พูลศรี เจริญพงษ์
พูลศรี เจริญพงษ์ (11 กันยายน พ.ศ. 2477 ) นักร้องเพลงลูกกรุง นักเขียน นักแสดงละครโทรทัศน์ และ ละครวิทยุ อดีตนักร้องประจำ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และวงดนตรีสุนทราภรณ์ ซึ่งมีผลงานอมตะหลายเพลง ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากเพลงประกอบภาพยนตร์ ชั่วฟ้าดินสลาย พ.ศ. 2498
ประวัติ
แก้เบื้องต้น
แก้เกิดที่บ้านย่านถนนบ้านหม้อ เป็นบุตรีของนายเทพ และนางเหรียญ เจริญพงษ์ [1] มีพี่น้อง 14 คน เป็นบุตรคนที่ 2 พ.ศ. 2485 ต้องอพยพไปอยู่ในสวนที่จังหวัดนนทบุรีเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่2 เมื่อสงครามสงบก็ได้กลับมาอยู่กรุงเทพมหานคร แต่ก็ไม่ได้เรียนหนังสือต่อ เพราะว่าต้องเลี้ยงน้อง จึงไปเรียนตัดเสื้อผ้าที่โรงเรียนวีปิงสะพานดำ และเรียนวิชาการเรือน ทำอาหาร ที่โรงเรียนเสาวภา ปากคลองตลาดแทน
ชีวิตนักร้อง
แก้ได้ริเริ่มตั้งคณะละครวิทยุ ชื่อ คณะราตรี ร่วมกับน้องสาวตั้งแต่ พ.ศ. 2494 [1] และได้บันทึกเสียงเพลงชีวิตมิใช่ดอกกุหลาบเป็นเพลงแรก
ต่อมาพูลศรีได้สมัครเป็นนักร้องและข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์หรือวงดนตรีสุนทราภรณ์ ในปี พ.ศ. 2495 รุ่นเดียวกับ วรนุช อารีย์ และศรีสุดา รัชตะวรรณ เลือกเพลงทดสอบคือ “เพลงเทพบุตรในฝัน” เพลงบังคับคือ “เพลงจังหวะชีวิต สอบได้ที่3จึงได้เป็นนักร้องให้กับวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และวงดนตรีสุนทราภรณ์ โดยมีชื่อเสียงจากเพลง ดอกพุดตาน ชื่นใจ ข้องจิต ฉันจะคอย และเพลงในแบบสังคีตสัมพันธ์ เจริญศรี
ต่อมาได้ลาออกจากกรมประชาสัมพันธ์และวงสุนทราภรณ์มาเป็นนักร้องอิสระ โดยเพลงดังสร้างชื่อ คือ ชั่วฟ้าดินสลาย ซึ่งพูลศรีร้องประกอบภาพยนตร์ไว้ในปี พ.ศ. 2498 ผลงานเพลงอื่น ๆ เช่น นิรันดร์ในดวงใจ บัวขาว นิทราทิพย์ ฟ้ามุ่ยสาบานรัก คู่ นริศ อารีย์ ระฆังทอง คู่ ชาญ เย็นแข เที่ยงคืน คู่ สุเทพ วงศ์กำแหง ดอกฟ้าในมือโจร รักลอยลม รักในใจ ลมปาก คู่ สวลี ผกาพันธุ์ เป็นต้น ด้วยน้ำเสียงหวานสดใสเป็นเอกลักษณ์จึงมีคนมอบฉายาให้ว่าดุเหว่าเสียงใส และเสียงยูงทองแห่งไทรโยค
จนถึงปี พ.ศ. 2508 จึงเลิกร้องเพลงเนื่องจากปัญหาสุขภาพ พร้อมกับหันไปศึกษาด้านพระพุทธศาสนา และช่วยเหลืองานสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนเป็นผู้จัดรายการวิทยุช่วงก่อนรับอรุณตอบปัญหาชีวิตและธรรมะ
ในปีพ.ศ. 2549 มีการจัดคอนเสิร์ต 72 ปี พูลศรี เจริญพงษ์ ณ หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันพูลศรีได้พักงานร้องเพลงแล้วเนื่องจากสูงวัยขึ้นแต่ยังคงรับเชิญร่วมรายการบนเวทีเพื่อการกุศลและงานของกรมประชาสัมพันธ์บ้างเป็นครั้งคราว
ผลงานเพลง
แก้เพลง
แก้- บทเพลงสุนทราภรณ์
ชื่นใจ, เจริญศรี, ข้องจิตคู่เอื้อ สุนทรสนาน, ฉันจะคอย, ดอกพุดตาน, สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ร้องเพลง วัฒนธรรม (ชอุ่ม ปัญจพรรค์ ผู้แต่งคำร้องเอื้อ สุนทรสนานแต่งทำนอง)ใช้เป็นเพลงนำคณละครวิทยุ วัฒนธรรมบันเทิง ของ กรมโฆษณาการหรือกรมประชาสัมพันธ์ ตามนโยบายสนับสนุนวัฒนธรรมนำไทย เป็นต้น
- บทเพลงลูกกรุง
นิรันดรในดวงใจ, บัวขาว , รักลอยลม ,นิทราทิพย์ , สาบานรัก ,ไทรโยค ( คู่กับ ชาญ เย็นแข ),ชื่นรักตักนาง (คู่กับ ชาญ เย็นแข) ,กระท่อมรจนา (คู่กับ นริศ อารีย์ ) ,ฟ้ามุ่ย ,ระฆังทอง (คู่กับ ชาญ เย็นแข) ,เที่ยงคืน (คู่กับ สุเทพ วงศ์กำแหง) ,ทูนใจพี่ (คู่กับ สุเทพ วงศ์กำแหง) เป็นต้น
- เพลงประกอบภาพยนตร์
ชั่วฟ้าดินสลาย (แทนเสียงของ งามตา ศุภพงษ์ ในภาพยนตร์ ชั่วฟ้าดินสลาย เมื่อ พ.ศ. 2498 ), [2] ดาวประดับใจ ,รวงทอง เปลวทอง ,ดอกฟ้าในมือโจร ฯลฯ'
- แต่งและขับร้องเพลง
สิ้นหัวใจ(แปลงเนื้อและทำนองจากเพลง TILL) บันทึกแผ่นเสียงเมื่อ พ.ศ. 2512 [3]
ผลงานการผลิต
แก้ผลิตรายการวิทยุ
แก้- ผู้จัดละครวิทยุคณะราตรี พ.ศ. 2494
- ผู้ดำเนินรายการของศูนย์การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทาง ยานเกราะ เอ เอ็ม 792 พ.ศ. 2509-2529
- ผู้จัดรายการเพื่อนคู่คิด ทาง เอฟ เอ็ม 98.5 ช่วงทศวรรษ 2530 และ ปัจจุบันทาง กรมประชาสัมพันธ์ เอฟ เอ็ม 93.5 (เสาร์ 05:00-06:00น.)
จัดทำแผ่นเสียง/เทป
แก้- จัดทำเพลงไทยเดิมประยุกต์ รวม 2 ชุด เพื่อสมทบทุนพระพุทธศาสนา และมูลนิธิ ร่วมกับวงดนตรีสมาน กาญจนะผลิน (โดยมี หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ และ นริศ อารีย์ เป็นนักร้องรับเชิญชุดแรก) ราวกลางทศวรรษ 2510 และ อีกสองชุด ช่วงกลางทศวรรษ 2520
- จัดทำบทสวดมนต์แปล และการอ่านทำนองสรภัญญะประกอบดนตรี พ.ศ. 2526
จัดรายการโทรทัศน์
แก้- เด็กดีต้องมีธรรมมะ ช่อง 5
- เพลงประทับจิต รายการเพลงลูกกรุง ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ซึ่งออกอากาศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน
จัดทัศนศึกษาสัญจร
แก้- คณะทัศนศึกษาเพื่อการกุศลร่วมกับมูลนิธิการดนตรีแห่งประเทศไทย จัดล่องเรือไปไหว้พระที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายได้สมทบช่วยคนชราหญิงที่ มูลนิธิมิตรภาพสงเคราะห์แห่งประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556
ฯลฯ
รางวัล
แก้- รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เพลง ชั่วฟ้าดินสลาย พ.ศ. 2498
- รางวัลพระราชทาน หนังสือสำหรับเด็กตามโครงการพระราชดำริ การงานที่ปราศจากโทษ พ.ศ. 2519
- รางวัลของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จากข้อเขียน รางวัลความดี พ.ศ. 2523
- รางวัลเสาเสมาธรรมจักรพระราชทาน ด้านสื่อสารมวลชน เผยแพร่พุทธศาสนาทางวิทยุ พ.ศ. 2526
- รางวัลเทพทอง บุคคลดีเด่นด้านวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2547
- การเชิดชูเกียรติด้านสาธารณประโยชน์แก่สังคม จากหน่วยราชการ และองค์กร มูลนิธิ ฯลฯ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "บ้านสุนทราภรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-31. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- ↑ ไพบูลย์ สำราญภูติ ,เพลงลูกกรุง TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย,สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2550 ISBN 978-974-8218-82-3
- ↑ รายการ เพื่อนฝัน สวท.ประเทศไทย 891 ,26 เม.ย.2556