อารีย์ นักดนตรี

อารีย์ นักดนตรี (เกิด 10 สิงหาคม พ.ศ. 2475) เป็นผู้ประกาศ/จัดรายการวิทยุ-โทรทัศน์ พิธีกร นักแสดง นักร้อง นักพากย์ชาวไทย และเป็นผู้จัดละครคณะ "อารีวัลย์" ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ช่อง 4 บางขุนพรหม) และละครดังอีกจำนวนมากในนามทีวีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เป็นอดีตเจ้าของรางวัล "ผู้ประกาศหญิงยอดเยี่ยมคนเดียวของเอเซีย จากสถาบันระดับนานาชาติ" ที่ประเทศสเปน เมื่อปี พ.ศ. 2504 และ รางวัลโทรทัศน์ทองคำ "เกียรติยศคนทีวี" ประจำปี พ.ศ. 2547

อารีย์ นักดนตรี
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด10 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (91 ปี)
อารีย์ นักดนตรี
จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศสยาม
คู่สมรสสนอง จันเกษม
อาชีพ
  • ผู้ประกาศ
  • พิธีกร
  • นักแสดง
  • นักร้อง
  • นักพากย์
  • นักจัดรายการเพลงทางวิทยุ/ทีวี
  • ผู้จัดละคร
  • นักเขียน
ปีที่แสดงพ.ศ. 2498–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นแม่หญิงเรไร - ขุนศึก (2502)
คุณน้ำทิพย์ - ลูกทาส (2507)
รางวัล
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
พ.ศ. 2562 – (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
โทรทัศน์ทองคำรางวัลเกียรติยศคนทีวี
พ.ศ. 2547
นาฏราชรางวัลเกียรติยศทางด้านโทรทัศน์
พ.ศ. 2556
ละครขุนศึก สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง ๔ บางขุนพรหม - อารีย์ นักดนตรี, กำธร สุวรรณปิยะศิริ
ละครทหารเอกพระบัณฑูร สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง ๔ บางขุนพรหม จากซ้ายไปขวา สมจินต์ ธรรมทัต, อารีย์ นักดนตรี, ดวงดาว (อาษากิจ) ปริวัติธรรม

ประวัติ แก้

เกิดที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร บิดาเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงในย่านนั้น ได้รับพระราชทานนามสกุล "นักดนตรี" จาก กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ [1] จบการศึกษาจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ [1] แล้วเข้าโรงเรียนการเรือนวิสุทธคาม [1] ก่อนสมัครทำงานโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม

ผลงาน แก้

โทรทัศน์ แก้

  • ปรากฏตัวครั้งแรกในวันเริ่มออกอากาศเปิดสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498[1]ในชุดตัวพระรำเพลงต้นบรเทศ สัปดาห์ต่อมา พิชัย วาสนาส่ง คัดเลือกให้ขึ้นปกนิตยสารเสรีภาพ (Freeworld Magazine) ของสำนักข่าวสารอเมริกัน ซึ่งขอถ่ายภาพดาราทีวีแห่งแรกของประเทศไทยเผยแพร่ทั่วโลก ตามด้วย ปกนิตยสารสตรีสาร
  • ผลงานอีกหลายเรื่องจนถึง พ.ศ. 2519 (พ.ศ. 2517-2519 ย้ายสถานีไปอยู่ที่บางลำพู) เช่น แม่ม่าย, เจ้าหญิงแสนหวี, สาปสวาท, น้ำเซาะทราย, เมียหลวง, คมพยาบาท, บันไดเมฆ, พรหมพยศ, อุบัติเหตุ, หลานสาวคุณหญิง, อีสา, เมืองแก้ว, ทำไม และ เครื่องแบบสีขาว เป็นต้น

วิทยุและคอนเสิร์ต แก้

แผ่นเสียง/เพลง แก้

งานเขียน แก้

  • ถามหาคนคุ้นเคย คอลัมน์ประจำในนิตยสารกุลสตรี
  • โลกมายาของอารีย์ พิมพ์แล้วสองครั้ง ต่อด้วย อารีย์ และ ที.วี.ดารา บอกเล่าประวัติของสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 รวมถึงแวดวงนักแสดงในสมัยนั้น

ขณะนี้กำลังเตรียมรวมเล่มงานที่ลงพิมพ์ในหนังสือต่วยตูน ซึ่งเขียนมานานเกือบสองปี

รางวัล แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ประวัติ อารีย์ นักดนตรี[ลิงก์เสีย] จาก สกุลไทย
  2. 2.0 2.1 หนังสือ 70 ปีกรมประชาสัมพันธ์ ,สำนักนายกรัฐมนตรี ,2546 หน้า 149
  3. อารีย์ นักดนตรี ,โลกมายาของอารีย์ ,กายมารุต 2546 ISBN 974-91018-4-7 หน้า 231
  4. อารีย์ นักดนตรี ,หน้า 64-69,94-97,231
  5. ซีดีเพลงละครโทรทัศน์ ช่อง 4 ,ห้างแผ่นเสียงคาเธ่ย์ (1968) จำกัด ,2544
  6. "รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-09-04. สืบค้นเมื่อ 2007-11-02.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๗๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕