ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข.

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (อังกฤษ: Khŏr Royal Cup) หรือชื่อเดิม ถ้วยน้อย (เปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2506) เป็การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานระดับชั้นที่ 2 ของประเทศไทย โดยจัดการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459 พร้อมกับ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. หรือ ถ้วยใหญ่ โดย สโมสรทหารราชวัลลภ ได้ตำแหน่งชนะเลิศในรายการนี้เป็นสโมสรแรก[1]

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข.
ก่อตั้ง2459
ยุติ2558
ประเทศ ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
ระดับในพีระมิด2 (2459-2538)
3 (2539-2549)
4 (2550-2558)
เลื่อนชั้นสู่ลีกดิวิชั่น 2
ตกชั้นสู่ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค.
ทีมชนะเลิศสุดท้ายสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร (สมัยที่ 1)
(2558)
ชนะเลิศมากที่สุดทหารอากาศ
(18 สมัย)

ในปี 2506 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ทำการเปลี่ยนชื่อฟุตบอลถ้วยใหญ่และฟุตบอลถ้วยน้อยเป็น ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. และได้เพิ่ม ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. เข้ามาตามแบบฟุตบอลลีกของประเทศอังกฤษในขณะนั้น

ต่อมาเมื่อมีการ จัดการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก ในปี 2539 และ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในปี 2540 ทำให้ระดับชั้นของการแข่งขันถอยลงเป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับกึ่งสมัครเล่น และเมื่อมีการปรับปรุงการแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในปี 2552 จึงได้มีการให้สิทธิ์สโมสรที่ได้ตำแหน่งชนะเลิศ และ รองชนะเลิศ เลื่อนชั้นเข้ามาทำการแข่งขัน โดยต้องมีความพร้อมที่จะเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างเต็มตัว

ต่อมาในปี 2559 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการปรับปรุงการแข่งขันระดับสโมสร จึงได้มีการยุบรวมฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข., ค. และ ง. โดยรวมกันเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 3[2] ประกอบกับทางสมาคมฯ ได้โอน ถ้วยพระราชทานประเภท ก. ไปเป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ไทยลีก ถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ค. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 2 และ ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ง. เป็นถ้วยสำหรับแชมป์ ดิวิชั่น 3 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สิ้นสุดลง

ประวัติ แก้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรครั้งแรกในประเทศ โดยมีชื่อการแข่งขันว่า การแข่งขันฟุตบอลสำหรับพระราชทานถ้วยทองของหลวง ขึ้นเมื่อปี 2458 โดยสโมสรที่เข้าร่วม ส่วนใหญ่เป็นสโมสรของทหาร ตำรวจ เสือป่า และข้าราชบริพาร[3]

ต่อมา เมื่อมีการสถาปนา คณะฟุตบอลแห่งสยาม เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2459 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลแด่สโมสรชนะเลิศ ก็คือ ถ้วยใหญ่ และ ถ้วยน้อย ให้แก่คณะฯ เพื่อจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ชิงถ้วยพระราชทานประจำปี ณ สนามเสือป่า โดยสโมสรชนะเลิศจะได้นำไปครอบครองเป็นเวลา 1 ปี โดยเริ่มต้นจัดขึ้น ในช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน[1]

เปลื่ยนชื่อการแข่งขัน แก้

ต่อมา ในปี 2505 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ขอพระราชทานถ้วยพระราชทานเพิ่มเติม คือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อ ฟุตบอลถ้วยใหญ่ และ ฟุตบอลถ้วยน้อย เป็น ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. โดยยึดหลักตามแบบ ฟุตบอลลีกของประเทศอังกฤษในขณะนั้น[3]

ปรับปรุงการแข่งขัน แก้

ต่อมาในปี 2539 เมื่อ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีการปรับปรุงการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ให้มีความเป็นมืออาชีพ จึงได้มีการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก และ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในปี 2540 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ต้องลดระดับและความสำคัญ เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับกึ่งสมัครเล่น แต่ก็ได้มีการให้สิทธิ์สโมสรที่ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ มาเพลย์ออฟเลื่อนชั้นกับสโมสรที่จบอันดับรองสุดท้ายในตารางของ ดิวิชั่น 1 (2540-2541) ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะให้ทั้งสโมสรชนะเลิศ และ รองชนะเลิศของการแข่งขัน เลื่อนชั้นทั้งคู่[4]

ต่อมาเมื่อมีการจัดการแข่งขัน ดิวิชั่น 2 ในปี 2549 โดยมีการคัดเลือกสโมสรที่ไม่ได้จบด้วยตำแหน่งชนะเลิศ และ รองชนะเลิศของการแข่งขัน เข้ามาร่วมทำการแข่งขัน ก็ทำให้ระดับการแข่งขัน ลดขั้นลงไปอีก[5] เนื่องในเวลานั้น อยู่ในช่วงการปรับโครงสร้างของลีก

เมื่อมีการปรับปรุงการแข่งขัน ดิวิชั่น 2 ให้เป็นรูปแบบลีกภูมิภาค ทำให้มีการกำหนดการเลื่อนชั้นตกชั้น โดยให้ สโมสรชนะเลิศ และ รองชนะเลิศของการแข่งขัน ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ (ในบางปี จำนวนสโมสรที่เลื่อนชั้นอาจจะมีการเปลื่ยนแปลง) โดยต้องมีความพร้อมที่จะเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างเต็มตัว

ในปี 2559 สมาคมฯ ได้ทำการยุบการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข., ค. และ ง. โดยรวมกันเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 3[2] ต่อมา ทางสมาคมฯ ได้โอน ถ้วยพระราชทานประเภท ก. ไปเป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ไทยลีก ถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ค. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 2 และ ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ง. เป็นถ้วยสำหรับแชมป์ ดิวิชั่น 3 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สิ้นสุดลง

รายนามสโมสรชนะเลิศ แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยน้อย (2459-2504) และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2505-2539) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสองของประเทศ[6]

ฟุตบอลถ้วยน้อย (2459-2504) แก้

ครั้งที่ ประจำปี สโมสรชนะเลิศ
1 2459 สโมสรทหารราชวัลลภ
2 2460 สโมสรกรมมหรสพ
3 2461 สโมสรกรมมหรสพ
4 2462 สโมสรกรมมหรสพ
5 2463 สโมสรโรงเรียนนายเรือ
6 2464 สโมสรมณฑลนครไชยศรี
7 2465 สโมสรกรมมหรสพ
8 2466 สโมสรกรมมหรสพ
9 2467 สโมสรกรมมหรสพ
10 2468 สโมสรหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์
11 2469 สโมสรหนังสือพิมพ์ศรีกรุง
12 2470 สโมสรกองเดินรถ
13 2471 สโมสรโรงเรียนกฎหมาย
14 2472 สโมสรไปรษณีย์
15 2473 สโมสรอัสสัมชัญ
ปี 2475 - 2490 ไม่มีการแข่งขัน
16 2491 สโมสรชายสด
17 2492 สโมสรทหารอากาศ
18 2493 สโมสรทหารอากาศ
19 2494 สโมสรทหารอากาศ
20 2495 สโมสรมุสลิม
21 2496 สโมสรตำรวจ
22 2497 สโมสรตำรวจ
ปี 2498 ไม่มีการแข่งขัน
23 2499 สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ฯ
24 2500 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์ฯ
25 2501 สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ฯ
26 2502 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์ฯ
27 2503 เทศบาลนครกรุงเทพ
28 2504 สโมสรทหารอากาศ
29 2505 สโมสรทหารอากาศ
30 2506 สโมสรธนาคารกรุงเทพ

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2505-2539) แก้

ครั้งที่ ประจำปี สโมสรชนะเลิศ
31 2507 สโมสรทหารอากาศ
32 2508 สโมสรทหารอากาศ
33 2509 สโมสรธนาคารกรุงเทพ
34 2510 สโมสรทหารอากาศ
35 2511 สโมสรธนาคารกรุงเทพ
36 2512 สโมสรธนาคารกรุงเทพ
37 2513 สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
38 2514 สโมสรธนาคารกรุงเทพ
39 2515 สโมสรทหารอากาศ - สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ชนะเลิศร่วมกัน)
40 2516 สโมสรทหารอากาศ
41 2517 สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย - สโมสรธนาคารไทยพาณิชย์ (ชนะเลิศร่วมกัน)
42 2518 สโมสรทหารอากาศ - สโมสรธนาคารไทยพาณิชย์ (ชนะเลิศร่วมกัน)
43 2519 สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
44 2520 สโมสรทหารอากาศ
45 2521 สโมสรธนาคารกรุงเทพ
46 2522 สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
47 2523 สโมสรทหารบก
48 2524 สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย - สโมสรตำรวจ
49 2525 สโมสรทหารอากาศ
50 2526 สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
51 2527 สโมสรไทยน้ำทิพย์
52 2528 สโมสรทหารอากาศ
53 2529 สโมสรทหารอากาศ
54 2530 สโมสรทหารอากาศ
55 2531 สโมสรตำรวจ
56 2532 สโมสรทหารอากาศ
57 2533 สโมสรธนาคารกสิกรไทย
58 2534 สโมสรทหารอากาศ
59 2535 สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
60 2536 สโมสรธนาคารกรุงไทย
61 2537 สมาคมสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ฯ
62 2538 สโมสรราชวิถี
63 2539 สโมสรจังหวัดระยอง

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2540-2549) แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2540-2549) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสามของประเทศ[6]

ครั้งที่ ประจำปี สโมสรชนะเลิศ
64 2540 สโมสรธนาคารทหารไทย
65 2541 สโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
66 2542 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
67 2543 สมาคมกีฬากรุงเก่า
68 2544 เทศบาลตำบลบางพระ
69 2545 โรงเรียนจ่าอากาศ
70 2546 สมาคมกีฬาไทยฮอนด้า
71 2547/48[7] สโมสรราชวิถี
72 2549 หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2550-2558) แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2550-2558) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสี่ของประเทศ[6]

 
สโมสร เจ ดับบลิว กรุ๊ป สโมสรชนะเลิศ ถ้วย ข. ประจำปี 2556
ครั้งที่ ปี สโมสรชนะเลิศ
73 2550/51 สโมสรราชประชา
74 2551 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
75 2552 หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
76 2553 สมาคมพนักงานหลักทรัพย์โกลเบล็ก
77 2554 สมาคมกีฬาบางกอกกล๊าส
78 2555 สโมสรจังหวัดระยอง
79 2556 สโมสร เจ ดับบลิว กรุ๊ป
80 2557 กรมสวัสดิการทหารบก
81 2558 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 http://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_85.htm ๘๕. คณะฟุตบอลแห่งชาติสยาม (๕) - วชิราวุธวิทยาลัย
  2. 2.0 2.1 https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/41244 “ทนายอ๊อด” เตรียมยื่นร้อง กกท. หลังส.บอลจัด ดี3 - PPTV 36
  3. 3.0 3.1 http://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/35-2017-07-19-13-29-52 บทความ เรื่อง "ถ้วยใหญ่แห่งสยามประเทศ" - SiamFootball
  4. http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=121026.0;wap2 เก็บถาวร 2021-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มาดูคู่ชิงถ้วย ข ตั้งปต่ปี 2539-ปัจจุบัน - ไทยแลนด์สู้ๆ
  5. http://www.bccfootballclub.com/about_us/index.php เก็บถาวร 2017-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติสโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
  6. 6.0 6.1 6.2 http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=64633.10;wap2 เก็บถาวร 2021-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ทำเนียบแชมป์ถ้วยพระราชทานประเภท ข - ไทยแลนด์สู้ๆ
  7. https://web.archive.org/web/20070429070822/http://sport.awd-rta.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=12&Itemid=43 สโมสรกรมสวัสดิการทหารบก (ถ้วย ข ประจำปี 2547-2548)

ดูเพิ่ม แก้