แม็ทธิว แพริส (อังกฤษ: Matthew Paris) (ราว ค.ศ. 1200 - ค.ศ. 1259) แม็ทธิว แพริสเป็นนักบวชเบ็นนาดิคติน นักบันทึกพงศาวดาร (Chronicler) ของยุคกลาง จิตรกรหนังสือวิจิตร นักเขียนแผนที่ชาวอังกฤษผู้จำวัดอยู่ที่สำนักสงฆ์เซนต์อัลบันในฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ แม็ทธิวเขียนงานหลายชิ้น ส่วนใหญ่เป็นงานเชิงประวัติศาสตร์ที่แม็ทธิวคัด (scribe) และวาดภาพวิจิตร (illuminate) ประกอบด้วยตนเอง งานส่วนใหญ่จะวาดบางส่วนด้วยสีน้ำที่บางครั้งก็เรียกว่า “tinted drawings” งานเขียนบางชิ้นก็เขียนเป็นภาษาละติน, บางชิ้นก็เป็นภาษาอังกฤษ-นอร์มัน หรือภาษาฝรั่งเศสสมัยกลาง บันทึกประวัติศาสตร์ “Chronica Majora” ที่แม็ทธิวเขียนเป็นหนังสือที่ได้รับการใช้ในการอ้างอิงบ่อยครั้ง แม้ว่านักประวัติศาสตร์สมัยใหม่จะทราบว่าเป็นงานเขียนที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าใดนักก็ตาม แม็ทธิวมักจะสรรเสริญสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเลิศลอย และจะหนักไปในทางประณามพระสันตะปาปา[1]

แม็ทธิว แพริส
Matthew Paris
ภาพเหมือนตนเองของแม็ทธิว แพริส
จากหนังสือต้นฉบับ “Historia Anglorum
เกิดค.ศ. 1200
เสียชีวิตค.ศ. 1259
สัญชาติชาวอังกฤษ
อาชีพนักบันทึกประวัติศาสตร์
ยุคสมัยยุคกลาง
ผลงานเด่นChronica Majora
The Life of King Edward the Confessor
ตำแหน่งนักบวช/นักบันทึกพงศาวดาร
นักบันทึกประวัติศาสตร์

ชีวิตและงาน

แก้

แม้ว่ามีนามสกุลว่าปารีสและมีความรู้ภาษาฝรั่งเศสแต่แม็ทธิวเป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิด แต่อาจจะได้รับการศึกษาในกรุงปารีสเมื่อยังหนุ่มหลังจากการศึกษาขั้นต้นที่เซนต์อัลบัน ลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับแม็ทธิวที่พบเป็นครั้งแรกมาจากงานเขียนของแม็ทธิวเองที่ว่าได้รับการรับเข้าเป็นนักบวชที่สำนักสงฆ์เซนต์อัลบันในปี ค.ศ. 1217 ที่ทำให้สันนิษฐานว่าคงจะมีอายุก่อนยี่สิบปี นักวิชาการบางท่านมีความเห็นว่าแม็ทธิวอาจจะมีอายุสิบปีแก่กว่าที่ประมาณกัน เพราะผู้เข้าเป็นนักบวชในยุคนั้นมักจะมีอาชีพอื่นมาก่อนที่จะหันเข้าไปใช้ชีวิตในสำนักสงฆ์ นอกจากนั้นก็ดูเหมือนว่าจะเป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาในการติดต่อกับขุนนางหรือเจ้านายซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาจจะมาจากตระกูลที่มีตำแหน่งฐานะอยู่บ้าง แม็ทธิวดำรงชีวิตส่วนใหญ่ในสำนักสงฆ์ แต่ในปี ค.ศ. 1248 ก็ได้เดินทางไปนอร์เวย์ในฐานะผู้ถือพระราชสาส์นจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสไปถวายพระเจ้าฮาคอนที่ 4 แห่งนอร์เวย์ และเป็นที่โปรดปรานของราชสำนักนอร์เวย์จนได้รับการเชิญให้ไปดูแลการปฏิรูปสำนักสงฆ์เบ็นนาดิคตินนิดาร์โฮล์ม นอก Trondheim

นอกจากกิจการทำนองที่ว่านี้แล้วเท่าที่ทราบแม็ทธิวก็อุทิศตนเองในการเขียนงานประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นกิจการที่นักบวชของสำนักสงฆ์เซนต์อัลบันมีชื่อเสียง หลักจากการรับศีลบวชในปี ค.ศ. 1217 แล้วแม็ทธิวก็ได้รับหน้าที่เป็นนักบันทึกประวัติศาสตร์ประจำสำนักสงฆ์ผู้มีหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ต่างของสำนักสงฆ์ต่อจากโรเจอร์แห่งเวนโดเวอร์ในปี ค.ศ. 1236 แม็ทธิวทำการแก้ไขงานเขียนของโรเจอร์และของเจ้าอาวาสจอห์นแห่งวอลลิงฟอร์ด (John of Wallingford) หรือ จอห์น เดอ เซลลา โดยเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อให้รวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของตนเองด้วย บันทึกประวัติศาสตร์ “Chronica Majora” เป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญโดยเฉพาะสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1235 จนถึง ค.ศ. 1259 และสิ่งที่น่าสนใจพอๆ กันเนื้อหาคือภาพที่แม็ทธิวเขียนประกอบ

ลักษณะอุปนิสัย หรือความเกี่ยวพันกับงานเขียน หรือการใช้งานเขียนของแม็ทธิวแสดงให้เห็นได้ในโน้ตที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสกำกับบันทึก “Life of Saint Alban” และอื่นฉบับที่รักษาไว้ที่หอสมุดของวิทยาลัยทรินิทีในดับลิน ที่เขียนระหว่างราวปี ค.ศ. 1230 ถึง ปี ค.ศ. 1250:

  • “ถ้าท่านทำได้ก็ช่วยเก็บหนังสือเล่มนี้ไว้ให้จนถึงอีสเตอร์”
  • “จี ช่วยไปหาเลดี้เคานเทสอรันเดล, อิซาเบล และไปแจ้งว่าให้ส่งหนังสือเกี่ยวกับนักบุญทอมัส เบ็คเค็ท (Thomas Becket) และ นักบุญเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพที่ข้าก็อปปี (แปล?) และเขียนภาพประกอบ ที่เลดี้เคานเทสแห่งคอร์นวอลล์เก็บไว้ได้จนถึงวันเซนต์วิทซัน”
  • ...ข้อเขียน...
  • “ในหนังสือของเคานเทสแห่งวินเชสเตอร์ เพิ่มภาพสองภาพบนแต่ละหน้า” (ข้อเขียนบรรยายนักบุญสิบสามองค์)

จากโน้ตสุดท้ายอาจจะทำให้สรุปได้ว่าแม็ทธิวอาจจะมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของเคานเทสแห่งวินเชสเตอร์ร่วมกับจิตรกรอื่นผู้เขียนภาพประกอบ

การที่สามารถให้งานเขียนยืมแก่สำนักของเจ้านายต่างๆ เป็นเวลาครั้งละหลายอาทิตย์หรือหลายเดือนทำให้อาจจะสันนิษฐานได้ว่าแม็ทธิวคงจะเขียนบันทึกภาพประกอบหลายเวอร์ชัน

งานเขียน

แก้
  • Life of Saint Alban” และอื่นๆ, ราวระหว่าง ค.ศ. 1230-ค.ศ. 1250 (หอสมุดดับลิน, วิทยาลัยทรินิ, ดับลิน, Ms E.I.40. 77 ff พร้อมด้วยจุลจิตรกรรม 54 ภาพส่วนใหญ่ครึ่งหน้า. 240 x 165 mm.) -
  • Abbreviatio chronicorum” (ไทย: บันทึกประวัติศาสตร์ฉบับย่อ), บันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ระหว่าง ค.ศ. 1067 ถึง ค.ศ. 1253
  • Liber additamentorum” (ไทย: บันทึกเพิ่มเติม), (ห้องสมุดบริติช Cotton MS Nero D I, ff202 ด้วยกันทั้งหมด, ประกอบด้วยแผนที่, “Vitae duorum Offarum” (ไทย: พระราชประวัติของกษัตริย์ออฟฟาสองพระองค์) (ภาพประกอบ) และอื่นๆ)
  • Flores Historiarum” (ห้องสมัดเชทแธม, โรงพยาบาลเชทแธม, แมนเชสเตอร์, MS 6712) -
  • Flores Historiarum” (ห้องสมุดฮันทิงทัน, เบิร์คคลีย์, แคลิฟอร์เนีย, HM 30319[2]) -

อ้างอิง

แก้
  1. Peter Jackson, Mongols and the West, p. 58
  2. "Digital Scriptorium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2009-11-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แม็ทธิว แพริส