อดิเรก วัฏลีลา หรือ อังเคิล เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2498 เป็นชาวอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จบการศึกษาจาก โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง, ผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียนบท, นักตัดต่อ, นักแสดง รวมไปถึงนักวาดภาพประกอบ

อดิเรก วัฏลีลา หรือ อังเคิล
อดิเรก วัฏลีลา (ขวา) บทบาทผู้หมวดอังเคิล และจ่าบุญถิ่น ในภาพยนตร์ บุปผาราตรี
อดิเรก วัฏลีลา (ขวา) บทบาทผู้หมวดอังเคิล และจ่าบุญถิ่น ในภาพยนตร์ บุปผาราตรี
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด12 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อดิเรก วัฏลีลา
จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
อาชีพผู้กำกับ ผู้อำนวยการสร้าง นักเขียนบท นักตัดต่อ นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2528 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย (2528)
ปลื้ม (2529)
ดีแตก (2530)
ฉลุย (2531)
ฉลุย โครงการ2 (2533)
ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก (2537)
วาไรตี้ ผีฉลุย (2548)
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ประวัติ

แก้

อังเคิลเริ่มต้นอาชีพเกี่ยวกับภาพยนตร์โดยการเป็นคนเขียนใบปิดภาพยนตร์และวาดภาพให้กับบริษัทโฆษณามาก่อน เคยมีผลงานเขียนภาพปกและภาพประกอบให้กับนิตยสารไบโอสโคปในบางฉบับ แรกเริ่มที่คิดจะทำภาพยนตร์ร่วมกับ ปื๊ด-ธนิตย์ จิตนุกูล ทั้งสองคนได้พบกับ วิสูตร พูลวรลักษณ์ (ปัจจุบันเป็นผู้บริหาร ไท เมเจอร์) ซึ่งสนใจที่จะทำภาพยนตร์เช่นกันจึงตัดสินใจเปิดบริษัทไทเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ขึ้น และได้ให้ทุนในการสร้างภาพยนตร์เป็นเงิน 1.5 ล้านบาท ภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย (ปี พ.ศ. 2528) เป็นเรื่องแรกของบริษัทและของอังเคิลกับปื้ดในฐานะผู้กำกับร่วม หลังจากเข้าโรงฉายแล้วถือว่าประสบความสำเร็จมาก จนเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดประจำปี 2528

อังเคิลมีผลงานที่ประสบความสำเร็จต่อเนื่องจากผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่อง ปลื้ม, ดีแตก, ฉลุย, ฉลุยโครงการ 2, ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก ผลงานภาพยนตร์ของอังเคิลได้ส่งให้ดารานำแสดงวัยรุ่นหลายคนมีชื่อเสียงและแจ้งเกิดเต็มตัว เช่น สุรศักดิ์ วงค์ไทย, บิลลี่ โอแกน, เพ็ญ พิสุทธิ์ หลังจากประสบความสำเร็จทางด้านการกำกับภาพยนตร์แล้ว ในช่วงหลังอังเคิลก็ได้เบนเข็มตัวเองไปเป็นผู้อำนวยการสร้าง (Producer) ให้กับภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่อง โดยไปร่วมงานกับบริษัท อาร์ เอส ฟิล์ม ในปี พ.ศ. 2537 มีผลงานในฐานะผู้อำนวยการสร้าง เช่น โลกทั้งใบให้นายคนเดียว, เกิดอีกที ต้องมีเธอ, เด็กระเบิด ยืดแล้วยึด, 18-80 เพื่อนซี้ไม่มีซั๊ว, เจนนี่-กลางวันครับ กลางคืนค่ะ, ฝันติดไฟ หัวใจติดดิน, ปาฏิหาริย์ โอม-สมหวัง, ล่องจุ๊น-ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน, แตก4-รัก โลภ โกรธ เลว, โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน, รวมสิบเรื่องกับสิบผู้กำกับหน้าใหม่ และต่อมาได้ออกไปร่วมก่อตั้งบริษัทฟิล์มบางกอก และ เฉลิมไทยสตูดิโอ ในปี พ.ศ. 2543 มีผลงานในฐานะผู้อำนวยการสร้าง เช่น ฟ้าทะลายโจร, บางกอกแดนเจอรัส, บางระจัน, โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ, ส้มแบ๊งค์ มือใหม่หัดขาย, พรางชมพู, องคุลิมาล คนระลึกชาติ, ขุนกระบี่ ผีระบาด, และ ทวิภพ

อังเคิล (อดิเรก วัฏลีลา) ได้รับการประกาศเกียรติคุณในฐานะ เป็นศิลปินผู้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย จากคณะกรรมการจัดงานมหกรรมภาพยนตร์ เอเชีย-แปซิฟิก อังเคิลได้ผลักดันให้เกิดภาพยนตร์ที่หลากหลายและเกิดผู้กำกับหน้าใหม่ ๆ มากมาย ตั้งแต่อยู่ บริษัท อาร์ เอส ฟิล์ม จนถึง บริษัท ฟิล์ม บางกอก จนประสพความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ทั้งในและต่างประเทศ

ผลงาน

แก้

กำกับภาพยนตร์

แก้

อำนวยการสร้างภาพยนตร์

แก้

ผลงานแสดง

แก้

ยังอีกบทบาทหนึ่งที่ทำให้ผู้ชมจดจำได้ คือการแสดงของอังเคิลในบทบาทตำรวจคู่กับ บุญถิ่น ทวยแก้ว ทั้งสองมักจะรับบทเป็นตำรวจคู่หูคู่ฮาที่รับส่งมุกตลกในภาพยนตร์ไทยหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะภาพยนตร์แนวตลก-สยองขวัญ อังเคิล และ บุญถิ่น ปรากฏตัวในบทบาทตำรวจครั้งแรกในเรื่อง บุปผาราตรี หลังจากนั้นทั้ง 2 คนก็ได้ไปปรากฏตัวในบทบาทเดียวกันนี้ในภาพยนตร์อีกหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างนึงที่ผู้คนจดจำได้เป็นอย่างดี

บทที่อังเคิลแสดงโดยมักจะเป็นนักแสดงสมทบ ในบทบาทของตำรวจคู่กับบุญถิ่น ปรากฏในภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่อง คือ

ผลงานการเขียน-ประพันธ์

แก้

ผลงานตัดต่อ - ลำดับภาพ

แก้

ควบคุมงานสร้าง

แก้

บริหารการสร้าง

แก้

ผู้บริหารงานสร้าง

แก้
  • บางกอก แดนเจอรัส เพชฌฆาตเงียบ อันตราย (2543)

ผลงานละครโทรทัศน์

แก้

ผลงานละครชุด

แก้

รางวัลในประเทศ

แก้

ได้รับการประกาศเกียรติคุณในฐานะ เป็นศิลปินผู้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย จากคณะกรรมการจัดงานภาพยนตร์ เอเชีย – แปซิฟิก

เกิดอีกที…ต้องมีเธอ ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ทองคำ จากสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ในสาขา แต่งหน้ายอดเยี่ยม สาขา เทคนิคพิเศษทางภาพยอดเยี่ยม สาขา เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสาขา ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ได้รับ รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยในสาขา บันทึกเสียงยอดเยี่ยม

ปาฏิหาริย์…โอม+สมหวัง ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ทองคำ จากสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ในสาขา เทคนิคพิเศษทางภาพยอดเยี่ยม

บางกอกแดนเจอรัส ได้รับ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ทองคำ จากสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ในสาขา นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม สาขา นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และสาขา นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลจาก ชมรมวิจารณ์บันเทิงในสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สาขา กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สาขา บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสาขา ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม

โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ทองคำ จากสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ในสาขา กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสาขา ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม ได้รับ รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยในสาขา ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลจากชมรมวิจารณ์บันเทิงในสาขา นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม

รางวัลต่างประเทศ

แก้

Officially selected Sundance 2002 - Un certain regard, Officially selected International du Film Cannes 2001, International de Cine Gijon 2001 Spain - Best art direction, Officially selected Tokyo Filmex, Pifan 2001 - Jury's Choice (Jury's special award), Vancouver International Film Festival 2000 - Dragons & Tigers award for young cinema, Officially selected Seatlle International Film Festival 2001, Officially selected New Zealand Film Festival 2001, Officially selected Edinburgh International Film Festival, Officially selected International Film Festival Rotterdam,

ภาพยนตร์ที่คว้ารางวัล Fipresci Award จากเทศกาลภาพยนตร์โตรอนโต้ ปี 2000 ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ อีกมากมาย

ได้รางวัล ผู้กำกับยอดเยี่ยม จากงานมหกรรม ภาพยนตร์แห่ง เมืองโดวิลว์ ประเทศฝรั่งเศส ได้รับรางวัลสาขา กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม จาก เทศกาลภาพยนตร์เอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2001 ฯลฯ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้