การโค่นล้มรัฐบาลอิรักของประธานาธิบดีซัดดัม อุสเซน

การเริ่มต้นของประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน

แก้
            ซัดดัม ฮุสเซน เป็นคนต่างจังหวัดเช่นเดียวกับอัล อาซัดของซีเรียและใช้พรรคบาธเป็นฐานเข้าไปสู่ประธานาธิบดีของประเทศ แต่ซัดดัม ฮุสเซนต่างจากอัล อาซัดตรงที่เป็นมุสลิมซุนนีแม้จะเป็นชุมชนกลุ่มน้อยของประเทศแต่ก็ได้มีอิทธิพลเหนือการปกครองส่วนกลางนับตั้งแต่สมัยออตโตมานจนถึงปจจุบันซัดดัม ฮุสเซนเป็นหนุ่มบ้านนอกเกิดเมื่อ ค.ศ. 1937 ในครอบครัวชาวนาที่ไม่มีที่ดินที่เมืองทากิท(อังกฤษ:Takrit)บนลุ่มแม่น้ำไทยกรีส(อังกฤษ:Tigrirs) บิดาเสียชีวิตตั้งแต่เขายังไม่เกิดได้รับการเลี้ยงดูโดยครอบครัวของลุงผู้มีส่วนร่วมในการจลาจลราชิดอารี(อังกฤษ:Rashid Ali)เพื่อต่อต้านอังกฤษ ค.ศ.1941 และถูกจับขังคุกเมื่อการกบฏพ่ายแพ้ ซัดดัม ฮุสเซน ได้รับผลกระทบด้านทางจิตใจจากความรู้สึกของลุงที่มีผลต่ออังกฤษและไม่พอใจที่กษัตริย์อีรักชื่นชมอังกฤษ
            ซัดดัม ฮุสเซนได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่เมืองทากริตจนกระทั่งอายุได้18ปีจึงเดินทางไปแบกแดดเพื่อเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาและเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเขาเข้าร่วมในกบฏเพื่อต่อต้านกษัตริย์และใน ค.ศ.1957 ก็ได้เป็นสมาชิกพรรคบาธใน ค.ศ.1959เขาเข้าร่วมในแผนสังหารประธานาธิบดี อับดับ คาริม กาซิม(Abdal-Karim Qasim)ซึ่งไม่สำเร็จเขาต้องหนีออกนอกประเทศไปกบดานที่ไคโรจนอายุ 24 ปี จึงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลาย 
            ใน ค.ศ.1963เมื่อพรรคบาธยึดอำนาจได้เขาจึงกลับมาแบกแดดแต่ต้องถูกจับขังคุกในปีต่อมาเพราะพรรคบาธถูกโค่นล่ม ซัดดัม ฮุสเซนอยู่ในคุกสองปีและหนีออกมาจัดทำกิจกรรมลับๆ ในนามของพรรคภายใต้การนำของญาติของเขาอามัด ฮะซัน อัล-บากร์[1]ซึ่งเป็นชาวเมืองทากริต เช่นเดียวกัน และเคยเป็นข้าราชการทหาร ต่อมาอัล บากร์ แต่งตั้งให้ ซัดดัม ฮุสเซน  เป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรค[2]
            ช่วงระหว่าง ค.ศ.1964-1968 ซัดดัม ฮุสเซนมีประสบการณ์ในฐานะนักโทษทางการเมือง เป็นผู้จัดการพรรคและร่วมวางแผนร่วมกันคิดอุบายล้วนเป็นช่วยกำหนดทัศนคติพร้อมเขาต่อการเมือง เนื่องจากพรรคบาธเป็นพรรคผิดกฎหมายเขาจึงต้องทำงานใต้ดินอยู่เป็นเวลานานผลก็คือเขาสามารถพัฒนารูปแบบที่เด็ดขาดแต่เขาก็ไม่ไว้ใจบุคคลที่อยู่รอบด้านเขาในเดือน กรกฎาคม ค.ศ.1968 พรรคบาธและพันธมิตรโค่นล้มสมัยการปกครองของจอห์น อารีฟ[3](Arif)และจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยบากร์ทำงานในหน้าที่ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี บากร์และยังได้เป็นประธานของสภาบังคับบัญชาการปฏิวัติ (Revolutionary command Council[4]:RCC)ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น ส่วนซัดดัม ฮุสเซนเป็นรองประธานRCCใน ค.ศ.1969ได้มีการแต่งตั้งผู้จงรักภักดีต่อพรรคบาธให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับสูง อย่างไรก็ตามผู้ถูกสงสัยและฝ่ายตรงข้ามถูกลงโทษทั้งจำคุกและแขวนคอในที่สาธารณะซัดดัม ฮุสเซนผู้ไม่มีพื้นฐานทางการทหารเลยได้แต่งตั้งตนเองเป็นพลเอกของกองทัพบกบุคลิกของเค้าและการยืนยันที่จะปกครองแบบทหารทำให้ลดความสำคัญบากร์ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1979 ซัดดัม ฮุสเซน ไม่รีรอที่จะสืบทอดตำแหน่งประธานาธิปดี เลขาธิการใหญ่ของพรรคบาธประธาน RCC และผู้บังคับบัญชาการอากาศ ตลอดสมัยการปกครองของ ซัดดัม ฮุสเซน เขารวมอำนาจที่ยิ่งใหญ่ทั้งหมดอยู่ในมือจนเปลี่ยนการปกครองแบบเผด็จการโดยบุคคลคนเดียว [5]

จุดประสงค์ของการโค่นล้มรัฐบาลอิรัก

แก้
          การอื่นนั้นการค้นล้มรัฐบาลของประเทศอิรักในยุคประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน(อังกฤษ: Saddam Hussein)(อาหรับ: صدام حسين عبد المجيد التكريتي; )เป็นประธานาธิบดี ซึ่งทางสหรัฐอมริกาโดยการนำของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุส[6] (อังกฤษ: George Walker Bush)ซึ่งทางสหรัฐนั้นมีเหตุผลที่ชัดเจนในการที่จะค้นล้มประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ให้พ้นจากอำนาจทางการเมืองและให้ประเทศอิรักนั้นเปลี่ยนอำนาจการปกครองให้เป็นระบบประชาธิปไตย ส่วนทางด้านประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนนั้นก็ต้องการให้ประเทศสหรัฐอเมริกาและฝ่ายพันธมิตรทั้งหลายนั้นถอนกำลังทหารออกจากประเทศอิรัก และสามารถดำรงสถานภาพอำนาจทางปกครองประเทศต่อไป[7]

ฉนวนของปัญหาในประเทศอิรักสืบเนื่องจากสงครามอ่าเปอร์เซีย(อังกฤษ: Gulf War)ค.ศ 1980-1988

แก้
          จุดเริ่มต้นจากสงครามอ่าวเปอร์เซียสืบเนื่องมาจากสงครามประเทศอิรัก(อังกฤษ:IRAQ )และประเทศอิหร่าน(อังกฤษ:IRAN) ที่ทำสงครามตั้งแต่ คริสต์ศักราช 1980-1988 ซึ่งประเทศอิรักได้รับการสนับสนุนจากชาติต่างๆในตะวันออกกลางบวกกับชาติตะวันตกอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องด้วยจากการที่ประเทศสหรัฐเกรงกลัวอิทธิพลของประเทศอิหร่านแผ่อิทธิพลไปยังประเทศอื่นๆในตะวันออกกลางผลของสงครามในครั้งนี้ ส่งผลให้ประเทศอิรักเกิดสภาวะล้มละลาย และเป็นหนี้ประเทศซาอุดิอาระเบีย(อังกฤษ:SAUDI ARABAI )และประเทศคูเวต(อังกฤษ:KUWAIT) เป็นจำนวนมากเนื่องจากใช้เงินเป็นจำนวนมากไปกับการทำสงคราม ประเทศอิรักและประเทศอิหร่านยุติลง ประชาชนชาวอิรักได้เรียกร้องให้ทั้งสองประเทศนั้นยกหนี้ที่ประเทศอิรักได้ค้างไว้ แต่ทะว่ากลับได้รับการปฏิเสธ นอกจากนี้ประเทศอิรักได้กล่าวหาประเทศคูเวตว่า ลักลอบขุดน้ำมันในเขตของประเทศอิรัก และได้อ้างความชอบธรรมเหนือคูเวตในฐานะที่เคยเป็นจังหวัดหนึ่งในอาณาจักรฮอตโตมาน(อังกฤษ:Ottoman Empire ) ซึ้งประเทศอิรักถือว่าตนมีสิทธิในการปกครองประเทศคูเวตต่อจากOttoman Empire ประเทศอิรักอ้างว่าคูเวตขึ้นอยู่กับแคล้นBASRA และเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิรักมาโดยตลอด แต่ประเทศคูเวตเองดีมีประเทศสหรัฐอเมริกาหนุนหลังในเรื่องของธุรกิจน้ำมันทำให้ทั้งคู่มีความบาดหมางกัน[8]

ความเป็นมาของอาณาจักรออตโตมาน (อังกฤษ Ottoman empire )

แก้
           ในจุดที่สูงที่สุด (ศตวรรษที่16-18) อาณาจักรออตโตมาน[9]แผ่ขยายครอบคลุมถึงสามทวีป ควบคุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ อาณาจักรนี้มี29จังหวะ กับทั้งพื้นที่ของพวกขุนนางศักดินาอีกมากมาย ซึ่งบางแห่งก็ถูกกลืนเข้ามาไว้ในอาณาจักรภายหลัง แต่อีกหลายแห่งก็ได้แยกไปปกครองตัวเองตามเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านไปอาณาจักรออตโตมานเป็นศูนย์กลางการกระทบกระทั่งระหว่างโลกตะวันตกกับตะออกเป็นเวลาถึง6ศตวรรษ และมีเมืองหลวงคือคอนสแตนติโนเปิล[10] และมีแผ่นดินกว้างใหญ่รอบเมติเตอร์เรเนียนตะวันออกในสมัยที่สุไลมานผู้เป็นเลิศปกครอง (ค.ศ.1520ถึง1566)ล้อมรอบอาณาจักรออตโตมานก็ได้รับการนับถือว่าเป็นทายาทแห่งโรมัน|อาณาจักรโรมันตะวันออก(ไบเซนไทน์[11]ของโลกอิสลาม)ด้วย[12] 
           สมัยออตโตมาน(ค.ศ.ที่16-18) ในระหว่างที่สิบห้าถึงสิบหกส่วนใหญ่ของมุสลิมได้รวมเข้ากับสามจักรวรรดิมุคัล(อังกฤษMughals) ประเทศต่างๆที่พูดภาษาอาหรับ[13]ได้รวมอยู่ในอาณาจักออตโตมาน โดยมีอิสตันบูลเป็นเมืองหลวงยกเว้นบางส่วนของอาราเบียคือซูดานและโมร็อกโก จักรวรรดินี้ยังรวมเอาแคว้นอนาโตเลียและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ไว้ด้วยเตอร์กิซ(อังกฤษ:Turkish) เป็นภาษาของตระกูลปกครอง ทหารและชนชั้นบริหารซึ่งส่วนใหญ่มาจากผู้ที่เปลี่ยนมารับศาสนาอิสลาม โดยมาจากแหลมบอลข่าน(อังกฤษ:Balkans) และแคว้นคอเคซัส[14](อังกฤษ:Caucasus) ชนชั้นนำทางศาสนาและกฎหมายมีเชื้อสายผสมได้รับการฝึกฝนจากโรงเรียนใหญ่ๆ ของจักรพรรดิในกรุงอิสตันบูล และได้ถ่ายทอดงานเขียนด้านกฎหมายจำนาวหนึ่งที่แสดงออกมาในภาษาอาหรับ อาณาจักนี้เป็นรัฐข้าราชการ มีภาคต่างๆอยู่ภายใต้ระบบการบริหารและการเงินที่เป็นหน่วยเดียวกันออย่างไรก็ตาม มันแสดงถึงความเป็นสากลของโลกอิสลามที่ยิ่งใหญ่จักรวรรดิสุดท้าย มีการรักษากฎหมายศาสนาไว้ ปกป้องขยายเขตแดนของโลกมุสลิมออกไปดูแลรักษาเมืองสำคัญๆ ทางศาสนาของอาราเบียไว้ และจัดการเรื่องการประกอบพิธีฮัจญ์[15] ให้เมืองเหล่านั้น และยังเป็นรัฐที่มีหลายศาสนาด้วย ในการรับรองสถานะของชุมชนต่างๆ ของชาวคริสเตียนและชาวยิว ประชากรของชาวมุสลิมในเมืองต่างๆถูกดึงดูดเข้ามาปกครองในประเทศอาหรับต่างๆก็ได้มีการสร้างวัฒนธรรมอาหรับแบบออตโตมานขึ้น ดำรงรักษามรดกและในบางระดับได้สร้างมันขึ้นในวิธีใหม่ๆด้วยโพ้นชายเมืองโมร็อกโกได้สร้างวัฒนธรรมขึ้นในลักษณะที่ค่อนข้างจะแตกต่างออกไปภายใต้ราชวงศ์ต่างๆ ของตนเอง ซึ่งอ้างว่าตนมีอำนาจหน้าที่ซึ่งขึ้นอยู่กับการปกป้องศาสนาของตนเหมือนกัน[16]

คริสต์ศักราช1991 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน บุกยึดครองประเทศคูเวต

แก้
  เมื่อวันที่2เดือนสิงหาคม คริสต์ศักราช1990 กองกำลังประเทศอิรัก 100,000 คน และรถถังจำนวนมากกว่า30คัน ภายใต้การนำของประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น บุกเข้ายึดครองประเทศคูเวตแบบที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีมติให้ชาติสมาชิกดำเนินการใช้กำลังต่อสู้กับผู้ที่ใช้กำลังรุกรานประเทศอื่น พร้อมทั้งขีดเส้นตายให้ประเทศอิรักถอนกำลังจากประเทศคูเวต ภายในวันที่15 เดือนมกราคม คริสต์ศักราช 1991 และลงมติคว่ำบาตรประเทศอิรัก และห้ามซื้อน้ำมันจากประเทศอิรัก และให้ธนาคารทั่วโลกอายัตทรัพย์สินของประเทศอิรักและคูเวต อีกทั้งประเทศซาอุดิอาราเบียได้เรียกร้องให้ประเทศสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรเข้ามาช่วยป้องกันประเทศคูเวต ทางฝ่ายประธานาธิบดีซัสดัม ฮุสเซน ของอิรักไม่ยอมถอนกำลังออกจากประเทศคูเวต ตามคำสั่งของสหประชาชาติ กองกำลังหประชาชาติภายใต้การนำของประเทศสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรกว่า30ประเทศ ได้ร่วมกับกลุ่มสันนิบาตอาหรับอีก 12 ประเทศร่วมปฏิบัตทางทหารที่ชื่อว่า"ยุทธการพายุทะเลทราย"[17] (Operation Desert Storm )[8]

ยุทธการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm )

แก้
         การบุกประเทศคูเวตของอิรักทำให้สหรัฐต้องสร้างกำลังทางทหารขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เวียดนามเป็นต้นมาและทำให้ความหวังของวอชิงตันในการลดค่าใช้จ่ายทางทหารต้องหยุดยั้งชั่วคราว การโจมตีของอิรักไม่เพียงแต่กระทบกระเทือนต่อการเมืองและการเงินของทุกประเทศที่ต้องใช้น้ำมันเท่านั้น แต่ยังสั่นสะเทือนฝ่ายวางแผนของความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯด้วย
         การเคลื่อนไหวทางการเมืองในทางการเมืองและการทหารของสหรัฐเพื่อรับกับสงครามที่เกิดขึ้นในอ่าวเปอร์เซีย ทำให้เกิดความกดดันที่ต่อเนื่อง อย่างมีระบบขนาดหนังซึ่งไม่เคยมีประเทศไหนสามารถทำได้ในขณะนี้ จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม สหรัฐตอบสนองสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการตกลงใจแก้ปัญหาวิกฤติการณ์โดยใช้กำลังทหารในการบีบบังคับและทหารเรือ 35,000 คน เข้าไปในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย พร้อกับสัมภาระที่สามารถที่จะใช้กันอย่างเพียงพอสำหรับทหารใหญ่ๆทีเดียว
        ตามความเห็นของพลเอกคอลิน เพาเวลล์ ว่าสหรัฐควรมีทหารกว่า 100,000 คน ก่อนวันที่ 30 กันยายน พร้อมกับยานรบติดปืนใหญ่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งอากาศยานนับร้อยๆประจำฐานบินมากกว่า 12 แห่ง และเรือบรรทุกเครื่องบินเฉพาะกิจ 4 ลำ ในน่านน้ำเปอร์เซีย (ตามรายงานล่าสุดกลางเดือนตุลาคม  อเมริกันมีทหาร 200,000 คน เครื่องบิน 800 เครื่องเรือรบ 50 ลำ ยานเกราะ 1,000 คัน) ไม่ต้องสงสัยว่า อิรักจะต้องประสบกับความยากลำบากและสูญเสียทหารเป็นจำนวนมาก ถาโจมตีซาอุดีอาระเบียจากนั่นที่นั่น ในปัจจุบันตามพรมแดนซาอุดีอาระเบีย-คูเวตในตอนปลายเดือนสิงหาคม สหรัฐมีกำลังทหารพอเพียงในภูมิภาคนี้สามารถประสบความสำเร็จในทางยุทธศาสตร์การป้องกันพรมแดนในซาอุดีอาระเบีย ป้องกันการเคลื่อนกำลังของอิรักเข้าไปในจอร์แดนและมีกำลังที่จะโจมตีตอบโต้เข้าไปในคูเวต สามรถครองอากาศทุกแห่งเกือบหมดในตะวันออกกลางและสามารถโจมตีกรุงแบกแดดได้ด้วยหน้าต่างแห่งโอกาส ของอิรักในการบุกซาอุดีอาระเบีย ถ้าได้วางแผนเอาไว้และฝันจะทำเช่นนั้นก็จะใช้เวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ หลังจากบุกคูเวต จากวันที่ 4 สิงหาคม
          แม้ว่าสหรัฐฯจะประสบความสำเร็จในการเคลื่อนกำลังขนาดใหญ่ไปยังดินแดนอันห่างไกลอย่างที่ไม่เคยมีใครทำก่อนได้ใน 30 วัน ถ้ากองกำลังของอิรักบุกซาอุดีอาระเบียหลังจากยึดครองคูเวตแล้วก็เป็นที่แน่นอนว่า วอชิงตันจะมีสมรรถภาพพอที่จะเคลื่อนย้ายกำลังอย่างรวดเร็วพอที่จะช่วยซาอุดีอาระเบียได้[18]

คำมั่นสัญญาของประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ต่อประชาชนชาวอิรัก

แก้
         ท่ามกลางเปลวเพลิงและเสียงระเบิดรอบกรุงแบกแดดประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน แห่งอิรักให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนชาวอิรักผ่านหน้าจอโทรทัศน์ว่าอิรักจะเป็นฝ่ายมีชัยในสงครามตามประประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า พร้อมทั้งเรียกร้องให้ชาวอิรักชักดาบออกฟาดฟันศัตรู และกล่าวว่าการโจมตีของสหรัฐอเมริกาถือดป็นอาชญากรรมต่อชาวอิรักและมนุษชาติ พร้อมทั้งประนาณประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุส ว่าเป็น"ปีคาจร้าย" 
         "เราขอสัญญาต่อท่านว่า อิรัก ทั้งในนามผู้บริหารประเทศและประชาชนจะยืนหยัดตอบโต้ผู้บุกรุกที่ชั่วร้ายจนกระทั่งมันหมดความอดทนก่อนที่จะบบรลุเป้าหมาย ผู้บุกรุกจะเผชิญความพ่ายแพ้ตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า" ผู้นำอิรักในชุดเครื่องแบบเติมยศแถลงหลังจากที่ทหารอเมริกันและพันธมิตรเปิดฉากยิงขีปนาวุธถล่มเป้าหมายรอบกรุงแบกแดดได้ประมาณ2ชั่วโมง[19]

สาเหตุของสงครามระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศอิรัก

แก้
       ประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสินใจทำสงครามกับอิรักในครั้งนี้ด้วยเจตนาที่ชัดเจนว่าต้องการโค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็นและเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของอิรัก ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่ามีทั้งเหตุผลที่ประกาศอย่างเปิดเผยเพื่อแสวงความชอบธรรมในการทำสงครามและเหตุผลแฝงอันเป็นผลพวงที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จะได้รับประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมภายหลังจากการเอาชนะสงครามและบรรลุวัตถุประสงค์ในการกำจัดประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็นและเข้าไปมีอิทธิพลเหนือประเทศอิรักได้สำเร็จ เหตุผลที่ทางประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดเผยคือ มองว่าการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์และความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการก่อการร้ายที่ใช้อาวุธทำลายล้างสูงเป็นเครื่องมือ ดังนั้นจากการที่ผู้นำของประเทศอิรักแสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์และท้าทายอำนาจของประเทศสหรัฐอเมริกา มาโดยตลอดนับตั้งแต่สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก จึงเชื่อได้ว่าอิรักคงไม่ลังเลที่จะสนับสนุนหรือแม้แต่ลงมือเองเมื่อมีโอกาสในการก่อการร้ายต่อเป้าหมายผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา และพันธมิตร ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงยอมไม่ได้ที่จะให้ประเทศอิรักพัฒนาและสะสมอาวุธทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง การที่ประเทศอิรักใช้อาวุธเคมีต่อชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ดช่วงหลังสงครามอ่าวเปอร์เซียสิ้นสุดลงใหม่ ๆ กับการบ่ายเบี่ยงและไม่ให้ความร่วมมือกับคณะผู้ตรวจสอบอาวุธของสหประชาชาติ แต่โดยดีจนกระทั่งมีมติคณะมนตรีความมั่นคง ออกมา จึงทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา ระแวงว่าอิรักยังคงแอบสะสมและพัฒนาอาวุธทำลายล้างสูงอยู่ แม้ว่าคณะผู้ตรวจสอบอาวุธร้ายแรง จะไม่พบหลักฐาน ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ไม่ยอมรับความเสี่ยงดังกล่าว เพราะการที่อิรักมีอาวุธทำลายล้างสูงและผู้นำมีท่าทีเป็นปฏิปักษ์กับประเทศสหรัฐอเมริกา ย่อมหมายถึงการมีขีดความสามารถบวกความตั้งใจ อันตีความได้ว่าเป็นภัยคุกคามต่อประเทศสหรัฐนั่นเอง[20] 
       เมื่อมองว่าประอิรักเป็นภัยคุกคาม ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือสิทธิการป้องกันตนเอง (อังกฤษ:self defense) โดยการทำสงครามโจมตีอิรัก ตามหลักการป้องกันก่อนเกิดเหตุการณ์ (อังกฤษ:Pre-emptive Strike) ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการป้องกันและต่อต้านภัยคุกคามจากการก่อการร้าย และได้เลือกใช้หลักการโจมตีก่อนเช่นนี้กับเป้าหมายที่ให้การสนับสนุนและเป็นแหล่งซ่องสุมของขบวนการก่อการร้ายอัลเคดา(อังกฤษ:Al Queda) ที่มีนายบินลาเดน เป็นผู้นำ ในสงครามถล่มอัฟกานิสถานในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเปิบยู บูส ได้กล่าวยืนยันถึงเหตุผลตามหลักการนี้ต่อประชาชนประเทศสหรัฐเอมริกา ภายหลังจากที่ประเทศสหรัฐเอมริกาและพันธมิตรประเทศอังกฤษได้เริ่มโจมตีอิรัก โดยกล่าวว่าการเลือกทำสงครามกับอิรักในขณะที่อิรักยังไม่เข้มแข็งเต็มที่(เพราะยังพัฒนาอาวุธทำลายล้างสูงไม่สำเร็จ)[20] 
    สำหรับเหตุผลแฝงที่พิจารณาจากประโยชน์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จะได้รับจากการทำสงครามโค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัม อุสเซ็น และเปลี่ยนแปลงการปกครองในอิรักได้เป็นผลสำเร็จนั้น อาจระบุได้ว่ามีทั้งประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปควบคุมการผลิตและส่งออกน้ำมันของอิรักซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันใหญ่เป็นลำดับที่สองของโลกรองจากซาอุดิอาระเบียเท่านั้น และประเด็นผลประโยชน์ในด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับดุลแห่งอำนาจในตะวันออกกลางและลัทธิครองความเป็นเจ้าแต่ผู้เดียวของสหรัฐฯ
        ผู้ส่งออกน้ำมัน (อังกฤษ:OPEC) ประเทศสหรัฐอเมริกา จะสามารถแสวงประโยชน์จากการควบคุมราคาน้ำมันของโลกได้ดังกล่าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตรง เพราะสหรัฐเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันมากที่สุดในโลก ของปริมาณการผลิตในปัจจุบัน ทั้งยังอาจใช้กลไกราคาน้ำมันเป็นอาวุธโจมตีทางเศรษฐกิจต่อประเทศ นอกจากนั้นการทำสงครามกับอิรักยังมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของสหรัฐเองด้วย เริ่มตั้งแต่ ค่าใช้จ่ายทางทหารทั้งในส่วนของการปฏิบัติการทางทหารและด้านการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงที่มีจำนวนมหาศาลกว่าแสนล้านดอลลาร์สหรัฐจะมีส่วนช่วยโดยตรงต่อกลุ่มอุตสาหกรรมอาวุธและยุทโธปกรณ์ทางทหาร รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และภายหลังสงครามสิ้นสุดลงจะมีการบูรณะและฟื้นฟูประเทศอิรักตามมา ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลอีกเช่นกัน และประเทศสหรัฐอเมริกา คงจะเปิดช่องให้กับกลุ่มธุรกิจ เข้าไปดำเนินการและแสวงประโยชน์จากงบประมาณดังกล่าว อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภายในประเทศโดยตรงในด้านความมั่นคง การใช้แสนยานุภาพทางทหารที่เหนือกว่าในการทำสงครามกับประเทศอิรักเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จะจัดการกับรัฐที่ท้าทายและไม่ให้ความร่วมมือกับประเทศสหรัฐอเมริกา อันเป็นแนวทางตามลัทธิครองความเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว ที่จะจัดระเบียบโลกตามแนวคิดของตนและถือเป็นการป้องปรามรัฐที่จะต่อต้านและท้าทายอำนาจดังกล่าว นอกจากนั้นการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถควบคุมและเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศอิรักได้ และจะสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยต่อไปในที่สุดนั้น ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจในตะวันออกกลางที่สำคัญ เพราะประเทศสหรัฐอเมริกา จะเข้าไปมีบทบาทมากขึ้น อีกทั้งความเป็นประชาธิปไตยในอิรักยังอาจเป็นแรงกระตุ้นให้รัฐอาหรับอื่น ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยตามหลักการของทฤษฎีโดมิโน(อังกฤษ:Domino ) ซึ่งประเทศสหรัฐเอมริกาเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อเสถียรภาพความมั่นคงในภูมิภาค และหากเป็นรัฐประชาธิปไตยแล้วประเทศสหรัฐเอมิกา จะสามารถเข้าไปครอบงำและชี้นำได้ง่าย โดยอาศัยแนวคิดในเรื่องผลประโยชน์ทางวัตถุมากกว่าองค์ประกอบทางจิตวิญญาณตามหลักของศาสนาอีกด้วย[21]

ยุทธศาสตร์การทำสงครามของอิรัก

แก้

เมื่อพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อนของอิรักเปรียบเทียบกับฝ่ายสหรัฐการที่จะต่อต้านและบีบบังคับให้สหรัฐและพันธมิตรเลิกล้มความตั้งใจในการทำสงครามและถอนทหารออกจากอิรัก ดูจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการใช้ความพยายามในทุกวิถีทางที่จะทำให้สงครามครั้งนี้เป็นการสู้รบที่ยืดเยื้อ เพื่อสร้างความสูญเสียต่อทหารสหรัฐให้มากที่สุดจนประชาชนอเมริกันยอมรับไม่ได้ และขยายแนวร่วมบนเวทีการเมืองระหว่างประเทศที่คัดค้านการทำสงครามที่ขาดความชอบธรรม และทนเห็นผลกระทบของสงครามต่อพลเรือนอิรักไม่ได้ จนนำไปสู่การเจรจายุติการสู้รบในที่สุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำให้สงครามเป็นการสู้รบที่ยืดเยื้อและสร้างความสูญเสียต่อทหารอเมริกันให้มากที่สุด รวมทั้งขยายแนวร่วมบนเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์การทำสงครามของอิรักจึงควรจะเป็นดังนี้[22]

ใช้ยุทธศาสตร์การป้องกันทางลึก (Defense in Depth)

แก้

โดยใช้อาวุธนำวิถีระยะไกลโจมตีต่อเป้าหมายข้าศึกนอกพรมแดนอิรัก วางกำลังตามเมืองสำคัญในเส้นทางที่มุ่งเข้าสู่กรุงแบกแดด และใช้วิธีรบปะทะหน่วงเหนี่ยวเพื่อป้องกันเมืองสำคัญดังกล่าวไม่ให้ฝ่ายสหรัฐควบคุมได้อย่างสมบูรณ์เพื่อถ่วงเวลาการสู้รบให้นานที่สุด และใช้กำลังรบที่มีประสิทธิภาพและจงรักภักดีต่อซัดดัมมากที่สุดป้องกันกรุงแบกแดด[23]

ใช้การรบนอกแบบและยุทธวิธีสงครามกองโจร

แก้

ซุ่มโจมตีหน่วยทหารสหรัฐตามเส้นทางสู่กรุงแบกแดด และพยายามดึงฝ่ายสหรัฐเข้ามาทำการรบในเมือง (Urban Warfare) ซึ่งทหารอิรักมีความชำนาญพื้นที่มากกว่า ทั้งยังใช้ทหารปะปนกับพลเรือนหาโอกาสโจมตีสร้างความสูญเสียแก่ทหารอเมริกันและพันธมิตรอังกฤษให้มากที่สุด[24]

ใช้สงครามข้อมูลข่าวสาร

แก้

ในด้านการปฏิบัติการสงครามจิตวิทยา เพื่อเรียกร้องความเห็นใจจากประชาคมโลก โดยการเผยแพร่ภาพความโหดร้ายของสงครามต่อพลเรือนอิรัก และเพื่อให้ประชาชนอเมริกันเลิกสนับสนุนการทำสงคราม โดยการเผยแพร่ความสูญเสียของทหารสหรัฐและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความอึดในการต่อสู้ของทหารอิรักโดยการเผยแพร่ความล้มเหลวของปฏิบัติการทางทหารในการทำลายความมุ่งมั่นในการรบของอิรัก ทั้งนี้เพื่อสื่อว่าสงครามจะเป็นการสู้รบที่ยืดเยื้อ และความสูญเสียต่อชีวิตทหารอเมริกันและประชาชนอิรักจะตามมาอีกมาก[25]

พยายามแสวงหาพันธมิตรและแนวร่วมโดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศในโลกมุสลิม

แก้

เพื่อร่วมต่อสู้กับทหารสหรัฐโดยอาศัยทั้งข้ออ้างในการทำสงครามศาสนาและการเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศในภูมิภาคในอนาคต รวมทั้งการหยิบยื่นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นข้อแลกเปลี่ยน[26]

ยุทธศาสตร์การทำสงครามสหรัฐ

แก้

เริ่มต้นสงครามด้วยการโจมตีทางอากาศระลอกใหญ่ด้วยอาวุธนำวิถีโทมาฮอค

แก้
            ที่ใช้ระบบหาตำบลที่ด้วยดาวเทียม ซึ่งมีความแม่นยำสูงมาก จากฐานยิงบนเรือรบสหรัฐที่วางกำลังในอ่าวเปอร์เซีย ทะเลแดง และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งใช้เครื่องบินโจมตีด้วยระเบิดความแม่นยำสูงต่อเป้าหมายอาคารศูนย์บัญชาการ ทำเนีบยประธานาธิบดี และสถานที่ซึ่งหน่วยข่าวกรองรายงานว่าซัดดัมอาจใช้เป็นแหล่งซ่อนตัวและวางแผนบัญชาการรบโดยหมายจะฆ่าซัดดัมและกลุ่มผู้นำที่ใกล้ชิดโดยตรง ชนิดที่จู่โจมแบบไม่ทันให้ระวังตั้งตัวหลังจากทิ้งช่วงเพื่อประเมินผลการโจมตี และไม่แน่ใจว่าการโจมตีระลอกแรกสามารถทำอันตรายต่อซัดดัมได้หรือไม่ ในวันต่อมา(๒๑ มี.ค.๒๕๔๖)จึงเริ่มยุทธการ"เขย่าขวัญให้พรั่นพรึง"(อังกฤษ:Shock and Awe) ด้วยการโจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วงต่อเป้าหมายระบบการป้องกันภัยทางอากาศ ที่ตั้งหน่วยทหารและเครือข่ายการควบคุมบังคับบัญชาและการสื่อสาร ทั้งที่ตั้งอยู่ในกรุงแบกแดดและเมืองสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะเมืองทางตอนใต้ที่จะเป็นเส้นทางในการเดินทัพเข้าสู่กรุงแบกแดด ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่าเป็นปฏิบัติการในการทำลายหรือลิดรอนขีดความสามารถในการป้องกันและต้านทานของกำลังทหารอิรักเพื่อกรุยทางให้กองกำลังทางบกปฏิบัติการโจมตีภาคพื้นได้สะดวกง่ายดายขึ้น[27]

ส่งกำลังทางบกเคลื่อนที่เร็ว

แก้
     รุกเข้าปฏิบัติการทางภาคพื้นดินในทันที โดยไม่รอให้กำลังต้านทานของอิรักถูกทำลายหรืออ่อนเปลี้ยจากการโจมตีทางอากาศอย่างหนักก่อน เหมือนเช่นที่เคยใช้ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ด้วยความเชื่อมั่นในขีดความสามารถของกำลังรบทางบกที่เหนือกว่าอย่างมาก และมีศักยภาพในการทะลุทลวงสูง เนื่องจากเป็นการใช้ทหารราบยานเกราะและปืนใหญ่สนาม สนับสนุนทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์พร้อมทั้งมีระบบการส่งกำลังเคลื่อนที่ตามมาด้วยกันในลักษณะกองกำลังเบ็ดเสร็จในตัวเอง กำลังทางบกดังกล่าว ประกอบด้วย กำลังของกองทัพบกและนาวิกโยธินของสหรัฐกับกำลังหน่วยจู่โจม (Commando) ของอังกฤษ แยกกันรุกข้ามพรมแดนอิรักเป็น ๓ ทิศทาง บุกเข้ายึดเมืองท่าอุมคาซาร์ (Um Qasar) และเมืองสำคัญทางตอนใต้ ได้แก่ บาสรา (Basra) นาซิริยา (Nasiriya) และนาจาฟ (Najaaf) เป็นต้น ซึ่งสามารถยึดและควบคุมเมืองสำคัญดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว แล้วเคลื่อนกำลังมุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางคือกรุงแบกแดด วิเคราะห์ได้ว่าสหรัฐต้องการบุกเข้าประชิดกรุงแบกแดดอย่างรวดเร็วในขณะเดียวกันก็ต้องการควบคุมเส้นทางการขนส่งลำเลียงการส่งกำลังบำรุงจากทางภาคใต้เพื่อสนับสนุนการรบทางภาคพื้นดินได้อย่างต่อเนื่องหลังจากผ่านไปประมาณ ๑ สัปดาห์ สหรัฐเริ่มหันมาเน้นการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายทางเหนือและตะวันตกของอิรักและใช้กำลังทหารพลร่มปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังของกลุ่มต่อต้านชาวเคิร์ด เพื่อเตรียมรุกเข้าตีกระหนาบกรุงแบกแดดจากทางเหนือด้วย วิเคราะห์ได้ว่าปฏิบัติการดังกล่าวเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ที่ต้องการมุ่งเข้าสู่กรุงแบกแดดโดยเร็ว เพราะเมื่อการเคลื่อนตัวจากทางใต้ชะลอความเร็วลง เนื่องจากการต่อต้านของฝ่ายอิรักและอุปสรรคจากพายุทะเลทราย ฝ่ายสหรัฐก็หันไปเน้นการการรุกเข้าจากทิศทางอื่น อย่างไรก็ตามฝ่ายสหรัฐยังคงเน้นการบุกประชิดกรุงแบกแดดจากทางตอนใต้ โดยยังคงเคลื่อนเครือข่ายการสื่อสารทั้งภาพและเสียงได้ออกแบบไว้ให้มีความอยู่รอดคงทนต่อการโจมตีทำลายได้ดีมาก ความหวังเดียวที่จะตอบโต้สหรัฐก็คือด้านความชอบธรรมและการสนับสนุนการทำสงครามของประชาชนสหรัฐเองท้ายที่สุดเมื่อกำลังทหารของฝ่ายสหรัฐบุกเข้าประชิดกรุงแบกแดด อิรักก็ต้องใช้วิธีการรบแบบป้อมค่าย โดยใช้การตั้งรับด้วยการรบในเมือง โดยอาศัยอาคารต่างๆเป็นที่แฝงตัวซุ่มโจมตีทหารอเมริกัน แต่ก็ไม่สามารถสร้างความสูญเสียแก่ฝ่ายสหรัฐได้มากนัก จนที่สุดเมื่อกลุ่มผู้นำสลายตัวหลบหนีไป สหรัฐจึงสามารถเข้าควบคุมกรุงแบกแดดได้อย่างง่ายดาย 

อ้างอิง

แก้
  1. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%99_%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2
  2. รองศาสตร์ตราจารย์นันทนา เตชะณิชย์,ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางสมัยใหม่,สำนักพิมพ์มหาวิลัยรามคำแหง,พ.ศ.2553,หน้า164-165
  3. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%99_%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9F
  4. https://en.wikipedia.org/wiki/Egyptian_Revolutionary_Command_Council/]
  5. รองศาสตร์ตราจารย์นันทนา เตชะณิชย์,ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางสมัยใหม่,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,พ.ศ.2553,หน้า166
  6. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88_%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B9._%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8A
  7. https://www.youtube.com/watch?v=thdOdQwo-ck&t=69s
  8. 8.0 8.1 https://www.youtube.com/watch?v=tHjrK_EeSr8&t=153s
  9. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99
  10. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A5
  11. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C
  12. คอสมอส,เกร็ดประวัติศาสตร์โลกนอกตำรา,สำนักพิมพ์ไทยควอลิตี้บุ๊ค,2555,หน้า10-11
  13. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A
  14. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%AA
  15. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%8D%E0%B9%8C
  16. อัลเบิร์ต ฮุรานี,มาลิส รูทเวน,ประวัติศาสตร์ของชนชาติอาหรับ,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2550,หน้า315-316
  17. https://rung99852.wordpress.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88156/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81iraq-problems/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81-3/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81-operation-iraqi-fr/
  18. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พล.อ.ต.ปรีชา ศรีวาลัย,สงครามอ่าวเปอร์เซีย,สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,2549,หน้า90-93
  19. มหาธีร์ โมฮัมหมัด,สงครามอเมริกา-อิรัก,สำนักพิมพ์สถาบันวิถีทรรศน์,พ.ศ.2546,หน้า9
  20. 20.0 20.1 http://www.navy.mi.th/ians/document/misc/nvipdoc2.html
  21. http://www.navy.mi.th/ians/document/misc/nvipdoc2.html
  22. http://www.navy.mi.th/ians/document/misc/nvipdoc4.html
  23. http://www.navy.mi.th/ians/document/misc/nvipdoc4.html
  24. http://www.navy.mi.th/ians/document/misc/nvipdoc4.html
  25. http://www.navy.mi.th/ians/document/misc/nvipdoc4.html
  26. http://www.navy.mi.th/ians/document/misc/nvipdoc4.html
  27. http://www.navy.mi.th/ians/document/misc/nvipdoc4.html

บรรณานุกรม

แก้
  • รองศาสตร์ตราจารย์นันทนา เตชะณิชย์. ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางสมัยใหม่. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.(2553). หน้า 164-165.
  • รองศาสตร์ตราจารย์นันทนา เตชะณิชย์. ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางสมัยใหม่. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2553). หน้า 166.
  • คอสมอส. เกร็ดประวัติศาสตร์โลกนอกตำรา.สำนักพิมพ์ ไทยควอลิตี้บุ๊ค.(2555). หน้า 10-11.
  • อัลเบิร์ต ฮุรานี. ประวัติศาสตร์ของชนชาติอาหรับ. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2550). หน้า 315-316.
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ.สงครามอ่าวเปอร์เซีย.สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.(2549).หน้า90-93.