ระเบิดเถิดเทิง

อดีต​รายการซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ ที่เริ่มออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2539
(เปลี่ยนทางจาก ระเบิดเที่ยงแถวตรง)

ระเบิดเถิดเทิง เป็นอดีต​รายการซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกทุกวันอาทิตย์ โดยในระยะแรกมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ อีก 3 เดือนต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอมคู่กับเกมโชว์ รายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 มีการเปลี่ยนรูปแบบรายการหลายครั้ง ปัจจุบันยุติ​ออกอากาศแล้ว

ระเบิดเถิดเทิง
สัญลักษณ์รายการ ระเบิดเถิดเทิง
ประเภทซิตคอม (เดิมเป็นวาไรตี้โชว์ และ ซิตคอมคู่กับเกมโชว์)
กำกับโดยสุดเขต เพชราบรรพ์ (2541-2546)
ศิรโรจ บุญไชย
(2546-2552)
กฤษณะ จิตรเนาวรัตน์
(2561-2564)
เสนอโดยมยุรา เศวตศิลา (2539 - 2544)
สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ (2544 - 2552)
แสดงนำเท่ง เถิดเทิง (2539 - 2564)
โหน่ง ชะชะช่า (2541 - 2564)
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอกรุงเทพฯ (2539 - 2549)
เวิร์คพอยท์สตูดิโอ (2549 - 2564)
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (2539 - 2557)
ช่องเวิร์คพอยท์ (2558 - 2564)
ออกอากาศ7 มกราคม พ.ศ. 2539 –
1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (25 ปี)
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3
ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง
ระเบิดเที่ยงแถวตรง
ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง
ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้
ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก
ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ
เถิดเทิงม่วนคักฮักหลาย

รูปแบบรายการ

แก้

วาไรตี้โชว์

แก้

ในระยะเริ่มแรก ระเบิดเถิดเทิงมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ ซึ่งออกอากาศระหว่างวันที่ 7 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 มีพิธีกรหลักคือ ตั๊ก - มยุรา เศวตศิลา และ หนู คลองเตย (ภายหลัง ได้เพิ่ม หม่ำ จ๊กมก และ กิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ เป็นพิธีกรหลักด้วย จากเดิมที่เป็นเพียงพิธีกรประจำช่วง ฮาระเบิด) มีช่วงต่าง ๆ ดังนี้

  • ฮาระเบิด

เป็นการแสดงตลกของคณะตลก ซึ่งมีคณะตลกหลักเป็นคณะของหม่ำ ที่นอกจากจะเล่นตลกในช่วงนี้แล้ว ยังมีหน้าที่เป็นพิธีกรประจำช่วงด้วย

  • ดังระเบิด

เป็นการแสดงดนตรีของวงดนตรี หรือเป็นการแสดงจากดาราซึ่งเป็นระเบิดรับเชิญในสัปดาห์นั้น ช่วงแรกนี้ มีธงชัย ประสงค์สันติ และวงสามโทน เป็นพิธีกรประจำช่วง

  • ระเบิดรับเชิญ

เป็นช่วงการสัมภาษณ์แขกรับเชิญที่ร่วมเล่นละครในแต่ละสัปดาห์ พร้อมกับตอบจดหมายจากทางบ้าน โดยจะปรากฏหลังจากละครได้เล่นจบตอนลง

ซิตคอมเกมโชว์

แก้

รายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศได้เพียงระยะเวลา 3 เดือน ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอม ควบคู่ไปกับเกมโชว์ในช่วงท้ายรายการ ซึ่งถือเป็นรูปแบบของระเบิดเถิดเทิงในยุคนี้และต่อ ๆ มา โดยพิธีกรหลักเหลือเพียงตั๊กคนเดียว แต่หนูและหม่ำได้เปลี่ยนมาทำหน้าที่เป็นผู้เล่นละครซิตคอม และร่วมเล่นเกมโชว์ด้วย (ทว่าตั๊กก็ได้ร่วมเล่นละครซิตคอมด้วยในบทสมทบ) ซึ่งเริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2539 จนถึงระเบิดเถิดเทิงในยุคต่อ ๆ มา

สำหรับช่วงซิตคอมนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนของคนในซอยเถิดเทิง ชุมชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่มีเท่งกับโหน่งเป็นนักเลงคุมซอย (ยุคแรกมีทุ้ย, ทึ้ง และเท่ง เป็นนักเลงคุมซอย) และตัวละครต่าง ๆ เช่น เจ๊หม่ำ, อาโกว, คุณนายสะอาด, พ่อมหา, ตุ่ม และนักแสดงคนอื่น ๆ ที่เข้ามาร่วมแสดงในภายหลังอีก โดยทุกสัปดาห์จะมีเนื้อหาของแต่ละตอนที่ไม่ซ้ำกัน คือแบบตอนเดียวจบ (ยกเว้นบางตอน ที่อาจมีระยะเวลาออกอากาศมากกว่า 1 เทป และในช่วงหลังของระเบิดเถิดเทิง จะมีเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน)

รูปแบบของรายการนั้น ในช่วงแรก (ส่วนใหญ่ของรายการ) จะเป็นซิตคอม จากนั้นจะมีการคุยกับดารารับเชิญสั้น ๆ เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว เช่น งานในวงการ งานอดิเรก โชว์ความสามารถพิเศษ เรื่องราววัยเด็ก เป็นต้น หลังจากนั้นจะเข้าสู่เกมหลักของรายการ คือ ถอดสลักระเบิด โดยแขกรับเชิญจะเลือกแผ่นป้ายซึ่งเมื่อเปิดออกมาจะมีใบหน้าของผู้ที่ต้องเข้าไปถอดสลัก 1 อัน โดยสลักระเบิดจะมีเป็นหมายเลข 1-5 และจะมีสลักอันเดียวเท่านั้นที่ดึงออกมาแล้วจะถูกระเบิดแป้ง ในช่วงแรกนั้นจะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนทั้งหมด 16 แผ่นป้ายด้วยกัน ด้านหลังแผ่นป้ายจะประกอบด้วยใบหน้าของแขกรับเชิญ 9 แผ่นป้าย และของพิธีกรคือ กิ๊ก หม่ำ หนู คนละ 3 แผ่นป้าย แต่ในเวลาต่อมาได้มีการคิดเกมใหม่เพิ่มเข้าไปคือ วางระเบิด ซึ่งจะมีก่อนการถอดสลักจะมีการเลือกแผ่นป้ายให้พิธีกรแต่ละคนและดารารับเชิญโดยจำนวนลูกระเบิดในแผ่นป้ายที่ได้รับจะเป็นจำนวนแผ่นป้ายในช่วงถอดสลักนั่นเอง ในภายหลังยังมีการเพิ่มกติกา เช่น ถ้ากรณีป้ายที่เปิดมีเครื่องหมาย (+) ก็จะต้องเลือกแผ่นป้ายเพิ่มทำให้อาจมีคนเข้าไปถอดสลักพร้อมกันมากกว่า 1 คน และหลังจากนั้นก็มีการเพิ่มใบหน้าของตั๊ก มยุรา และชาวซอยเป็นจำนวนคนละ 1 แผ่นป้ายเข้าไปด้วย

ละครซิตคอม

แก้

ตั้งแต่ 7 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอมอย่างเดียว ช่วงเกมระเบิดและเกมตู้ระเบิดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

รายชื่อตัวละคร

แก้

รายชื่อตอน

แก้

ตอนพิเศษ

แก้

12 ปี ระเบิดเถิดเทิง

แก้

ฉลองครบรอบ 12 ปี ของรายการระเบิดเถิดเทิงด้วยความพิเศษ คือ มี 12 นางเอกมาร่วมแสดงในแต่ละตอน เริ่ม 1 กุมภาพันธ์ 2552 และสิ้นสุดในวันที่ 12 เมษายน 2552 โดยในแต่ละตอนจะมี 1 นางเอก มาร่วมรายการ แต่ยกเว้นตอน ท้องสองสองท้อง เพียงตอนเดียว ที่มีถึง 2 นางเอก[1] และตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ได้เพิ่มเป็น 12 พระเอกหนุ่มสุดฮ็อต สิ้นสุดถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2552

วันที่ ชื่อตอน ดารารับเชิญ
1 กุมภาพันธ์ 2552 2 เพชฌฆาตดาวไถ (ไถดาว) มาช่า วัฒนพานิช
อดิเรก วัฏลีลา
8 กุมภาพันธ์ 2552 นายแบบแสบทะลุไส้ ซอนย่า คูลิ่ง
อรนภา กฤษฎี
15 กุมภาพันธ์ 2552 หนี้นี้ต้องชำระ นัท มีเรีย
ตูมตาม เชิญยิ้ม
22 กุมภาพันธ์ 2552 นางฟ้าชุดขาวกับชาวดิน น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์
ณัฐนี สิทธิสมาน
1 มีนาคม 2552 หวานมันส์ พันธุ์เถิดเทิง จินตหรา สุขพัฒน์
รอน บรรจงสร้าง
8 มีนาคม 2552 คู่ซี้ ดีเจซ่า ณัฐฐาวีรนุช ทองมี
ประกาศิต โบสุวรรณ
ภูมิใจ ตั้งสง่า
15 มีนาคม 2552 ท้องสอง สองท้อง ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ
อภิญญา สกุลเจริญสุข
22 มีนาคม 2552 ต้มยำช็อคโกแล็ต ญานิน วิสมิตะนันทน์
29 มีนาคม 2552 ปล้น ปล๊น ปล้น บงกช คงมาลัย
5 เมษายน 2552 คฤหาสน์ คฤโหด อเล็กซานดร้า ธิดาวัลย์ บุญช่วย
เดือนเต็ม สาลิตุล
12 เมษายน 2552 หาดทราย สายลม และสามเรา เวโรนิก้า โหงว
มอริส เค
19 เมษายน 2552 เจ๊หม่ำรีเทิร์น หม่ำ จ๊กมก
สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
หยอง ลูกหยี
ตูมตาม เชิญยิ้ม
ศิวดล จันทเสวี
26 เมษายน 2552 ฝันให้ไกล ไปให้ถึง ชยธร เศรษฐจินดา
3 พฤษภาคม 2552 ดามหัวใจ ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม
10 พฤษภาคม 2552 ใส่ความ....ความใส่ ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
17 พฤษภาคม 2552 แผนต้มตุ๋น เปรม บุษราคัมวงศ์
อาภาพร นครสวรรค์
24 พฤษภาคม 2552 หนังสั้นแต่เบื้องหลังยาว วิทวัส สิงห์ลำพอง
31 พฤษภาคม 2552 แผนล้มช้าง ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์
7 มิถุนายน 2552 มันมาจากไหน รังสิต ศิรนานนท์
14 มิถุนายน 2552 นักสืบ นักซุ่ม เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์
21 มิถุนายน 2552 ฟลุ๊คจริง ๆ เกริกพล มัสยวาณิช
28 มิถุนายน 2552 รูปเจ้าปัญหา ดาวิเด โดริโก้
5 กรกฎาคม 2552 ลิเก แก้บน ชินวุฒิ อินทรคูสิน
อินทิรา เกตุวรสุนทร
ยาว อยุธยา
12 กรกฎาคม 2552 กตติดผี ณัฎฐ์ ทิวไผ่งาม

ระเบิดเถิดเทิง วันหยุด

แก้

เป็นรายการพิเศษของระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548 โดยจะเสนอเรื่องราวในตอนพิเศษที่เพิ่มเติมจากเรื่องราวปกติ หรือ เสนอภาพเหตุการณ์ที่น่าสนใจของตอนที่ออกอากาศไปแล้วนำมาเสนออีกครั้ง และตัดช่วงเกมส์ออก

เบื้องหลังความฮา ระเบิดเถิดเทิง

แก้

ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2552 เป็นตอนพิเศษที่จะพูดถึงเบื้องหลังความฮาของรายการ ระเบิดเถิดเทิง

ปรากฏการณ์ความฮายาวนานกว่า 15 ปี

แก้

ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 เป็นตอนพิเศษที่จะรวบรวมปรากฏการณ์ความฮาที่มีมาตลอด 15 ปีของรายการระเบิดเถิดเทิง

ระเบิดเถิดเทิง คลาสสิก

แก้

เป็นรายการพิเศษที่จะนำรายการระเบิดเถิดเทิง ช่วงซิทคอม ในยุคอดีตมาออกอากาศซ้ำโดยจะนำเทปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึงยุค Spin-Offs (ยกเว้นตอนพิเศษ) ปัจจุบันได้ยุติการออกอากาศแล้ว


ชื่อรายการ

แก้

ระเบิดเถิดเทิง นั้นมีการเปลี่ยนชื่อทั้งหมด 9 ชื่อ และมี 9 ภาค เปลี่ยนรูปสัญลักษณ์รายการมาหลายครั้ง ส่วนมากจะคงคำว่า ระเบิด หรือ เถิดเทิง หรือ ระเบิดเถิดเทิง ไว้เสมอ โดยแต่ละชื่อมีดังต่อไปนี้

ชื่อรายการ ช่วงระหว่าง ระยะเวลา หมายเหตุ
ระเบิดเถิดเทิง 7 มกราคม 2539 - 27 กันยายน 2552 13 ปี 8 เดือน 20 วัน
ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 4 ตุลาคม 2552 - 1 สิงหาคม 2553 9 เดือน 28 วัน
ระเบิดเถิดเทิงลั่นทุ่ง 8 สิงหาคม 2553 - 1 กรกฎาคม 2555 1 ปี 10 เดือน 23 วัน
ระเบิดเที่ยงแถวตรง 8 กรกฎาคม 2555 - 25 มกราคม 2558 2 ปี 6 เดือน 17 วัน
ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง 1 กุมภาพันธ์ 2558 - 31 มกราคม 2559 1 ปี
ระเบิดเถิดเทิงแดนซ์เซอร์ทะลวงไส้ 7 กุมภาพันธ์ 2559 - 26 กุมภาพันธ์ 2560 1 ปี 19 วัน
ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก 5 มีนาคม 2560 - 28 มกราคม 2561 10 เดือน 23 วัน เป็นยุคสุดท้ายที่เป็นรูปแบบซิตคอมผสมเกมโชว์ในช่วงสุดท้าย
ระเบิดเถิดเทิง ซอยข้าใครอย่าแตะ 4 กุมภาพันธ์ 2561 - 3 มกราคม 2564 2 ปี 10 เดือน 1 วัน เป็นยุคแรกที่ปรับรูปแบบมาเป็นซิตคอมแบบเต็มตัว
เถิดเทิงม่วนคักฮักหลาย 10 มกราคม - 1 สิงหาคม 2564 6 เดือน 22 วัน

พิธีกร

แก้

ผู้ดำเนินรายการ

แก้

ผู้ดำเนินรายการหลัก

แก้
ผู้ดำเนินรายการหลัก
รายชื่อพิธีกร ช่วงระหว่าง ระยะเวลา หมายเหตุ
มยุรา เศวตศิลา 7 มกราคม พ.ศ. 2539 - 8 เมษายน พ.ศ. 2544 5 ปี 4 เดือน
สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ 15 เมษายน พ.ศ. 2544 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552 8 ปี 5 เดือน

ผู้ดำเนินรายการร่วม

แก้
ผู้ดำเนินรายการร่วม
รุ่นที่ 1
รายชื่อพิธีกร ชื่อในวงการ รับบทเป็น ช่วงระหว่าง หมายเหตุ
วันชาติ พึ่งฉ่ำ หนู เชิญยิ้ม
หนู คลองเตย
คุณนายสะอาด 7 มกราคม พ.ศ. 2539 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2541
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา หม่ำ จ๊กมก เจ๊หม่ำ 14 มกราคม พ.ศ. 2539 - เมษายน พ.ศ. 2546
เกียรติ กิจเจริญ ซูโม่กิ๊ก ทุ้ย 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2540
เอกพัน บรรลือฤทธิ์ ไทด์ เอกพันธ์ ทึ้ง 30 มีนาคม - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
สมใจ สุขใจ เด๋อ ดอกสะเดา พ่อมหา 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552
พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ เท่ง เถิดเทิง เท่ง 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552 เทปกลางปี พ.ศ. 2539 เท่งรับหน้าที่แทน "หม่ำ จ๊กมก" โดยรับหน้าที่ร่วมกับ "เป๋อ จ๊กมก" และ "ชาติ จ๊กมก"
ดนัย ศรีภิญโญ แดนนี่ ศรีภิญโญ ตุ่ม 18 เมษายน พ.ศ. 2541 - 17 กันยายน พ.ศ. 2549
รุ่นที่ 2
ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข โหน่ง ชะชะช่า โหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552 เทปวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โหน่งรับหน้าที่แทน "เด๋อ ดอกสะเดา" โดยรับหน้าที่ร่วมกับ "ทอมมี่ เถิดเทิง" และ "โชเล่ย์ ดอกกระโดน"
ดีใจ ดีดีดี
(ชื่อเดิม: นิลุบล อมรวิทวัส)
ผัดไท นิลุบล เต่า 9 มกราคม พ.ศ. 2548 - 10 กันยายน พ.ศ. 2549 เทปเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 และเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 ผัดไทรับหน้าที่แทน "เด๋อ ดอกสะเดา"[2][3]
อุมา โพธิพิศ ลิซ่า ไปรพิศ หงส์ 9 มกราคม พ.ศ. 2548 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
บุญญาวัลย์ พงษ์สุวรรณ ส้มเช้ง สามช่า แก้ว 9 มกราคม พ.ศ. 2548 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552
สราวุฒิ พุ่มทอง ทีน สราวุฒิ บุญล้น (ล้น) 17 กันยายน พ.ศ. 2549 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
พุฒิพงศ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร เสนาเพชร เฮียซ้ง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552
ภาณุพันธ์ ครุฑโต พัน พลุแตก จ่าพัน 12 กรกฎาคม - 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ชาวซอยเถิดเทิง

แก้

เป็นนักแสดงหลักและนักแสดงสมทบประจำระเบิดเถิดเทิงที่มาร่วมเล่นเกมในช่วงท้ายรายการ แต่ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินรายการหลักหรือร่วมแต่อย่างใด ซึ่งภายหลังชาวซอยเถิดเทิงบางคน (ผัดไท , ลิซ่า , ส้มเช้ง และ ทีน สราวุฒิ) ได้ไปเป็นผู้ดำเนินรายการร่วมตามลำดับ[ต้องการอ้างอิง]

ชาวซอยเถิดเทิง รับบทเป็น ช่วงระหว่าง
เป๋อ จ๊กมก อาโกว 2 กุมภาพันธ์ - เมษายน พ.ศ. 2546
ดีใจ ดีดีดี เต่า 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547
ลิซ่า ไปรพิศ หงส์
โชเล่ย์ ดอกกระโดน ประสิทธิ์ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
กอบโชค คล้ายสำริด เฉื่อย 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ทอมมี่ เถิดเทิง ยายชา
ส้มเช้ง สามช่า แก้ว เมษายน พ.ศ. 2546 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547
พัณณ์ชิตา เรืองเศวตนันท์ แจ๊ส 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547
นัทธมน เฉลิมวงศ์พันธ์ นิ่ม
ถนอม สามโทน บุญยอด (ยอด) 9 มกราคม พ.ศ. 2548 - 29 มกราคม พ.ศ. 2549
สราวุฒิ พุ่มทอง บุญล้น (ล้น) 26 กุมภาพันธ์ - 10 กันยายน พ.ศ. 2549
เก่ง ชะชะช่า สุรเชษฐ์ (เชษฐ์) 5 มีนาคม - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549

รางวัล

แก้
ปี พ.ศ. รางวัล สาขา ผู้ได้รับเสนอชื่อเข้าชิง ผลรางวัล อ้างอิง
2550 Asian Television Awards 2007 นักแสดงรายการตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม (Best Comedy Permance by an Actor) เท่ง เถิดเทิง winner [4]
2551 Asian Television Awards 2008 รายการตลกยอดเยี่ยม (BEST COMEDY PROGRAMME) ระเบิดเถิดเทิง Highly Commended [5]
นักแสดงรายการตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม (Best Comedy Permance by an Actor) โหน่ง ชะชะช่า winner
2552 Asian Television Awards 2009 winner [6]
2558 Asian Television Awards 2015 รายการตลกยอดเยี่ยม (Best Comedy Programme) ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง Highly Commended
2559 Asian Television Awards 2016 ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้ winner [7]
2560 Asian Television Awards 2017 ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก [8]

อ้างอิง

แก้