พงศาวดารมอญฉบับปากลัด

พงศาวดารมอญฉบับปากลัด เป็นบันทึกเหตุการณ์มอญที่พิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดแค อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นโรงพิมพ์ภาษามอญแห่งแรกในประเทศไทย[1] พิมพ์เป็นชุด 2 เล่มต่อเนื่องกัน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2453 และ 2455 ตามลำดับ เนื้อหาประกอบด้วยพงศาวดารมอญหลายช่วงเวลา รวมถึงในสมัยพระเจ้าฟ้ารั่วถึงพระเจ้าธรรมเจดีย์ อันเป็นช่วงเวลาใน ราชาธิราช ซึ่งเนื้อเรื่องราชาธิราชในฉบับนี้นักวิชาการพม่า-มอญศึกษา นิยมอ้างถึงกันมากเช่น จี.อี. ฮาร์วีย์ (G.E. Harvey), วิกเตอร์ ลีเบอร์แมน (Victor Lieberman) และนายปัน ฮละ (Nai Pan Hla) เป็นต้น อย่างไรก็ดีราชาธิราชในฉบับนี้สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลราชาธิราชฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ที่ได้รับความนิยมในหมู่คนไทย[2]

พงศาวดารมอญฉบับปากลัด  
ภาษามอญ
ชุดพงศาวดารพม่า
ประเภทบันทึกเหตุการณ์, ประวัติศาสตร์
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2453 และ 2455
หน้า2 เล่ม

บุษบา ตระกูลสัจจาวัตรให้ข้อมูลว่าต้นฉบับของพงศาวดารมอญฉบับนี้อยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ เป็นเอกสารกระดาษฝรั่ง รหัสหอสมุดแห่งชาติ 45–46 แต่เมื่อบุษบาได้ไปสำรวจที่หอสมุดแห่งชาติกลับพบว่าปัจจุบันเอกสารได้พลัดจากทะเบียนทำให้ไม่สามารถเข้าถึงต้นฉบับได้[2]

อ้างอิง แก้

  1. Paphatsaun Thianpanya. "Mon Language in Thailand: The endangered heritage". Assumption Commercial College, Bangkok.
  2. 2.0 2.1 เจียระไน วิทิตกูล, ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว. "พม่า มอญ ไทย บาลี: ความหลากหลายของกลุ่มวรรณคดีราชาธิราชในประเทศไทย".