ฌ็อง ฟูแก
ฌ็อง ฟูแก (ฝรั่งเศส: Jean Fouquet) หรือ เฌออ็อง ฟูแก (Jehan Fouquet; ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1481) เป็นจิตรกรคนสำค้ญของฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความสำคัญทั้งการเขียนภาพบนแผ่นไม้และการเขียนภาพสำหรับ หนังสือวิจิตร (Illuminated manuscript) และเป็นผู้เริ่มการวาดภาพเหมือนแบบจุลจิตรกรรม (Miniature)
ฌ็อง ฟูแก |
---|
ชีวิตแก้ไข
ฌ็อง ฟูแกเกิดที่เมืองตูร์ ประวัติของฟูแกไม่มีให้ทราบมากนักนอกจากว่าได้ไปประเทศอิตาลีราวปี ค.ศ. 1437 และได้เขียนภาพของสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 4 ซึ่งเหลือเพียงงานลอกที่มาทำกันหลังจากนั้น หลังจากที่กลับมาจากอิตาลีฟูแกก็นำอิทธิพลทัสเคนีมาผสมกับแบบฝรั่งเศสของตนเองและลักษณะของยาน แวน เอค ซึ่งกลายมาเป็นฐานของจิตรกรรมฝรั่งเศสสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 ฉะนั้นฟูแกจึงถือว่าเป็นผู้ริเริ่มตระกูลศิลปะใหม่ตระกูลหนึ่ง นอกจากนั้นฟูแกก็ยังเป็นจิตรกรประจำราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศสด้วย
งานแก้ไข
ความสามารถที่เด่นที่สุดของฟูแกคือการวาดภาพในหนังสือวิจิตร ซึ่งทำได้อย่างคมชัดและมีรายละเอียดที่สวยงาม ฟูแกสามารถแสดงภาพที่มีพลังในการแสดงออกในเนื้อทีที่จำกัด ความสำคัญของฟูแกจะเห็นได้จากการรวบรวมงานจากทั่วยุโรปมาจัดงานแสดงภาพเขียนที่หอสมุดแห่งชาติที่ปารีส
งานที่สำคัญที่สุดชิ้นหนื่งของฟูแกคืองานบานพับภาพสอง “เมอเลิง” (Melun) ที่เขียนราวปี ค.ศ. 1450 เดิมตั้งอยู่ภายในมหาวิหารเมลุน ภาพทางปีกซ้ายเป็นภาพของเอเตียน เชอวาลีเย (Étienne Chevalier) และนักบุญสตีเฟนผู้เป็นนักบุญผู้พิทักษ์ (ปัจจุบันอยู่ที่เกอเมลเดอกาเลอรี (Gemäldegalerie) กรุงเบอร์ลิน) ทางปีกขวาเป็นภาพพระแม่มารีและพระบุตรล้อมรอบด้วยเทวดา (ปัจจุบันอยู่ที่ราชพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ ที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมาก็เป็นที่ทราบกันว่าพระแม่มารีในรูปเป็นภาพเหมือนของแอ็กเนส ซอเรล (รูป)[2] พิพิธภัณฑ์ลูฟร์เป็นเจ้าของภาพเหมือนของพระเจ้าชาร์ลที่ 7, เคานท์วิลเซค (Wilczek) และ Guillaume Jouvenal des Ursins รวมทั้งภาพเขียนดินสอสี
ภาพเหมือนแบบจุลจิตรกรรมเป็นงานภาพเหมือนภาพแรกของศิลปะยุโรปตะวันตก นอกจากว่าจะนับภาพที่เขียนโดยยาน แวน เอคซึ่งนักประวัติศาสตร์ศิลปะเชื่อกันว่าเป็นภาพแรก
งานส่วนใหญ่ของฟูแกคือการวาดภาพในหนังสือวิจิตร และจุลหนังสือวิจิตร วังชองทิอี (Château de Chantilly) มีงานของฟูแกถึง 40 เล่มจากหนังสือประจำชั่วโมงซึ่งเขียนเมื่อปี ค.ศ. 1461 สำหรับเอเตียน เชอวาลีเย
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ As opposed to ones "inserted" into religious or other scenes. Jan van Eyck painted a self-portrait (National Gallery, London that is widely believed to be a self-portrait and is dated 1433
- ↑ Snyder, J. (1985). Northern Renaissance art painting, sculpture, the graphic arts from 1350 to 1575. New York: Abrams; p. 247
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฌ็อง ฟูแก |
ดูเพิ่มแก้ไข
สมุดภาพแก้ไข
ภาพจากหนังสือวิจิตร -
นักบุญมาร์ตินแห่งทัวร์ให้ทานภาพจากหนังสือวิจิตร -
ชาร์เลอมาญสวมมงกุฏ
เป็นพระเจ้าแผ่นดินภาพจากหนังสือวิจิตร -
“พระแม่มารีและพระบุตร”
ภายใต้ประตูมหาวิหารภาพจากหนังสือวิจิตร -
พระเยซูบนกางเขนภาพจากหนังสือวิจิตร -
“การสมมงกุฏของแมรี” แสดงตรีเอกภาพเป็นภาพเหมือนมนุษย์สามคน