ไลศราม สริตา เทวี

(เปลี่ยนทางจาก ไลศ์ราม สริตา เทวี)

ไลศราม สริตา เทวี (ฮินดี: लैशराम सरिता देवी; 1 มีนาคม พ.ศ. 2528 – ) เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติอินเดีย มาจากรัฐมณีปุระ เคยได้แชมป์โลกมวยสากลสมัครเล่นหญิงในรุ่นไลท์เวท[1] ใน พ.ศ. 2552 เธอได้รับรางวัลอรชุนะ (Arjuna award) จากรัฐบาลอินเดีย[2]

ไลศราม สริตา เทวี
ชื่อจริงไลศราม สริตา เทวี
รุ่นไลท์เวท
น้ำหนัก60 กิโลกรัม (130 ปอนด์)
ส่วนสูง168 ซm (5 ft 6 in)
เกิด1 มีนาคม พ.ศ. 2528 (39 ปี)
รัฐมณีปุระ
สถิติเหรียญโอลิมปิก
มวยสากลสมัครเล่น
มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 โปดอลสก์ 2548 54 กก.
เหรียญทอง - ชนะเลิศ นิวเดลี 2549 – 52 กก.
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 หนิงโป 2551 – 52 กก.
มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์เอเชีย
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กรุงเทพฯ 2001
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ไฮซาร์ 2003
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เกาสฺยง 2005
เหรียญทอง - ชนะเลิศ คูวาหติ 2008
เหรียญทอง - ชนะเลิศ อัสตานา 2010
เอเชียนเกมส์
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อินช็อน 2557 ไลท์เวท
กีฬาเครือจักรภพ
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กีฬาเครือจักรภพ 2557 กลาสโกว์ 2557

สริตา เทวีเกิดในครอบครัวเกษตรกรที่ยากจน[3] เธอเริ่มชกมวยเมื่อ พ.ศ. 2543 โดยได้แรงบันดาลใจจากมูฮัมหมัด อาลี ในปีต่อมา ได้ติดทีมชาติอินเดียมาแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์เอเชียที่กรุงเทพฯ และได้เหรียญเงิน[4] จากนั้น เธอได้เหรียญรางวัลจำนวนมากจากการแข่งขัน รวมทั้งเหรียญทองมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลกที่นิวเดลีเมื่อ พ.ศ. 2549 และได้เหรียญเงินจากการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2557[5]

สริตา เทวีเข้าแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ พ.ศ. 2557 ที่อินช็อน เกาหลีใต้ ในรุ่นไลท์เวท เธอสามารถชกชนะจนถึงรอบรองชนะเลิศพบกับ พัก จีนา เมื่อ 30 กันยายน เธอถูกตัดสินให้แพ้ 0–3 ทั้งที่เธอสามารถชกพักจนถูกนับได้ และเป็นฝ่ายคุมเกมได้หมด[6][7] กรรมการตัดสินในรายการนี้ได้แก่บราฮัม โมฮามัด (Braham Mohamad) จากตูนิเซีย อัลบีโน โฟตี (Albino Foti) จากอิตาลี และ มารีอุสซ์ โยเซฟ กอร์นี (Mariusz Josef Gorny) จากโปแลนด์ สามีของเธอได้ประท้วงผลการแข่งขันแต่ไม่สำเร็จ ทำให้เธอปฏิเสธที่จะรับเหรียญรางวัล[8]

อ้างอิง แก้

  1. "Laishram Sarita Devi defeats Alexandra Kuleshova of Russia in Boxing World Championships". sportskeeda.com. 11 September 2010. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  2. "Mary Kom and Sarita Devi receive Awards". newstrackindia. 14 September 2009.
  3. E-Pao!. "Laishram Sarita Devi - 'Arjuna Award' Awardee in the field of Women Boxing -". About Sarita Devi. E-Pao!. สืบค้นเมื่อ 8 June 2012.
  4. "Woman boxer Laishram Sarita Devi crowned with Arjuna Award". oneindia.in. 29 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  5. "CWG Silver Medallist Boxer Sarita Devi To Quit After Olympics 2016". NDTV. 20 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  6. "Asian Games: Sarita Devi loses controversial bout, settles for bronze". India Today. 30 September 2014. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  7. "Asian Games 2014: Sarita Devi Loses Controversial Boxing Semifinal, Husband Loses Cool". NDTV. 30 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-03. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  8. http://www.thairath.co.th/content/454038