อุปมานิทัศน์ของความรอบคอบ (ทิเชียน)

จิตรกรรมโดยทิเชียน

อุปมานิทัศน์ของความรอบคอบ (ภาษาอังกฤษ: Allegory of Prudence) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยทิเชียนจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติใน กรุงลอนดอนในอังกฤษ

<font=110%>อุปมานิทัศน์ของความรอบคอบ
ศิลปินทิเชียน
ปีค.ศ. 1565 - ค.ศ. 1570
ประเภทภาพเขียนสีน้ำมัน
สถานที่หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน

ทิเชียนเขียนภาพ “อุปมานิทัศน์ของความรอบคอบ” ระหว่างปี ค.ศ. 1565 ถึงปี ค.ศ. 1570 เป็นภาพศีรษะชายสามศีรษะหันหน้ากันไปสามทางเหนือสัตว์สามชนิด จากซ้ายเป็นหมาป่า, สิงห์โต และหมา ศีรษะชายสามคนเป็นอุปมานิทัศน์หรือสัญลักษณ์ของ “ชีวิตสามช่วงของมนุษย์” (ความเป็นหนุ่ม, ความเป็นผู้ใหญ่ และ ความมีอายุ) ซึ่งคล้ายกับการวางท่าของสฟิงซ์และต่อมาบรรยายโดยอริสโตเติล

ใบหน้าของแบบเชื่อกันว่าเป็นภาพของทิเชียนเอง, โอราซิโอลูกชาย และหลานมาร์โค เวเชลลิโอซึ่งเช่นเดียวกับโอซาริโอ ทั้งสองคนพำนักและทำงานอยู่กับทิเชียน[1] ทิเชียนเขียนภาพเหมือนตนเองอีกภาพหนึ่งในปี ค.ศ. 1567 ซึ่งใช้เป็นภาพที่ใช้เปรียบเทียบความคล้ายคลึงของทิเชียนกับภาพนี้ นอกจากนั้นใบหน้านี้ยังปรากฏในภาพเขียนของทิเชียนในสมัยเดียวกันอีกหลายภาพ

ภาพนี้เป็นภาพเดียวที่ทิเชียนเขียนคำขวัญ: “EX PRAETERITO/PRAESENS PRUDENTER AGIT/NE FUTURA ACTIONẼ DETURPET” (จาก(ประสบการณ์ใน)อดีต, ปฏิบัติอย่างรอบคอบในปัจจุบัน, ไม่ทำลายอนาคต)

เออร์วิน พานอฟสกีตีความหมายในความสัมพันธ์ของใบหน้าทั้งสามในภาพเขียนว่าเมื่อทิเชียนได้รับความสำเร็จในปี ค.ศ. 1569 ในการที่สามารถโอนใบ “Senseria” ซึ่งเป็นใบลิขสิทธิ์ที่ได้รับจากซินยอเรีย (Signoria) ให้แก่ลูกชายได้ ฉะนั้นทิเชียนจึงกลายเป็นอดีต, โอราซิโอเป็นสัญลักษณ์ของปัจจุบัน และ ความไม่มีหลาน, มาร์โคจึงเป็นสัญลักษณ์ของอนาคต[2]

อ้างอิง แก้

  1. Erwin Panofsky (and originally Fritz Saxl), Titian's "Allegory of Prudence", A Postscript, in Meaning in the Visual Arts, Doubleday/Penguin, 1955
  2. Panofsky op cit, last pages

ดูเพิ่ม แก้