บานพับภาพ (อังกฤษ: triptych หรือ polytych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นบาน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสองบาน สามบาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ที่เชื่อมด้วยกันและพับได้

บานพับภาพฮาบาวิลล์ (Harbaville Triptych) ทำด้วยงาช้างจากสมัยไบแซนไทน์ คริสต์ศตวรรษที่ 10

บานพับภาพสาม แก้

บานพับภาพสาม (triptych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือประติมากรรมแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นสามบานเชื่อมต่อกันและพับได้ บานกลางจะใหญ่กว่าสองบานข้าง

งานจิตรกรรมบานพับภาพสามเริ่มมาตั้งแต่ศิลปะคริสเตียนแรกเริ่มและเป็นลักษณะศิลปะที่นิยมใช้กันในการสร้างฉากแท่นบูชาตั้งแต่ยุคกลางเป็นต้นมา อาณาบริเวณที่ทำก็ตั้งแต่วัดไบแซนไทน์ทางตะวันออกไปจนถึงวัดเคลต์ในอังกฤษทางตะวันตก งานแบบบานพับภาพสามของจิตรกรและประติมากรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (เรอแนซ็องส์) ที่มีชื่อเสียงก็มีงานของฮันส์ เม็มลิง และเฮียโรนิมัส บอส

ฉากแท่นบูชาของวัดและมหาวิหารทั้งในอังกฤษ ประเทศเยอรมนี หรือประเทศอื่น ๆ ในยุโรปตั้งแต่สมัยกอทิกมักจะเป็นในรูปของบานพับภาพสาม ตัวอย่างของบานพับภาพสามจะเห็นได้ที่มหาวิหารแลนดัฟ (Llandaff Cathedral) ในเวลส์ และมหาวิหารแอนต์เวิร์ป (Cathedral of Our Lady (Antwerp) ในประเทศเบลเยียม ซึ่งมีบานพับภาพสามโดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์สองชิ้น และที่มหาวิหารน็อทร์-ดามที่ปารีสจะเป็นตัวอย่างของการใช้บานพับภาพสามในสถาปัตยกรรม บานพับภาพสามมีอิทธิพลต่อจิตกรร่วมสมัยและช่างภาพ แต่งาน "บานพับภาพสาม" สมัยใหม่มักจะไม่เชื่อมกันอย่างของเก่า

บานพับภาพกว่าสาม แก้

 
"ฉากแท่นบูชาเกนต์" เมื่อปิดด้านนอกจะเป็นคนละภาพจากด้านใน

บานพับภาพกว่าสาม (polytych) มาจากภาษากรีก "polu-" ซึ่งแปลว่า หลาย กับคำว่า "ptychē" ซึ่งแปลว่า พับ หมายถึงภาพเขียนที่เป็นแผ่นเชื่อมต่อกันที่เกินกว่าสามแผ่น

บานกลางของบานพับภาพแบบนี้จะเป็นภาพที่ใหญ่กว่าภาพอื่น ๆ ซื่งเรียกว่า "แผ่นภาพเอก" และ ภาพอื่น ๆ ที่ประกอบภาพใหญ่จะเรียกว่า "แผ่นภาพข้าง" หรือ "ปีก" บางครั้งบานพับภาพลักษณะเช่นนี้เช่นแผ่นภาพที่เกนต์ (Ghent) หรือที่อิสเซ็นไฮม์ (Isenheim) นี้จะสามารถจัดได้หลายวิธีทำให้เห็นภาพเขียนได้หลายแบบ

บานพับภาพลักษณะนี้นิยมกันมากในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ส่วนใหญ่จะออกแบบสำหรับฉากแท่นบูชาสำหรับวัดหรือมหาวิหาร ลักษณะนี้ก็เป็นที่นิยมกันช่างพิมพ์ "ukiyo-e" ในสมัยเอโดใน ประเทศญี่ปุ่น

สมุดภาพ แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้