เอเชียนเกมส์ 2014 เป็นการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 17 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19 กันยายน – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557[1] ที่เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้

กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 17
เมืองเจ้าภาพอินช็อน
ประเทศ เกาหลีใต้
คำขวัญอณูแห่งความหลากหลาย เปล่งประกาย ณ ที่นี่
(เกาหลี평화의 숨결, 아시아의 미래; อาร์อาร์Pyeonghwaui sumgyeol, asiaui mirae)
ประเทศเข้าร่วม45 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม9,501 คน
กีฬา36 ชนิดกีฬา
ชนิด439 ประเภท (50 การลงโทษ)
พิธีเปิด19 กันยายน 2557 (2557-09-19)
พิธีปิด4 ตุลาคม 2557 (2557-10-04)
ประธานพิธีเปิดพัก กึน-ฮเย
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้
ประธานพิธีปิดอาห์เหม็ด อัล-ฟาฮัด อัล-อาห์เหม็ด อัล-ซาบาห์
ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย
นักกีฬาปฏิญาณโอ จิน-ฮย็อก
นัม ฮยุน-ฮี
ผู้ตัดสินปฏิญาณKim Hong-lae
Shu Hea-jung
ผู้จุดคบเพลิงอี ย็อง-แอ
สนามกีฬาหลักอินช็อนเอซีแอดเมนสเตเดียม
เว็บไซต์ทางการincheon2014ag.org

เมืองอินช็อนสามารถเอาชนะคะแนนเสียงกรุงนิวเดลีของอินเดีย และได้รับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในครั้งนี้ เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ อินช็อนถือว่าเป็นเมืองที่สามของเกาหลีใต้ที่ได้จัดกีฬาเอเชียนเกมส์ นับตั้งแต่กรุงโซลเมื่อ พ.ศ. 2529 และเมืองปูซานเมื่อ พ.ศ. 2545

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

แก้
 
 
อินช็อน
ตำแหน่งเมืองอินช็อนในประเทศเกาหลีใต้

เมืองที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 2014 มีทั้งสิ้น 2 เมือง ได้แก่ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย และเมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ หลังจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006

การลงคะแนนเลือกเมืองเจ้าภาพ เอเชียนเกมส์ 2014
เมือง ประเทศ คะแนน
อินช็อน   เกาหลีใต้ 32
เดลี   อินเดีย 13

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้คัดเลือกเมืองเจ้าภาพระหว่างการประชุมที่กรุงคูเวตซิตี ประเทศคูเวตเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 ในการนำเสนอในรอบสุดท้าย เมืองอินช็อนของเกาหลีใต้ได้นำเสนอถึงการลงทุนสำหรับการแข่งขันกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการเดินทางและที่พักฟรีสำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด ส่วนกรุงนิวเดลีของอินเดียไม่ได้นำเสนออะไร ปรากฏว่าอินช็อนได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจากที่เสนอตัว

หลังจากการลงมติ ทำให้เกิดกระแสอย่างกว้างขวางถึงการขาดความกระตือรือร้นในการรับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพของกรุงนิวเดลี โดยรัฐมนตรีกระทรวงกีฬาของอินเดียได้รับการโจมตีจากประชาชนที่ยากจนอย่างมากว่า จะเป็นเรื่องที่ดีกว่า ถ้าเงินจัดสรรของรัฐบาลที่ใช้จัดการแข่งขันจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับคนยากจน โดยทางด้านของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้ให้ความเห็นถึงความกังวล ด้านงบประมาณ และด้านมลพิษ หรือด้านจราจรในเมืองต่าง ๆ ของอินเดีย

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ

แก้

สนามแข่งขัน

แก้

ทางเมือง อินช็อน ได้มีสนามการแข่งขัน 49 และสร้างขึ้นมาใหม่อีก 23 สนาม[2] และยังมีบ้านพักนักกีฬาและที่พักของสื่อมลวชน[3]

สนามกีฬาหลักของเมืองอินช็อนที่ใช้เปิดพิธีการแข่งขันคาดว่าที่นั่งประมาณ 61,000 ที่นั่ง และ 30,000 ที่นั่งอาจะเป็นตัวแปรของสนาม[4][5]

สนามแข่งขัน กีฬา ความจุ การอ้างอิง
ดรีมพาร์กสเตเดียม กอล์ฟ, ว่ายน้ำ, ยิงปืน, ขี่ม้า 1,000 – 1,500 [6]
คังฮวาสเตเดียม เทควันโด, วูซู, จักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ 1,010 – 4,026 [7]
คเยยังสเตเดียม แบดมินตัน, ยิงธนู [8]
มุนฮักพาร์กแท-ฮวันอะแควติกส์เซ็นเตอร์ ว่ายน้ำ 3,004 [9]
นัมดงสเตเดียม ยิมนาสติก, รักบี้ 5,200 – 8,100 [10]
ซ็อนฮักสเตเดียม ฮอกกี้, ยูโด, มวยปล้ำ 2,050 – 5,010 [11]
ชิบจ็องสเตเดียม เทนนิส, สควอช 1,207 – 5,061 [12]
ซงริมจิมเนเซียม วอลเลย์บอล 5,010 [13]
อินช็อนฟุตบอลสเตเดียม ฟุตบอล 20,000 [14]
ธงที่อินช็อนเอเชียนพาร์ก

การเดินทาง

แก้

ระยะเวลาในการก่อสร้างรถไฟใต้ดินอินช็อนได้เสร็จสิ้นเร็วกว่าแผนที่วางไว้เดิมที่ปี ค.ศ. 2018

การแข่งขัน

แก้

พิธีเปิด

แก้
 
พิธีเปิดการแข่งขัน

ในพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ นายหญิงพัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย โทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล, ชีค อะห์เหม็ด อัล-ฟะฮัด อัล-ซะบะฮ์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เป็นต้น

พิธีปิด

แก้

พิธีปิดการแข่งขันจะจัดขึ้นในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 4 ตุลาคม 2014 ในอินช็อนเอซีแอดเมนสเตเดียม[15]

ชนิดกีฬา

แก้

เอเชียนเกมส์ในครั้งนี้ บรรจุชนิดกีฬาทั้งหมด 36 ประเภท เป็นกีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ทั้งหมด 28 ชนิดกีฬา และไม่ได้แข่งขันในโอลิมปิก 8 ชนิดกีฬา ได้แก่

กีฬาที่แข่งขันในเอเชียนเกมส์ 2014

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

แก้
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน

ปฏิทินการแข่งขัน

แก้
 OC  พิธีเปิด  ●   รอบคัดเลือก  1  รอบชิงชนะเลิศ (ตัวเลข = จำนวนเหรียญทอง)  CC  พิธีปิด
กันยายน/ตุลาคม 2014 14
อา.
15
จ.
16
อ.
17
พ.
18
พฤ.
19
ศ.
20
ส.
21
อา.
22
จ.
23
อ.
24
พ.
25
พฤ.
26
ศ.
27
ส.
28
อา.
29
จ.
30
อ.
1
พ.
2
พฤ.
3
ศ.
4
ส.
เหรียญ
ทอง
  กระโดดน้ำ 2 2 2 2 2 10
  ว่ายน้ำ 6 6 7 7 6 6 38
  ระบำใต้น้ำ 1 1 1 3
  โปโลน้ำ 1 1 2
  ยิงธนู 4 4 8
  กรีฑา 5 8 7 4 11 11 1 47
  แบดมินตัน 1 1 1 2 2 7
  เบสบอล 1 1
  ซอฟท์บอล 1 1
  บาสเกตบอล 1 1 2
  โบว์ลิ่ง 1 1 1 1 2 4 2 12
  มวยสากลสมัครเล่น 3 10 13
  เรือแคนูสลาลม 4 4
  เรือแคนูสปรินต์ 12 12
  คริกเกต 1 1 2
  จักรยาน-บีเอ็มเอ็กซ์ 2 2
  จักรยาน-เสือภูเขา 2 2
  จักรยาน-ถนน 2 1 1 4
  จักรยาน-ลู่ 2 2 1 1 1 3 10
  ขี่ม้า 1 1 2 1 1 6
  ฟันดาบ 2 2 2 2 2 2 12
  ฟุตบอล 1 1 2
  กอล์ฟ 4 4
  ยิมนาสติก-สากล 1 1 2 5 5 14
  ยิมนาสติก-ลีลา 1 1 2
  ยิมนาสติก-แทรมโพลีน 2 2
  แฮนด์บอล 1 1 2
  ฮอกกี้ 1 1 2
  ยูโด 4 5 5 2 16
  กาบัดดี้ 2 2
  คาราเต้ 5 5 3 13
  ปัญจกีฬาสมัยใหม่ 2 2 4
  เรือพาย 7 7 14
  รักบี้ 2 2
  เรือใบ 14 14
  เซปักตะกร้อ 2 2 2 6
  ยิงปืน 4 4 4 4 4 10 6 6 2 44
  สควอช 2 2 4
  เทเบิลเทนนิส 2 3 2 7
  เทควันโด 4 4 4 4 16
  เทนนิส-เทนนิส 2 3 2 7
  เทนนิส-ซอฟท์เทนนิส 2 1 2 2 7
  ไตรกีฬา 2 1 3
  วอลเลย์บอลชายหาด 1 1 2
  วอลเลย์บอล 1 1 2
  ยกน้ำหนัก 2 2 2 2 2 2 3 15
  มวยปล้ำ 4 4 4 4 4 20
  วูซู 2 2 2 2 7 15
  พิธีการ OC CC
จำนวนเหรียญทอง 18 24 27 29 38 38 22 24 30 32 29 46 41 34 7 439
เหรียญทองรวม 18 42 69 98 136 174 196 220 250 282 311 357 398 432 439
กันยายน/ตุลาคม 2014 14
อา.
15
จ.
16
อ.
17
พ.
18
พฤ.
19
ศ.
20
ส.
21
อา.
22
จ.
23
อ.
24
พ.
25
พฤ.
26
ศ.
27
ส.
28
อา.
29
จ.
30
อ.
1
พ.
2
พฤ.
3
ศ.
4
ส.
เหรียญ
ทอง

สรุปเหรียญการแข่งขัน

แก้

ด้านล่างนี้เป็นตารางการจัดอันดับของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ โดยแสดงรายชื่อประเทศที่ได้รับเหรียญทองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่

  *  เจ้าภาพ (  เกาหลีใต้)

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1  จีน (CHN)15110985345
2  เกาหลีใต้ (KOR)*797079228
3  ญี่ปุ่น (JPN)477776200
4  คาซัคสถาน (KAZ)28233384
5  อิหร่าน (IRI)21181857
6  ไทย (THA)1272847
7  เกาหลีเหนือ (PRK)11111436
8  อินเดีย (IND)11103657
9  จีนไทเป (TPE)10182351
10  กาตาร์ (QAT)100414
11–37Remaining5997179335
รวม (37 ประเทศ)4394405751454

การตลาด

แก้
 
แมวน้ำ 3 ตัว มาสคอตประจำการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014

คำขวัญ

แก้

คำขวัญอย่างเป็นทางการ ถูกเปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 คือ Diversity Shines Here แปลว่า อณูแห่งความหลากหลาย เปล่งประกาย ณ ที่นี่ โดยในคำขวัญคำว่า อณูแห่งความหลากหลาย หมายถึง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศาสนา ของชาวเอเชีย ที่แตกต่างกันไป

สัญลักษณ์

แก้

แมวน้ำ 3 ตัว ถูกเปิดตัวให้เป็นมาสคอตประจำการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่เกาะซงโด ประเทศเกาหลีใต้ ชื่อ "บาราเม", "ชูมือโร" และ "บีชูอน" ซึ่งชื่อเป็นภาษาเกาหลีแปลว่า ลม การเต้นรำ และแสงสว่าง ตามลำดับ อีกทั้งมาสคอตแมวน้ำ 3 ตัวนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์การเชื่อมมิตรภาพระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้

ส่วนสัญลักษณ์การแข่งขันเป็นรูปลูกศรชี้ขึ้นคล้ายตัว A ไม่มีขีดกลาง สีฟ้าและเขียว ประกอบกันเป็นรูปคล้ายปีกซ้ายล้อมดวงอาทิตย์ เปรียบเสมือนชาวเอเชียจับมือกันกลางท้องฟ้า

ความกังวลและข้อถกเถียง

แก้

เอเชียนเกมส์ครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เกี่ยวกับการตัดสินของกรรมการในหลายชนิดกีฬาว่า เข้าข้างนักกีฬาชาติเจ้าภาพ คือ เกาหลีใต้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มวยสากลสมัครเล่น หรือฟุตบอลชาย ในมวยสากลสมัครเล่นมีหลายคู่ที่น่ากังขา ไม่ว่าจะเป็นในรอบ 16 คนสุดท้าย ในรุ่นไลต์เวต (60 กิโลกรัม) ระหว่าง สายลม อาดี นักมวยทีมชาติไทย กับ ฮัน-ซุลชู นักมวยทีมชาติเกาหลีใต้ ซึ่งสายลมเป็นฝ่ายแพ้ไปอย่างค้านสายตา[61] หรือ ทักส์ซอกต์ ยัมไบร์ นักมวยทีมชาติมองโกเลีย เป็นฝ่ายแพ้ ฮัม ซัง-เมียง ไปแบบเอกฉันท์ ในรุ่นแบนตั้มเวต (56 กิโลกรัม) ในรอบ 8 คนสุดท้าย ทั้งที่ยัมไบร์เป็นฝ่ายชกเอาจนใบหน้าของซัง-เมียงอาบไปด้วยเลือด แม้ทางทีมชาติมองโกเลียพยายามจะประท้วงแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล และที่เป็นที่กล่าวขานมากที่สุด คือ การปฏิเสธรับเหรียญทองแดงและนำเหรียญดังกล่าวไปคล้องไว้ที่คอของ ปาร์ค-จีนา นักมวยหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ที่ได้เหรียญเงิน ของ สาริตา เทวี นักมวยหญิงทีมชาติอินเดียในพิธีรับเหรียญ เนื่องจากผิดหวังและไม่ยอมรับการตัดสินของกรรมการที่ตัดสินให้ตัวเองแพ้ในรอบรองชนะเลิศ ในรุ่นไลต์เวต อีกทั้งเมื่อเทวีทำการประท้วงหลังการชกก็ไม่เป็นผล[ต้องการอ้างอิง]

ในส่วนของฟุตบอลชาย ในรอบรองชนะเลิศที่ ทีมชาติไทย พบกับ ทีมชาติเกาหลีใต้ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายแพ้ไป 0-2 กรรมการที่ทำหน้าที่ตัดสินในครั้งนี้ชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงการไม่ให้จุดโทษแก่ทีมชาติไทยในครึ่งหลัง ที่ทางทีมชาติเกาหลีใต้ล้มเอาแขนและลำตัวปัดลูกฟุตบอลในเขตโทษ แต่กลับให้จุดโทษแก่ทีมชาติเกาหลีใต้ในช่วงท้ายครึ่งแรก ทั้งที่การทำฟาวล์เกิดขึ้นในนอกเขตโทษชัดเจน[ต้องการอ้างอิง]

ในกีฬาแบดมินตัน ก็ถูกตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับระบบปรับอากาศในสนามแข่งขันที่ส่งแรงลมแรงเกินจนทำให้ลูกขนไก่ของคู่แข่งของนักกีฬาชาติเจ้าภาพเปลี่ยนแปลงหรือเบี่ยงเบนทิศทางไป ซึ่งส่งผลต่อการแข่งขัน[ต้องการอ้างอิง]

ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านี้ได้ทำให้แฟนกีฬาของชาติที่เชื่อว่าตนถูกโกงได้พากันเข้าไปเขียนข้อความโจมตีเจ้าภาพและองค์กรกีฬาประเภทนั้น ๆ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมและตัดสินทางเฟซบุ๊คและเครือข่ายออนไลน์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จนบางเพจต้องปิดหน้าเพจไป[62]

อีกทั้งระบบการจัดการแข่งขันก็ยังถูกวิจารณ์อีกด้วยถึงเรื่องความไม่สะดวกสบาย เช่น ลิฟต์ในที่พักของนักกีฬาที่ต้องรอนานถึงกว่าครึ่งชั่วโมง[63] รวมถึงพิธีเปิดที่มีการแสดงคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ของบรรดานักร้องเค-ป๊อป รวมถึงดารานักแสดงชาวเกาหลีใต้จำนวนมาก จนทำให้ดูเหมือนว่าจะให้ความสำคัญกับดารามากเกินไป ทั้งที่เป็นพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวเอเชีย[64]

อ้างอิง

แก้
  1. Incheon Wins 2014 Asian Games Bid เก็บถาวร 2007-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 18 เมษายน 2550
  2. "Incheon 2014 Progress; Olympic Medalist Coach Banned for Life". Around the Rings. 2011-11-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-09. สืบค้นเมื่อ 2011-12-03.
  3. Kyu-wook, Oh (2010-11-11). "Incheon being readied for 2014 Asian Games". The Korean Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-21.
  4. "Groundbreaking ceremony held for Incheon Asian Games main stadium". Korea.net. 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 2011-07-14.[ลิงก์เสีย]
  5. "2014 premiere in Korea for Populous". World Architecture News. 2009-05-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2010-07-04.
  6. "Dream Park Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
  7. "Ganghwa Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
  8. "Gyeyang Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
  9. "Munhak Aquatics Center". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2011-07-14.
  10. "Namdong Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
  11. "Seonhak Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
  12. "Sipjeong Stadium". incheon2014ag.org. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
  13. "Songrim Gymnasium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03. สืบค้นเมื่อ 2011-07-14.
  14. "Sungui Stadium". incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
  15. "仁川亚组委揭秘第17届亚运会". gxnews.com.cn (ภาษาจีน). 11 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-27. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
  16. "Cambodia". Incheon2014ag.org. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  17. "Qatar". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  18. "Korea". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  19. "DPR Korea". Incheon2014ag.org. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  20. "Kazakhstan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  21. "Kyrgyzstan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  22. "Kuwait". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  23. "Jordan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  24. "China". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  25. "Japan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  26. "Saudi Arabia". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  27. "Syria". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  28. "Timor-Leste". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  29. "Turkmenistan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  30. "Chinese Taipei". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  31. "Tajikistan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  32. "Thailand". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  33. "Nepal". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  34. "Brunei Darussalam". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  35. "Bangladesh". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  36. "Bahrain". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  37. "Pakistan". Incheon2014ag.org. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  38. "Palestine". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  39. "Myanmar". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  40. "Philippines". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  41. "Bhutan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  42. "Mongolia". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  43. "Maldives". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  44. "Macau, China". Incheon2014ag.org. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  45. "Malaysia". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  46. "Yemen". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  47. "Laos". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  48. "Lebanon". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  49. "Vietnam". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  50. "Sri Lanka". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  51. "United Arab Emirates". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  52. "Singapore". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  53. "Afghanistan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  54. "India". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  55. "Indonesia". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  56. "Iraq". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  57. "Iran". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  58. "Uzbekistan". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  59. "Oman". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  60. "Hong Kong, China". Incheon2014ag.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-17. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  61. "ค้านสายตา"สายลม"แพ้เจ้าถิ่นตกรอบมวย อชก". ผู้จัดการออนไลน์. 26 September 2014. สืบค้นเมื่อ 26 September 2014.[ลิงก์เสีย]
  62. หน้า 22 กีฬา, เอเชี่ยนเกมส์ เอเชี่ยนโกง??? โดย ผยองเดช. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,732: วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเมีย
  63. "โค้ชกรีฑาติงที่พักนักกีฬาไทยที่อินชอน มีลิฟต์ตัวเดียว". เรื่องเล่าเช้านี้. 25 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-11. สืบค้นเมื่อ 4 October 2014.
  64. "พิธีเปิดเอเชียนเกมส์ 2014 คนเกาหลีใต้วิจารณ์ยับ เป็นพิธีเปิดที่บ้าดาราและน่าอาย". boxza.com. 21 September 2014. สืบค้นเมื่อ 5 October 2014.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

37°58′N 124°39′E / 37.967°N 124.650°E / 37.967; 124.650

ก่อนหน้า เอเชียนเกมส์ 2014 ถัดไป
เอเชียนเกมส์ 2010
(กว่างโจว ประเทศจีน)
   
การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์
(19 กันยายน – 4 ตุลาคม ค.ศ. 2014)
  เอเชียนเกมส์ 2018
(จาการ์ตาปาเล็มบัง, ประเทศอินโดนีเซีย)