ยัน ฟัน ไอก์

(เปลี่ยนทางจาก ยาน แวน เอค)

ยัน ฟัน ไอก์ (ดัตช์: Jan van Eyck; ราวก่อน ค.ศ. 1395 - ก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1441) เป็นจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ทำงานที่บรูช และถือกันว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญของยุโรปในคริสต์ศวรรษที่ 15

ยัน ฟัน ไอก์
เกิดก่อนค.ศ.1390 หรือ 1395
เสียชีวิต9 กรกฎาคม ค.ศ.1441
บรูช (ปัจจุบันคือประเทศเบลเยียม)
การศึกษาโรเบิร์ต กัมปิน?
ผลงานเด่นฉากแท่นบูชาเกนต์, ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี, Madonna of Chancellor Rolin, Annunciation, Madonna in the Church
ขบวนการจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก, สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือ
Patron(s)John III, Duke of Bavaria, หลังจากนั้นคือฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี

สิ่งหนึ่งที่มักจะเข้าใจผิดกันเกี่ยวกับ ฟัน ไอก์ ว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้สีน้ำมันในการวาดภาพ มาจากข้อเขียนของจอร์โจ วาซารี ผู้เขียน "ชีวิตจิตรกร" ในคริสต์ศวรรษที่ 16 แต่ที่แน่ ๆ คือฟัน ไอก์มีความสำเร็จเป็นอันมากจากการใช้วิธีการวาดภาพด้วยสีน้ำมัน

ยัน ฟัน ไอก์มักจะมีชื่อเกี่ยวข้องกับฮือเบิร์ต ฟัน ไอก์ ผู้เป็นจิตรกรและเป็นพี่ชาย และทั้งสองคนมาจากมาไซก์ ในประเทศเบลเยียมในปัจจุบัน พี่ชายอีกคนหนึ่ง แลมเบิร์ตมีชื่อกล่าวในเอกสารของราชสำนักเบอร์กันดี และสันนิษฐานกันว่าคงเป็นจิตรกรด้วยและอาจจะเป็นผู้ที่ดูแลการปิดโรงฝึกงานของยัน ฟัน ไอก์ที่บรูช[1] ฟัน ไอก์อีกผู้หนี่งคือ บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์ (Barthélemy van Eyck) ผู้ทำงานอยู่ทางใต้ของฝรั่งเศสก็เข้าใจว่าจะเป็นญาติกัน

ชีวิตเบื้องต้น

แก้

วันเกิดของยัน ฟัน ไอก์ไม่เป็นที่ทราบ หลักฐานแรกที่แสดงชื่อของยัน ฟัน ไอก์มาจากศาลของดยุกจอห์นที่ 3 แห่งบาวาเรีย-ชเตราบิงที่เดอะเฮก ลงปี ค.ศ. 1422 กล่าวถึงค่าจ้างฟัน ไอก์ในฐานะช่างเขียนประจำสำนัก ซึ่งชึ้ให้เห็นว่าฟัน ไอก์ต้องเกิดก่อน ค.ศ. 1395 หรือก่อนหน้านั้น นักวิชาการสันนิษฐานอายุจากภาพเหมือนตนเองว่าอาจจะเป็นก่อน ค.ศ. 1395 [1]

ชื่อเสียง

แก้

หลังจากดยุกจอห์นที่ 3 เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1425 ฟัน ไอก์ก็ไปทำงานกับฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ฟัน ไอก์อาศัยอยู่ที่ลีลหนึ่งปี ก่อนที่จะย้ายไปบรูชที่ซึ่งเขาตั้งหลักแหล่งจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1441 หลักฐานหลายฉบับที่พิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 กล่าวถึงกิจการต่าง ๆ ที่ฟัน ไอก์ทำระหว่างที่เป็นช่างเขียนในสำนักของฟีลิป นอกจากจะเป็นช่างเขียนแล้ว ฟัน ไอก์ยังถูกส่งตัวไปทำงานอื่น ๆ โดยฟีลิปด้วย นอกจากจะเขียนภาพเหมือนสองภาพของอิซาเบลลาแห่งโปรตุเกสซึ่งฟัน ไอก์เขียนให้ฟีลิปในฐานะเป็นผู้แทนคนหนึ่งที่ไปขอตัวอิซาเบลลาในปี ค.ศ. 1428-1429 แล้วก็ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับงานเหล่านั้นเท่าใดนัก

ในฐานะช่างเขียนประจำสำนักของดยุกฟีลิปนั้น ฟัน ไอก์ได้รับค่าใช้จ่ายเป็นอย่างดี เงินค่าจ้างประจำปีเป็นจำนวนสูงเมื่อเริ่มแรกและสูงขึ้นเท่าตัวเพียงในระยะเวลาสองสามปีต่อมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับเงินโบนัสต่างหาก ค่าตัวสูงของฟัน ไอก์ทำให้เขาเป็นช่างเขียนที่ต่างไปจากช่างเขียนสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก เพราะช่างเขียนคนอื่น ๆ ต้องพึ่งค่าจ้างเขียนต่อชิ้นเพื่อความอยู่รอด ฉะนั้นงานของฟัน ไอก์ต้องเป็นงานที่ยอมรับกันว่าเป็นงานที่มีฝีมือดี จากที่เห็นจากหลักฐานที่เขียนไว้เมื่อปี ค.ศ. 1435 เมื่อดยุกฟีลิปตำหนิผู้ดูแลการคลังว่าไม่ได้จ่ายเงินประจำปีให้กับฟัน ไอก์ และกล่าวว่าถ้าไม่จ่ายแล้วฟัน ไอก์ไปทำงานกับคนอื่น จะหาผู้มีความสามารถทั้งทางการเขียนภาพและทางวิทยาศาสตร์ได้ที่ไหน นอกจากนั้นดยุกผู้นี้ยังเป็นพ่อทูลหัวของลูกของฟัน ไอก์ และยังเลี้ยงภรรยาของฟัน ไอก์หลังจากฟัน ไอก์เสียชีวิตไปแล้ว และหลายปีต่อมาก็ยังให้ทุนช่วยให้ลูกสาวของฟัน ไอก์ได้เข้าคอนแวนต์ได้อีกด้วย

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

สมุดภาพ

แก้