พระวารุณี

เจ้าแม่วารุณี
(เปลี่ยนทางจาก พระนางวารุณี)

วารุณี (Sanskrit: वारुणी) เป็นนามของพระเทพีในคติศาสนาพราหมณ์ ฮินดูอันเกี่ยวข้องกับเทพบุรุษผู้พิทักษ์ธาตุน้ำ คือ พระพิรุณ นามและความหมายของนามนี้อันหมายถึงฐานะของเทพีทั้งสามองค์ในฐานะที่ต่างกันได้แก่ เทพีภริยา บุตรี และมาตฤกา (พลังอำนาจ) ส่วนใหญ่มักกล่าวถึงในฐานะชายาของพระพิรุณของนางเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทะลน้ำนมอันนางอันปรากฏขึ้นมาในครั้งนี้ และเลือกสยุมพรกับพระพิรุณเป็นพระสวามี[1]

วารุณี
ชายาพระวรุณ
เทพนารีแห่งการพยากรณ์ ไวน์ สุรา และน้ำ
ส่วนหนึ่งของ เทพีผู้รักษาอัฐโลกบาล
เทวรูปเจ้าแม่วารุณี ศิลปะแบบประเพณีอินเดียภาคเหนือ พุทธศตวรรษที่สิบเก้า จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินิวเดลี นครนิวเดลี ประเทศอินเดีย
ชื่ออื่นชลเทวี
วรุณศักติ
โยคินี
ส่วนเกี่ยวข้องศักติพระวรุณ
พระเทวี
เทพีอัฐโลกบาล
เทพมารดร
นิกายศักติ
อาทิปราศักติ
ที่ประทับเมืองวสุธา บนยอดเขาปุษปคีรี ในวรุณโลกและเทวสภา
มนตร์เทวีวารุณีมนตร์
พาหนะมกร
นาค
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระวรุณ
บุตร - ธิดาวานรสุเษณ (บุตรบุญธรรม ในรามายณะ)
ไวยบุตร (วานรสิบแปดมงกุฎในรามเกียรติ์ - บุตรบุญธรรม)
นางสัตยวาตี (ชายาหนุมานในรามายณะ)
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในกรีกพระแม่แอรีแอดนี
เทียบเท่าในโรมันพระแม่แอรีแอดนี (Ariadne)

ในฐานะเทพีภริยาของพระวรุณ

แก้

ในฐานะแรกของเทพีวารุณี คำไวพจน์นามอันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนางอื่น ๆ นั้น ได้แก่ วารุณาณีย์ และ ชลเทวี ในฐานะเทพีภริยาของพระพิรุณนางมักปรากฏองค์พร้อมด้วยสามีของนาง ในนามของ วารุณาณีย์ นางได้รับการยกย่องในฐานะเทพีผู้อุปถัมป์การพยากรณ์[2]

ในฐานะธิดาของพระพิรุณ

แก้

ในฐานะที่สองนี้ หมายถึงบุตรีของพระวรุณ นางเป็นเทพีแห่งไวน์และสุราอันซึ่งปรากฏจาการกวนเกษียรสมุทร[3] ตามเทพปกรณัมในภควัตปุราณะนางนั้นอยู่ในอุปถัมป์ของเหล่าบรรดาอสูรแต่ในช่วงภาคพาลกัณฑ์ของรามายณะปาฐกถาว่านางนั้นเลือกที่อยู่กับฝ่ายเทพยดา

ในฐานะที่สามของนาง คือ มาตฤกาอันพบได้ในคัมภีร์มัสตยะปุราณะ[4] นางคือภาคหนึ่งอันเดียวกับเทพีวารุณีในฐานะแรกและเป็นอิตถีพละกำลังของพระพิรุณ ภัสดาของนาง ตามเทพปกรณัมนี้นางปรากฏมาเพื่อเสวยโลหิตของอันธกาอสูรและนางได้รับยกย่องเป็นหนึ่งในคณะหกสิบสี่โยคินี (นักบวชนารีในคติศาสนาพราหมณ์ ฮินดู)

อ้างอิง

แก้
  1. Dalal, Roshen (2014-04-18). Hinduism: An Alphabetical Guide (ภาษาอังกฤษ). Penguin UK. ISBN 978-81-8475-277-9.
  2. Puranic Encyclopedia: a comprehensive dictionary with special reference to the epic and Puranic literature, Vettam Mani, Motilal Banarsidass, Delhi, 1975, p. 833.
  3. Mani, Vettam (1975). Puranic encyclopaedia : a comprehensive dictionary with special reference to the epic and Puranic literature. Robarts - University of Toronto. Delhi : Motilal Banarsidass.
  4. Rajeswari, D. R. (1989). Sakti Iconography (ภาษาอังกฤษ). Intellectual Publishing House. ISBN 978-81-7076-015-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้