พงศาวดาร

งานเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์หรือพระมหากษัตริย์
(เปลี่ยนทางจาก นักบันทึกพงศาวดาร)

พงศาวดาร คือบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น ๆ[1]

พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานชั้นต้น เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียด ประกอบกับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ บ้างใช้มหาศักราช บ้างใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

รายชื่อพระราชพงศาวดารไทย

แก้

พงศาวดารเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์

แก้
ชื่อ ปีที่เขียนหรือชำระ เนื้อหา ชื่ออื่นๆ
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหรือก่อนหน้า (สันนิษฐาน) เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 1982–1984 และ พ.ศ. 1986–1987 ฉบับปลีก
ฉบับหมายเลข 222, 2/ก.104
ฉบับหมายเลข 223, 2/ก.125
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต พ.ศ. 2183 เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ฉบับวันวลิต
พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2223 เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 1867–2147 ฉบับ จ.ศ. 1042
พระราชพงศาวดารความเก่า รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สันนิษฐาน)[2] ปลายรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช ฉบับจำลอง จ.ศ. 1136
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับจำลอง จ.ศ. 1145 บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2326[2] ส่วนที่หนึ่งกล่าวถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ส่วนที่สองกล่าวถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ภาษามคธ แล คำแปล พ.ศ. 2332 ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงการล่มสลาย สังคีติยวงศ์ ปริเฉทที่ 7
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2338 ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนสิ้นสุดรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ฉบับ จ.ศ. 1157
พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน บานแผนกแรกระบุปี พ.ศ. 2350 บานแผนกที่สองระบุปี พ.ศ. 2338 ตั้งแต่แรกสร้างเมืองสวรรคโลกจนถึงปี พ.ศ. 2327 ฉบับ จ.ศ. 1169
จุลยุทธการวงศ์ ผูก 2 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 1999
พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล หลังฉบับพันจันทนุมาศและพระราชพงศาวดารกรุงสยาม และก่อนฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ฉบับตัวเขียน (สันนิษฐาน)[2] เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2335 ฉบับพิมพ์สองเล่ม
ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน บานแผนกระบุปี พ.ศ. 2338 เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2333
พระราชพงศาวดารย่อ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] ลำดับพระนามพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และเหตุการณ์สำคัญในแต่ละรัชกาล[3]
เทศนาจุลยุทธการวงศ์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สันนิษฐาน) เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงการล่มสลาย
พระราชพงศาวดารสังเขป พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พ.ศ. 2393[4] เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงการล่มสลาย[3]
พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พ.ศ. 2394[3] ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์[3]
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (สันนิษฐาน) ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2270
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับนายแก้ว สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (สันนิษฐาน)[2] ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2333
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ในหอพระราชกรมานุสร รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงการล่มสลาย
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ในหอพระราชพงศานุสร รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตีผ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา จนถึงสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีสังเขป
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับตัวเขียน พ.ศ. 2412 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 1–4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับพิมพ์ หลังฉบับตัวเขียน (สันนิษฐาน)[5][6] ชำระส่วนรัชกาลที่ 1 อีกครั้งในปี พ.ศ. 2443 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 1–4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระราชพงษาวดาร ฉบับกรมศึกษาธิการ พ.ศ. 2444 เหตุการณ์ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ. 2335
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับปลีก หมายเลข 2/ก.101 ก่อน พ.ศ. 2450 เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2301–2310
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ฉบับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พ.ศ. 2457 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2458 และ 2469[7] ตั้งแต่เริ่มต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปี พ.ศ. 2412
พระราชพงศาวดาร ฉบับหมายเลข 2/ไฆ[8]
พระราชพงศาวดาร ฉบับหมายเลข 2/แฆ[8]
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาสังเขป ฉบับวัดสุทัศนเทพวราราม[9]

พงศาวดารเกี่ยวกับหัวเมืองและตำนานท้องถิ่น

แก้
  • พงศาวดารเหนือ
  • พงศาวดารเมืองถลาง
  • พงศาวดารเมืองปัตตานี
  • พงศาวดารเมืองสงขลา
  • พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย
  • พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน
  • พงศาวดารโยนก
  • ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน
  • พงศาวดารเมืองพัทลุง
  • พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช
  • พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน
  • พงศาวดารเมืองยโสธร
  • พงศาวดารเมืองนครพนม สังเขป
  • พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของพระสุนทรราชเดช (แข้ ประทุมชาติ)
  • พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของพระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ)

รายชื่อพงศาวดารเกี่ยวกับประเทศอื่นที่มีการแปลเป็นภาษาไทย

แก้

หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศกัมพูชา

แก้

หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศจีน

แก้
  • พงศาวดารจีนฉบับภาษาไทย
  • พงศาวดารเมืองเชียงรุ้ง
  • พงศาวดารไทยใหญ่ (พงศาวดารไทยเมาฤๅไทยหลวง)

หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศญี่ปุ่น

แก้
  • พงศาวดารญี่ปุ่น

หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศพม่า

แก้
  • พงศาวดารเมืองเชียงตุง
  • พงศาวดารพม่ารามัญ (พงศาวดาร มอญ พม่า)
  • พงศาวดารมอญฉบับปากลัด
  • พระราชพงศาวดารพม่า
  • พงศาวดารไทยใหญ่ (พงศาวดารแสนหวี)
  • มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า

หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศมาเลเซีย

แก้
  • พงศาวดารเมืองไทรบุรี
  • พงศาวดารเมืองตรังกานู
  • พงศาวดารเมืองกลันตัน

หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศลาว

แก้
  • พงศาวดารเมืองล้านช้าง
  • พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน
  • พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง
  • พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์
  • พงศาวดารเมืองเชียงแขง
  • พงศาวดารเมืองหัวพันห้าทั้งหก
  • พงศาวดารลาวฉบับมหาสิลา วีระวงส์

หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศเวียดนาม

แก้
  • พงศาวดารญวน ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
  • ราชพงศาวดารญวน
  • พงศาวดารญวน ฉบับนายหยอง (เวียดนามสือกี้)
  • พงศาวดารเมืองไล
  • พงศาวดารเมืองแถง

หัวเมืองและอาณาจักรในเขตประเทศอินโดนีเซีย

แก้
  • พงศาวดารและโบราณวัตถุสถานในเกาะชวา

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 800. ISBN 978-616-7073-80-4
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 อรรถพันธุ์, อุบลศรี (1981). การชำระพระราชพงศาวดารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (PDF) (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร. pp. 27–28, 41, 46–47. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-01-14. สืบค้นเมื่อ 2024-06-16.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ (2016), "พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส", ใน วิงวอน, เสาวณิต; ภักดีคำ, ศานติ (บ.ก.), ฉันท์วรรณพฤติและมาตราพฤติ, กรุงเทพฯ: คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, สืบค้นเมื่อ 2024-07-30
  4. หุตางกูร, ตรงใจ; และคณะ (2017), โครงการพัฒนาองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีจากเอกสารโบราณและจารึก ปีที่ 4 การศึกษาวิจัยพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ (PDF), กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, pp. 8–9, สืบค้นเมื่อ 2024-11-27
  5. ไพโรจน์ธีระรัชต์, สมใจ (1985). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑-๔ : เปรียบเทียบฉบับตัวเขียนและฉบับพิมพ์". Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University. 8: 72–73. สืบค้นเมื่อ 2024-07-30 – โดยทาง Thai Journals Online.
  6. เกตุจุมพล, จีรพล (1996). "ความสำคัญของหลักฐานพงศาวดารและการชำระพงศาวดาร" (PDF). การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างขององค์ความรู้ ของกลุ่มชนชั้นนำสยามรุ่นใหม่ พ.ศ. 2367-2468 (ศึกษากรณีการชำระพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4) [The structural change of the knowledge of the modern Thai elites, 1824-1925 (The case study of the rewriting of the Bangkok Chronicles Rama I-IV)] (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. pp. 26–29. สืบค้นเมื่อ 2024-07-30.
  7. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (1996), "ตำนานการแต่งพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๕", พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ (PDF), กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดา, pp. 1–9, ISBN 974-7305-57-7, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-04-27, สืบค้นเมื่อ 2024-07-30
  8. 8.0 8.1 กรมศิลปากร (ผู้รวบรวม) (1937), "พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )" [Phraratchaphongsawadan Chabap Phan Channumat (Choem)], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [Collection of Historical Archives] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์เดลิเมล์, p. 2, สืบค้นเมื่อ 2024-11-27
  9. ภักดีคำ, ศานติ (2019), "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาสังเขป ฉบับวัดสุทัศนเทพวราราม", ประวัติศาสตร์อยุธยาจากพระราชพงศาวดาร: พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีกและฉบับความย่อ, กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, pp. 317–330, ISBN 978-616-93269-0-8

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้