอโปลด์ เดอ เมดิชิในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ได้รับการบำรุงรักษาและหาเพิ่มเติมมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ แต่เป็นงานสะสมที่เป็นของส่วนบุคคลที่ไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม แม้ว่าจะมีภาพเขียนบางภาพที่ตั้งแสดงร่วมกับภาพเขียนอื่น ๆ ในงานสะสมทั่วไป "ระเบียงวาซารี" ประกอบด้วยภาพเหมือนกว่า 200 ภาพที่รวมทั้งปีเอโตร ดา กอร์โตนา, ชาร์ลส์ เลอ บรุน, ฌอง-บัพทิสต์ คามิลล์ โคโรต์ และ มาร์ก ชากาล งานสะสมอื่น ๆ ที่สำคัญก็ได้แก่งานสะสมหอภาพเหมือนแห่งชาติ, ลอนดอน และ สาขาในอังกฤษ และหอภาพเหมือนแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี. ใน สหรัฐอเมริกา

ระเบียงภาพ

แก้

ภาพวาดเส้น, ภาพพิมพ์ และภาพแกะพิมพ์

แก้

ภาพเหมือนตนเองที่เป็นภาพถ่าย

แก้

วิธีสองวิธีที่จะได้มาซึ่งภาพถ่ายของภาพเหมือนตนเองที่ใช้กันโดยทั่วไป ก็ได้แก่การถ่ายจากภาพสะท้อนจากกระจก และ ถือกล้องยื่นออกไปจากตนเอง อีเลียซาร์ แลงแมนถ่ายภาพเงาสะท้อนของตนเองจากกาชาเคลือบนิคเคิล

อีกวิธีหนึ่งทำโดยการตั้งกล้องบนสามขาและตั้งเวลา หรือใชรีโมทคอนโทรลในการคุมชัตเตอร์ อีกวิธีหนึ่งคือตั้งกล้องแล้วเดินไปตั้งท่า ปล่อยให้ผู้ช่วยกดชัตเตอร์แทนให้

อ้างอิง

แก้
  1. Campbell, Lorne; National Gallery Catalogues (new series) : The Fifteenth Century Netherlandish Paintings, pp 212-17, 1998, ISBN 185709171
  2. 2.0 2.1 "accessed online July 28, 2007 an online history of self portraits various excerpts from Edward Lucie-Smith and Sean Kelly, The Self Portrait: A Modern View (London: Sarema Press, 1987)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-03. สืบค้นเมื่อ 2009-12-25.
  3. "Pharaoh's sculptor, Bak accessed online July 28, 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-19. สืบค้นเมื่อ 2009-12-25.
  4. Campbell, Lorne, Renaissance Portraits, European Portrait-Painting in the คริสต์ศตวรรษที่ 14, 15th and 16th Centuries, pp. 3-4, 1990, Yale, ISBN 0300046758
  5. Eg, respectively, the four Philosophers and the Prodigal Son ( Gemäldegalerie Alte Meister, Dresden)
  6. Campbell, Lorne; National Gallery Catalogues (new series) : The Fifteenth Century Netherlandish Paintings, pp 180, 1998, ISBN 185709171. The Arnolfini Portrait hung in the same palace in Madrid in which Las Meninas was painted
  7. Full composition (part of larger scheme)
  8. Full composition (part of larger scheme)
  9. This is a later and larger repetition in the National Gallery of the original
  10. Marie-Denise Villers at the Metropolitan Museum of Art
  11. Jonathon Alexander; Medieval Illuminators and their Methods of Work; p.8-34, Yale UP, 1992, ISBN 0300056893 collects several examples
  12. "ผ้าซับพระพักตร์เวอโรนิคา" เป็นผ้าที่นักบุญเวโรนีกาใช้ซับพระพักตร์ของพระเยซู เมื่อซับเสร็จก็ปรากฏเป็นใบหน้าบนผืนผ้าซึ่งถือกันว่าเป็นภาพเหมือนของพระเยซู
  13. For all this section, Giulia Bartrum, Albrecht ดือเรอร์ and his Legacy, p. 77–84 & passim, British Museum Press, 2002, ISBN 0714126330
  14. This drawing in red chalk is widely (though not universally) accepted as an original self portrait. The main reason for hesitation in accepting it as a portrait of Leonardo is that the subject is apparently of a greater age than Leonardo ever achieved. But it is possible that he drew this picture of himself deliberately aged, specifically for Raphael's portrait of him in the School of Athens. A case has also been made, originally by novelist Dmitry Merezhkovsky, that Leonardo based his famous picture Mona Lisa on his own self-portrait.
  15. Erwin Panofsky (and originally Fritz Saxl), Titian's "Allegory of Prudence, A Postscript, in Meaning in the Visual Arts, Doubleday/Penguin, 1955
  16. For this section and the gallery, Ernst van de Wetering in Rembrandt by himself, p.10 and passim, 1999, National Gallery, London/Mauritshuis, The Hague, ISBN 1857092708
  17. "Munch Museum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2009-12-25.
  18. Campbell, Lorne; National Gallery Catalogues (new series) : The Fifteenth Century Netherlandish Paintings, pp 214, 1998, ISBN 185709171
  19. Respecively, the "вставной","представительский, или символический", "групповой портрет", "отдельный или естественный"
  20. A better-known version is in the Uffizi. This one was sold at auction in Germany in 2007
  21. Rembrandt by himself, op cit, p.211
  22. Rembrandt by himself, op cit, pp 11-13; for the Arnolfini reference see: National Gallery Catalogues (new series) : The Fifteenth Century Netherlandish Paintings, Lorne Campbell, 1998, ISBN 185709171
  23. Aislinn Loconte in, Lucy Whitaker, Martin Clayton, The Art of Italy in the Royal Collection; Renaissance and Baroque, p.270, Royal Collection Publications, 2007, ISBN 978 1 902163 291. The biographer was Baldinucci. This is the version in the Royal Collection, there are others in the Pitti Palace etc.
  24. asks Michael Levey in Painting at Court, Weidenfeld and Nicholson, London, 1971, pp 124-5
  25. [http://www.vmfa.state.va.us/courbet.html Virginia MFA
  26. Rebels and Martyrs, National Gallery เก็บถาวร 2007-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  27. Ses hits

ดูเพิ่ม

แก้

ภาษาอังกฤษ

แก้
  • John J. Ciofalo, Self-Portraits of Francisco Goya. Cambridge University Press, 2001
  • Edward Lucie-Smith with Sean Kelly, The Self Portrait: A Modern View. (1987)
  • Ernst van de Wetering and others; Rembrandt by himself, 1999, National Gallery, London / Mauritshuis, The Hague, ISBN 1857092708
  • Joseph L. Koerner, The Moment of Self-Portraiture in German Renaissance Art, Chicago/London, 1993
  • Jonathan Miller, On Reflection, 1998, National Gallery, ISBN 857092376.
  • Belle, Julian (Ed.) : Five Hundred Self-Portraits. Phaidon Press, London/New York, 2000 (pb 2004), ISBN 0-7148-4384-9 Self-Portraits in chronological order from ancient Egypt to the present.

ภาษาอื่น

แก้
  • Joëlle Moulin, L'autoportrait au XXe siècle, éd. Adam Biro, Paris, 1999
  • Pascal Bonafoux, Les peintres et l'autoportrait, 1984
  • Bernard Auriol, L'image préalable, l'expression impressive et l'autoportrait, Psychologie Médicale, 19, 9, 1543-1547, 1987
  • Bonafoux, Pascal / Rosenberg, David: Moi! Autoportraits du XXe siècle. Musée du Luxembourg (Paris) / Skira Editore (Milano), Exhibition catalogue. 2004, Text French, Paris 2004, ISBN 88-8491-854-5 The book presents 155 artist (fine art) of the 20th century by showing their self-portraits added by informative texts.
  • Borzello, Frances: Wie Frauen sich sehen  –  Selbstbildnisse aus fünf Jahrhunderten. Karl Blessing Verlag, München 1998, ISBN 3-89667-052-2
  • Calabrese, Omar: Die Geschichte des Selbstporträts. Deutscher Kunstverlag, München 2006, ISBN 3-7774-2955-4
  • Pfisterer, Ulrich / Rosen, Valeska von ~ (Hrsg.) : Der Künstler als Kunstwerk. Selbstporträts vom Mittelalter bis zur Gegenwart. Reclam, Stuttgart 2005, ISBN 3-15-010571-4 (Rezension)

ภาพเหมือนตนเองเชิงประสาทวิทยา

แก้
  • Tielsch AH, Allen PJ (2005) Listen to them draw: screening children in primary care through the use of human figure drawings. Pediatr Nurs 31 (4) : 320—327. This survey of literature is focused on the method of drawing people as the method of diagnostics. Children's figures can recognize mental disorders. The authors describe the use of self-portraits for diagnostics of emotional disorders in children from 6 to 12 years. Although this procedure does not make it possible to place final diagnosis, it is useful for the recognition of problems.
  • Morin C, Pradat-Diehl P, Robain G, Bensalah Y, Perrigot M (2003) Stroke hemiplegia and specular image: lessons from self-portraits. Int J Aging Hum Dev 56 (1) : 1-41. Patients with hemiplegia have diverse problems of self-perception, which are caused by neurological defeats of the idea of body, or by psychological problems with the perception their own self.

จิตวิทยาของทัศนคติต่อตนเอง

แก้
  • Wegner DM (2003) The mind's self-portrait. Ann N Y Acad Sci 1001: 212—225. Psychology and neuroscience approach understanding of reason and consciousness. Meanwhile each human reason contains the self-portrait, which contains the self-appraisal of cognitive processes. This self-portrait assumes that the actions of man are governed by thoughts and, thus, the body is governed by consciousness. Self-portrait leads to the persuasion, that we consciously desire to make something. Studies show that self-portraiture is a caricature on the function of the brain, but at the same time it is the basis of the sensation of authorship and responsibility of one's own actions.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ภาพเหมือนตนเอง

One can also use the term "autoportrait" in the search engine of the Joconde database เก็บถาวร 2011-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, which describes the works of 84 French museums, including the Louvre: