อันโตน ฟัน ไดก์

(เปลี่ยนทางจาก อันโตนี ฟัน ไดก์)

อันโตน ฟัน ไดก์ (ดัตช์: Antoon van Dyck, Antoon van Dijck) หรือ แอนโทนี แวน ไดก์ (อังกฤษ: Anthony van Dyck;[2] 22 มีนาคม ค.ศ. 1599 – 9 ธันวาคม ค.ศ. 1641) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวเฟลมมิชซึ่งมาเป็นจิตรกรคนสำคัญประจำราชสำนักพระเจ้าชาลส์ที่ 1ที่อังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพสีน้ำมัน โดยเฉพาะภาพเหมือน ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงของฟัน ไดก์เป็นภาพเหมือนของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 และครอบครัวซึ่งวางท่าลักษณะสบายแต่สง่าแบบที่กลายมาเป็นแบบที่ใช้ในการเขียนภาพเหมือนต่อมาในอังกฤษเป็นเวลาราว 150 ปี

"ภาพเหมือนกับดอกทานตะวัน" แสดงให้เห็นเหรียญที่พระเจ้าชาลส์ที่ 1 พระราชทานเมื่อ ค.ศ. 1633 ดอกทานตะวันอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือการอุปถัมภ์หลวง[1]
ภาพเหมือนของครอบครัวโลเมลลี (Lomelli family) ค.ศ. 1623
ภาพเหมือนของลอร์ดจอห์น สจวต และน้องชายลอร์ดเบอร์นาร์ด สจวต--ลักษณะที่ผู้เป็นแบบมีเป็นความกันเองมากขึ้นที่ฟัน ไดก์มาวิวัฒนาการในอังกฤษ, ประมาณ ค.ศ. 1638
พระเจ้าชาลส์ที่ 1 (ราว ค.ศ. 1635)

นอกจากภาพเหมือนแล้ว ฟัน ไดก์ยังเขียนภาพจากพระคัมภีร์และตำนานเทพ และเป็นจิตรกรคนสำคัญผู้ริเริ่มใช้สีน้ำและกลวิธีพิมพ์กัดกรด (etching)

ชีวิตเบื้องต้น

แก้

อันโตน ฟัน ไดก์เกิดในครอบครัวที่มั่งคั่งที่แอนต์เวิร์ปในประเทศเบลเยียมปัจจุบัน และเป็นผู้มีความสามารถทางการเขียนมาตั้งแต่ต้น ภายในปี ค.ศ. 1609 ก็ได้เข้าศึกษาการเขียนภาพกับแฮ็นดริก ฟัน บาเลิน (Hendrick van Balen) และเป็นช่างเขียนอิสระเมื่อปี ค.ศ. 1615 ตั้งโรงฝึกงานร่วมกับยัน เบรอเคิล ผู้ลูก (Jan Brueghel the Younger) เพื่อนรุ่นน้อง[3] เมื่อมีอายุได้ 15 ปี อันโตน ฟัน ไดก์ก็เป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงแล้วจากที่เห็นได้จาก "ภาพเหมือนตนเอง" ที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1613-1614 อันโตนได้รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมช่างนักบุญลูกาแห่งแอนต์เวิร์ป ในฐานะช่างเขียนอิสระเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1618.[4]

ภายในสองสามปึก็ได้เป็นผู้ช่วยเอกของเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรผู้มีชื่อเสียงของแอนต์เวิร์ปและทางตอนเหนือของยุโรปทั้งหมด ผู้ใช้วิธืจ้างโรงฝึกงานย่อย ๆ ให้ทำงานให้โรงฝึกงานใหญ่ของรือเบินส์เอง รือเบินส์มีอิทธพลต่อฟัน ไดก์เป็นอันมาก และกล่าวถึงลูกศิษย์อายุ 19 ปีว่าเป็น "ลูกศิษย์คนเก่งที่สุดในบรรดาลูกศิษย์คนอื่น ๆ"[5] ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์จะเป็นอย่างไรไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่สันนิษฐานกันว่าฟัน ไดก์เป็นลูกศิษย์ของรือเบินส์ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1613 เพราะงานในสมัยนั้นมีลักษณะอิทธิพลของรือเบินส์ แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรแน่นอนไปกว่านี้[6] และอาจจะเป็นได้ว่า ถึงแม้ฟัน ไดก์จะกลับมาแอนต์เวิร์ปบ้างในบางครั้ง แต่ฟัน ไดก์ก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในต่างประเทศเพราะเมืองแอนต์เวิร์ปเริ่มหมดความสำคัญลง[6] ในปี ค.ศ. 1620 รือเบินส์ได้รับงานชิ้นสำคัญในการเขียนภาพบนเพดานวัดเยสุอิตที่แอนต์เวิร์ป (ปัจจุบันถูกทำลายไปแล้ว) ฟัน ไดก์เป็นผู้หนึ่งที่ระบุไว้ว่าเป็นผู้วาดภาพจากการออกแบบของรือเบินส์[7]

อิตาลี

แก้

ในปี ค.ศ. 1620 โดยการแนะนำของพี่ชายของดุ๊กแห่งบักกิงงัม อันโตน ฟัน ไดก์เดินทางไปอังกฤษเป็นครั้งแรกเพื่อไปทำงานในราชสำนักของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเป็นเงินจำนวน 100 ปอนด์[6] ในลอนดอนฟัน ไดก์ได้เห็นงานของทิเชียนที่สะสมโดยทอมัส เฮาเวิร์ด เอิร์ลที่ 21 แห่งอารัลเดลเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นงานการใช้สีและการวางองค์ประกอบที่ฟัน ไดก์นำมาปรับปรุงเข้ากับทฤษฏีที่เรียนมากับรือเบินส์มาเป็นการวางรูปและการใช้สีแบบใหม่ของฟัน ไดก์เอง[8]

สี่เดือนหลังจากนั้นฟัน ไดก์ก็กลับไปฟลานเดอส์ และในปี ค.ศ. 1621 ก็ได้เดินทางต่อไปอิตาลี ไปเรียนเพิ่มความรู้ในการเขียนภาพและสร้างชื่อเสียงอยู่ที่นั่น 6 ปี เมื่ออยู่ที่นั่นฟัน ไดก์ก็มีชื่อเสียงว่าไม่เหมือนใคร เริ่มวางมาตรอย่างมิใช่คนอื่นซึ่งทำให้เป็นที่รำคาญของจิตรกรกลุ่มที่ใช้ชีวิตแบบโบฮีเมียที่โรม จนเบลลอรีกล่าวว่าฟัน ไดก์วางท่าเหมือนเซอูซิส เหมือนกับว่าฟัน ไดก์จะเป็นเจ้านายมากกว่ามนุษย์เดินดิน ฟัน ไดก์จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่หรูหราเพราะความที่เคยอยู่ในแวดวงของรือเบินส์และคนชั้นสูง ๆ อื่น ๆ และตัวของฟัน ไดก์เองก็เป็นคนหัวสูงอยู่แล้วจึงต้องทำตัวให้เป็นที่เด่น โดยการแต่งตัวด้วยผ้าไหม ใส่หมวกปักขนนกกลัดด้วยเข็มกลัดอัญมณี ใส่สร้อยทองบนใหล่และมีคนใช้ติดตาม[9]

ฟัน ไดก์ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เจนัวแต่ก็ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่าง ๆ และไปอยู่ที่ปาแลร์โมในซิซิลีอยู่พักหนึ่ง ระหว่างที่อยู่เจนัวก็เขียนรูปให้กับเจ้านายที่นั่นโดยการเขียนภาพเหมือนแบบเต็มตัวที่ได้อิทธิพลมาจากการเขียนแบบเวโรนา, ทิเชียน และรือเบินส์ ซึ่งผู้เป็นแบบจะดูสูงแต่สง่าและมองลงมาหาผู้ดูอย่างทรนง ในปี ค.ศ. 1627 ฟัน ไดก์เดินทางกลับไปแอนต์เวิร์ปและไปอยู่ที่นั่นอีกห้าปีเขียนภาพให้กับชาวเฟลมมิชตามลักษณะที่เขียนที่เจนัวคือทำให้ผู้เป็นแบบมีลักษณะที่สง่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ งานเขียนรูปเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล 24 ภาพที่บรัสเซลส์ถูกทำลายไปหมดเมื่อปี ค.ศ. 1695[10] ฟัน ไดก์มีเสน่ห์กับลูกค้าและเหมือนกับรือเบินส์ที่เข้ากับเจ้านายได้อย่างสนิทสนมจึงสามารถได้รับสัญญาว่าจ้างจากลูกค้า เมื่อปี ค.ศ. 1630 ฟัน ไดก์ก็ได้เป็นช่างเขียนประจำสำนักของอาร์คดัชเชสอิสซาเบลลาผู้ว่าการฟลานเดอส์ของฮับส์บูร์ก ในระยะเดียวกันนี้ฟัน ไดก์ก็วาดจิตรกรรมทางศาสนาหลายชิ้นโดยเฉพาะฉากแท่นบูชาและเริ่มงานภาพพิมพ์ด้วย

อังกฤษ

แก้

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งของอังกฤษที่นิยมการสะสมศิลปะเพราะทรงถือว่าเป็นเครื่องส่งเสริมความหรูหราโอ่อ่าของพระบารมีขึ้น ในปี ค.ศ. 1628 ทรงซึ้องานสะสมศิลปะของกอนซากา ดุ๊กแห่งมานตัวที่จำต้องขาย นอกจากนั้นก็ยังทรงพยายามชักชวนจิตรกรชาวต่างประเทศผู้มีชื่อเสียงเข้ามาทำงานกับราชสำนักตั้งแต่เริ่มขึ้นครองราชย์ เมื่อปี ค.ศ. 1625 ในปี ค.ศ. 1626 ทรงสามารถเชิญโอราซีโอ เจนตีเลสกี จากอิตาลีให้มาตั้งหลักแหล่งในอังกฤษได้ ต่อมาอาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี ลูกสาวและลูกชายบางคนก็ตามมาด้วย ศิลปินผู้ทรงอยากชวนให้มาจะให้มาที่สุดคือรือเบินส์ ผู้ซึ่งต่อมาก็มาอังกฤษในฐานะทางการทูตซึ่งก็มาเขียนรูปด้วย ในปี ค.ศ. 1630 และต่อมาอีกครั้งโดยเอาภาพเขียนจากแอนต์เวิร์ปมาด้วย ระหว่างที่มาอยู่ที่ลอนดอน 9 เดีอนก็ได้รับการรับรองเป็นอย่างดีและได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนาง ดานีเยล ไมเตินส์ ชาวเฟลมมิชเป็นช่างเขียนภาพเหมือนของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่ไม่มีอะไรพิเศษนักและการที่พระเจ้าชาลส์ที่ 1 มีพระวรกายที่สูงเพียงไม่ถึงห้าฟุตก็มิได้ช่วยทำให้การเขียนภาพเหมือนของพระองค์ที่ทำให้ดูสง่าผึ่งผายง่ายขึ้นเท่าใดนัก

ขณะที่ไม่ได้อยู่อังกฤษฟัน ไดก์ก็ยังมีการติดต่อกับทางราชสำนักอังกฤษอยู่ และยังเป็นผู้ช่วยตัวแทนของราชสำนักอังกฤษในการเสาะหาภาพเขียนในยุโรปสำหรับการสะสมของพระเจ้าชาลส์ นอกจากนั้นก็ยังหาภาพของช่างเขียนคนอื่นแล้ว ฟัน ไดก์ก็ยังส่งงานของตนเองไปด้วยรวมทั้งภาพเหมือนของตนเองและเอ็นดิเมียน พอร์เตอร์ (Endymion Porter)--ตัวแทนของพระเจ้าชาลส์คนหนึ่ง--ที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1623; ภาพตำนานเทพ "รินาลโดและอาร์มิลดา" (Rinaldo and Armida)-ค.ศ. 1629 ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะบอลทิมอร์; และงานศิลปะศาสนาสำหรับพระชายาของพระเจ้าชาลส์ ฟัน ไดก์เขียนภาพของอลิสซาเบ็ธแห่งโบฮีเมียผู้เป็นพระขนิษฐาของพระเจ้าชาลส์ที่กรุงเฮกเมื่อปี ค.ศ. 1632 ในเดือนเมษายนของปีเดียวกันฟัน ไดก์ก็กลับไปอังกฤษและได้เข้ารับราชการในราชสำนักทันที ในเดือนกรกฎาคมก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนางและได้รับค่าบำรุงปีละ 200 ปอนด์ต่อปี ตามคำบรรยายหน้าที่ว่า "ช่างเขียนเอกประจำพระองค์" นอกจากเงินประจำปีแล้วตามทฤษฏีจะได้ค่าจ้างเขียนภาพแต่ละภาพเป็นจำนวนมากต่างหาก แต่อันที่จริงแล้วพระเจ้าชาลส์มิได้จ่ายค่าบำรุงเป็นเวลาถึงห้าปีและลดราคาค่าเขียนภาพหลายภาพ นอกจากนั้นก็ยังมีบ้านให้ที่ริมแม่น้ำที่แบล็กไฟรเออส์ ซึ่งขณะนั้นอยู่นอกตัวเมืองลอนดอน ฉะนั้นจึงไม่ต้องขึ้นกับสมาคมช่างเขียนของลอนดอน (Worshipful Company of Painter-Stainers) สำหรับบ้านพักนอกเมืองก็เป็นห้องชุดที่วังเอลแธมซึ่งเป็นวังที่ราชวงค์มิได้ใช้แล้ว ห้องเขียนภาพที่แบล็คฟรายเออร์สซึ่งเป็นที่ที่พระเจ้าชาลส์และพระราชินีเฮ็นเรียตตา มาเรียพระชายาชอบเสด็จมาเยี่ยมบ่อย ๆ จนในที่สุดก็ต้องสร้างทางเดินเพื่อเข้าออกได้สะดวก หลังจากฟัน ไดก์เข้ามาเป็นช่างเขียนประจำพระองค์ พระเจ้าชาลส์ก็เกือบมิได้นั่งให้ช่างเขียนอื่นเขียนภาพของพระองค์อีก[6] [11]

อ้างอิง

แก้
  1. So Ellis Waterhouse (as refs below). But Levey (refs below) suggests that either van Dyck is the sun to which the sun-flower (of popular acclaim?) turns its face, or that it is the face of the King, on the medal he holds, as presented by van Dyck to the world
  2. เดิม "van Dijck", ด้วย "IJ" digraph ในภาษาดัตช์. ชื่อ "Anthony" แปลงมาเป็นภาษาอังกฤษจากภาษาเฟลมมิช Anthonis หรือ Antoon บางครั้งก็จะใช้ Anthonie, Antonio หรือ Anthonio หรือ Antoine ในภาษาฝรั่งเศส และ Anthonio หรือ Antonio ในภาษาอิตาลี ในภาษาอังกฤษใช้ "V" จนกระทั่งมาในระยะหลังจึงเปลี่ยนเป็น "v"
  3. Brown, Christopher: Van Dyck 1599-1641, page 15. Royal Academy Publications, 1999. ISBN 0-900946-66-0
  4. Gregory Martin, The Flemish School, 1600-1900, National Gallery Catalogues, p.26, 1970, National Gallery, London, ISBN 0-901791-02-4
  5. Brown, page 17.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Ellis Waterhouse, "Painting in Britain, 1530-1790", 4th Edn, 1978,pp 70-77, Penguin Books (now Yale History of Art series)
  7. Martin, op and page cit.
  8. Brown, page 19.
  9. Michael Levey, Painting at Court, Weidenfeld and Nicholson, London, 1971, pp 124-5
  10. DNB accessed may 14 2007
  11. DNB ret May 3, 2007 (causeway, and Eltham)

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อันโตน ฟัน ไดก์

ระเบียงภาพ

แก้