Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต

Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ประกวดวงดนตรีระดับเยาวชน ซึ่งใช้เฉพาะเพลงของวงคาราบาวเท่านั้นในการประกวด และนำมาเรียบเรียงใหม่ตามรูปแบบของแต่ละวง เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตามเจตนารมณ์เดิมของโครงการดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต โดย มูลนิธิคาราบาว ร่วมกับเครื่องดื่ม คาราบาวแดง ซึ่งเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ได้นำมาต่อยอดและผลิตเป็นรายการโทรทัศน์ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ จำนวน 4 ซีซั่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561

Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต
ประเภทเรียลลิตีโชว์การแข่งขันทางดนตรี
สร้างโดยมูลนิธิคาราบาว
เค้าโครงจากโครงการดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต
เสนอโดยปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (ซีซั่น 1)
กันต์ กันตถาวร (ซีซั่น 2-3)[1]
เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (ซีซั่น 4)
กรรมการกีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร
จิรศักดิ์ ปานพุ่ม(ซีซั่น 1-3)
พลพล พลกองเส็ง (ซีซั่น 1)
มณีนุช เสมรสุต (ซีซั่น 2-4)
จักรวาล เสาธงยุติธรรม (ซีซั่น 3-4)
จิรากร สมพิทักษ์ (ซีซั่น 4)
บรรยายโดยปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (ซีซั่น 1)
กันต์ กันตถาวร (ซีซั่น 2-3)
เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (ซีซั่น 4)
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด"Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต" โดย คาราบาว
ดนตรีแก่นเรื่องปิด"Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต" โดย คาราบาว
ผู้ประพันธ์เพลงยืนยง โอภากุล
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล4
จำนวนตอน52
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตปัญญา นิรันดร์กุล
ประภาส ชลศรานนท์
ผู้อำนวยการสร้างพาณิชย์ สดสี
ชลากรณ์ ปัญญาโฉม
วิชนี ศรีสวัสดิ์
สถานที่ถ่ายทำเวิร์คพอยท์สตูดิโอ
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน1 ชั่วโมง
บริษัทผู้ผลิตเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องเวิร์คพอยท์
ออกอากาศ7 กุมภาพันธ์ 2558 (2558-02-07) –
5 พฤษภาคม 2561 (2561-05-05)

กติกา[2] แก้

รอบ Audition ระดับจังหวัด แก้

วงดนตรีที่ผ่านการคัดเลือกเดโมทั้งหมด 150 วง จะเข้าสู่เวทีการประกวดเพื่อแสดงความสามารถทางด้านดนตรีในรอบ Audition ระดับจังหวัดจำนวน 10 เวที เวทีละ 15 วง กระจายทั่วภูมิภาค โดยมีกรรมการภาคสนาม 3 ท่าน ซึ่งจะสลับสับเปลี่ยนกันไปในทุกซีซั่นเป็นผู้ให้คะแนน เพื่อคัดเลือกให้เหลือ 60 วงทั่วประเทศที่จะเข้าสู่รอบ Audition ระดับภาค ที่เวิร์คพอยท์สตูดิโอ

รอบ Audition อย่างเป็นทางการ แก้

วงดนตรีที่ผ่านเข้ารอบ Audition ระดับจังหวัดทั้ง 60 วงทั่วประเทศ แบ่งเป็นภาค ภาคละ 12 วง รวม 5 ภาค จะได้เข้าประกวดวงดนตรี พร้อมร่วมถ่ายทำรายการ Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ที่เวิร์คพอยท์สตูดิโอ โดยมีศิลปินในวงการเพลง 3 ท่าน เป็นกรรมการประจำรายการเพื่อตัดสินและให้คะแนน กรรมการแต่ละท่านสามารถให้คะแนนสูงสุดท่านละ 4 คะแนน (ซีซั่น 3 มีท่านละ 3 คะแนน) รวม 12 คะแนน วงที่ได้คะแนน 9 คะแนนขึ้นไปจะผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือก เพื่อให้กรรมการตัดสินอีกครั้งว่าวงใดจะผ่านเข้าสู่รอบ Semi - Final ซึ่งจะมีเพียง 20 วง อนึ่ง จะมีกติกาพิเศษ คือ วงที่ได้ 12 คะแนนเต็ม หรือ Perfect Score จะผ่านเข้าสู่รอบ Semi-Final ทันที

แต่ในซีซั่น 4 มีการปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ทั้งหมด โดยจะไม่มีปุ่มคะแนนซึ่งเป็นหลอดสีเขียว แต่จะเป็นปุ่มเลื่อนเพื่อสั่งให้หยุดการแสดง ซึ่งมี 3 ปุ่ม สำหรับคณะกรรมการ 3 คน ซึ่งเมื่อเลื่อนแล้ว วงดนตรีนั้นจะต้องหยุดการแสดงทันที และฟังความคิดเห็นพร้อมกับผลการตัดสิน ซึ่งถ้าได้ 2 ใน 3 ขึ้นไป จะผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือก เพื่อให้กรรมการตัดสินอีกครั้งเหมื่อนเช่น 3 ซีซั่นที่ผ่านมา แต่หากมีวงดนตรีที่ถูกใจกรรมการเป็นพิเศษ กรรมการสามารถลุกออกจากเก้าอี้ของตนเองไปยังปุ่ม เพื่อกดปุ่ม Perfect Band ซึ่งปุ่มนี้ กรรมการมีสิทธิ์ใช้ได้เพียงคนละ 1 ครั้งเท่านั้น และวงใดที่ได้รับการกดปุ่ม Perfect Band วงนั้นจะผ่านเข้าสู่รอบ Semi-Final ทันที และในรอบคัดเลือกครั้งที่ 2 จะคัดจนได้วงดนตรีที่ผ่านเข้าสู่รอบ Semi-Final เพียง 16 วงเท่านั้น

Workshop แก้

ตามเจตนารมณ์ของมูลนิธิคาราบาว ในการถ่ายถอดความรู้บทเพลงเพื่อชีวิตสู่คนรุ่นใหม่ วงดนตรีที่ผ่านเข้ารอบสู่รอบ Semi - Final จะได้เข้าร่วม Workshop โดยวงคาราบาว เพื่อเรียนรู้ทักษะ เทคนิคต่าง ๆ ทางดนตรี ตลอดจนคำแนะนำ การนำเสนอเพลงที่ใช้เข้าประกวดแข่งขันในรอบ Semi - Final

รอบ Semi-Final แก้

หลังจาก Workshop กับวงคาราบาวเสร็จแล้ว วงที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 20 วง จะประกวดเป็นภาค ภาคละ 4 วง โดยมีกรรมการชุดเดียวกันกับรอบ Audition อย่างเป็นทางการเป็นผู้ให้คะแนน เพื่อคัดเลือกให้เหลือตัวแทนภาคเพียงภาคละ 1 วง รวม 5 วงสุดท้ายที่จะเข้าประกวดในรอบ Final แต่ในซีซั่นที่ 4 วงที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 16 วง จะประกวดเป็นกลุ่ม ซึ่งมีทั้งหมด 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 วง เพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียงกลุ่มละ 1 วง รวม 4 วงสุดท้ายที่จะได้เข้าแข่งขันในรอบ Final

รอบ Final แก้

วงที่ผ่านเข้ารอบ 5 วงสุดท้าย (ซีซั่นที่ 4 เหลือ 4 วง) ที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาคหรือกลุ่ม จะได้เข้าร่วม Workshop กับวงคาราบาวอีกครั้ง ก่อนแข่งขันรอบ Final และร่วมเล่นคอนเสิร์ตกับวงคาราบาว พร้อมถ่ายทำรายการ Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ที่เวิร์คพอยท์สตูดิโอ โดยการตัดสินจะมาจากคะแนนของกรรมการชุดเดิม รวมกับวงคาราบาว (ยกเว้น ซีซั่นที่ 2 ที่ใช้คะแนนดังกล่าว 60% และนับรวมคะแนนจากการโหวตของคนทั่วประเทศด้วย คิดเป็น 40% โดยการออกอากาศแบบถ่ายทอดสด) ซึ่งวงที่ได้คะแนนมากที่สุดจะได้เป็นแชมป์ประจำฤดูกาลนั้นทันที ได้รับเงินรางวัล และถ้วยรางวัลเกียรติยศซึ่งออกแบบโดยวงคาราบาวไปครอง

เงินรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศ แก้

  • รางวัลเงินสดมูลค่า 1,000,000 บาท (สำหรับซีซั่น 1 และ 4)
  • รางวัลเงินสดมูลค่า 100,000 บาท (สำหรับซีซั่น 2 และ 3)

พิธีกร แก้

พิธีกร ซีซั่น
1 2 3 4
ปิยะวัฒน์ เข็มเพชร
กันต์ กันตถาวร
เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

กรรมการ แก้

กรรมการ ซีซั่น
1 2 3 4
กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร
จิรศักดิ์ ปานพุ่ม
พลพล พลกองเส็ง
มณีนุช เสมรสุต
จักรวาร เสาธงยุติธรรม
จิรากร สมพิทักษ์

ฤดูกาล แก้

ทำเนียบแชมป์ แก้

ปี ซีซั่น ชนะเลิศ รองฯ อันดับ 1 รองฯ อันดับ 2
2558 1 แอสซิสต์ บรรเจิดพาราไดซ์ เหลนบาว
2559 2 เดอะวอริเออร์ เดอะแบล็คชิพ ฟูล ฟิล สกา
2560 3 เอเวอร์เรสต์ เซลซิลีอา อะตอมิค บอย
2561 4 อิสรภาพ ZeroX Cipper

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้