พระยามนูสารศาสตรบัญชา (ศิริ เอมะศิริ)

ขุนนางชาวสยามผู้รับราชการใน กรมวัง และ กระทรวงยุติธรรม ช่วงกลาง รัชกาลที่ 5 ถึงกลางรัชกาลท

อำมาตย์เอก[1] พระยามนูสารศาสตรบัญชา (ศิริ เอมะศิริ) (4 สิงหาคม พ.ศ. 2389–18 กันยายน พ.ศ. 2459) ขุนนางชาวสยามผู้รับราชการใน กรมวัง และ กระทรวงยุติธรรม ช่วงกลาง รัชกาลที่ 5 ถึงกลางรัชกาลที่ 6 เป็น ผู้พิพากษาศาลต่างประเทศ เป็นต้นตระกูลเอมะศิริ[2] และเป็นบิดาของ พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) หนึ่งในสี่ทหารเสือของคณะราษฎร ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

พระยามนูสารศาสตรบัญชา
เกิด4 สิงหาคม พ.ศ. 2389
เสียชีวิต18 กันยายน พ.ศ. 2459
ผลงานโคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์
โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
ยุทธกรรม ในโคลงยอเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
คู่สมรสคุณหญิงเหลือบ มนูสารศาสตรบัญชา
บุตรพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
บิดามารดา
  • หลวงพลาอาศรัย (อิ่ม อมาตยกุล) (บิดา)
  • เอี่ยม (มารดา)

ประวัติ

แก้

พระยามนูสารศาสตรบัญชา เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2389/90 มีนามเดิมว่า ศิริ เป็นบุตรชายของ หลวงพลาอาศรัย (อิ่ม อมาตยกุล) กับภรรยาชื่อเอี่ยม และเป็นหลานปู่ของหลวงพิพิธสมบัติ (เอม อมาตยกุล) โดยตั้งนามสกุลใหม่เป็น เอมะศิริ ด้วยนำชื่อตนเองและปู่มาผูกเป็นสกุลใหม่[3]

เริ่มต้นเข้ารับราชการในตำแหน่ง นายสนองราชบรรหาร มหาดเล็กหุ้มแพร นายยามเวรสิทธิ์ ต่อมาจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น นายเสถียรรักษา ปลัดวังซ้าย ต่อมาในวันจันทร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 อุตราสาธ ปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. 2431 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น จมื่นจงภักดีองค์ขวา กรมพระตำรวจวังขวา ถือศักดินา ๘๐๐ [4] จากนั้นในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร กรมพระตำรวจวัง ถือศักดินา ๑๐๐๐ [5]

ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2436 พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น พระยามนูสารศาสตรบัญชา ถือศักดินา ๓๐๐๐[6] ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงเหลือบ มีบุตรชายคือ พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ หนึ่งในสี่ทหารเสือของ คณะราษฎร

พระยามนูสารศาสตรบัญชาถึงแก่กรรมด้วย โรคโบราณกรรม เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2459[7] โดยพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2460 ที่ วัดพระยาทำ ธนบุรี พระราชทานผ้าไตร ๑ ไตร ผ้าขาว ๔ พับ เงิน ๒๐๐๐ สตางค์[8]

  • 7 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - อำมาตย์เอก
  • 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 - นายหมู่ตรี[9]

ผลงานการประพันธ์

แก้
 
จิตรกรรมเรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ภาพที่ 77 ตีเมืองปัตตานีได้ปืนใหญ่ ฝีมือของนายวร โคลงประกอบภาพนี้เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยามนูสารศาสตรบัญชา (ศิริ เอมะศิริ) ขณะยังมีบรรดาศักดิ์เป็นนายเสถียรรักษา
  • โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    • ห้องที่ 17 รวมโคลง 28 บท เนื้อความตั้งแต่เมืองอยุธยาเตรียมงานถวายพระเพลิงท้าวทศรถจนเสร็จงานถวายพระเพลิง
    • ห้องที่ 28 - 29 รวมโคลง 56 บท เนื้อความตั้งแต่หนุมานรบกับฤทธิกันจนถึงพระรามเล่าเรื่องการยกศรในเมืองมิถิลาให้หนุมานฟัง
  • โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
    • โคลงประกอบรูปที่ 42 แผ่นดินสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา ภาพพระนารายณ์ยกเข้าไปตีพระราชวัง
    • โคลงประกอบรูปที่ 77 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพตีเมืองตานีได้ปืนใหญ่
  • ยุทธกรรม ในโคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม
  2. ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๕ (หน้า ๑๒๓๙ ลำดับที่ ๓๑๐)
  3. ประวัติบรรพบุรุษ และสกุลวงศ์อมาตยกุล. พระนคร : รุ่งเรืองรัตน์, 2507, หน้า 19
  4. พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการ
  5. พระราชทานสัญญาบัตร
  6. พระราชทานสัญญาบัตร
  7. ข่าวตาย
  8. พระราชทานเพลิงศพ (หน้า ๒๙๔)
  9. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า (หน้า ๙๐๓)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๕, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๒๑, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๔๕, ๔ ตุลาคม ๑๒๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๘, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้