ฉบับร่าง:เวทีทอง

(เปลี่ยนทางจาก เวทีทอง เวทีเธอ)
เวทีทอง
Ve Tee Thong
ประเภทเกมโชว์
พัฒนาโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
เสนอโดยดูในบทความ
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนฤดูกาล8
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตปัญญา นิรันดร์กุล
ประภาส ชลศรานนท์
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอ ช่อง 7 สี
สตูดิโอกรุงเทพ
เวิร์คพอยท์ สตูดิโอ
ความยาวตอนดูในบทความ
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
ช่องเวิร์คพอยท์
ออกอากาศดูในบทความ

เวทีทอง เป็นรายการเกมโชว์และรายการโทรทัศน์รายการแรกของ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2532 ทางช่อง 7 และย้ายไปออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มกราคม 2541 และย้ายไปออกอากาศทางช่อง 5 เมื่อวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2542 จนกระทั่งออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2550 โดยได้นำรายการ ตู้ซ่อนเงิน ขึ้นมาแทน

ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2559 ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งทางช่องเวิร์คพอยท์[1][2] ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ" ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 13:00 - 14:00 น.[3] ก่อนเปลี่ยนชื่อรายการกลับมาเป็น "เวทีทอง" อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ช่องเวิร์คพอยท์ได้นำรายการใหม่คือรายการ Game Room ห้องชนเกม มาออกอากาศตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 จนถึงวันที่ 29 มกราคม 2566 จึงได้นำละครซิทคอมใหม่เรื่อง เจ๊ไฝยอดนักสืบ มาออกอากาศแทน

ประวัติ แก้

รายการเวทีทองออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2532 โดยรูปแบบรายการเวทีทองในยุคแรก (14 ตุลาคม 2532 - 25 สิงหาคม 2533) เป็นการเปิดโอกาสให้นักแสดงอาชีพ,ดารา,ผู้เข้าแข่งขันทางบ้านที่มีความสามารถมาแสดงอะไรก็ได้บนเวที หต่อมาในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 ได้ปรับรูปแบบรายการเป็นรายการเกมโชว์เกี่ยวกับภาษาซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 3 คน โดยได้เปลี่ยนพิธีกรจาก ปัญญา นิรันดร์กุล เป็น ซูโม่เจี๊ยบ-วัชระ ปานเอี่ยม และผู้เข้าแข่งขันกลุ่มแรกในยุคเกมโชว์ได้แก่ ดิเรก อมาตยกุล , มยุรา ธนะบุตร และ จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก ซึ่งรายการมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการอยู่หลายครั้ง[ต้องการอ้างอิง] โดยมีการเปลี่ยนชื่อรายการด้วย ดังนี้

ชื่อ ช่วงปี ระยะเวลาของชื่อรายการ ออกอากาศ หมายเหตุ
เวทีทอง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 4 ปี 7 เดือน 14 วัน ช่อง 7 ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อรายการกลับมาเป็น "เวทีทอง" จนถึง พ.ศ. 2547 และใช้อีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550 และกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2562 จนถึง พ.ศ. 2565
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 - 31 มกราคม พ.ศ. 2547 2 ปี 8 เดือน 27 วัน ช่อง 5
20 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 13 มกราคม พ.ศ. 2550 1 ปี 4 เดือน 24 วัน
1 กันยายน พ.ศ. 2562 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 2 ปี 5 เดือน 12 วัน ช่องเวิร์คพอยท์
เวทีทอง เนเวอร์ดาย (NEVER DIE) 4 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 3 ปี 11 เดือน 26 วัน ช่อง 7
ช่อง 3
เวทีทอง เมจิก (MAGIC) 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 - 27 เมษายน พ.ศ. 2545 3 ปี 10 เดือน 21 วัน
ช่อง 5
เวทีทอง ซิกส์ทีน (16TH) 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2548 1 ปี 6 เดือน 6 วัน
เวทีทอง เวทีเธอ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 3 ปี 7 เดือน 15 วัน ช่องเวิร์คพอยท์ รายการ "เวทีทอง" กลับมาอีกครั้งในรูปแบบใหม่ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ" หลังจากที่ห่างหายไปถึง 8 ปี 11 เดือน 28 วัน

ภายหลังจากยุคเวทีทองในยุคที่ กิ๊ก-เกียรติ กิจเจริญ และ หม่ำ-เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา เป็นพิธีกรผ่านพ้นไปแล้ว เวทีทองในยุค แอนดี้ เขมพิมุก และ ดีเจภูมิ-ภูมิใจ ตั้งสง่า นั้น กระแสความนิยมเริ่มลดลง แม้ว่าในช่วงซิกซ์ทีนจะยังคงได้รับความนิยมอยู่ก็ตาม ทั้งนี้ ด้วยองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ตลอดจนกระแสของรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลทำให้รายการเวทีทอง ได้รับผลกระทบอย่างมาก[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกย้ายเวลามาอยู่ในวันเสาร์ เวลา 22.00 น.[ต้องการอ้างอิง] ในปี 2559 ช่องเวิร์คพอยท์ได้ผลิตรายการใหม่เพิ่มอีกหลายรายการ รวมทั้งการนำรายการเวทีทองกลับมาทำใหม่ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ"[2] ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2559 โดยมีพิธีกรคู่ใหม่ คือ เสนาหอย-เกียรติศักดิ์ อุดมนาค และ แจ๊ส ชวนชื่น-ผดุง ทรงแสง[5] ก่อนที่จะเปลี่ยนพิธีกรอีกครั้งจากเสนาหอยเป็น อุล-ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2562 และเปลี่ยนชื่อรายการกลับมาเป็น "เวทีทอง" อีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565

ผู้ดำเนินรายการ แก้

ชื่อ ชื่อในวงการ ช่วงปี ระยะเวลาที่เป็นพิธีกร หมายเหตุ
ปัญญา นิรันดร์กุล 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 4 เดือน 10 วัน
วัชระ ปานเอี่ยม ซูโม่เจี๊ยบ 3 มีนาคม พ.ศ. 2533 - 25 เมษายน พ.ศ. 2535 1 ปี 1 เดือน
เสกสรรค์ ชัยเจริญ หนุ่มเสก 16 พฤษภาคม - 12 กันยายน พ.ศ. 2535 3 เดือน 27 วัน เป็นพิธีกรที่อยู่ได้สั้นที่สุด
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา หนุ่มหม่ำ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 - 31 มกราคม พ.ศ. 2547 11 ปี 8 เดือน 15 วัน (ช่วงแรกใช้ชื่อว่า หนุ่มหม่ำ เพื่อให้คล้องจองกับ หนุ่มเสก)
เป็นพิธีกรที่อยู่ได้นานที่สุดคู่กับซูโม่กิ๊ก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 หม่ำ จ๊กมก ได้กลับเข้ามาในรายการเวทีทองอีกครั้งในฐานะผู้เข้าแข่งขันในยุคซิกซ์ทีนและยุคเวทีทอง เวทีเธอ
หม่ำ จ๊กมก
เกียรติ กิจเจริญ ซูโม่กิ๊ก 19 กันยายน พ.ศ. 2535 - 31 มกราคม พ.ศ. 2547 11 ปี 4 เดือน 11 วัน เป็นพิธีกรที่อยู่ได้นานที่สุดคู่กับหม่ำ ในช่วงที่ซูโม่กิ๊กรับหน้าที่เป็นพิธีกร เขายังรับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ของรายการด้วย
แอนดี้ เขมพิมุก แอนดี้ DRAGON FIVE 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 - 13 มกราคม พ.ศ. 2550 2 ปี 11 เดือน 6 วัน
ภูมิใจ ตั้งสง่า DJ ภูมิ
เกียรติศักดิ์ อุดมนาค เสนาหอย 10 มกราคม พ.ศ. 2559 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 3 ปี 5 เดือน 20 วัน
ผดุง ทรงแสง แจ๊ส ชวนชื่น 10 มกราคม พ.ศ. 2559 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 6 ปี 1 เดือน 3 วัน
ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา อุล หกฉาก 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 2 ปี 7 เดือน 6 วัน

รูปแบบรายการ แก้

รายการเวทีทองจะแบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก ๆ โดยจะเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบของรายการและปีที่ออกอากาศ ดังนี้

ชื่อช่วง ช่วงปี หมายเหตุ
ช่วงที่ 1
โชว์ความสามารถ 2532 - 2533
สกัดดาวรุ่ง 2533 - 2535
ภาพปริศนา (ปริศนาจ๊กมก) 2536 - 2550
2559 - 2565
ช่วงที่ 2
โชว์ความสามารถ ช่วงที่ 2 2532 - 2533
หาดาวทอง (คำปริศนา) 2533 - 2545
พาดหัวข่าว 2545 - 2547
คำปริศนา 2547 - 2550
2559 - 2565
ข้อความปริศนา
รอบตกรอบ (หาดาวเทียม) 2533 - 2535
กล่องทองคำ (1 บาท / 5 บาท) 2535 - 2539
สะสมทอง 2539 - 2550
ช่วงที่ 3 (รอบ JACKPOT,BONUS)
ช่วงชิงชนะเลิศ 2532 - 2533
ชั่งทอง 2533 - 2545
2562 - 2565
เปิดแผ่นป้ายชิงทอง 2545 - 2550
กล่องทองคำปริศนา 2559 - 2562

กติกา แก้

ยุคซูโม่เจี๊ยบ (2533 - 2535) / หนุ่มเสก-หนุ่มหม่ำ (2535) แก้

สกัดดาวรุ่ง แก้

กติกา คือ ทางรายการจะมีคำปริศนา 2 คำ โดยจะมาในรูปแบบ VTR มาให้ผู้เข้าแข่งขันได้ดูเพื่อจับใจความถึงคำๆ นั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกดปุ่มให้ไฟติด โดยจะมี 3 ปุ่ม แต่ละปุ่มจะอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน (หน้า/ล่าง/หลัง) และปุ่มของแต่ละโพเดียมจะมีสัญลักษณ์ต่างกัน (สามเหลี่ยม/วงกลม/สี่เหลี่ยม) หากไฟติดที่ใคร คนนั้นจะมีสิทธิ์ตอบก่อน ต่อมาเป็นปุ่มเหยียบในช่อง สี่เหลี่ยม 25 ปุ่ม หากตอบถูกจะได้ผ่านเข้ารอบไปก่อน หากไม่มั่นใจก็สามารถโยนสิทธิ์ให้ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่นได้ แต่ถ้าหากตอบผิด คะแนนจะติด –1 หากตอบผิดครบ 4 ครั้ง คะแนนจะกลายเป็น -4 (ต่อมาลดเหลือ 3 ครั้ง คะแนนจะกลายเป็น -3) ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้นจะตกรอบทันที หลังจากนั้นทางรายการจะมีคำใบ้มาให้ผู้เข้าแข่งขันเพิ่มเติม จนกว่าจะมีคนที่ตอบถูก แต่ในบางสัปดาห์ก็จะมีผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านมาร่วมแข่งขันกับดารารับเชิญ

หาดาวทอง (คำปริศนา) แก้

กติกา คือ ทางรายการจะมีแผ่น CD 4 แผ่น แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 10 คำ โดยชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 จะมีคะแนนชุดละ 1 คะแนน ส่วนชุดที่ 3 และ ชุดที่ 4 จะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาก่อนมีสิทธิ์เลือกแผ่น CD และตอบคำถามในหมวดเดียวกันให้ถูกภายในเวลา 45 วินาที โดยคำแรกของแต่ละชุดจะขึ้นต้นเหมือนกันทั้ง 10 คำ และโจทย์ในแต่ละชุดจะเป็นความหมายหรือคำที่เกี่ยวข้องกับคำๆ นี้ หากตอบคำใดไม่ได้ให้พูดคำว่า "ข้าม" พิธีกรก็จะอ่านโจทย์ใหม่ และพออ่านครบ 10 ข้อ พิธีกรจะวนกลับมาอีกครั้งในกรณีเวลายังไม่หมด หลังจากตอบคำปริศนาครบทั้ง 2 ชุด ผู้แข่งขันคนใดทำคะแนนได้มากกว่า จะกลายเป็นดาวทองหรือแชมป์ประจำสัปดาห์ทันที หากผู้แข่งขันทำคะแนนเสมอกัน จะต้องตอบคำถามชุดพิเศษ หากผู้แข่งขันคนใดได้คะแนนมากกว่าก็จะเป็นดาวทอง แต่หากเสมอกันอีกก็ต้องแข่งกันจนกว่าจะมีผู้ชนะ

ชั่งทอง แก้

ก่อนจะเข้าไปเล่นเกมชั่งทอง ผู้แข่งขันที่เป็นดาวทองจะได้รับเหรียญดาวทองในการรักษาตำแหน่ง และดาวทองยังมีสิทธิ์กลับมารักษาตำแหน่งดาวทองจนกว่าจะมีดาวทองคนใหม่ หากผู้เข้าแข่งขันดาวทองสามารถรักษาตำแหน่งทุก 3 สมัย จะได้รับตั๋วเครื่องบินกรุงเทพฯ-ญี่ปุ่น จากสายการบิน ANA ออล นิปปอน แอร์เวย์ ในส่วนของแผ่นป้ายนั้น มีแผ่นป้ายทั้งหมด 10 แผ่นป้าย โดยแต่ละแผ่นป้ายจะมีสิ่งของที่มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม โดยเลือกมา 1 แผ่นป้าย เปิดเจออะไรจะได้ของชิ้นนั้น และนำไปแปรสภาพเป็นทองคำหนัก 1 กิโลกรัม ต่อมาเปลี่ยนแผ่นป้ายเป็น 5 ครั้ง 8 แผ่นป้าย ที่เหลือเป็นเลข 4 และเลข 6 หากสามารถหยิบของที่มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัมขึ้นไป ครบทั้ง 3 ชิ้น จากทั้งหมด 15 ชิ้น โดยกำหนดการชั่งไว้ที่ 5 ครั้ง สามารถผิดได้ 2 ครั้ง หากหยิบของนำมาชั่งผิดเป็นครั้งที่ 3 เกมจะยุติลงทันที ต่อมาได้เป็นผิดเกินจำนวนครั้งที่กำหนดจากป้าย ในส่วนของตาชั่งนั้น จะกำหนดเขตไว้ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสีทองคือเขตของน้ำหนัก 1 กิโลกรัมขึ้นไป และส่วนที่เป็นสีเทาคือเขตของน้ำหนักที่มีน้อยกว่า 1 กิโลกรัม

ยุคกิ๊ก-หม่ำ (2535 - 2547) แก้

ในยุคที่เปลี่ยนแปลงพิธีกรจาก หนุ่มเสก-เสกสรร ชัยเจริญ มาเป็น ซูโม่กิ๊ก-เกียรติ กิจเจริญ รายการเวทีทองได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบและกติกาใหม่ตามปีที่ออกอากาศ ดังนี้

สกัดดาวรุ่ง (2535) แก้

กติกา คือ ทางรายการจะมีคำปริศนา 2 คำ โดยจะมาในรูปแบบ VTR มาให้ผู้เข้าแข่งขันได้ดูเพื่อจับใจความถึงคำๆ นั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกดปุ่มให้ไฟติด โดยจะมี 25 ปุ่มในช่องสี่เหลี่ยมคล้าย dancing pad หากไฟติดที่ใคร คนนั้นจะมีสิทธิ์ตอบก่อน หากตอบถูกจะได้ผ่านเข้ารอบไปก่อน หากไม่มั่นใจก็สามารถโยนสิทธิ์ให้ผู้เข้าแข่งขันท่านอื่นได้ แต่ถ้าหากตอบผิด คะแนนจะติด –1 หากตอบผิดครบ 3 ครั้ง คะแนนจะกลายเป็น -3 ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้นจะตกรอบทันที หลังจากนั้นทางรายการจะมีคำใบ้มาให้ผู้เข้าแข่งขันเพิ่มเติม จนกว่าจะมีคนที่ตอบถูก แต่ในบางสัปดาห์ก็จะมีผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านมาร่วมแข่งขันกับดารารับเชิญ

ปริศนาจ๊กมก (2536 - 2547) แก้

ทางรายการจะมีภาพปริศนาทั้งหมด 5 ภาพให้ผู้เข้าแข่งขันเห็น ซึ่งแต่ละภาพจะเป็นผลงานของทีมงานที่ทำขึ้นมาเองหรือจะเป็นผลงานจากทางบ้านก็ได้ โดยหม่ำ จ๊กมก จะเป็นผู้ที่คัดเลือกภาพผลงานของทางบ้านมา ในแต่ละสัปดาห์หากภาพผลงานของใครได้รับออกอากาศจะได้ของรางวัลจากทางรายการซึ่งยุค 2536 ไม่มีใครวาดภาพส่งมาทางรายการ และซูโม่กิ๊กจะเป็นผู้อธิบายภาพ คอยให้คำใบ้ไปคร่าว ๆ และบอกว่าภาพนี้มีกี่พยางค์ ผู้แข่งขันจะต้องเหยียบปุ่มไฟที่พื้น 25 ปุ่ม ต่อมาลดเหลือ 16 ปุ่ม หากไฟติดที่ใคระมีสิทธิตอบก่อน และต้องตอบออกมาภายในเวลา 7 วินาที หากคำตองยังไม่ถูกตอบออกมาผู้เข้าแข่งขันท่านต่อไปก็จะมีสิทธิ์ตอบ หากยังตอบไม่ได้อีก พิธีกรจะใบ้เพิ่มและหากผู้เข้าแข่งขันตอบได้ 2 คะแนนก่อนจะได้เข้ารอบ สำหรับผู้ที่ตกรอบจะได้รับทองคำหนัก 1 บาทจากทางรายการ

คำปริศนา (2535 - 2545) แก้

กติกา คือ ทางรายการจะมีแผ่น CD 4 แผ่น แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 10 คำ โดยชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 จะมีคะแนนชุดละ 1 คะแนน ส่วนชุดที่ 3 และ ชุดที่ 4 จะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน [ในช่วงปี 2536 - 2541 (เวทีทอง ยุคที่ 3 และยุค NEVER DIE) เปลี่ยนจากแผ่น CD มาเป็นแผ่นดิสก์ และกลับมาใช้แผ่น CD อีกครั้งตั้งแต่ปี 2541 (เวทีทอง MAGIC) ส่วนเกมทายคำแบบเดิมในช่วงปี 2540 ได้ย้ายมาอยู่หลังช่วงทายตัวอักษร และชุดปริศนาจะมีคำปริศนาชุดละ 8 คำ โดยชุดที่1และ2 จะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน ชุดที่3และ4 จะมีคะแนนชุดละ 4 คะแนน] ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบมาก่อนจะมีสิทธิ์เลือกแผ่น CD และตอบคำถามในหมวดเดียวกันให้ถูกภายในเวลา 45 วินาที โดยคำแรกของแต่ละชุดจะขึ้นต้นเหมือนกันทั้ง 10 คำ และโจทย์ในแต่ละชุดจะเป็นความหมายหรือคำที่เกี่ยวข้องกับคำๆ นี้ หากตอบคำใดไม่ได้ให้พูดคำว่า "ข้าม" และพิธีกรก็จะอ่านโจทย์ใหม่ พออ่านครบ 10 ข้อ พิธีกรจะวนกลับมาอีกครั้งในกรณีเวลายังไม่หมด หลังจากตอบคำปริศนาครบทั้ง 2 ชุด ผู้แข่งขันคนใดทำคะแนนได้มากกว่า จะกลายเป็นผู้ชนะทันที หากผู้แข่งขันทำคะแนนเสมอกัน จะต้องตอบคำถามชุดสำรองอีกคนละ 1 ชุด หากผู้แข่งขันคนใดได้คะแนนมากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ โดยทั้ง 2 รอบ หากผู้แข่งขันคนใดสามารถทำคะแนนได้ครบ 30 คะแนน จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท จะได้ทองคำพิเศษหนัก 1 บาท (ในปี 2537 ช่วงที่โทรทัศน์สี DISTAR เป็นผู้สนับสนุนมอบรางวัล รางวัลพิเศษที่ได้ไป คือ โทรทัศน์สีขนาด 14 นิ้ว 1 เครื่อง)

และในช่วงหนึ่งของปี 2540 ได้เปลี่ยนรูปแบบจากคำปริศนามาเป็นประโยคปริศนาในเกมคำปริศนาช่วงแรก โดยก่อนที่จะเล่นจะต้องเลือกแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุน 10 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีเวลากำหนดไว้ 3 เวลา คือ 30 วินาที , 60 วินาที อย่างละ 1 แผ่นป้าย และ 45 วินาที 8 แผ่นป้าย โดยเลือกมารอบละ 1 แผ่นป้าย ได้เวลาเท่าไหร่จะเป็นเวลากำหนดในการอ่านประโยคปริศนา และในส่วนของชุดประโยคนั้นจะมีทั้งหมด 4 ชุด แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 1 วรรคต่อ 1 แผ่น รวมทั้งหมด 10 แผ่น โดยชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 จะมีคะแนนชุดละ 1 คะแนน ส่วนชุดที่ 3 และ ชุดที่ 4 จะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน โดยแต่ละวรรคตอน ตัวอักษรจะแทนที่ด้วยสัญลักษณ์ที่สื่อถึงอักษรตัวนั้น (เช่น ตัวอักษร ช.ช้าง จะเป็นรูปช้างมาแทนที่ , ตัวอักษร ซ.โซ่ จะเป็นรูปโซ่มาแทนที่ เป็นต้น) และจะต้องอ่านให้ถูกต้องตามเวลาที่ได้มา หากอ่านวรรคไหนไม่ได้ให้พูดคำว่า "ข้าม" พิธีกรก็จะนำวรรคที่อ่านไม่ได้ไปซ้อนไว้ข้างหลัง และอ่านวรรคใหม่ ส่วนวรรคที่อ่านได้ถูกต้องจะนำมาวางไว้ข้างล่าง และพอครบ 10 วรรค พิธีกรจะนำวรรคเดิมที่อ่านไม่ได้วนกลับมาอีกครั้ง โดยทั้ง 2 รอบ หากผู้แข่งขันคนใดสามารถทำคะแนนได้ครบ 30 คะแนน จะได้ทองคำพิเศษหนัก 1 บาท

พาดหัวข่าว (2545 - 2547) แก้

กติกา คือ จะมีโจทย์จากภาพหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ แบ่งเป็นรอบละ 2 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 มีคะแนนตำแหน่งละ 1 คะแนน ส่วนฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 มีคะแนนตำแหน่งละ 2 คะแนน ในแต่ละโจทย์จะแยกออกมาเป็น 9 คำ โดยจะต้องเรียงหัวข้อข่าวให้ถูกต้องภายในเวลา 45 วินาที หากทั้ง 2 รอบ ผู้แข่งขันสามารถเรียงหัวข้อข่าวให้ถูกครบ 9 ตำแหน่ง ภายในครั้งแรก จะได้รับทองคำพิเศษหนัก 1 บาท (ในรอบนี้มีคะแนนเต็มทั้งหมด 27 คะแนน)

ชั่งทอง (2535 - 2545) แก้

ก่อนจะเข้าไปเล่นเกมชั่งทอง จะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 10 แผ่นป้าย (ในปี 2539 เพิ่มจำนวนป้ายเป็น 12 แผ่นป้าย ในปี 2541-2542 เปลี่ยนเป็นป้ายเผู้สนับสนุนหลัก 12 แผ่นป้าย และกลับมาใช้เป็นป้ายผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้ายอีกครั้ง) โดยแต่ละแผ่นป้ายจะมีพีระมิดเลข 5 อยู่ 1 แผ่นป้าย และพีระมิดเลข 6 อยู่ 9 แผ่นป้าย [ในปี 2539 เพิ่มเป็น 11 แผ่นป้าย และตั้งแต่ปี 2541 (เวทีทอง MAGIC) ได้เปลี่ยนจากพีระมิดเป็นแผ่นป้าย] โดยเลือกมา 1 แผ่นป้าย หากผู้แข่งขันเปิดเจอเลข 6 จะต้องชั่งของทั้งหมด 6 ครั้ง แต่ถ้าหากเปิดเจอเลข 5 จะได้รับทองคำพิเศษหนัก 1 บาท และมีโอกาสชั่งของทั้งหมด 5 ครั้ง จากของทั้งหมด 6 ชุด (ในช่วงแรกยังไม่มีการแจกทองคำพิเศษ โดยเริ่มมีการแจกทองคำพิเศษในช่วงปี 2538 - 2540 และได้ยกเลิกการแจกทองคำพิเศษตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา)

ในส่วนของการชั่งของนั้น จะมีของทั้งหมด 6 ชุด โดยแต่ละชุดจะมีน้ำหนักไม่เท่ากันทั้งหมด และในแต่ละชุดหากเลือกมาแล้วมีน้ำหนักมากกว่าชุดก่อนหน้า โดยแน่นอนว่าของชุดที่ 1 น้ำหนักจะมากกว่า 0 กิโลกรัมแน่นอน จะได้รับทองคำชุดละ 1 บาท (ในกรณีได้ชั่งของ 5 ครั้ง หากสามารถชั่งของได้ในครั้งที่ 4 จะได้รับทองคำหนัก 2 บาท (ในช่วงที่จะเตรียมชั่งของนั้น คุณหม่ำถือสร้อยคอทองคำไว้ 6 เส้น และตั้งแต่ปี 2544 คุณหม่ำถือสร้อยคอทองคำไว้ 10 เส้น) และตั้งแต่ปี 2544 ได้เพิ่มเป็นทองคำครั้งละ 2 บาท ต่อของ 1 ชุด และหากสามารถชั่งของได้ในครั้งที่ 4 จะได้รับทองคำหนัก 4 บาท) หากทายลำดับน้ำหนักผิด เกมจะยุติลงและรับทองเท่าทำได้ หากผู้แข่งขันสามารถชั่งของโดยเรียงน้ำหนักจากน้อยไปมากได้ครบ 5 หรือ 6 ชุด จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 1 กิโลกรัม

เปิดแผ่นป้ายชิงทอง (2545 - 2547) แก้

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ในช่วงแรกจะเป็นการเปิดป้ายเพื่อประกอบตัวอักษรเป็นข้อความ โดยจะมีตัวอักษร 2 ชุด ชุดละ 6 แผ่นป้าย ชุดหนึ่งจะเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อของผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ ผลิตภัณฑ์โอวัลติน โดยจะแยกเป็น โ-อ-วั-ล-ติ-น) และอีกชุดหนึ่งจะเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อรายการ (เ-ว-ที-ท-อ-ง) สำหรับเกมนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้าย 6 แผ่นป้าย ให้ได้ชุดตัวอักษรที่เป็นชื่อผู้สนับสนุนรายการหลัก ซึ่งแต่ละแผ่นป้ายที่เปิดได้จะได้ทองคำหนัก 2 บาท แต่ถ้าเปิดเจอชุดอักษร เวทีทอง จะไม่ได้รับทองคำในแผ่นป้ายนั้น แต่ถ้าหากผู้เล่นสามารถเปิดเจอชุดอักษรที่ประสมกันเป็นชื่อผู้สนับสนุนรายการ (โ-อ-วั-ล-ติ-น) ได้ครบ 6 แผ่นป้าย และถูกตำแหน่ง จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 1 กิโลกรัม

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนกติกาใหม่เล็กน้อยโดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อรายการ เวทีทอง 6 แผ่นป้าย และอีกชุดหนึ่ง จะเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ผลิตภัณฑ์โอวัลติน) โดยถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดได้ชุดตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อของรายการเวทีทอง และถูกตำแหน่ง จะได้รับทองคำหนัก 2 บาท แต่ถ้าเปิดได้แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับกิ๊ฟเซ็ทของผู้สนับสนุนหลักไปแผ่นป้ายละ 1 ชุด หากเปิดได้ตัวอักษรคำว่า เ-ว-ที-ท-อ-ง หรือผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 1 กิโลกรัม

ในช่วงปลายปี 2545 จนถึงปี 2547 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยไม่มีแผ่นป้ายตัวอักษร เวทีทอง แต่เป็นการเปิดแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนรายการเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งใน 12 แผ่นป้ายนั้นจะมี 6 แผ่นป้ายจะเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลัก โดยมีทองคำหนักป้ายละ 2 บาท ส่วนอีก 6 แผ่นป้ายเป็นป้ายทองหลอก 6 แผ่นป้ายซึ่งจะมี ดังนี้

  1. ต้นทองพันชั่ง
  2. ปลาทอง (ในรายการจะเรียกว่า ทองหัววุ้น)
  3. มะม่วงทองดำ
  4. ทองคำเปลว
  5. ก๊อกน้ำทองเหลือง
  6. ทองม้วน

โดยถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้ายทองหลอก จะได้รับรางวัลเป็นสิ่งของซึ่งมาจากป้ายทองหลอกนั้น (เช่น ถ้าเปิดได้ปลาทอง จะได้ปลาทอง เป็นต้น เช่นเดียวกับรอบตกรอบปี 2548 - 2549) แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดได้แผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 1 กิโลกรัม

ยุคแอนดี้-ภูมิ (เวทีทอง ซิกส์ทีน) (2547 - 2550) แก้

ในยุคที่เปลี่ยนแปลงพิธีกรจาก ซูโม่กิ๊ก-เกียรติ กิจเจริญ และ หม่ำ จ๊กมก-เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา มาเป็น แอนดี้ เขมพิมุก และ VJ ภูมิ-ภูมิใจ ตั้งสง่า รายการเวทีทองได้เปลี่ยนแปลงฉากในบรรยากาศสนามบาสเกตบอล (2547-2548) ต่อมาปรับฉากเล็กน้อยเป็นโรงเรียน High School (2548-2550) แต่กติกายังคงรูปแบบเดิม

ภาพปริศนา แก้

ทางรายการจะมีภาพปริศนาทั้งหมด 5 ภาพให้ผู้เข้าแข่งขันเห็น ซึ่งแต่ละภาพจะเป็นผลงานของทีมงานที่ทำขึ้นมาเองหรือจะเป็นผลงานจากทางบ้านก็ได้ ในแต่ละสัปดาห์หากภาพผลงานของใครได้รับออกอากาศจะได้เงินรางวัล 1,000 บาทจากผู้สนับสนุน ผู้แข่งขันจะต้องเหยียบปุ่มไฟ 4 ปุ่นในช่องวงกลมคล้ายเกมเต้น หากไฟติดที่ใคระมีสิทธิตอบก่อน และต้องตอบออกมาภายในเวลา 7 วินาที หากคำตองยังไม่ถูกตอบออกมาผู้เข้าแข่งขันท่านต่อไปก็จะมีสิทธิ์ตอบ หากยังตอบไม่ได้อีก พิธีกรจะใบ้เพิ่มและหากผู้เข้าแข่งขันตอบได้ 2 คะแนนก่อนจะได้เข้ารอบ สำหรับผู้ที่ตกรอบจะได้รับทองคำหนัก 1 บาทจากทางรายการ

คำปริศนา แก้

กติกา คือ ทางรายการจะมีแผ่น CD 4 แผ่น แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 10 คำ โดยชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 จะมีคะแนนชุดละ 1 คะแนน ส่วนชุดที่ 3 และ ชุดที่ 4 จะมีคะแนนชุดละ 2 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบมาก่อนจะมีสิทธิ์เลือกแผ่น CD และตอบคำถามในหมวดเดียวกันให้ถูกภายในเวลา 45 วินาที โดยคำแรกของแต่ละชุดจะขึ้นต้นเหมือนกันทั้ง 10 คำ และโจทย์ในแต่ละชุดจะเป็นภาพที่สื่อถึงคำ ๆ นั้น เช่น ภาพหน้าเว็บไซต์ หน้าหนังสือต่างๆ เป็นต้น หากตอบคำใดไม่ได้ให้พูดคำว่า "ข้าม" และพิธีกรก็จะอ่านโจทย์ใหม่ พออ่านครบ 10 ข้อ พิธีกรจะวนกลับมาอีกครั้งในกรณีเวลายังไม่หมด หลังจากตอบคำปริศนาครบทั้ง 2 ชุด ผู้แข่งขันคนใดทำคะแนนได้มากกว่า จะกลายเป็นผู้ชนะทันที หากผู้แข่งขันทำคะแนนเสมอกัน จะต้องตอบคำถามชุดสำรองอีกคนละ 1 ชุด หากผู้แข่งขันคนใดได้คะแนนมากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ โดยทั้ง 2 รอบ หากผู้แข่งขันคนใดสามารถทำคะแนนได้ครบ 30 คะแนน จะได้ทองคำพิเศษหนัก 1 บาท (ตั้งแต่ปี 2549 ได้เปลี่ยนรูปแบบการแจกทองคำหนัก 1 บาทมาเป็นทองคำมูลค่า 10,000 บาท)

เปิดแผ่นป้ายชิงทอง แก้

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ น้ำรสผลไม้ QOO) และแผ่นป้าย "คุณครูครับ" 6 แผ่นป้าย โดยเลือกมา 6 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 2 บาท แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้าย "คุณครูครับ" จะต้องตอบคำถามจากคุณครูที่ดังขึ้นในห้องส่ง และถ้าตอบถูก จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 1 สลึง ถ้าตอบผิดจะไม่ได้รับทองคำในแผ่นป้ายนั้นไป หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและทางบ้านที่ส่งฉลากของผู้สนับสนุนหลักหรือไปรษณียบัตรมาร่วมสนุกคนละ 1 กิโลกรัม แต่ในกรณีกลับกัน หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอแผ่นป้าย "คุณครูครับ" ครบ 6 แผ่นป้าย และตอบถูกทั้ง 6 ครั้ง จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท 2 สลึง โดยจะได้เฉพาะผู้เข้าแข่งขัน

ต่อมาเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 9 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้คือ แป้งเย็นชาวเวอร์ ทู ชาวเวอร์ โดยจะแบ่งเป็น 3 สูตร สูตรละ 3 แผ่นป้าย) และแผ่นป้าย "สุดหล่อสุดร้อน" 3 แผ่นป้าย โดยจะมีแผ่นป้ายตัวตั้ง และเลือกมา 6 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักที่สีตรงกัน กลิ่นตรงกัน จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 2 บาท แต่หากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักที่สีและกลิ่นไม่ตรงกัน จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 2 สลึง แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้าย "สุดหล่อสุดร้อน" จะไม่ได้รับทองคำในแผ่นป้ายนั้นไป หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักผู้สนับสนุนหลักที่สีตรงกัน กลิ่นตรงกันครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 1 กิโลกรัม (ในปี 2549 ได้เปลี่ยนรูปแบบการแจกทองคำหนัก 1 กิโลกรัม เป็นทองคำมูลค่า 600,000 บาท)

การดัดแปลงสู่แอปพลิเคชั่นเกม แก้

รายการ "เวทีทอง" มีการดัดแปลงเป็นแอปพลิเคชัน เวทีทอง เวทีเธอ ON MOBILE เป็นแอปพลิเคชั่นประเภทเกมสำหรับใช้งานบน SMART PHONE สร้างโดย Ammonite Studio ซึ่งจะเป็นการนำเกมที่ใช้ในช่วงภาพปริศนาของรายการ เวทีทอง นำมาทำเป็นระบบหลักของเกมในแอปพลิเคชันนี้ โดยที่ผู้เล่นสามารถตอบได้ทั้ง 2 ทาง คือ พิมพ์คำตอบลงไปและใช้ไมโครโฟนในตัวโทรศัพท์เพื่อบอกคำตอบ และสามารถใช้ไอเท็มในเกมช่วยเหลือได้ แอปพลิเคชันนี้เปิดบริการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559[6]

รางวัล แก้

อ้างอิง แก้

  1. WorkpointOfficial (29 ธันวาคม 2558). เวทีทอง เวทีเธอ Teaser 1. Youtube.com. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite AV media}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "เสนาหอย - แจ๊ส ชวนชื่น นั่งแท่นพิธีกรเกมโชว์ในตำนาน[เวทีทอง เวทีเธอ Workpoint 23 การันตีความสนุก". Dara.Truelife.com. 7 มกราคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-19. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ผังรายการเดือนมกราคม 2559". Workpointtv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "จวก'เวทีทอง' ภาษาไทยอ่อน". News.Sanook.com. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. admin (5 มกราคม 2559). "ช่องเวิร์คพอยท์ ส่งเกมโชว์ "เวทีทอง เวทีเธอ" ลงจอ เริ่ม 10 ม.ค.นี้". Zoomzogzag.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-07. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. Thaiware (1 ตุลาคม 2559). "เวทีทอง (App เกม เวทีทอง ตอบคำถามภาพปริศนาคำใบ้)". Thaiware.com. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้