ฉบับร่าง:เกมจารชน

เกมจารชน
ประเภทเกมโชว์
เเรงบันดาลใจจากALIEN
เสนอโดย
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอกรุงเทพ
ความยาวตอน60 นาที
90 นาที
บริษัทผู้ผลิตเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
ออกอากาศ
เครือข่ายททบ.5
ออกอากาศ16 มีนาคม 2541 (2541-03-16) –
28 มีนาคม 2548 (2548-03-28)
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
เกมจารชน คู่หูอันตราย

เกมจารชน เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทแอคชั่นเกมโชว์ของ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 22.00 น. - 23.00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 (ต่อจากรายการ ระเบิดเถิดเทิง ที่ย้ายไปออกอากาศในวันเสาร์) และออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 รวมทั้งเป็นรายการโททัศน์รายการแรกของเวิร์คพอยท์ที่จำหน่ายลิขสิทธิ์ออกไปผลิตในต่างประเทศ โดยประเทศแรกที่จำหน่ายลิขสิทธิ์ให้ คือ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2542[1]

ภายหลังในปี พ.ศ. 2559 จนถึง พ.ศ. 2560 ช่องเวิร์คพอยท์ ได้นำเกมจารชนกลับมาผลิตในรูปแบบใหม่ ในชื่อ เกมจารชน คู่หูอันตราย โดยมีการปรับรูปแบบหลายเกม[2]

ประวัติ

แก้

เกมจารชน เป็นรายการโทรทัศน์ที่ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) รูปแบบของรายการได้แรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์เรื่อง ALIEN เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541[3] (ต่อจากรายการ ระเบิดเถิดเทิง ที่ย้ายไปออกอากาศในวันเสาร์) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เวลา 22.00 น. - 23.00 น. (ตั้งแต่ 16 มีนาคม - 28 กันยายน พ.ศ. 2541) ต่อมาได้ย้ายวันและเวลาออกอากาศไปเป็นทุกวันเสาร์ เวลา 12:00 น. - 13:00 น. (ตั้งแต่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2541[4] - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2542) ต่อมาได้ย้ายเวลาออกอากาศเป็น 18.00 น. - 19.30 น. (ตั้งแต่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2543) พร้อมทั้งได้ขยายเวลาเป็น 1 ชั่วโมงครึ่ง ต่อมาได้ย้ายวันและเวลาออกอากาศอีกครั้งมาเป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 16:00 น. - 17:00 น. (ตั้งแต่ 2 เมษายน พ.ศ. 2543 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547) และกลับมาออกอากาศในคืนวันจันทร์อีกครั้งในเวลา 23:00 น. - 00:00 น. (ตั้งแต่ 3 มกราคม - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548)

ผู้ดำเนินรายการ

แก้

พิธีกร

แก้

หน่วยพิฆาต

แก้
  • MR.MORIS
  • MR.SEAN
  • เอ๋ เชิญยิ้ม

การออกอากาศ

แก้

ระยะเวลาออกอากาศ

แก้
ระยะเวลาออกอากาศของ เกมจารชน
สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วันออกอากาศ เวลา ช่วงระหว่าง ความยาวออกอากาศ
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก จันทร์ 22.00 น. - 23.00 น. 16 มีนาคม - 28 กันยายน พ.ศ. 2541 60 นาที
23:00 น. - 00:00 น. 3 มกราคม - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548
เสาร์ 12:00 น. - 13:00 น. 3 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2542
18.00 น. - 19.30 น. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2543 90 นาที
อาทิตย์ 16:00 น. - 17:00 น. 2 เมษายน พ.ศ. 2543 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 60 นาที

ผู้เข้าแข่งขัน

แก้

ผู้เข้าแข่งขันจะมีสัปดาห์ละ 5 คน โดยทางรายการจะเรียกผู้เข้าแข่งขันเหล่านี้ว่า "จารชนรับเชิญ" โดยในแต่ละสัปดาห์จะเป็นผู้เข้าแข่งขันชาย 3 คน และหญิง 2 คน บางสับดาห์จะเป็นผู้เข้าแข่งขันหญิง 3 คน ชาย 2 คน บางสัปดาห์จะเป็นผู้เข้าแข่งขันชาย 4 คน และหญิง 1 คน บางสับดาห์จะเป็นผู้เข้าแข่งขันหญิง 4 คน ชาย 1 คน

รายชื่อผู้เข้าแข่งขันในแต่ละปี

แก้

ปี 2541

แก้
ลำดับ เทปที่ วันที่ออกอากาศ ผู้เข้าแข่งขัน
ปี 2541
1 1 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 สราวุฒิ พุ่มทอง (ครั้งที่ 1)
ยศวดี หัสดีวิจิตร (ครั้งที่ 1)
ถั่วแระ เชิญยิ้ม (ครั้งที่ 1)
มาริสา สัมฤทธิ์สุข (ครั้งที่ 1)
ฝันเด่น จรรยาธนากร
2 2 23 มีนาคม พ.ศ. 2541 พล ตัณฑเสถียร
ชลิตา เฟื่องอารมย์
สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ (ครั้งที่ 1)
สกาวใจ พูนสวัสดิ์ (ครั้งที่ 1)
กรรชัย กำเนิดพลอย (ครั้งที่ 1)
3 3 30 มีนาคม พ.ศ. 2541 นภัสสร บุรณศิริ
นพชัย มัททวีวงศ์
จุฑามาศ จันทศร
ดนัย จิรา (ครั้งที่ 1)
เต่า เชิญยิ้ม (ครั้งที่ 1)
4 4 6 เมษายน พ.ศ. 2541 ชฎาพร รัตนากร (ครั้งที่ 1)
วรเชษฐ์ เอมเปีย (เชษฐ์ สไมล์บัฟฟาโล่) (ครั้งที่ 1)
มยุริญ ผ่องผุดพันธ์
สุเทพ สีใส (ครั้งที่ 1)
สายธาร นิยมการณ์ (ครั้งที่ 1)
5 5 13 เมษายน พ.ศ. 2541 ธนัชชา สว่างแจ้ง (ราฟฟี่ ราฟฟี่-แนนซี่)
ภัคจีรา วรรณสุทธิ์
เอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ (ครั้งที่ 1)
ชาช่า อัลเทอร์เมท (ครั้งที่ 1)
บุญโทน คนหนุ่ม (ครั้งที่ 1)
6 6 20 เมษายน พ.ศ. 2541 ศิริลักษณ์ ผ่องโชค
แดนนี่ ศรีภิญโญ (ครั้งที่ 1)
ญาสุมินทร์ เลิศอมรวัฒนา
วรวุฒิ นิยมทรัพย์
กนกวรรณ บุรานนท์ (ครั้งที่ 1)
7 7 27 เมษายน พ.ศ. 2541 สิรินยา วินศิริ
อรนภา กฤษฎี
ฉัตรมงคล บำเพ็ญ
กนกพร โลศิริ
วสันต์ อุตตมะโยธิน (ครั้งที่ 1)
8 8 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เกรียงไกร อังคุณชัย (วอย เจอาร์-วอย) (ครั้งที่ 1)
เปียเชอร์ คริสเตนเซ่น (ครั้งที่ 1)
นำชัย จรรยาฐิติกุล
ชุลีพร ดวงรัตนตรัย
โจอี้ บอย (ครั้งที่ 1)
9 9 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เพ็ญเพชร เพ็ญกุล (ครั้งที่ 1)
คลาวเดีย จักรพันธุ์
หม่ำ จ๊กมก (ครั้งที่ 1)
สุวัจนี ไชยมุสิก (ครั้งที่ 1)
พรหมมาตร วงที (บี แก๊งโฟร์)
10 10 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
อิสราภรณ์ จันทรโสภาคย์ (แอนนา แจมป์) (ครั้งที่ 1)
โน้ต เชิญยิ้ม (ครั้งที่ 1)
แชมเปญ เอ็กซ์ (ครั้งที่ 1)
นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล
11 11 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์
เกวลิน คอตแลนด์
เกริก ชิลเลอร์ (ครั้งที่ 1)
อาทิตยา สิขานนท์
ปวันรัตน์ นาคสุริยะ
12 12 1 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ศรราม เทพพิทักษ์
ฌัชฌา รุจินานนท์
ภราดร ทวีวัฒนสมบูรณ์ (ครั้งที่ 1)
รุ้งทอง ร่วมทอง (ครั้งที่ 1)
ดำรงค์เดช เจริญผล (เอ๊ด เอ๊ด-มาร์ท)
13 13 8 มิถุนายน พ.ศ. 2541 แอนดริว เกร็กสัน
วฤนดา สมศิริ
สุทธิพงษ์ วัฒนจัง (ชมพู ฟรุตตี้)
ชไมพร สิทธิวรนันท์
สายฟ้า เศรษฐบุตร
14 14 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 รชนีกร พันธุ์มณี
ทอม ดันดี
ชาติชาย งามสรรพ์ (ครั้งที่ 1)
เป็ด เชิญยิ้ม (ครั้งที่ 1)
สุกัญญา มิเกล
15 15 29 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ศานันทินี พันธุชูจิตร
ณัฐนันท์ คุณวัฒน์ (ครั้งที่ 1)
กีรติ เทพธัญญ์ (ครั้งที่ 1)
คิมเบอร์ลี่ ฮูเวอร์
ชูศรี เชิญยิ้ม (ครั้งที่ 1)
16 16 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ทูน หิรัญทรัพย์
ภัสสร บุญยเกียรติ
ไพโรจน์ ใจสิงห์ (ครั้งที่ 1)
ราตรี วิทวัส
กำธร ทัพคัลไลย
17 17 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ภัครมัย โปตระนันท์
วิชุดา พินดั้ม (ครั้งที่ 1)
ศตวรรษ เศรษฐกร
สุธิตา เกตานนท์
สุรศักดิ์ วงษ์ไทย (ครั้งที่ 1)
18 18 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 คณิตกุล เนตรบุตร
ศรัทธา ศรัทธาทิพย์
อาภาพร นครสวรรค์
เขตต์ ฐานทัพ
อรุณ ภาวิไล
19 19 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ธัญญาเรศ รามณรงค์
ธงชัย ประสงค์สันติ
ดุสิตา อนุชิตชาญชัย
พิเชษฐ์ไชย ผลดี
ศิริพร อยู่ยอด
20 20 3 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ไบรโอนี่ รอดโพธิ์ทอง
อรรถพร ธีมากร
พรชิตา ณ สงขลา
ยิ่งยง ยอดบัวงาม
สะแกวัลย์ ยงใจยุทธ (ครั้งที่ 1)
21 21 10 สิงหาคม พ.ศ. 2541 วิลลี่ แมคอินทอช
โชเล่ย์ ดอกกระโดน (ครั้งที่ 1)
อรอนงค์ ปัญญาวงศ์
รุ่ง สุริยา (ครั้งที่ 1)
เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ (ครั้งที่ 1)
22 22 17 สิงหาคม พ.ศ. 2541 เมทินี กิ่งโพยม
แคทรียา กาญจนโรจน์
อัษฎา พานิชกุล
ขวัญภิรมย์ หลิน
เทพ โพธิ์งาม
23 23 24 สิงหาคม พ.ศ. 2541 สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ (ครั้งที่ 1)
ติ๊ก ชิโร่ (ครั้งที่ 1)
คทรีน่า กลอส
สีหนุ่ม เชิญยิ้ม
นิลุบล อมรวิทวัส
24 24 31 สิงหาคม พ.ศ. 2541 เจมี่ บูเฮอร์ (ครั้งที่ 1)
อุเทน พรหมมินทร์
ชุติพร ทรัพย์เสริมศรี
สวิช เพชรวิเศษศิริ
ปู โลกเบี้ยว
25 25 7 กันยายน พ.ศ. 2541 คงกระพัน แสงสุริยะ
ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต
บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์
มรกต มณีฉาย
เหลือเฟือ มกจ๊ก (ครั้งที่ 1)
26 26 14 กันยายน พ.ศ. 2541 ไพโรจน์ ใจสิงห์ (ครั้งที่ 2)
ชาช่า อัลเทอร์เมท (ครั้งที่ 2)
เปียเชอร์ คริสเตนเซ่น (ครั้งที่ 2)
เกริก ชิลเลอร์ (ครั้งที่ 2)
รุ่ง สุริยา (ครั้งที่ 2)
27 27 21 กันยายน พ.ศ. 2541 เท่ง เถิดเทิง (ครั้งที่ 1)
ปรารถนา องค์ชัยศักดิ์
เบญจพล เชยอรุณ (ครั้งที่ 1)
ชุติมา นัยนา (ครั้งที่ 1)
จาตุรงค์ มกจ๊ก (ครั้งที่ 1)
* 28 28 กันยายน พ.ศ. 2541 เทปพิเศษ รวมมันส์พันธุ์จารชน
* 29 3 ตุลาคม พ.ศ. 2541 เทปพิเศษ รวมมันส์พันธุ์จารชน กำลัง 2
28 30 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 เทย่า โรเจอร์ส (ครั้งที่ 1)
ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์
สกาวใจ พูนสวัสดิ์ (ครั้งที่ 2)
ฝันดี จรรยาธนากร
ลิซ่า ไปรพิศ
29 31 17 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ภาวดี วิเชียรรัตน์
จิ้ม ชวนชื่น
ทราย เจริญปุระ
ทรงวุฒิ ศรีเชิดชูธรรม
ศรีริต้า เจนเซ่น
30 32 24 ตุลาคม พ.ศ. 2541 วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ (ครั้งที่ 1)
อานนท์ สายแสงจันทร์ (ปู แบล็คเฮด)
ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี
อาทิตย์ ริว
น้อย โพธิ์งาม
31 33 31 ตุลาคม พ.ศ. 2541 เจษฎาภรณ์ ผลดี (ครั้งที่ 1)
ราโมน่า ซาโนลารี่ (ครั้งที่ 1)
แห้ว รีเจนซี่
เมย์ เฟื่องอารมย์
น้ำฝน โกมลฐิติ
32 34 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 อภิรดี ภวภูตานนท์
วรเชษฐ์ เอมเปีย (เชษฐ์ สไมล์บัฟฟาโล่) (ครั้งที่ 2)
พรรณี วีรานุกูล
ยาว อยุธยา
สุวัจนี ไชยมุสิก (ครั้งที่ 2)
33 35 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตร
ไมเคิล เวลส์ซ
มาริสา แอนนิต้า
เชอรี่ ผุงประเสริฐ
ถั่วแระ เชิญยิ้ม (ครั้งที่ 2)
34 36 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 อังคณา ทิมดี (ครั้งที่ 1)
เอก โอรี
นุศรา ประวันณา
เด๋อ ดอกสะเดา (ครั้งที่ 1)
ดวงหทัย ศรัทธาทิพย์
35 37 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 อภิชาติ พัวพิมล
สุภาภรณ์ แสงทอง
เอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ (ครั้งที่ 2)
ดารณีนุช ปสุตนาวิน (ครั้งที่ 1)
กล้วย เชิญยิ้ม
36 38 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สุรัช ทับวัง (เป้ ไฮร็อค)
แชมเปญ เอ็กซ์ (ครั้งที่ 2)
สามารถ พยัคฆ์อรุณ
ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม (สังข์ 108 มงกุฎ)
แฉ่ง ช่อมะดัน
37 39 12 ธันวาคม พ.ศ. 2541 หาญส์ หิมะทองคำ
เพ็ญพักตร์ ศิริกุล
ไปรมา รัชตะ
สิทธิพร นิยม
เต่า เชิญยิ้ม (ครั้งที่ 2)
38 40 19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์
ปิยะ เศวตพิกุล
ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย
มนัญญา สิงห์หิรัญ
สุรศักดิ์ วงษ์ไทย (ครั้งที่ 2)
39 41 26 ธันวาคม พ.ศ. 2541 เกรียงไกร อังคุณชัย (วอย เจอาร์-วอย) (ครั้งที่ 2)
สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ
ดอม เหตระกูล
สุรางคณา สุนทรพนาเวศ
วสันต์ อุตตมะโยธิน (ครั้งที่ 2)

ปี 2542

แก้
ลำดับ เทปที่ วันที่ออกอากาศ ผู้เข้าแข่งขัน
ปี 2542
1 42 2 มกราคม พ.ศ. 2542 ธัญญ์ ธนากร
หนู คลองเตย (ครั้งที่ 1)
ธนะยศ จิวานนท์ (ออดี้)
บุญโทน คนหนุ่ม (ครั้งที่ 2)
ยศวดี หัสดีวิจิตร (ครั้งที่ 2)
2 43 9 มกราคม พ.ศ. 2542 อลิชา ไล่ศัตรูไกล
โจอี้ บอย (ครั้งที่ 2)
อโณมา ศรัณย์ศิขริน
วิชัย จงประสิทธิ์พร
เทพ โพธิ์งาม (ครั้งที่ 2)
3 44 16 มกราคม พ.ศ. 2542
4 45 23 มกราคม พ.ศ. 2542
5 46 30 มกราคม พ.ศ. 2542
6 47 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
7 48 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร
มาริสา สัมฤทธิ์สุข (ครั้งที่ 2)
กวินพนธ์ พาณิชย์พงส์ (กำปั้น BAZOO)
ศิริพิชญ์ กฤษณะเศรณี
โน้ต เชิญยิ้ม (ครั้งที่ 2)
8 49 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
9 50 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
10 51 6 มีนาคม พ.ศ. 2542
11 52 13 มีนาคม พ.ศ. 2542
12 53 20 มีนาคม พ.ศ. 2542
13 54 27 มีนาคม พ.ศ. 2542
14 55 3 เมษายน พ.ศ. 2542 สราวุฒิ พุ่มทอง (ครั้งที่ 2)
เทเรซ่า อากีลาร์
ศราวุธ นวแสงอรุณ
ชาช่า อัลเทอร์เมท (ครั้งที่ 3)
โย่ง เชิญยิ้ม
15 56 10 เมษายน พ.ศ. 2542 กุลสตรี ศิริพงศ์ปรีดา
พิศุทธิ์ นิธิไพศาลกุล (แซนด์ แซนด์-แบงค์)
เจสสิก้า อัญชนา
ภราดร ทวีวัฒนสมบูรณ์ (ครั้งที่ 2)
อมราภรณ์ ชวูเลร่า
16 57 17 เมษายน พ.ศ. 2542 ชนานา นุตาคม
วัลวิภา โยคะกุล
ปภัสรา ชุตานุพงษ์
ชุติมา นัยนา (ครั้งที่ 2)
เป็ด เชิญยิ้ม (ครั้งที่ 2)
17 58 24 เมษายน พ.ศ. 2542
18 59 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 สุรัตนาวี สุวิพร (โบ ไทรอัมส์คิงดอม)
สะแกวัลย์ ยงใจยุทธ (ครั้งที่ 2)
อินทิรา แดงจำรูญ (ครั้งที่ 1)
สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ (ครั้งที่ 2)
สุเทพ สีใส
19 60 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เจอาร์ กิตติกุลวงศ์ (เจอาร์ เจอาร์-วอย)
นันทพร สว่างแจ้ง (แนนนี่ ราฟฟี่-แนนซี่)
สาริน บางยี่ขัน
วรรณภา คำสงค์
แดนนี่ ศรีภิญโญ (ครั้งที่ 2)
20 61 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
21 62 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
22 63 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
23 64 5 มิถุนายน พ.ศ. 2542
24 65 12 มิถุนายน พ.ศ. 2542
25 66 19 มิถุนายน พ.ศ. 2542
26 67 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542
27 68 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
28 69 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
29 70 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
30 71 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
31 72 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
32 73 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 รฐา โพธิ์งาม
อิสราภรณ์ จันทรโสภาคย์ (แอนนา แจมป์) (ครั้งที่ 2)
เจนสุดา ปานโต (เจนนี่ เจนนี่-คอรี่)
อธิชาติ ชุมนานนท์
วรเชษฐ์ เอมเปีย (เชษฐ์ สไมล์บัฟฟาโล่) (ครั้งที่ 3)
33 74 14 สิงหาคม พ.ศ. 2542
34 75 21 สิงหาคม พ.ศ. 2542
35 76 28 สิงหาคม พ.ศ. 2542
36 77 4 กันยายน พ.ศ. 2542
37 78 11 กันยายน พ.ศ. 2542 เจมี่ บูเฮอร์ (ครั้งที่ 2)
เจษฎาภรณ์ ผลดี (ครั้งที่ 2)
บริบูรณ์ จันทร์เรือง
ทศพล ศิริวัฒน์ (ทศ 108 มงกุฎ)
โหน่ง ชะชะช่า
38 79 18 กันยายน พ.ศ. 2542
39 80 25 กันยายน พ.ศ. 2542
40 81 2 ตุลาคม พ.ศ. 2542
41 82 9 ตุลาคม พ.ศ. 2542
42 83 16 ตุลาคม พ.ศ. 2542
43 84 23 ตุลาคม พ.ศ. 2542
44 85 30 ตุลาคม พ.ศ. 2542
45 86 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
46 87 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
47 88 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
48 89 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
49 90 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
50 91 4 ธันวาคม พ.ศ. 2542
51 92 11 ธันวาคม พ.ศ. 2542
52 93 18 ธันวาคม พ.ศ. 2542
53 94 25 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ปี 2543

แก้
ลำดับ เทปที่ วันที่ออกอากาศ ผู้เข้าแข่งขัน
ปี 2543
1 95 1 มกราคม พ.ศ. 2543
2 96 8 มกราคม พ.ศ. 2543
3 97 15 มกราคม พ.ศ. 2543 เพ็ญเพชร เพ็ญกุล (ครั้งที่ 2)
อังคณา ทิมดี (ครั้งที่ 2)
ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์
ชาติชาย งามสรรพ์ (ครั้งที่ 2)
จอย ชวนชื่น
4 98 22 มกราคม พ.ศ. 2543
5 99 29 มกราคม พ.ศ. 2543
6 100 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543

รูปแบบรายการ

แก้

เกมในรายการเกมจารชนจะมีทั้งหมด 3 เกมหลัก ดังนี้

เลขอันตราย (16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548)

แก้

ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คน จะต้องทายตัวเลข โดยจะมีตัวเลขตั้งแต่ 0-99 โดยพิธีกรจะบอกใบ้ว่าใกล้เคียงเลขอันตรายหรือไม่ ถ้าไม่ใช่เลขอันตราย พิธีกรจะบอกว่ามากไปหรือน้อยไป ตัวเลขที่ทายพร้อมทั้งตัวเลขที่อยู่ในช่วงที่พิธีกรใบ้จะถูกตัดออกทั้งหมด และผู้เข้าแข่งขันท่านต่อไปจะทายเลขต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีผู้ทายตัวเลขตรงกับเลขอันตรายที่กำหนดไว้ (หากจำนวนตัวเลขมีน้อยกว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขัน หรือจำนวนตัวเลขเหลือ 5 ตัวสุดท้าย พิธีกรจะให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกเลขที่เหลือคนละ 1 ตัวเลขตามลำดับการ จากนั้นจะเฉลยเลขอันตรายทันที) ผู้เข้าแข่งขันที่ทายตรงกับเลขอันตราย จะถูกยิงด้วยกระสุนแป้ง และตกรอบทันที (ในรูปแบบแรกจะเป็นปืนกระสุนน้ำ และต่อมาจะเป็นปนกระสุนแป้งสลับกับปืนกระสุนน้ำที่มีความข้นและเหนียว)

บางสัปดาห์ที่มีการออกอากาศ พิธีกรจะนำผู้ชมในสตูดิโอ (ในวันที่บันทึกเทป) มาร่วมเล่นกับผู้เข้าแข่งขันด้วยการมัดคู่กับผู้เข้าแข่งขันเพื่อร่วมลุ้นไปด้วยกัน โดยการเลือกนั้นจะขึ้นอยู่กับพิธีกรว่าให้ไปคู่กับใคร หรือไม่ก็ตามความต้องการของผู้ชมที่เข้ามาร่วมเล่นด้วย จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ การปล่อยมุกฮาโดยพิธีกรหรือสมาชิกหน่วยพิฆาตเพื่ออำผู้เข้าแข่งขัน และเป็นการลดความเกร็งจากเกม

จำนวนเลขอันตรายและรายชื่อผู้เข้าแข่งขันที่เจอเลขอันตราย

แก้
ปี 2541
แก้
ลำดับ เทปที่ วันที่ออกอากาศ เลขอันตราย ผู้เข้าแข่งขันที่เจอเลขอันตราย หมายเหตุ
ปี 2541
1 1 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 52 มาริสา สัมฤทธิ์สุข
2 2 23 มีนาคม พ.ศ. 2541 05 ชลิตา เฟื่องอารมย์
3 3 30 มีนาคม พ.ศ. 2541 17 จุฑามาศ จันทศร
4 4 6 เมษายน พ.ศ. 2541 66 มยุริญ ผ่องผุดพันธ์
5 5 13 เมษายน พ.ศ. 2541 97 ชาช่า อัลเทอร์เมท
6 6 20 เมษายน พ.ศ. 2541 20 ศิริลักษณ์ ผ่องโชค
7 7 27 เมษายน พ.ศ. 2541 03 วสันต์ อุตตมะโยธิน
8 8 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 09 เปียเชอร์ คริสเตนเซ่น
9 9 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 44 เพ็ญเพ็ชร เพ็ญกุล
10 10 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 89 ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ
11 11 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 61 เกริก ชิลเลอร์ (ครั้งที่ 1)
12 12 1 มิถุนายน พ.ศ. 2541 22 ฌัชฌา รุจินานนท์
13 13 8 มิถุนายน พ.ศ. 2541 39 ชไมพร สิทธิวรนันท์
14 14 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 00 รชนีกร พันธุ์มณี
15 15 29 มิถุนายน พ.ศ. 2541 72 ศานันทินี พันธุ์ชูจิตร
16 16 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 57 ไพโรจน์ ใจสิงห์
17 17 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 31 สุธิตา เกตานนท์
18 18 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 76 เขตต์ ฐานทัพ
19 19 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 15 ดุสิตา อนุชิตชาญชัย
20 20 3 สิงหาคม พ.ศ. 2541 63 อรรถพร ธีมากร
21 21 10 สิงหาคม พ.ศ. 2541 04 รุ่ง สุริยา
22 22 17 สิงหาคม พ.ศ. 2541 84 เมทินี กิ่งโพยม
23 23 24 สิงหาคม พ.ศ. 2541 35 สีหนุ่ม เชิญยิ้ม
24 24 31 สิงหาคม พ.ศ. 2541 98 ปู โลกเบี้ยว
25 25 7 กันยายน พ.ศ. 2541 18 เหลือเฟือ มกจ๊ก
26 26 14 กันยายน พ.ศ. 2541 00 เกริก ชิลเลอร์ (ครั้งที่ 2)
27 27 21 กันยายน พ.ศ. 2541 46 ปรารถนา องค์ชัยศักดิ์
* 28 28 กันยายน พ.ศ. 2541 เทปพิเศษ รวมมันส์พันธุ์จารชน
* 29 3 ตุลาคม พ.ศ. 2541 เทปพิเศษ รวมมันส์พันธุ์จารชน กำลัง 2
28 30 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 94 สกาวใจ พูนสวัสดิ์
29 31 17 ตุลาคม พ.ศ. 2541 09 ทรงวุฒิ ศรีเชิดชูธรรม
30 32 24 ตุลาคม พ.ศ. 2541 64 วรรัตน์ สุวรรณรัตน์
31 33 31 ตุลาคม พ.ศ. 2541 50 เมย์ เฟื่องอารมย์
32 34 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 78 ยาว อยุธยา
33 35 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 33 เชอรรี่ ผุงประเสริฐ
34 36 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 07 นุศรา ประวันณา
35 37 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 81 สุภาภรณ์ แสงทอง
36 38 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541 11 สุรัช ทับวัง (เป้ ไฮร็อค)
37 39 12 ธันวาคม พ.ศ. 2541 50 หาญส์ หิมะทองคำ
38 40 19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 73 ปิยะ เศวตพิกุล
39 41 26 ธันวาคม พ.ศ. 2541 98 ดอม เหตระกูล
ปี 2542
แก้
ลำดับ เทปที่ วันที่ออกอากาศ เลขอันตราย ผู้เข้าแข่งขันที่เจอเลขอันตราย หมายเหตุ
ปี 2542
1 42 2 มกราคม พ.ศ. 2542 42 ธัญญ์ ธนากร
2 43 9 มกราคม พ.ศ. 2542 0 วิชัย จงประสิทธิ์พร
3 44
4 45
5 46
6 47
7 48
8 49
9 50
10 51
11 52
12 53
13 54
14 55
15 56
16 57
17 58
18 59
19 60
20 61
21 62
22 63
23 64
24 65
25 66
26 67
27 68
28 69
29 70
30 71
31 72
32 73
33 74
34 75
35 76
36 77
37 78
38 79
39 80
40 81
41 82
42 83 16 ตุลาคม พ.ศ. 2542
43 84 23 ตุลาคม พ.ศ. 2542
44 85 30 ตุลาคม พ.ศ. 2542
45 86 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
46 87 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
47 88 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
48 89 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
49 90 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
50 91 4 ธันวาคม พ.ศ. 2542
51 92 11 ธันวาคม พ.ศ. 2542
52 93 18 ธันวาคม พ.ศ. 2542
53 94 25 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ชิงตัวประกัน (16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548)

แก้

ผู้เข้าแข่งขัน 4 คนที่ผ่านเข้ารอบ จะถูกแบ่งทีมเป็น 2 ทีม ทีมละ 2 คน โดยให้คนในทีม 1 คนเข้าไปในเป็นตัวประกัน ส่วนอีก 1 คนจะเลือกคำปริศนามา 1 คำ จากทั้งหมด 4 คำ (ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2542 และช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 6 คำ) ซึ่งผู้ที่เป็นตัวประกันจะบอกโค้ดลับให้ผู้ร่วมทีมครั้งละ 1 พยางค์ (หากเกินพยางค์เดียวหรือมีหางเสียงออกมา จะนับเฉพาะพยางค์แรกที่พูดออกมา หรือหากมีเสียงอื่นหลุดออกมาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใบ้ จะนับเป็นคำใบ้เช่นกัน หรือหากหลุดคำตอบออกมาแม้แต่พยางค์เดียว จะถือว่าฟาวล์ แต่ในบางครั้งผู้แข่งขันที่เป็นตัวประกันจะใช้วิธีการใบ้ผ่านทางสีหน้า ในกรณีคิดคำใบ้ไม่ออก จะถือว่าไม่มีการใบ้ในโค้ดลับนั้น) โดยคนที่ช่วยตัวประกันจะมีเวลาตอบ 5 วินาที ถ้าหมดเวลาแล้วยังไม่สามารถตอบถูก ตัวประกันจะได้ให้โค้ดลับเพิ่ม หากตอบถูกต้อง ถือว่าช่วยตัวประกันสำเร็จ ทั้งตัวประกันและคนที่ช่วยตัวประกันสำเร็จจะได้คะแนนไป แต่ถ้าหากไม่สามารถตอบถูกหลังจากการใบ้ทั้ง 5 ครั้ง (ต่อมาลดเหลือ 3 ครั้ง) จะไม่ได้คะแนนในคำปริศนานี้ และตัวประกันจะถูกทำโทษ โดยคะแนนที่ได้จะลดหลั่นตามจำนวนครั้งที่ตอบถูก ดังนี้

  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 1 จะได้ 5 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 2 จะได้ 4 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 3 จะได้ 3 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 4 จะได้ 2 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 5 จะได้ 1 คะแนน

ต่อมาปรับรูปแบบเล็กน้อย โดยจะให้บอกโค้ดลับ 3 ครั้ง โดยลำดับคะแนนการตอบถูกจะเป็นดังนี้

  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 1 จะได้ 3 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 2 จะได้ 2 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 3 จะได้ 1 คะแนน

ส่วนรอบที่ 2 นั้น ผู้เล่นในทีมจะสลับหน้าที่กัน กล่าวคือ ผู้ที่เป็นคนช่วยตัวประกันในรอบที่แล้วจะต้องสลับไปเป็นตัวประกันแทน และตัวประกันในรอบที่แล้วก็จะต้องเป็นคนช่วยตัวประกันแทน และคะแนนจะเพิ่มเป็น 2 เท่า ดังนี้

  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 1 จะได้ 10 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 2 จะได้ 8 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 3 จะได้ 6 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 4 จะได้ 4 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 5 จะได้ 2 คะแนน

ต่อมาปรับรูปแบบเล็กน้อย โดยจะให้บอกโค้ดลับ 3 ครั้ง โดยลำดับคะแนนการตอบถูกจะเป็นดังนี้

  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 1 จะได้ 6 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 2 จะได้ 4 คะแนน
  • หากตอบถูกภายในโค้ดลับที่ 3 จะได้ 2 คะแนน

รูปแบบแรกของเกมชิงตัวประกันผู้แข่งขันในทีมจะนั่งเก้าอี้เลื่อนออกมาและถูกแต่งหน้าให้คล้ายกับถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกแต่งตัวในรูปแบบต่างๆ เมื่อพูดโค้ดลับเสร็จจะเข็นเก้าอี้กลับเข้าไป แต่เมื่อยังทายไม่ถูกตัวประกันก็จะถูกแต่งไปเรื่อยๆ หากครบ 5 โค้ดลับ ซึ่งภายหลังมาเป็น 3 โค้ดลับ แล้วยังทายคำปริศนาไม่ถูก ตัวประกันจะถูกปล่อยออกมา และหน่วยพิฆาตจะยิงกระสุนแป้งไล่หลังมาด้วยหรือในบางครั้งตัวประกันจะทำท่าเจ็บตัว แต่ถ้าชิงตัวประกันได้สำเร็จ ตัวประกันจะทำการแกล้งหน่วยพิฆาตกลับคืน เช่น ยิงปืนกระสุนแป้ง ทำให้หน่วยพิฆาตคนใดคนหนึ่งเละหรือเละยกทีมแบบเดียวกับตนเอง ต่อมาเปลี่ยนจากการนั่งเก้าอี้มาเป็นประตูหนาม โดยในแต่ละโค้ดลับ หากตอบไม่ได้ ประตูหนามจะถูกบีบเข้ามา 1 ขั้น ต่อ 1 โค้ดลับที่ตอบไม่ได้ หากยังตอบไม่ได้ครบทั้ง 3 โค้ดลับ ประตูหนามจะทำการบีบตัวประกันจนเละไปทั่วทั้งตัว โดยจะเล่นครบทั้ง 4 คำปริศนา คู่ใดทำคะแนนได้มากกว่าจะผ่านเข้ารอบต่อไป ส่วนคู่ที่ตกรอบจะได้รับทองคำหนัก 4 บาท แต่ถ้าหากว่าทั้ง 2 ทีมทำคะแนนเสมอกัน จะมีกติกาพิเศษ คือ จะมีคำถามพิเศษ 2 ชุด คือ ชุดสีแดงและสีน้ำเงิน โดยจะต้องเลือกเล่น 1 ชุด และสมาชิกในทีมคนใดคนหนึ่งจะต้องเข้าไปเป็นตัวประกัน ส่วนคะแนนจะให้แบบเดียวกับรอบที่ 2 ต่อมาเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยจะมีทุ่นระเบิด 2 ทุ่น คือ ทุ่นระเบิดสีส้มและสีเขียว โดยจะต้องเลือก และทำการดึงสลักออกมาว่าจะมีจำนวนลูกระเบิดเท่าไหร่ โดยคู่ไหนที่มีจำนวนลูกระเบิดมากที่สุดจะได้ผ่านเข้ารอบต่อไป

ปั้นจั่นนรก

แก้

กติกาในรูปแบบแรกนั้น คือ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เคยเปิดเผยของผู้เข้าแข่งขัน (โดยทางรายการจะเรียกว่า "แฟ้มลับจารชน") และจะมีตัวเลือก 2 คำตอบให้เลือก โดยผู้ที่ทายแฟ้มลับนั้นตอบถูก จะเป็นคนสับคัทเอาท์ ผู้ที่เป็นเจ้าของแฟ้มลับจะต้องไปนั่งเก้าอี้ใต้ปั้นจั่น แต่ในทางกลับกันถ้าผู้ที่ทายแฟ้มลับนั้นตอบผิดจะต้องไปนั่งเก้าอี้ใต้ปั้นจั่นแทน และเจ้าของแฟ้มลับจะเป็นผู้ที่สับคัทเอาท์ และจะมีคัทเอาท์ทั้งหมด 5 แท่งให้เลือก ถ้าคัทเอาท์ที่เลือกนั้นสับแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผู้ที่นั่งเก้าอี้จะรอด และกลับไปทายแฟ้มลับกันต่อ แต่ในทางกลับกันเมื่อสับคัทเอาท์แล้วปั้นจั่นทำงาน ผู้เข้าแข่งขันที่นั่งเก้าอี้จะถูกปั้นจั่นทับ และพื้นที่ตรงเก้าอี้ที่ผู้เข้าแข่งขันนั่งจะโหลดต่ำลง เพื่อดูเหมือนว่าโดนปั้นจั่นทับจริงๆ โดยเกมรูปแบบนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม - 20 เมษายน พ.ศ. 2541

กติกาในรูปแบบที่ 2 คือ จะมีดาบให้เลือก 10 เล่ม โดยจะเป็นการเลือกว่าจะดึงดาบหมายเลขใด ซึ่งรูปแบบนี้ใช้เพียง 2 ครั้ง คือวันที่ 27 เมษายน และ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ต่อมาตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน เปลี่ยนมาเป็นการเลือกชักดาบเป็นฝั่ง โดยจะมี 2 ฝั่งให้เลือก คือฝั่งซ้ายและฝั่งขวา โดยจะมีฝั่งละ 5 เล่ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นฝั่งสีแดงและสีน้ำเงิน และสุดท้ายเป็นฝั่งสีเขียวและสีส้ม ซึ่งดาบจะมีลักษณะแตกต่างกันและมีความยาวไม่เท่ากัน ต่อมาได้มีการพลิกแพลงไปในทางลักษณะอื่นที่นอกเหนือจากดาบ เพื่อมีสีสันมากขึ้น โดยเกมรูปแบบนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ 27 เมษายน พ.ศ. 2541 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2543 โดยผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบนั้น จะได้รับทองคำหนัก 3 บาท (ในช่วงวันที่ 16 มีนาคม - 21 กันยายน พ.ศ. 2541) ต่อมาช่วงที่ผลิตภัณฑ์ฮาร์โมนีเป็นผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับผลิตภัณฑ์สบู่ฮาร์โมนี่ 1 ชุด (10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2543) โดยเกมนี้ใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2543

ปี 2541
แก้
ลำดับ เทปที่ วันที่ออกอากาศ หมายเลขที่โดน ผู้เข้าแข่งขันที่โดนปั้นจั่นทับ ผู้เข้าแข่งขันที่เจอคัตเอาท์นรก
ปี 2541
1 1 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 4 สราวุฒิ พุ่มทอง ถั่วแระ เชิญยิ้ม
2 2 23 มีนาคม พ.ศ. 2541 1 สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ สกาวใจ พูนสวัสดิ์
3 3 30 มีนาคม พ.ศ. 2541 5 นพชัย มัททวีวงศ์ นภัสสร บุรณศิริ
4 4 6 เมษายน พ.ศ. 2541 2 วรเชษฐ์ เอมเปีย (เชษฐ์ สไมล์บัฟฟาโล่) สายธาร นิยมการณ์
5 5 13 เมษายน พ.ศ. 2541 1 เอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ ภัคจีรา วรรณสุทธิ์
6 6 20 เมษายน พ.ศ. 2541 2 กนกวรรณ บุรานนท์ วรวุฒิ นิยมทรัพย์
7 7 27 เมษายน พ.ศ. 2541 1 อรนภา กฤษฎี ฉัตรมงคล บำเพ็ญ
8 8 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 3 โจอี้ บอย นำชัย จรรยาฐิติกุล
9 9 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 1 พรหมมาตร วงที (บี แก๊งโฟร์) หม่ำ จ๊กมก
10 10 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 4 โน้ต เชิญยิ้ม อิสราภรณ์ จันทรโสภาคย์ (แอนนา Teen 8 Grade A)
ปี 2542
แก้
ลำดับ เทปที่ วันที่ออกอากาศ คัตเอาท์ ผู้เข้าแข่งขันที่โดนปั้นจั่นทับ ผู้เข้าแข่งขันที่เจอคัตเอาท์นรก
ปี 2542
1 42 2 มกราคม พ.ศ. 2542 3 หนู คลองเตย ธนะยศ จิวานนท์ (ออดี้)
2 43 9 มกราคม พ.ศ. 2542 2 อโณมา ศรัณย์ศิขริน เทพ โพธิ์งาม
3 44 16 มกราคม พ.ศ. 2542
4 45 23 มกราคม พ.ศ. 2542
5 46 30 มกราคม พ.ศ. 2542
6 47 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
7 48 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 5 อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร มาริสา สัมฤทธิ์สุข
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 1 วรรณภา คำสงค์ แดนนี่ ศรีภิญโญ
11 กันยายน พ.ศ. 2542 4 เจมี่ บูเฮอร์ ทศพล ศิริวัฒน์ (ทศ 108 มงกุฎ)

เหมืองมรณะ

แก้

กติกา คือ ผู้เข้าแข่งขันจะอยู่บนรถเลื่อนที่จำลองออกมาเป็นรถขนหินแร่ในเหมือง ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นกระป๋องเป๊ปซี่ขนาดยักษ์ จากนั้นจะมีคำถามจากผู้สนับสนุนหลักในช่วง 10 แผ่นป้าย โดยคำถามแต่ละแผ่นป้ายนั้นจะเป็นคำถามที่เกี่ยวกับความรู้ทั่วไป คำถามที่ถามจากเรื่องราวที่เป็นกระแส ณ ขณะนั้น หรือจะเป็นคำถามจากการสำรวจแบบสอบถามทั่วไปหรือโพลซึ่งคำตอบและข้อมูลที่นำมาเป็นคำถามนั้นอ้างอิงและมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น นิตยสาร, เว็บไซต์หรือสำนักโพลต่างๆ และมีตัวเลือก 2 ตัวเลือก หากผู้เข้าแข่งขันตอบถูก รถของฝ่ายตรงข้ามจะถูกเลื่อน 1 ขั้น แต่ถ้าตอบผิดรถของตนเองจะโดนเลื่อน 1 ขั้นแทน จากนั้นจะผลัดกันเลือกคำถามจากแผ่นป้ายที่เหลือ และทำเช่นนี้จนกว่ารถของผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งตกเหมืองไป โดยระดับของรถเลื่อนของแต่ละฝ่ายจะมีอยู่ทั้งหมด 3 ขั้น ผู้เข้าแข่งขันที่ตกลงไปในเหมืองจะถูกทีมงานละเลงแป้งและผงถ่านจนมีสภาพเปรอะเปื้อน และได้รับผลิตภัณฑ์จากทางรายการ 1 คันรถ (ผู้สนับสนุนหลักในขณะนั้น เช่น ผลิตภัณฑ์สบู่วาสลีนฮาร์โมนี ดีโอแอคทีพ ต่อมาเป็นผงซักฟอกบรีส) โดยเกมนี้ใช้ตั้งแต่ 2 เมษายน พ.ศ. 2543 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548

รอบสะสมรางวัล

แก้

ในรอบสะสมรางวัลนั้น จะเล่นหลังจากจบการแข่งขันรอบชิงตัวประกัน แต่ในช่วงแรกของรายการจะให้ผู้ที่เข้ารอบจากรอบปั้นจั่นนรกไปสะสมทองคำก่อน โดยทองคำที่สะสมได้จะเป็นของผู้ที่เข้ารอบกับผู้โชคดีทางบ้าน โดยทองคำที่สะสมมาได้นั้น มีสิทธิ์ที่จะได้ทองคำเพิ่มอีก 10 เท่าจากผู้สนับสนุนหลักหากผู้แข่งขันทำ JACKPOT แตก และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาโดยตลอด ดังนี้

ตามล่าเอเลี่ยน

แก้

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้าย "เอเลี่ยน" 4 แผ่นป้าย โดยจะมี 4 สี คือ สีแดง, สีเขียว, สีเหลือง และสีน้ำเงิน ต่อมาเปลี่ยนเป็นเอเลี่ยน 4 ตัว 4 สี คือ สีชมพู, สีเขียว, สีน้ำเงิน และสีม่วง และแผ่นป้าย "X" 8 แผ่นป้าย โดยจะมีทองคำสะสมตั้งต้นที่ 12 บาท โดยแต่ละแผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้ายเพื่อหาเอเลี่ยนให้ครบทั้ง 4 ตัว โดยแผ่นป้ายเอเลี่ยนแต่ละตัวจะมีค่าเป็นทองคำหนัก 1 บาท ถ้าเปิดเจอแผ่นป้าย X จะถูกหักทองคำสะสมออกไปใบละ 1 บาท ผู้เล่นจะต้องเปิดแผ่นป้ายไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอเอเลี่ยนครบทั้ง 4 แผ่นป้าย เกมจะจบลง โดยจะได้รับทองคำจากแผ่นป้ายเอเลี่ยน 4 บาท รวมกับจำนวนแผ่นป้ายกากบาทที่ไม่ถูกเปิด ซึ่งแต่ละแผ่นป้ายจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นทองคำหนัก 1 บาท แต่ถ้าเปิดเจอเอเลี่ยนครบ 4 แผ่นป้ายโดยที่ไม่เจอ X จะได้รับทองคำสะสม 12 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ ผลิตภัณฑ์ซันซิล ต่อมาเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นรองเท้านักเรียน PAN รุ่น SKY PLUS และรองเท้านักเรียนหญิง PS.JUNIOR ตามลำดับ) โดยทองคำที่สะสมนั้น จะเป็นของผู้ที่ชนะการแข่งขันตลอดทั้งรายการ และอาจจะได้เพิ่มสูงสุดอีก 10 เท่าในรอบสุดท้าย หากผู้แข่งขันทำ JACKPOT แตก โดยเกมนี้ใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2543

ขุมทองจารชน

แก้

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 10 แผ่นป้าย แผ่นป้าย "เอเลี่ยน" 2 แผ่นป้าย โดยจะมี 2 สี คือ สีชมพู และสีน้ำเงิน ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 1 บาท ถ้าเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 12 บาท แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้ายเอเลี่ยน จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอเอเลี่ยน หากเปิดเจอแผ่นป้ายเอเลี่ยนครบ 2 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 12 บาทเช่นกัน แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ แล้วแผ่นป้ายต่อไปเป็นป้ายเอเลี่ยน ถือว่าเกมหยุดและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าแผ่นป้ายแรกเป็นป้ายเอเลี่ยน แล้วแผ่นป้ายต่อไปเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ เกมจะหยุดลงและได้รับทองคำสะสมหนัก 1 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ ผลิคภัณฑ์สกาแคร์ ต่อมาเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นรองเท้านักเรียน PAN รุ่น S-ONE GUARD และรองเท้านักเรียนหญิง PS.JUNIOR ชุดเครื่องนอนซาติน ผลิตภัณฑ์ยูโร่เค้ก และเครื่องเล่นดีวีดีแฟมิลี่ ตามลำดับ)

ทั้งนี้ ในยุคที่ชุดเครื่องนอนซาตินเป็นผู้สนับสนุนหลักของช่วง ทางรายการจะมอบชุดเครื่องนอนซาตินคนละ 1 ชุด ให้กับผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบหลังจากรอบสะสมทองคำจบลง ต่อมาในยุคที่ผลิตภัณฑ์ยูโร่เค้กเป็นผู้สนับสนุนหลักในช่วง จะแบ่งเป็น 3 รสชาติ คือ คัสตาร์ทเค้ก 4 แผ่นป้าย สตอร์เบอรรี่เค้ก และมาร์เบิ้ลเค้ก อย่างละ 3 แผ่นป้าย และยุคที่เครื่องเล่นดีวีดีแฟมิลี่เป็นผู้สนับสนุนหลักในช่วง จะเป็นแผ่นป้ายคุณสมบัติต่างๆ ของเครื่องเล่นดีวีดีแฟมิลี่ 10 แผ่นป้าย

โดยทองคำที่สะสมมานั้นจะเป็นของผู้ที่เข้ารอบสุดท้าย และอาจจะได้เพิ่มสูงสุดอีก 10 เท่าในรอบสุดท้าย หากผูัแข่งขันทำ JACKPOT แตก โดยเกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2543 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548

รอบสุดท้าย

แก้

ในรอบสุดท้ายนั้น มีการเปลี่ยนรูปแบบมาโดยตลอด ดังนี้

โคลนนิ่งเอเลี่ยน

แก้

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการในเครือยูนิลีเวอร์ทั้งหมด 4 แผ่นป้าย โดยแต่ละแผ่นป้ายนั้นจะกำหนดไว้แล้วว่าเอเลี่ยนแต่ละสีอยู่ที่แผ่นป้ายใด ผู้แข่งขันจะต้องนำแผ่นป้ายเอเลี่ยนที่เปิดได้จากรอบตามล่าเอเลี่ยนไปวางไว้ในแต่ละสี หากไม่มั่นใจสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้ และจะเปิดเฉลยทีละแผ่นป้าย หากเปิดออกมาแล้วสีไม่ตรงตามที่เลือก เกมจะจบลงทันที ทั้งนี้หากเปิดออกมาแล้วสีตรงกันทั้ง 4 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำที่สะสมไว้เพิ่มอีก 20 เท่า โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 10 เท่า ซึ่งมีโอกาสได้รับทองคำสูงสุดถึง 240 บาท เช่น หากมีทองคำสะสมอยู่ที่ 5 บาท จะได้รับทองคำเพิ่มอีก 20 เท่า เท่ากับว่าจะได้รับทองคำหนัก 100 บาท โดยเกมนี้ใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 24 เมษายน พ.ศ. 2542

สำหรับกติกาในการลุ้นโชคของทางบ้าน คือ คนที่ตกรอบในรอบเลขอันตรายจะเป็นตัวแทนจับชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ผู้สนับสนุนหลักขึ้นมา 1 รายชื่อ ในแต่ละสัปดาห์ผู้โชคดีทางบ้านจะได้รับทองคำหนัก 1 บาท เมื่อผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบสุดท้ายสะสมทองได้กี่บาท และหากทำ JACKPOT แตก จะได้รับทองเท่ากับผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งมีโอกาสได้รับทองคำสูงสุดถึง 240 บาท

แต่ถ้าภายใน 6 เดือน ยังไม่มีผู้แข่งขันคนใดทำ JACKPOT แตก ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คน จับชิ้นส่วนขึ้นมาคนละ 1 รายชื่อ เมื่อหลังจากจบการแข่งขันรอบปั้นจั่นนรก รายชื่อของผู้โชคดีทางบ้านที่คู่กับผู้แข่งขันเข้ารอบสุดท้าย จะได้รับทองคำหนัก 120 บาททันที ส่วนรายชื่อของผู้โชคดีทางบ้านที่คู่กับผู้แข่งขันท่านอื่นๆ ที่ตกรอบ จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ผงซักฟอกบรีส ต่อมาเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นผลิตภัณฑ์สบู่ฮาร์โมนี)

บิ๊กเอเลี่ยน

แก้

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการในเครือยูนิลีเวอร์ทั้งหมด 5 แผ่นป้าย โดยแต่ละแผ่นป้ายนั้นจะมีขนาดของเอเลี่ยนตั้งแต่ขนาดจิ๋วจนถึงขนาดมโหฬาร ผู้แข่งขันจะต้องเลือกแผ่นป้ายมาวางเรียงเพื่อให้ได้ลำดับจากเล็กไปใหญ่ เพื่อเป็นการเพาะเลี้ยงเอเลี่ยนให้สมบูรณ์​ เมื่อเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการเสร็จสิ้น พิธีกรจะเปิดแผ่นป้ายจากแผ่นป้ายแรกที่เลือก หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเรียงลำดับขนาดของเอเลี่ยนจากขนาดเล็กไปใหญ่ได้ถูกต้อง จะได้รับทองคำที่สะสมไว้เพิ่มอีก 20 เท่า โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 10 เท่า ซึ่งมีโอกาสได้รับทองคำสูงสุดถึง 240 บาท เช่น หากมีทองคำสะสมอยู่ที่ 5 บาท จะได้รับทองคำเพิ่มอีก 20 เท่า เท่ากับว่าจะได้รับทองคำหนัก 100 บาท ถ้าหากเปิดได้แผ่นป้ายที่มีขนาดเอเลี่ยนไม่เรียงกัน เกมจะจบลงทันที โดยเกมนี้ใช้ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548

สำหรับกติกาในการลุ้นโชคของทางบ้าน คือ ผู้ที่ตกรอบในรอบเลขอันตรายจะเป็นตัวแทนจับชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ผู้สนับสนุนหลักขึ้นมา 1 รายชื่อ ในแต่ละสัปดาห์ผู้โชคดีทางบ้านจะได้รับทองคำหนัก 1 บาท เมื่อผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบสุดท้ายสะสมทองได้กี่บาท และหากทำ JACKPOT แตก จะได้รับทองเท่ากับผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งมีโอกาสได้รับทองคำสูงสุดถึง 240 บาท

แต่ถ้าภายใน 6 เดือน ยังไม่มีผู้แข่งขันคนใดทำ JACKPOT แตก ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คน จับชิ้นส่วนขึ้นมาคนละ 1 รายชื่อ เมื่อหลังจากจบการแข่งขันรอบเหมืองมรณะ รายชื่อของผู้โชคดีทางบ้านที่คู่กับผู้แข่งขันเข้ารอบสุดท้าย จะได้รับทองคำหนัก 120 บาททันที ส่วนรายชื่อของผู้โชคดีทางบ้านที่คู่กับผู้แข่งขันท่านอื่นๆ ที่ตกรอบ จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ผลิตภัณฑ์สบู่ฮาร์โมนี ต่อมาเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นผงซักฟอกบรีส)

ผู้ที่ทำ JACKPOT แตก

แก้

หมายเหตุ / เกร็ด

แก้
  1. ในเทปวันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2541 ในรอบปั้นจั่นนรก ตามหลักแล้วคุณไทด์-เอกพันธ์จะต้องโดนคนเดียว แต่ได้ดึงเสนาหอยเข้ามานั่งเป็นเพื่อนด้วย
  2. วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2541 รายการเกมจารชนได้งดออกอากาศ เนื่องจากมีรายการถ่ายทอดสด ฟุตบอลโลก FRANCE'98 โดยเป็นการแข่งขันของกลุ่ม F สหรัฐอเมริกา - อิหร่าน และกลุ่ม G โคลอมเบีย - ตูนีเซีย
  3. ในเทปวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ในช่วงที่เปิดตัวผู้เข้าแข่งขันคนที่ 5 ซูโม่ตุ๋ย-อรุณ ได้สวมหน้ากากออกมา และทางรายการประกาศชื่อว่าเป็น "จอนนี่ แอนโฟเน ?" ก่อนที่จะถอดหน้ากากออกในรอบชิงตัวประกัน
  4. ในเทปวันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2541 จัดเป็นเทปพิเศษในชื่อ "จารชนรวมพลคนตกรอบ" โดยจะเป็นการนำผู้เข้าแข่งขันที่เคยมาร่วมรายการและตกรอบในเลขอันตรายกลับมาแข่งขันอีกครั้ง
  5. ในเทปวันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2541 มีการแจกรางวัลทองคำหนัก 120 บาทเป็นครั้งแรก เนื่องจากไม่มีการทำ JACKPOT แตกภายใน 6 เดือน
  6. ในเทปวันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2541 จัดเป็นเทปพิเศษในชื่อ "รวมมันส์พันธุ์จารชน" รวมทั้งเป็นเทปสุดท้ายที่ออกอากาศในคืนวันจันทร์ ก่อนที่จะย้ายไปออกอากาศในวันเสาร์ในสัปดาห์ต่อมา
  7. ในเทปวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2541 จัดเป็นเทปพิเศษในชื่อ "รวมมันส์พันธุ์จารชน กำลัง 2" รวมทั้งเป็นเทปแรกที่ออกอากาศในวันเสาร์กับเวลาใหม่
  8. ในเทปวันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ในรอบปั้นจั่นนรก ตามหลักแล้วคุณกิ๊ฟ-วรรณภาจะต้องเข้าไปนั่งเก้าอี้ใต้ปั้นจั่นและต้องโดน แต่คุณกอล์ฟ-เบญจพลได้เข้าไปแทนจากการท้าทายของคุณแดนนี่
  9. รางวัลทองคำที่ได้นั้น จะนับรวมทั้งของผู้เข้าแข่งขันที่ทำ JACKPOT แตก และผู้โชคดีทางบ้านที่ได้ร่วมลุ้นจากการจับชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์เมื่อตอนหลังรอบเลขอันตราย
  10. "มยุรา เศวตศิลา" ไม่ได้มารับหน้าที่พิธีกรตั้งแต่เทปวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 เนื่องจากติดภารกิจ ก่อนที่จะกลับมาอีกครั้งในเทปวันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม ในปีเดียวกัน
  11. "โหน่ง ชะชะช่า" เป็นนักแสดงคนเดียวที่ได้รับหน้าที่ทั้งเป็นหน่วยพิฆาตและผู้เข้าแข่งขัน ก่อนที่จะได้รับหน้าที่เป็นพิธีกรตั้งแต่ปี 2543
  12. "เกียรติศักดิ์ อุดมนาค" กลับมาอีกครั้งในฐานะผู้เข้าแข่งขัน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
  13. "มาริสา สัมฤทธิ์สุข" เป็นผู้เข้าแข่งขันคนแรกที่เจอเลขอันตราย
  14. "สราวุฒิ พุ่มทอง" เป็นผู้เข้าแข่งขันคนแรกที่ได้นั่งเก้าอี้ใต้ปั้นจั่นติดกันถึง 5 ครั้ง
  15. "ถั่วแระ เชิญยิ้ม" เป็นผู้เข้าแข่งขันคนแรกที่ได้สับคัทเอาท์นรกครบทั้ง 5 คัทเอาท์
  16. "หม่ำ จ๊กมก" เป็นผู้เข้าแข่งขันคนแรกที่เจอคัตเอาท์นรกภายในครั้งแรก

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เวิร์คพอยท์ ขยายธุรกิจ อวดศักยภาพรายการไทย ต่างประเทศทั่วโลกรุมซื้อลิขสิทธิ์". Positioning Magazine. 5 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ""เกมจารชน คู่หูอันตราย" กลับมาแล้ว 2 คู่ป่วน ตั๊ก & ป๋อง พร้อมลงจอสร้างเสียงฮา!!". Newswit. 4 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Workpoint Classic (2015-08-13), เกมจารชน | พล ตัณฑเสถียร, แนน ชลิตา, เสนาลิง, อ๋อม สกาวใจ, หนุ่ม กรรชัย 23 มี.ค. 41, สืบค้นเมื่อ 2024-07-06
  4. Workpoint Classic (2024-06-24), เกมจารชน | EP.29 รวมความสนุก มัน ฮา ยกกำลัง | 3 ต.ค. 41 Full EP, สืบค้นเมื่อ 2024-07-06
  5. Workpoint Classic (2024-07-06), เกมจารชน | EP.41 วอย น้ำฝน ดอม ตา โหน่ง | 26 ธ.ค. 41 Full EP, สืบค้นเมื่อ 2024-07-07
  6. Workpoint Classic (2016-01-11), เกมจารชน | ดา ชฎาพร, เชษฐ์ สไมล์บัฟฟาโล, กิ๊ก มยุริญ, สุเทพ สีใส, ต่าย สายธาร 6 เม.ย. 41, สืบค้นเมื่อ 2024-07-06