พระราชพิธีโสกันต์

พระราชพิธีโสกันต์ เป็นพระราชพิธีสำคัญในประเทศสยาม (ปัจจุบันคือประเทศไทย) รวมถึงกัมพูชา[1] เป็นพิธีหลวงของพิธีโกนจุก โดยมีไว้เฉพาะเชื้อพระวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป[2] เจ้านายชั้นรอง ๆ ลงมา เรียกว่า เกศากันต์[3] ซึ่งต่างกันที่การแต่งองค์ทรงเครื่อง ตลอดจนพิธีแห่บางอย่างอาจเพิ่มลดตามลำดับพระเกียรติยศของเจ้านายพระองค์นั้น ๆ

พระราชพิธีโสกันต์ของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ใน ค.ศ. 1866

พิธีโสกันต์ในยุครัตนโกสินทร์ได้สืบทอดแบบแผนมาจากกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีเจ้าฟ้าพินทวดี ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเจ้าฟ้าในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเพียงพระองค์เดียวที่ยังทรงมีพระชนม์อยู่เมื่อแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์และทรงทราบขนบธรรมเนียมในวัง พระองค์เกรงว่าพิธีโสกันต์ตามแบบโบราณราชประเพณีจะสูญหายไป จึงได้ทรงบันทึกและทรงแจกแจงรายละเอียดไว้เป็นตำรา โดยมีเจ้านายพระองค์แรกที่ทรงเข้าพิธีโสกันต์ตรงตามตำราที่เจ้าฟ้าพินทวดีทรงบันทึกไว้คือ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี[4] ส่วนพระราชพิธีโสกันต์พระองค์เจ้าอินทุรัตนาเมื่อ พ.ศ. 2474 นับเป็นองค์สุดท้ายของประเทศไทย

ฤกษ์ยามพระราชพิธีโสกันต์จะมีโหรหลวงกำหนดวันเวลาที่จะเริ่มพระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งจะมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์พร้อมกัน ส่วนใหญ่มักจะประกอบ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมักจะประกอบพิธีนี้ร่วมกับพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (พิธีตรุษไทย พระราชพิธีเดือน 4) ซึ่งต่อมาจะประกอบร่วมกับพระราชพิธีตรียัมปวาย (โล้ชิงช้า)[5]

อ้างอิง

แก้
  1. "พิธีโสกันต์ เจ้าชายที่พนมเปญ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 1901". ฐานข้อมูลหนังสือเก่า.
  2. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, ISBN 978-616-7073-56-9
  3. "พิธีโกนจุก". มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  4. โชติกา นุ่นชู. "ย้อนรอยพระราชพิธีโสกันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้านายพระองค์ใดโสกันต์คนแรก-คนสุดท้าย?". ศิลปวัฒนธรรม.
  5. "ศึกษาพระราชประเพณีผ่านประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกาย". คมชัดลึก.