พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)

ขุนนางชาวไทย
(เปลี่ยนทางจาก พระยาฤทธิอัคเนย์)

พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ สมาชิกคณะราษฎร 1 ใน "4 ทหารเสือ" คือ ทหารบกชั้นผู้ใหญ่ เป็นระดับผู้บังคับบัญชาและคุมกำลังพล

พระยาฤทธิอัคเนย์
(สละ เอมะศิริ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา
ก่อนหน้าพระสารสาสน์ประพันธ์
ถัดไปพระยาพหลพลพยุหเสนา
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา
ก่อนหน้าพระยาพหลพลพยุหเสนา
ถัดไปพระเวชยันต์รังสฤษฎ์
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณนิติธาดา
กรรมการราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
ประธานพระยามโนปกรณนิติธาดา
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มกราคม พ.ศ. 2432
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต23 ธันวาคม พ.ศ. 2509 (77 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
บุตร7 คน
บุพการี

ประวัติ

แก้

พระยาฤทธิอัคเนย์ มีชื่อเดิมว่า สละ เอมะศิริ เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2432 เป็นบุตรชายของพระยามนูสารศาสตรบัญชา (ศิริ เอมะศิริ) และคุณหญิง เหลือบ เอมะศิริ เป็นนายทหารปืนใหญ่ ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีตำแหน่งเป็น ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป. 1 รอ.) และถือเป็นผู้เดียวที่มีกองกำลังพลในบังคับบัญชา [1] ในเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ที่เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาฤทธิอัคเนย์ได้แสร้งทำเป็นเดินตรวจความเรียบร้อยของพาหนะต่าง ๆ ในสังกัดของตนเอง และเป็นผู้ออกคำสั่งให้ทหารปืนใหญ่ในบังคับบัญชาตนเองรวมพลกับทหารม้าจากกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม. 1 รอ.) เมื่อเดินทางมาถึง เพื่อต้อนขึ้นรถบรรทุกไปยังลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อลวงเอากำลังมาเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตามแผนของพระยาทรงสุรเดช จึงทำให้แผนการปฏิวัติสำเร็จลุล่วงด้วยดี

การทำงาน

แก้

ก่อนหน้านั้น ในการประชุมวางแผน พระยาทรงสุรเดช ซึ่งเป็นเสนาธิการผู้วางแผนการปฏิวัติทั้งหมด ได้เสนอให้ใช้กำลังบุกจู่โจมพระที่นั่งอัมพรสถานในยามวิกาล อันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เพื่อทำการควบคุมพระองค์ พระยาฤทธิ์อัคเนย์เห็นด้วยกับแผนการนี้ แต่ที่ประชุมส่วนใหญ่ นำโดย พระประศาสน์พิทยายุทธ ไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าค่อนข้างเสี่ยงว่าจะมีการปะทะกันด้วยความรุนแรง แผนการนี้จึงตกไป และตัวของพระยาฤทธิ์อัคเนย์เกือบจะถอนตัวไป เนื่องจากเห็นว่าคงกระทำการไม่สำเร็จ[2]

หลังจากนั้นแล้ว พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ถูกแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการราษฎร ซึ่งถือได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีคณะแรกของประเทศไทย โดยมี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 ได้เกิดเหตุการณ์พระยามโนปกรณ์นิติธาดาสั่งปิดรัฐสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา พระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือที่มีบทบาทสูงสุดในการปฏิวัติ มีความขัดแย้งกับคณะราษฎรฝ่ายทหารคนอื่น ๆ จึงชักชวนให้พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งความขัดแย้งนี้ ต่อมาได้เป็นปฐมเหตุของการรัฐประหารในวันที่ 20 มิถุนายน ปีเดียวกัน[3]

ในรัฐบาลที่มี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ถึง 2 สมัยพร้อมกันนี้ยังได้รับแต่งตั้งเป็น ข้าหลวงใหญ่เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477[4]

ต่อมาเมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2482 เกิดกรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช ได้มีการกำจัดนักการเมืองและทหารฝ่ายที่อยู่ตรงข้าม จอมพล ป. พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในคณะศาลพิเศษที่ถูกตั้งขึ้นมาพิจารณาในกรณีนี้ และได้ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ด้วย แต่ต่อมา ก็ต้องลี้ภัยการเมืองไปพำนักอยู่ยังเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ด้วย ร้อยเอก ชลอ เอมะศิริ หลานชายของตนเองเป็นผู้ถูกจับกุมด้วย ตัวของพระยาฤทธิอัคเนย์มีรางวัลนำจับจากทางรัฐบาลเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ซึ่งพระยาฤทธิอัคเนย์ก็ได้หลบภัยการเมืองจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

เมื่อ นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพล ป. หลังสงคราม นายควงได้ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนักโทษการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2489 พระยาฤทธิอัคเนย์จึงได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย และยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ถูกยกเลิกไปอีกด้วย ในสมัยรัฐบาลที่มี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ยศ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่ง

แก้
  • 28 เมษายน พ.ศ. 2458 - ร้อยเอก[5]
  • – รักษาราชการแทนผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 6
  • ตุลาคม พ.ศ. 2462 - ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 5[6]
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2464 - ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 10[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ถึงแก่อสัญกรรม

แก้

ในบั้นปลายชีวิตได้ปลีกตัวไปปฏิบัติธรรม ศึกษาพุทธศาสนา ที่วัดบางปิ้ง จังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องราวทางโลกและการเมืองใด ๆ อีก จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2509 เวลา 02.55 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุได้ 77 ปี

ด้านชีวิตครอบครัว พระยาฤทธิอัคเนย์สมรสกับคุณหญิง อิน ฤทธิอัคเนย์ เมื่อ พ.ศ. 2455 มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 7 คน

พิธีพระราชทานเพลิงศพพระยาฤทธิอัคเนย์ มีขึ้น ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510[11]

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "นักเรียนนายร้อยไทยในเยอรมัน ยุค ไกเซอร์ โดย สรศัลย์ แพ่งสภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-08. สืบค้นเมื่อ 2012-06-26.
  2. นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
  3. จากรัฐประหาร20มิถุนายน2476สู่ความร้าวฉานในคณะราษฎร จากโลกวันนี้
  4. ประกาศ ตั้งข้าหลวงใหญ่
  5. พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๒๗๗)
  6. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายนายทหารรับราชการ
  7. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่องย้ายนายทหารรับราชการ
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๑๓, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๘๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๒, ๑๘ มีนาคม ๒๔๖๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๖๗, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
  11. หนังสือ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ ป.ม. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 25 พฤษภาคม 2510