ไตรกีฬา คือการแข่งขันกีฬา 3 ประเภท ต่อเนื่องกัน คือ

ระยะทางในการแข่งขันกีฬานั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระยะทางแตกต่างกันออกไปดังนี้ โดยจะแบ่งตามลำดับดังนี้ ว่ายน้ำ/จักรยาน/วิ่ง กิโลเมตร

  • Sprint Distance 0.75/20/5
  • Olympic Distance 1.5/40/10 (เป็นระยะที่ใช้ในการแข่งโอลิมปิก ITU การแข่งขันระดับชาติอื่นๆ)
  • Half Ironman 1.9/90/21 (รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งคือ Ironman 70.3 มาจากระยะทางรวมเมื่อคิดเป็นหน่วยไมล์)
  • Ironman 3.8/180/42 [1][2]

ทั้งนี้อาจะมีระยะการแข่งขันที่นอกเหนือจากนี้เช่น ITU Long Distance และ Super Sprint เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการแต่ละรายการแข่งขันด้วย เช่นในประเทศไทยรายการที่มือชื่อเสียงมากที่สุดของการแข่งไตรกีฬาในประเทศไทยคือ Laguna Phuket Triathlon ก็จะมีระยะทาง 1.8/55/12 กม. ซึ่งในปี 2553 Laguna ได้จัดการแข่งขัน IRONMAN 70.3 ขึ้นต่อจากการแข่งขันLaguna Phuket Triathlon[3] ส่วนรายการแข่งอย่างเป็นทางการที่จัดโดยสมคมไตรกีฬาในประเทศไทยเช่น แม่น้ำโขงไตรกีฬา และรายการชิงแชมป์ประเทศไทยก็จะใช้ระยะ Olympic Distance ในการแข่งขัน ในบางรายการก็จะมีระยะ Sprint Distance เพื่อให้เยาวชนหรือมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มเล่นไตรกีฬาสามารถลงแข่งขันได้[4]

ประวัติไตรกีฬา

แก้

พบว่าการแข่งขันไตรกีฬานั้นเริ่มครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศสในระหว่างปี 1920 – 1930 ซึ่งเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "Les trois sports" ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีการแข่งขันนี้อยู่โดยอยู่ใกล้กับ Joinville le pont ใน Meulan และ Poissy มีการรายงานครั้งแรกในปี 1920 ในหนังสือพิมพ์ชื่อ "L´Auto" ได้รายงานถึงการแข่งขันนี้ซึ่งประกอบไปด้วยกีฬา 3 ประเภทได้แก่ วิ่ง 3 กม. ขี่จักรยาน 12 กม. และว่ายน้ำข้ามคลอง Marne โดยไม่มีการหยุดพัก และในปี 1934ได้มีบทความเกี่ยวกับ "Les trois sports" ที่พูดถึงการแข่งขันในเมือง Rochelle ซึ่งเริ่มด้วยการว่ายน้ำข้ามคลอง 200 ม. ขี่จักรยาน 10 กม. และวิ่ง 1.2 กม.[5]

การพูดถึงไตรกีฬานั้นเป็นที่กล่าวกันในวงแคบๆจนกระทั่งในปี 1974 ที่ Mission Bay ใน ซานดีเอโก้ ได้มี สโมสรกีฬาที่ชื่อ San Diego Track Club ซึ่งมีกลุ่มนักกีฬาในที่ประกอบไปด้วย นักวิ่ง นักว่ายน้ำ และนักจักรยาน ซึ่งก็ได้กลายเป็นการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการเกิดขึ้นในกลุ่ม ซึ่งคิดค้นขึ้นโดย Jack Johnstone และ Don Shanahan โดยมีการแข่งขันครั้งแรกที่ Mission Bay นี่เอง ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 25 กันยายน 1974 โดยมีนักกีฬาเข้าร่วมในการแข่งขันทั้งหมด 46 คน โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า Mission Bay Triathlon โดยเริ่มต้นด้วยการวิ่ง 6 ไมล์ จักรยาน 5 ไมล์ และปิดท้ายด้วยการว่ายน้ำ 500 หลา[6][7]

จนกระทั่งในปี 1988 ณ เมือง stockholm ประเทศสวีเดน ได้ทำการประชุม Triathlon National Federations เพื่อหาคณะทำงานสำหรับการจัดการแข่งขันไตรกีฬา และในปี 1989 ณ เมือง Avignon ประเทศฝรั่งเศส ได้มีการจัดตั้ง International Triathlon Union (ITU) ขึ้นซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันไตรกีฬาชิงแชมป์โลกขึ้นครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนี้ โดยมีระยะการแข่งขันเท่ากับระยะ Olympic ในปัจจุบัน

ในปี 1991 International Olympic Committee (IOC)หรือ คณะกรรมการโอลิมปิกสากล มีการเล็งเห็นความพยายามสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและการผลักดันอย่างต่อเนื่องของ ITU จึงได้มีแนวความคิดที่จะเสนอให้ไตรกีฬาเป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่จะบรรจุลงในการแข่งขันโอลิมปิก ซึ่งขณะนั้น ไตรกีฬาก็ได้เผยแพร่ไปกว่า 45 ประเทศทั่วโลกแล้ว ซึ่งการผลักดันนี้ประสบความสำเร็จในปี 1994 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บรรจุไตรกีฬาให้เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของการแข่งขัน โดยจะได้ปรากฏในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกในปี 2000 ที่เมือง Sydney ประเทศออสเตรเลีย[8]

วิธีการเล่น

แก้

นักกีฬาที่ได้ลงทะเบียนแล้วจะได้หมายเลขแทนของแต่ละบุคคล ซึ่งจะได้รับสติกเกอร์สำหรับติดที่ส่วนต่างๆของอุปกรณ์การแข่งเช่นหมวกกันน็อค หรือจักรยานทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการเช็คเลขหมายของกรรมการ และจะมีการเขียนหรือประทับหมายเลขนั้นที่แขนและขาของนักกีฬาแต่ละคนอีกครั้งในวันแข่ง

ในวันแข่งขันนักกีฬาจะต้องทำการนำอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้มารวมกันไว้ ณ พื้นที่ส่วนกลางที่เรียกว่า 'Transition Area' หรือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านของชนิดกีฬา จากนั้นนักกีฬาจะถูกนำตัวไปปล่อยสำหรับการเริ่มกีฬาว่ายน้ำ หลังจากนั้นก็จะเข้ามาที่ Transition Area เพื่อเปลี่ยนเป็นจักรยาน และเมื่อครบระยะทางก็จะต้องกลับเข้ามาใน Transition Area อีกครั้งเพื่อเปลี่ยนเป็นวิ่งในลำดับสุดท้าย

อ้างอิง

แก้
  1. British Triathlon
  2. "IRONMAN.COM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-17.
  3. Laguna Phuket Triathlon
  4. สมาคมไตรกีฬาแห่งประเทศไทย
  5. Triathlon Wiki
  6. Run The Planet
  7. "Triathlon History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-22. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
  8. ITU