พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา (เอกสารเก่าสะกด อดิศัย; 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 — 27 มกราคม พ.ศ. 2506) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
สิ้นพระชนม์27 มกราคม พ.ศ. 2506 (72 ปี)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5
ลายพระอภิไธย

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2433) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน (สกุลเดิม บุนนาค) สตรีเมืองเพชรบุรี ผู้เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และเป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออ หลังประสูติกาล ได้มีการสมโภชเดือนพระเจ้าลูกเธอในวันที่ 23-24 มีนาคมปีเดียวกันนั้น โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานนามแก่พระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา"[1] และพระราชทานทองคำหนักหกตำลึง และเงิน 20 ชั่ง[2] พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภามีพระเชษฐภคินีร่วมพระชนกชนนี คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 – 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2476) ซึ่งเจ้าจอมมารดาอ่อนจะเรียกว่า เสด็จพระองค์ใหญ่ และเรียกพระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภาว่า เสด็จพระองค์เล็ก ส่วนพระราชธิดาทั้งสองพระองค์จะเรียกเจ้าจอมมารดาอ่อนว่า แม่[3]

เบื้องต้นพระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภาทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนภายในพระบรมมหาราชวัง และมีครูพิเศษจากโรงเรียนราชินีเข้ามาถวายการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ครั้นมีพระชันษาได้ 11 ปี ทรงเข้าร่วมในพระราชพิธีโสกันต์พร้อมกับพระราชธิดาที่มีพระชันษาไล่เลี่ยกันคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา[2]

พระองค์และพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ ทรงสนิทสนมคุ้นเคยเสด็จไปมาหาสู่กับเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ที่มักเสด็จมาเยี่ยมพระองค์และพระเชษฐภคินีเป็นประจำ แต่เดิมพระองค์ พระเชษฐภคินี และพระมารดาประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังได้ทรงย้ายไปประทับที่วังสวนสุนันทา และทรงย้ายไปประทับที่วังสวนปาริจฉัตก์และทรงพำนักอยู่ที่นั่นตลอดพระชนม์ชีพ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2506 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พระชันษา 72 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม[4] และพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 17 มีนาคมในปีเดียวกันนั้น ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส[5]

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 — 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 — 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 — 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 — 27 มกราคม พ.ศ. 2506 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, สมโภชเดือนพระเจ้าลูกเธอ, เล่ม ๖, ตอน ๕๒, ๓๐ มีนาคม ร.ศ. ๑๐๘, หน้า ๔๕๐
  2. 2.0 2.1 เจ้าจอมก๊กออ, หน้า 269
  3. เจ้าจอมก๊กออ, หน้า 220
  4. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๒/๒๕๐๖ พระราชกุศลทักษิณานุปทาน พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา พุทธศักราช ๒๕๐๖, เล่ม ๘๐, ตอน ๑๒ ง ฉบับพิเศษ, ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๓๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๔/๒๕๐๖ พระราชกุศลทักษิณานุปทานและการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๕๐๖, เล่ม ๘๐, ตอน ๒๓ ง, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๖, หน้า ๖๘๑
  6. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 27): หน้า 1996. 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 25 ง): หน้า 1806. 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 39): หน้า 1153. 27 ธันวาคม ร.ศ. 127. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 (ตอน 0 ง): หน้า 2444. 22 มกราคม ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43 (ตอน 0 ง): หน้า 3116. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  11. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 55 (ตอน 0 ง): หน้า 3421. 15 มกราคม พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-12-15. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  12. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 70 (ตอน 17 ง): หน้า 1011. 10 มีนาคม พ.ศ. 2496. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
บรรณานุกรม
  • กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ, ดร.. เจ้าจอมก๊กออ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2558. 609 หน้า. ISBN 978-616-18-0366-7

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี   กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(18 มีนาคม พ.ศ. 2505 – 27 มกราคม พ.ศ. 2506)
  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร