เจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมมารดาอ่อน (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 - 29 มกราคม พ.ศ. 2512) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมารดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา และยังมีพระเจ้าลูกเธอที่ตกพระโลหิต ยังไม่เป็นพระองค์ อีก 2 พระองค์
เจ้าจอมมารดาอ่อน | |
---|---|
เกิด | อ่อน บุนนาค 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 จังหวัดเพชรบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 29 มกราคม พ.ศ. 2512 (100 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | |
บิดามารดา | เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ท่านผู้หญิงอู่ สุรพันธ์พิสุทธิ์ |
ประวัติ
แก้เจ้าจอมมารดาอ่อน เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2411) เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ และได้รับราชการเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน ทั้งหมดเป็นที่รู้จักในนามเจ้าจอมก๊กออ
เจ้าจอมมารดาอ่อนเป็นหลานของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ นามเดิม ดิศ บุนนาค ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลังในรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 เป็นบิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ฯลฯ เป็นผู้มีบทบาทในการต่างประเทศของสยามในรัชกาลที่ 3
เมื่อเจ้าจอมมารดาอ่อนอายุได้ 12 ปี ได้เข้าร่วมขบวนแห่โสกันต์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ) ผู้เป็นหัวหน้าพระสนมทั้งปวง และได้รับการฝากฝังโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้มีศักดิ์เป็นลุง ให้อยู่กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ มีหน้าที่ช่วยตั้งเครื่องเสวย และได้ถวายตัวเป็นพระสนม เมื่อ พ.ศ. 2427 เมื่ออายุ 17 ปี
เจ้าจอมมารดาอ่อน พร้อมด้วยน้อง ๆ ทั้งสี่คน ในกลุ่มเจ้าจอมก๊กออ และพระราชธิดาทั้งสอง ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายงานใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อครั้งประทับที่พระบรมมหาราชวัง หรือเมื่อเสด็จไปประทับที่พระราชวังดุสิต พระที่นั่งวิมานเมฆ หรือเมื่อครั้งเสด็จแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมมารดาอ่อน และพระราชธิดา ได้ประทับอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายมาอยู่ที่ตำหนักสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนราชสีมา สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กออ เรียกว่า "สวนนอก" ตำหนักนี้เรียกว่า วังสวนปาริจฉัตก์
เจ้าจอมมารดาอ่อน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 ในสมัยรัชกาลที่ 9 สิริอายุ 100 ปี โดย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2512 [1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[2]
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[3]
- พ.ศ. 2463 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2507 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[4]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของเจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 82, ตอน 39 ง, 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2508, หน้า 1400
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1015. 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (23ง): 677. 10 มีนาคม พ.ศ. 2507.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
- กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. 416 หน้า. ISBN 974-7383-97-7
- วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. 338 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 874-341-471-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum